ข้ามไปเนื้อหา

หน้า:Flag regs of Siam - 1909.pdf/4

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว

สามช้าง เปนการพิเศษไม่มีได้ในประเทศอื่นเสมอเหมือน ควรจะอัศจรรย์ อาไศรย์คุณพิเศษอันนั้น จึ่งมีพระบรมราชโองการดำรัสเหนือเกล้า๚ ให้ทำรูปช้างเผือกลงไว้กลางวงจักรในธงเรือหลวงนั้นด้วย

ครั้นถึงในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระรำพึงถึงเรือค้าขายของชนชาวสยามที่ใช้ธงสีแดงเกลี้ยงอยู่นั้นไม่เปนการสมควร เหตุว่าซ้ำกับประเทศอื่น ยากที่จะสังเกต เห็นเปนการควรจะใช้ธงอันมีเครื่องหมายเหมือนอย่างเรือหลวงทั่วไป แต่ว่ารูปจักรเปนของสูง ไม่สมควรที่ราษฎรจะใช้ จึงมีพระบรมราชโองการดำรัสเหนือเก้ลา๚ ให้ยกรูปจักรออกเสีย คงแต่รูปช้างเผือกบนพื้นแดง ให้ใช้ทั่วไปทั้งเรือหลวง แลเรือราษฎรบรรดาที่เจ้าของเรือเปนข้าขอบขัณฑสีมามิให้เปนการสับสนกับเรือของชาวต่างประเทศ แลให้ทำธงรูปช้างเผือกบนพื้นสีขาบขึ้นอีกอย่างหนึ่งสำหรับใช้ชักที่น่าเรือหลวงทั้งปวงให้เปนที่สังเกตเห็นต่างกับเรือของราษฎรด้วย อนึ่ง เวลาเสด็จพระราชดำเนินโดยขวนเรือหลายลำ ทวยราษฎรผู้ตั้งใจจะเคารพเฉภาะใต้ผ์าลอองธุลีพระบาทสังเกตไม่ได้ว่า เสด็จพระราชดำเนินโดยเรือลำใด ทรงพระกรุณาเพื่อจะเอาใจราษฎร จึงดำรัสเหนือเกล้า๚ ให้ทำธงสำหรับพระองค์ขึ้นอีกอย่างหนึ่ง พื้นนอกสีแดง พื้นในสีขาบ กลางมีพระมหาพิไชยมงกุฏ แลมีเครื่องสูง ๗ ชั้น ๒ ข้าง สำหรับชักขึ้นบนเสาเรือพระที่นั่ง เปนที่หมายว่า ได้เสด็จพระราชดำเนินโดยเรือลำนั้นแล้ว แลโปรดเกลา้๚ ให้ชักขึ้นบนเสาในพระบรมมหาราชวังด้วย ภายหลังเมื่อมิได้เสด็จประทับอยู่ในพระมหานคร ต้องลดธงสำหรับพระองค์ลงเสาเปล่าอยู่ ดูมิ

๔ 4