หน้า:Das Kapital Kritik der politischen Oekonomie Erster Band.djvu/53

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
——13——

จึงจะเป็นแหล่งของผลผลิตที่ล้นหลามหรือประปราย สัมพันธ์โดยตรงกับการขึ้นลงของพลังการผลิต ในทางตรงข้าม การเปลี่ยนแปลงของพลังการผลิตในและโดยตัวเองไม่ส่งผลใด ๆ ต่อแรงงานซึ่งแสดงอยู่ในสินค้า เพราะพลังการผลิตเป็นหนึ่งในรูปที่มีประโยชน์เชิงรูปธรรมของแรงงาน เมื่อเพิกจากรูปอันมีประโยชน์เชิงรูปธรรมของแรงงาน จึงไม่ส่งผลอะไรอีกต่อไปเป็นธรรมดา แรงงานเดียวกันในระยะเวลาเดียวกันจึงได้มูลค่าขนาดเท่ากันเสมอ ไม่ว่าพลังการผลิตจะเปลี่ยนไปอย่างไร ทว่าแม้ในระยะเวลาเดียวกัน ก็จะออกผลได้มูลค่าใช้สอยในปริมาณที่ต่างกัน เพิ่มขึ้นเมื่อสูงขึ้น น้อยลงเมื่อต่ำลง การเปลี่ยนแปลงเดียวกันของพลังการผลิต ซึ่งเพิ่มดอกผลของแรงงานและฉะนั้นปริมาณของมูลค่าใช้สอยที่ออกผลมา จึงลดขนาดของมูลค่าของปริมาณโดยรวมที่เพิ่มขึ้นด้วยถ้าทำให้เวลาแรงงานอันจำเป็นในการผลิตโดยรวมสั้นลง และกลับกันในทำนองเดียวกัน

ในด้านหนึ่ง แรงงานทั้งปวงเป็นการใช้จ่ายพลังแรงงานมนุษย์ในความหมายเชิงสรีรวิทยา และการเป็นแรงงานมนุษย์ที่เท่ากันหรือแรงงานมนุษย์นามธรรมคือคุณสมบัติซึ่งก่อรูปมูลค่าของสินค้า ในอีกด้านหนึ่ง แรงงานทั้งปวงเป็นการใช้จ่ายพลังแรงงานมนุษย์ในรูปที่เจาะจงเป้าหมายจำเพาะ และการเป็นแรงงานอันมีประโยชน์เชิงรูปธรรมคือคุณสมบัติซึ่งผลิตมูลค่าใช้สอย[1]


  1. หมายเหตุในฉบับที่ 2 เพื่อพิสูจน์ว่า „เพียงแรงงานเท่านั้นที่เป็นมาตรฐานสุดท้ายและแท้จริง ซึ่งใช้ในการประมาณและเปรียบเทียบมูลค่าของสินค้าทั้งปวงในทุกที่ทุกเวลา“ อดัม สมิธ กล่าว: „แรงงานในปริมาณที่เท่ากัน ในทุกที่ทุกเวลา กล่าวได้ว่ามีค่าเท่ากันต่อคนงาน ในภาวะสามัญของสุขภาพ ความแข็งแรง และจิตใจของเขา ในระดับสามัญของทักษะและความชำนาญของเขา เขาจะต้องยอมเสียความสบาย ความเป็นอิสระ และความสุขของเขาในสัดส่วนเดียวกัน“ (ความมั่งคั่งของประชาชาติ เล่ม I. บทที่ V.) ในด้านหนึ่ง ตรงนี้อดัม สมิธ สับสน (แต่ไม่ใช่ทุกที่) ระหว่างการกำหนดมูลค่าด้วยปริมาณของแรงงานที่ใช้จ่ายในการผลิตสินค้า กับการกำหนดมูลค่าของสินค้าด้วยมูลค่าของแรงงาน และจึงพยายามพิสูจน์ว่าแรงงานในปริมาณที่เท่ากันมีมูลค่าเดียวกันเสมอ ในอีกด้านหนึ่ง เขาสังหรณ์ว่าแรงงานเท่าที่แสดงอยู่ในมูลค่าของสินค้านั้นนับเป็นเพียงการใช้จ่ายของพลังแรงงาน แต่เขาเข้าใจว่าการใช้จ่ายนั้นเป็นแค่การเสียสละความสะดวกสบาย ความเป็นอิสระ และความสุขเท่านั้น แทนที่จะเป็นกิจกรรมปกติในชีวิต อย่างไรก็ดี เขากำลังนึกภาพถึงคนงานรับจ้างสมัยใหม่ —— บุคคลนิรนามผู้มาก่อนอดัม สมิธ ที่ผมอ้างอิงในหมายเหตุที่ 9 กล่าวไว้ได้แหลมคมยิ่งกว่า: „คน ๆ หนึ่งใช้งานตัวเองหนึ่งสัปดาห์เพื่อหาเลี้ยงสิ่งอันจำเป็นต่อชีวิตนี้ … และผู้ใดให้อย่างอื่นอย่างใดเขามาเป็นการแลกเปลี่ยน จะประมาณว่าอะไรที่เสมอกันอย่างถูกต้องได้อย่างไร ไม่ดีไปกว่าการคำนวณว่าอะไรที่เขาต้องใช้แรงงานและเวลาเท่า ๆ กัน ซึ่งผลคือไม่มากไปกว่าการแลกเปลี่ยนแรงงานของคนหนึ่งในสิ่งหนึ่งในระยะเวลาเท่าหนึ่งสำหรับแรงงานของอีกคนหนึ่งในอีกสิ่งหนึ่งในระยะเวลาที่เท่ากัน“ (เล่มเดิม หน้า 39) —— [ในฉบับที่ 4: ภาษาอังกฤษมีข้อดีว่ามีคำที่ต่างกันสองคำสำหรับแรงงานในแง่มุมแตกต่างกันสองแบบ แรงงานที่สร้างมูลค่าใช้สอยและกำหนดจากคุณภาพเรียกว่าเวิร์ก ตรงข้ามกับเลเบอร์ แรงงานที่สร้างมูลค่าและวัดจากปริมาณเท่านั้นเรียกว่าเลเบอร์ ตรงข้ามกับเวิร์ก ดูที่หมายเหตุในฉบับแปลภาษาอังกฤษ หน้า 14 —— ฟรีดริช เอ็งเงิลส์]