ข้ามไปเนื้อหา

หน้า:Constitutional imperialism in Japan (IA constitutionalim00clemrich).pdf/19

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว


"ช่วงชิง" อำนาจไปเสีย และควรปฏิรูปการจัดองค์กรราชการขององคมนตรีสภาเพื่อจำกัดอำนาจหน้าที่สภานี้[1]

การให้รายละเอียดเกี่ยวกับการจัดองค์กรขององคมนตรีสภานั้นคงไม่จำเป็นเท่าไร แต่คงจะดีถ้าจะนำมาตราต่อไปนี้ของพระราชกำหนด ปี 1888 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมเมื่อปี 1890 มาลงซ้ำไว้ คือ

"มาตรา2ให้องคมนตรีสภาประกอบด้วยประธาน 1 คน รองประธาน 1 คน สมาชิก 25 คน เลขาธิการ 1 คน และเลขานุการ 5 คน

"มาตรา5ให้องคมนตรีสภาประชุมกันเพื่อประโยชน์ในการถวายคำแนะนำต่อสมเด็จพระจักรพรรดิ และให้แถลงความคิดเห็นของตนเกี่ยวกับเรื่องดังต่อไปนี้

"1.เรื่องซึ่งอยู่ในเขตอำนาจของตนตามโคชิตสึเท็มปัง (กฎหมายสภา)

"2.ร่าง และประเด็นที่น่าสงสัยเกี่ยวกับมาตราในรัฐธรรมนูญ และเกี่ยวกับกฎหมายหรือข้อกำหนดประกอบรัฐธรรมนูญ

"3.การประกาศใช้กฎหมายว่าด้วยภาวะปิดล้อม[2] ดังบัญญัติไว้ในมาตรา 14 และพระราชกำหนดดังระบุถึงในมาตรา 8 และ 62 ของรัฐธรรมนูญ รวมถึงพระราชกำหนดอื่น ๆ อันมีสภาพเคร่งครัด

"4.สนธิสัญญาและคำมั่นสัญญาระหว่างประเทศ

"5.เรื่องที่เกี่ยวกับการแก้ไขเพิ่มเติมการจัดองค์กรขององคมนตรีสภา และระเบียบการดำเนินกิจการในองคมนตรีสภา

"6.เรื่องซึ่งได้รับการแสวงหาคำปรึกษาเป็นพิเศษ นอกจากที่ระบุถึงในวรรคทั้งหลายก่อนนี้

"มาตรา10วรรค2ให้ประธานจัดให้เลขาธิการทำคำอธิบาย แล้วจึงให้สมาชิกอภิปรายเรื่องต่าง ๆ อย่างเสรี แต่ห้ามสมาชิกผู้ใดกล่าวโดยมิได้รับอนุญาตจากประธานผู้ซึ่งอาจเข้าร่วมถกเถียงได้ทุกกรณี แล้วให้ระบุปัญหาที่จะพึงวินิจฉัย และกำหนดให้สมาชิกออกเสียงลงคะแนนในปัญหานั้น"

เราขอนำถ้อยคำต่อไปนี้จากพระราชกำหนดเดิมเมื่อวันที่ 28 เมษายน 1888 มาลงไว้ด้วย

"มาตรา8แม้องคมนตรีสภาจะเป็นคณะบุคคลชั้นสูงสุดของจักรพรรดิ แต่มิให้องคมนตรีสภาแทรกแซงฝ่ายบริหาร"

  1. ผู้เคยเป็นประธานองคมนตรีสภา ได้แก่ ฮากูชากุอิโต [ฮิโรบูมิ], ฮากูชากุคุโรดะ [คิโยตากะ], โคชากุไซอนจิ [คิมโมจิ], โคชากุอิโต [ฮิโรบูมิ], และโคชากุยามางาตะ [อาริโตโมะ]
  2. กฎอัยการศึก ดูตัวอย่างจากกฎหมาย ลงวันที่ 3 เมษายน 1878 เกี่ยวกับภาวะปิดล้อม ของฝรั่งเศส (เชิงอรรถของวิกิซอร์ซ)
(331)