แม่แบบ {{หัวสลับ 2}} ถูกยกเลิกแล้ว กรุณาใช้แม่แบบ {{หัวสลับ}} ทดแทน |
มาตรา8ให้สภาขุนนางลงมติในเรื่องหลักเกณฑ์ว่าด้วยเอกสิทธิ์ของชนชั้นบรรดาศักดิ์ เมื่อจักรพรรดิทรงหารือด้วย
มาตรา9สภาขุนนางย่อมวินิจฉัยในเรื่องคุณสมบัติของสมาชิกตน และเรื่องข้อพิพาทเกี่ยวกับการเลือกตั้งของตน หลักเกณฑ์การวินิจฉัยเหล่านี้ ให้เป็นไปตามที่สภาขุนนางลงมติ และให้ทูลเสนอต่อจักรพรรดิเพื่อมีพระราชานุมัติ
มาตรา10เมื่อสมาชิกผู้หนึ่งถูกพิพากษาให้กักขังหรือให้ลงโทษใด ๆ ที่สูงกว่านั้น หรือถูกประกาศให้ล้มละลาย ให้ขับสมาชิกผู้นั้นด้วยพระบัญชา
ในเรื่องการขับสมาชิกอันเป็นการลงโทษทางวินัยในสภาขุนนางนั้น ให้ประธานทูลรายงานข้อเท็จจริงต่อจักรพรรดิเพื่อมีพระราชวินิจฉัย
สมาชิกผู้ใดที่ถูกขับออกไปแล้ว มิให้เป็นสมาชิกได้อีก เว้นแต่จักรพรรดิจะมีพระราชานุญาตให้เป็นเช่นนั้นได้
มาตรา11ประธานและรองประธานนั้น ให้จักรพรรดิทรงเสนอชื่อจากบรรดาสมาชิกทั้งหลาย โดยมีวาระเจ็ดปี
ถ้าสมาชิกผู้มาจากการเลือกตั้งได้รับการเสนอชื่อเป็นประธานหรือรองประธาน ให้ผู้นั้นทำหน้าที่ในฐานะเช่นนั้นโดยมีวาระตามสมาชิกภาพของตน
มาตรา12เรื่องทุกประการ นอกเหนือจากที่ได้บัญญัติไว้แล้วในพระราชกำหนดนี้ ให้ดำเนินการไปตามบทบัญญัติของกฎหมายสภา
มาตรา13ในอนาคตเมื่อจะแก้ไขเพิ่มเติมหรือเสริมแทรกสิ่งใด ๆ ในบทบัญญัติแห่งพระราชกำหนดนี้ ให้เสนอเรื่องนั้นมายังสภาขุนนางเพื่อออกเสียงลงคะแนน
ตามคำแนะนำจากองคมนตรีสภาของเรา เราขออนุมัติกฎหมายสภาฉบับนี้ และมีบัญชาให้นำกฎหมายนี้ออกประกาศใช้ และในขณะเดียวกัน ขอสั่งว่า ตั้งแต่วันจัดตั้งสภาขุนนางและสภาผู้แทนราษฎร บรรดากิจการอันเกี่ยวโยงกับสภาหนึ่งสภาใดในสภาเหล่านี้ ให้ดำเนินไปตามกฎหมายฉบับนี้
- [พระนามาภิไธย]
- [พระราชลัญจกร]
วันที่ 11 เดือนยี่ ปีเมจิที่ 22 [11 กุมภาพันธ์ 1889]
- ↑ ชื่อญี่ปุ่น คือ "議院法" (กิอิงโฮ)" (เชิงอรรถของวิกิซอร์ซ)