หน้า:แม่ย่า - สฐกศ นคปท - ๒๔๘๑.pdf/21

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
– ๑๒ –

สุวรรณมาลี นางบุษบา นางเรวดี นางนพมาศ เป็นต้น ท่านที่เคยดูงิ้ว เวลาพระมเหษีเสด็จออก พวกข้าราชการจะก้มลงแสดงเคารพแล้วจะได้ยินคำว่า เหนี่ยง ๆ แปลว่า พระนางเจ้า ในหนังสือเรื่องจีนที่แปลออกเป็นภาษาไทยใช้คำ เหนี่ยง ๆ นี้ว่า เนี่ยเนี้ย ฉนั้น คำว่า เหนี่ยง ในภาษาจีน จะตรงกับคำว่า นาง ในภาษาไทย ไทยได้คำว่า นาง มาจากจีน หรือว่าจีนได้ไปจากไทย หรือว่านางมาจาก เนียง ในภาษาเขมร ซึ่งเขาเขียนเป็น นาง แต่อ่านว่า เนียง หรือว่า เนียง ในภาษาเขมรจะเอาไปจากนางในภาษาไทย ก็แล้วแต่ท่านจะคิดเห็น ส่วนที่ศาสตราจารย์ Schlegel ว่า ย่านาง มาจาก เหย่เหนี่ยง ฟังเสียงและความดูก็ได้กันดี แต่คำว่า เหย่ นี้เคยพบในภาษาจีนใช้แต่ท่านที่เป็นผู้ชาย เช่น เล่าเอี๋ย ไท้เอี๋ย ส่วนที่ใช้แก่ท่านหญิงยังไม่เคยพบ สอบถามจีนก็ว่า ใช้นำหน้าผู้หญิงไม่ค่อยพบ จึงยังเป็นที่สงสัยอยู่ว่า เหย่เหนี่ยง กับ ย่านาง จะเป็นคำเดียวกันหรือไม่ บางที แม่ย่านาง จะแปลเป็นภาษาไทยมาจากคำว่า หมาโจ๊บ๋อ ก็รู้ไม่ได้ แต่อย่างไรก็ดี คำว่า หมาโจ๊ คงเป็นคำเดียวกับในหนังสือนี้เรียกว่า หมาจ่อ