หน้า:Das Kapital Kritik der politischen Oekonomie Erster Band.djvu/41

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
เล่มที่ 1
กระบวนการผลิตของทุน

ภาคที่ 1
สินค้าและเงินตรา
บทที่ 1
สินค้า
1) ปัจจัยสองประการของสินค้า: มูลค่าใช้สอยและมูลค่า (แก่นสารของมูลค่า, ขนาดของมูลค่า)

ความมั่งคั่งของสังคมที่ปกครองโดยวิถีการผลิตแบบทุนนิยมปรากฏตัวเป็น „สินค้ากองมหึมา“[1] โดยมีรูปมูลฐานเป็นสินค้าแต่ละชิ้น การสอบสวนของเราจะเริ่มต้นด้วยการวิเคราะห์สินค้า

ประการแรก สินค้าเป็นวัตถุภายนอก สิ่งที่สนองความต้องการมนุษย์ชนิดใดก็ตามด้วยสมบัติของตน ธรรมชาติของความต้องการเหล่านี้จะเป็นอย่างไรก็ไม่แตกต่างกัน ไม่ว่าเกิดจากปากท้องหรือจินตนาการเป็นต้น[2] และในที่นี้ก็ไม่เกี่ยวว่าสิ่งนั้นสนองความต้องการมนุษย์อย่างไร ไม่ว่าโดยตรงเป็นปัจจัยการยังชีพ กล่าวคือวัตถุสำหรับอุปโภคบริโภค หรือโดยอ้อมในฐานะปัจจัยการผลิต

เราจะพิจารณาสิ่งที่มีประโยชน์ทั้งหลาย เช่นเหล็ก กระดาษ ฯลฯ จากมุมมองสองด้าน คุณภาพและปริมาณ สิ่งเหล่านี้ล้วนแต่เป็นกลุ่มก้อนของสมบัติมากมายและจึงสามารถมีประโยชน์ในหลากหลายด้าน การค้นพบด้านต่าง ๆ ที่ว่าและหนทางใช้สอยนานัปการจากสิ่งเหล่านี้

  1. คาร์ล มาคส์: „ว่าด้วยบทวิพากษ์ทางเศรษฐศาสตร์การเมือง. เบอร์ลิน 1859“, หน้า 4.
  2. „ความปรารถนาบ่งบอกถึงความต้องการ มันคือความกระหายของจิต ไม่ผิดธรรมชาติไปกว่าความหิวของกาย … คุณค่า (ของสรรพสิ่ง) นับไม่ถ้วนมาจากการสนองความต้องการแห่งจิต“ นิโคลัส บาร์บอน: „A Discourse on coining the new money lighter, in answer to Mr. Locke's Considerations etc. London 1696“, หน้า 2, 3.

มาคส์, ทุน 1 ฉบับที่ 41