ตอนนี้สินค้าแสดงมูลค่าเป็น 1) แบบเรียบง่าย เพราะแสดงเป็นสินค้าอีกหนึ่งอย่าง และ 2) เป็นเอกรูป เพราะแสดงเป็นสินค้าอย่างเดียวกัน รูปมูลค่าของสินค้าเป็นแบบเรียบง่ายและมีร่วมกัน จึงเป็นแบบทั่วไป
ทั้งรูป I และรูป II สุดแค่แสดงออกมูลค่าของสินค้าเป็นสิ่งที่แตกต่างจากมูลค่าใช้สอยหรือกายสินค้าของตน
รูปแรกให้สมการมูลค่าดังนี้: เสื้อคลุม 1 ตัว ผ้าลินิน 20 หลา ชา 10 ปอนด์ เหล็ก 1⁄2 ตัน ฯลฯ มูลค่าเสื้อคลุมแสดงออกเป็นสิ่งที่เสมอกับผ้าลินิน มูลค่าชาแสดงออกเป็นสิ่งที่เสมอกับเหล็ก การแสดงออกมูลค่าของเสื้อคลุมกับชาแตกต่างกันเหมือนผ้าลินินกับเหล็ก เห็นได้ชัดว่ารูปนี้ปรากฏในทางปฏิบัติเฉพาะในตอนต้น ที่ผลผลิตแรงงานแปลงเป็นสินค้าผ่านการแลกเปลี่ยนที่บังเอิญและเป็นครั้งคราว
รูปที่สองแยกมูลค่าออกจากมูลค่าใช้สอยของสินค้าได้สมบูรณ์กว่ารูปแรก เพราะมูลค่าของเสื้อคลุมเป็นต้น ตอนนี้เผชิญหน้ากับรูปธรรมชาติของตัวเองในรูปที่เป็นไปได้ทั้งหมด ในรูปของสิ่งที่เสมอกับผ้าลินิน สิ่งที่เสมอกับเหล็ก สิ่งที่เสมอกับชา ฯลฯ เป็นสิ่งอื่นทั้งหมดเว้นแต่สิ่งที่เสมอกับเสื้อคลุม ในอีกด้านหนึ่ง นี่จะกีดกันไม่ให้สินค้าทั้งปวงมีการแสดงออกมูลค่าร่วมกันโดยตรง เพราะในการแสดงออกมูลค่าของสินค้าแต่ละอย่าง สินค้าอื่นทั้งหมดจะปรากฏตัวแต่ในรูปของสิ่งสมมูล รูปมูลค่าแบบขยายปรากฏขึ้นจริงครั้งแรกครั้นผลผลิตแรงงานอย่างหนึ่ง อาทิโคกระบือ หยุดแลกเปลี่ยนกับสินค้าอื่นตามโอกาส แต่แลกเปลี่ยนกันเป็นกิจวัตรแล้ว
รูปที่ได้มาใหม่แสดงออกมูลค่าของโลกแห่งสินค้าเป็นสินค้าชนิดหนึ่งชนิดเดียวกันอย่างสันโดษ เช่นผ้าลินิน และจึงแสดงมูลค่าของสินค้าทั้งปวงผ่านความเสมอกับผ้าลินิน มูลค่าของสินค้าทั้งปวงในฐานะที่เสมอกับผ้าลินินใช่แตกต่างจากมูลค่าใช้สอยของตนเท่านั้น แต่ยังแตกต่างจากมูลค่าใช้สอยของสินค้าทั้งหมด และด้วยการนี้แสดงออกเป็นสิ่งที่สินค้าทั้งปวงมีร่วมกัน จึงมีรูปนี้เท่านั้นที่เทียบสัมพันธ์สินค้าด้วยกันในฐานะมูลค่าจริง ๆ หรือให้สินค้าปรากฎต่อกันในฐานะมูลค่าแลกเปลี่ยน
ทั้งสองรูปก่อนหน้าแสดงออกมูลค่าของสินค้าอย่างหนึ่ง ไม่ว่าเป็นสินค้าต่างชนิดเพียงหนึ่งชนิด หรือเป็นลำดับของสินค้าที่แตกต่างกันจำนวนมาก ทั้งสองกรณีเป็นธุระส่วนตัวของสินค้าปัจเจก