หน้า:หลักภาษาไทย อักขรวิธี วจีวิภาค วากยสัมพันธ์ ฉันทลักษณะ.pdf/35

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ยังไม่ได้พิสูจน์อักษร
๒๕

กัก กาก กิก กีก กึก กือ กุก กูก เก็ก เกก แก็ก แกก กก โกก ก็อก กอก เก็อก (เกิก) เกอก (เกิก) เกี็ยก เกียก เกื็อก เกือก ก็วก กวก

พยางค์ประสมสระ อำ ใอ ไอ เอา ก็มีสำเนียงนับเข้าในพวกนี้ คือ อำ อยู่ในแม่ กม, ใอ ไอ อยู่ใน แม่เกอว

(ข) ประสม ๔ ส่วนพิเศษ คือวิธีประสมสามส่วนซึ่งมีตัวการันต์เพิ่มเข้าเป็นส่วนที่ ๔ ได้แก่แม่ ก กา มีตัววการัยต์ เช่น สีห์ เล่ห์ เท่ห์ เป็นต้น

ประสม ๕ ส่วน วิธีนี้ได้แก่วิธีประสม ๔ ส่วนปกติ ซึ่งมีตัวการันต์เติมเข้าเป็นส่วนที่ ๕ ได้แก่มาตราทั้ง ๘ แม่ มีตัวการันต์ เช่น ศักดิ์, สังข์, หัตถ์, ขันธ์ เป็นต้น กับพยางค์ที่ประสมสระ อำ ใอ ไอ เอา มีตัวการันต์ เช่น ไทย ไมล์ เสาร์ เยาว์ ฯลฯ เหล่านี้นับว่าประสม ๕ ส่วนเหมือนกัน

ส่วนของพยางค์

ข้อ ๒๖. ตามที่ได้อธิบายมาแล้วว่า พยางค์หนึ่ง ๆ ต้องใช้อักษรผสมกัน ๓ ส่วนบ้าง ๔ ส่วนบ้าง และ ๕ ส่วนบ้าง ส่วนของพยางค์เหล่านี้มีชื่อต่างกัน เป็น ๕ ชนิด คือ (๑) พยัญชนะต้น (๒) สระ (๓) ตัวสะกด (๔) วรรณยุกต์ (๕) ตัวการันต์ จะอธิบายทีละส่วน ดังนี้