หน้า:Constitutional imperialism in Japan (IA constitutionalim00clemrich).pdf/24

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
16
[เล่ม 6
ระบอบจักรพรรดิภายใต้รัฐธรรมนูญในญี่ปุ่น

(ในที่พิเศษ) และกล่าวในสภาทั้งสองสภาใดก็ได้ รัฐมนตรีเหล่านี้ยังเข้าถึงห้องกรรมาธิการได้โดยเสรี

คณะรัฐมนตรีนั้น จะเรียกว่า องค์กรบริหารของจักรพรรดิ ก็ได้ อิโตกล่าวว่า

"รัฐมนตรีได้รับการกำหนดให้มีหน้าที่ถวายคำแนะนำต่อจักรพรรดิ เขาเหล่านี้จะทำหน้าที่เสมือนสื่อกลางสำหรับถ่ายทอดพระบรมราชโองการ และจะบริหารกิจการด้านปกครอง"[1]

อูเอฮาระกล่าวว่า คณะรัฐมนตรี "เป็นช่องทางและสื่อกลางสำหรับการที่องค์อธิปัตย์จะทรงใช้อำนาจของพระองค์"[2]

คำถามสำคัญเกี่ยวกับคณะรัฐมนตรีมีอยู่ในเรื่องความรับผิดชอบของคณะรัฐมนตรี น่าเสียดายที่ตัวบทรัฐธรรมนูญนั้นไม่ชัดเจน (บางทีอาจจงใจ?) ตัวบทว่า

"ให้รัฐมนตรีแต่ละคนถวายคำแนะนำต่อจักรพรรดิ และรับผิดชอบในคำแนะนำนั้น"[3]

แต่อิโตกล่าวอย่างชัดแจ้งกว่าไว้ใน อรรถกถาฯ ของเขา โดยใช้ถ้อยคำดังต่อไปนี้

"ที่อำนาจวินิจฉัยเกี่ยวกับความรับผิดชอบของรัฐมนตรีถูกกันออกจากสภานิติบัญญัตินั้น เป็นเพียงผลสืบเนื่องในทางกฎหมายจากการที่รัฐธรรมนูญได้ถือรวมเอาการแต่งตั้งและถอดถอนบุคคลเหล่านั้น [รัฐมนตรี] ให้เป็นอำนาจอธิปไตยของจักรพรรดิ

"รัฐมนตรีมีความรับผิดชอบโดยตรงต่อจักรพรรดิ และโดยทางอ้อมต่อประชาชน

"เป็นองค์อธิปัตย์นั้นเอง หาใช่ประชาชน ที่สามารถวินิจฉัยเกี่ยวกับความรับผิดชอบของรัฐมนตรี"[4]

ว่ากันตามจริง เป็นที่รับรู้และยอมรับกันมาจนถึงเมื่อสักเร็ว ๆ นี้เองว่า คณะรัฐมนตรีมีความรับผิดชอบต่อจักรพรรดิเท่านั้นทั้งในทางทฤษฎีและในทางปฏิบัติ ซึ่งไม่มีอะไรให้สงสัยได้เลย และถึงอย่างนั้น อิโตเองก็ยังสร้างพันธมิตรอย่างไม่เป็นทางการกับพรรคเสรีนิยม ซึ่งกระทำมานานตั้งแต่ปี 1895 ด้วยซ้ำ และมัตสึกาตะ 

  1. เรื่องเดิม, หน้า 93.
  2. เรื่องเดิม, หน้า 140.
  3. มาตรา 55
  4. หน้าเดิม.
(336)