ต้องแสดงออกมูลค่าที่ปริมาณแน่นอนหรือขนาดของมูลค่า ในความสัมพันธ์มูลค่าของสินค้า กับ ของผ้าลินินกับเสื้อคลุม ไม่ได้จับสินค้าชนิดเสื้อคลุมเสมอกับผ้าลินินในเชิงคุณภาพในฐานะกายของมูลค่าเท่านั้น แต่ยังจับผ้าลินินที่ปริมาณแน่นอน อาทิผ้าลินิน 20 หลา เสมอกับกายของมูลค่าหรือสิ่งสมมูลที่ปริมาณแน่นอน อาทิเสื้อคลุม 1 ตัว
สมการ: „ผ้าลินิน 20 หลา เสื้อคลุม 1 ตัว หรือว่า ผ้าลินิน 20 หลามีค่าเป็นเสื้อคลุม 1 ตัว“ สันนิษฐานว่ามีแก่นสารของมูลค่าอยู่ในเสื้อคลุม 1 ตัวเท่ากับในผ้าลินิน 20 หลาพอดี และปริมาณของสินค้าทั้งสองจึงใช้แรงงานเท่ากันหรือเวลาแรงงานเท่ากัน ทว่าเวลาแรงงานอันจำเป็นในการผลิตผ้าลินิน 20 หลากับเสื้อคลุม 1 ตัวเปลี่ยนไปทุกครั้งที่พลังการผลิตของการถักทอกับการตัดเย็บเปลี่ยน เราควรสืบสวนอิทธิพลที่การเปลี่ยนแปลงนี้มีต่อการแสดงออกเชิงสัมพัทธ์ของขนาดของมูลค่าโดยละเอียด
I. ให้มูลค่าของผ้าลินินเปลี่ยน[1] ขณะที่มูลค่าของเสื้อคลุมคงที่ หากเวลาแรงงานอันจำเป็นในการผลิตผ้าลินินทวีคูณ อาจเนื่องด้วยการเสียความอุดมสมบูรณ์ในดินเพาะปลูกป่านลินิน มูลค่าของผ้าลินินก็จะทวีคูณ ได้เป็นผ้าลินิน 20 หลา เสื้อคลุม 2 ตัว แทนผ้าลินิน 20 หลา เสื้อคลุม 1 ตัว เพราะบัดนี้เสื้อคลุม 1 ตัวประกอบด้วยเวลาแรงงานเพียงครึ่งหนึ่งของผ้าลินิน 20 หลา ในทางตรงข้าม หากเวลาแรงงานอันจำเป็นในการผลิตผ้าลินินหดเหลือครึ่งหนึ่ง อาจเนื่องด้วยกี่ทอผ้าที่ดีขึ้น มูลค่าของผ้าลินินก็จะลดเหลือครึ่งหนึ่ง ดังนั้นบัดนี้: ผ้าลินิน 20 หลา เสื้อคลุม 1⁄2 ตัว มูลค่าสัมพัทธ์ของสินค้า หรือมูลค่าที่แสดงออกเป็นสินค้า จึงเพิ่มขึ้นและลดลงโดยตรงตามมูลค่าของสินค้า เมื่อมูลค่าของสินค้า คงที่
II. ให้มูลค่าของผ้าลินินคงที่ ขณะที่มูลค่าของเสื้อคลุมเปลี่ยน ภายใต้เงื่อนไขนี้ หากเวลาแรงงานอันจำเป็นในการผลิตเสื้อคลุมทวีคูณ อาจเนื่องด้วยผลผลิตขนแกะไม่เป็นใจ จะได้เป็นผ้าลินิน 20 หลา เสื้อคลุม 1⁄2 ตัว แทนผ้าลินิน 20 หลา เสื้อคลุม 1 ตัว ในทางตรงข้าม หากมูลค่าของเสื้อคลุมลดเหลือครึ่งหนึ่ง ก็จะได้เป็นผ้าลินิน 20 หลา เสื้อคลุม 2 ตัว เมื่อมูลค่าของสินค้า คงที่ มูลค่าสัมพัทธ์ที่แสดงออกเป็นสินค้า จึงเพิ่มขึ้นและลดลงผกผันกับการเปลี่ยนแปลงในมูลค่าของ
เปรียบเทียบกรณีที่ I และ II
- ↑ คำว่า „มูลค่า“ ตรงนี้ ดังที่ปรากฏประปรายก่อนหน้านี้ ใช้หมายถึงมูลค่าที่ปริมาณแน่นอน ฉะนั้นหมายถึงขนาดของมูลค่า