ข้ามไปเนื้อหา

หน้า:Great & wonderful revolution in Siam (1690).pdf/9

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
6
คำนำถึงผู้อ่าน
ที่ส่งถึงพระสันตะปาปานั้นว่า
"สมเด็จพระเจ้าศรีอโยธยา[1] ผู้ใหญ่"

พระองค์ไม่ทรงเคยลงพระนามในสาส์นใด ๆ ที่ทรงเขียน โลหะซึ่งใช้เขียนราชสาส์น และซึ่งไม่มีผู้อื่นใดในราชอาณาจักรของพระองค์ นอกจากตัวพระองค์เอง จะได้รับอนุญาตให้ใช้นั้น ได้รับการพรรณนาไว้ว่า เป็นเครื่องยืนยันอันแม่นยำและโต้แย้งมิได้ว่า สาส์นนี้เป็นของพระเจ้าแผ่นดิน เมื่อจะทรงส่งสาส์นถึงท้าวพระยามหากษัตริย์ จะทรงพระอักษรลงบนแผ่นทองคำ[2] เท่านั้น และเมื่อจะทรงพระอักษรถึงบุคคลด้อยศักดิ์กว่าและเอกชน[3] ก็มักเป็นกระดาษซึ่งประทับราชลัญจกรของพระองค์อันมีขนาดเล็กใหญ่แตกต่างกันไปตามสถานะของบุคคลที่ทรงพระอักษรถึง

และสำหรับเมอซีเยอกงสต็องส์นั้น นอกจากที่มีกล่าวถึงอยู่ในวจนิพนธ์ต่อจากนี้ไปแล้ว ข้าจะขอเพิ่มเติมบางอย่างสักสองสามเรื่องตามที่ได้มาจากนักเขียนคนอื่น ๆ ซึ่งเป็นเรื่องบันเทิงเริงใจพอและควรค่าแก่การสอดแทรกไว้ตรงนี้

เขาเป็นโปรเตสแตนต์ที่ดีขณะอยู่ในอังกฤษและหลังปักหลักในสยามได้พักใหญ่ แต่ครั้นเขาตกอยู่ในเงื้อมมือเยสุอิต เขาก็ถูกคนเหล่านั้นพาออกนอกรีต[4] และกระทำให้โอบรับศาสนาโรมันคาทอลิกและยอมรับสนับสนุนผลประโยชน์ของฝรั่งเศสจนถึงขั้นโงหัวไม่ขึ้นปานนั้น[5] ซึ่งปรากฏว่า นำชีวิตันตรายร้ายแรงมาสู่เขาในที่สุด เขาใช้ชีวิตบางช่วงอยู่ในตระกูลของและทำการงานกับมิสเตอร์ไวต์คนหนึ่ง[6] ซึ่งเป็นพ่อค้าคนสำคัญของอินเดียตะวันออก[7] ในสยาม ผู้ซึ่งบัดนี้อยู่ที่ลอนดอน และเมื่อไวต์ออกจากสยามไปแล้ว กงสต็องส์ได้ดำเนินการเป็นตัวแทนค้าต่าง[8] ของไวต์ต่อไป ซึ่งวิธีนี้ทำให้เขาสะสมเงินทองได้จำนวนหนึ่ง แล้วจึงก่อร่างสร้างตัว ขั้นแรกที่เขากระทำ คือ ซื้อเรือลำหนึ่งแล้วออกท่องท้องทะเล ทว่า เป็นคราวเคราะห์ที่ถูกสภาพอากาศเลวร้ายบีบให้ต้องหวนกลับ และต้องอับปาง[9] ณ ปากน้ำสยามถึง 2 หน

เมื่อออกท่องท้องทะเลอีก เรือเขาล่มเป็นหนที่ 3 และยิ่งผีซ้ำด้ำพลอยหนัก ด้วยไปล่มอยู่ตรงชายฝั่งมะละบาร์[10] 

  1. นักประวัติศาสตร์สมัยใหม่ เช่น ประเสริฐ ณ นคร (อ้างถึงใน ศานติ ภักดีคำ 2558, น. 9) และวินัย พงศ์ศรีเพียร (2555, น. 51) เห็นว่า "อโยธยา" เปลี่ยนชื่อเป็น "อยุธยา" หลังเสียกรุงแก่พม่าใน พ.ศ. 2112 แต่ในที่นี้ยังคงถอดเป็น "อโยธยา" เพราะอักษรโรมันต้นฉบับว่า "Jov" (เชิงอรรถของวิกิซอร์ซ)
  2. คือ ที่เรียกว่า สุพรรณบัฏ (เชิงอรรถของวิกิซอร์ซ)
  3. "บุคคลเอกชน" (private person) คือ บุคคลที่มิได้ดำรงตำแหน่งหน้าที่สาธารณะ เช่น "arrest by private person" ภาษาไทยเรียกว่า "การจับกุมโดยราษฎร" (เชิงอรรถของวิกิซอร์ซ)
  4. ในภาษาเก่า คำว่า "pervert" แปลว่า พลิกคว่ำพลิกหงาย ทำให้ออกนอกลู่นอกทาง ทำให้เสื่อมเสีย ทำให้แปดเปื้อน หรือทำให้เสียความรู้สึกผิดชอบ ดังที่ Kersey (1708, น. 486) นิยามว่า "to turn upſide down; to debauch, corrupt, or ſpoil" และ Bailey (1730, น. 558) นิยามว่า "to turn upſide down; to miſlead; to debauch, to corrupt or ſpoil; to turn to a wrong Senſe" (เชิงอรรถของวิกิซอร์ซ)
  5. ในภาษาเก่า Kersey (1708, น. 697) นิยาม "zeal" ว่า ความหลงใหลอย่างแรงกล้าในเรื่องใด ๆ โดยเฉพาะในเรื่องศาสนาของตนเอง ("an earneſt Paſſion for any thing, more eſpecially for one's Religion") และ "zeal" ยังสามารถสื่อถึง "zeal of the convert" ซึ่งหมายถึง การอุทิศตนอย่างแรงกล้าให้แก่ความเชื่อใหม่ที่ต่างจากความเชื่อเดิมของตนโดยสิ้นเชิง (เชิงอรรถของวิกิซอร์ซ)
  6. จอร์จ ไวต์ (เชิงอรรถของวิกิซอร์ซ)
  7. บริษัทอินเดียตะวันออก (เชิงอรรถของวิกิซอร์ซ)
  8. ในภาษาเก่า "factor" หมายถึง ผู้ทำการแทนพ่อค้าคนหนึ่งอยู่ในดินแดนโพ้นทะเล หรือผู้ซื้อและขายสินค้าในฐานะที่เป็นทรัสตี (ผู้ได้รับมอบหมายให้ดูแลกิจการหรือทรัพย์สิน) ของผู้อื่น ดังที่ Kersey (1708, น. 260) นิยามว่า "an Agent for a Merchant beyond Sea" และ Bailey (1730, น. 305) นิยามว่า "one who is an agent for a merchant beyond ſea, one that buys and ſells goods as a truſtee for other perſons" คำว่า "ตัวแทนค้าต่าง" เป็นคำในกฎหมายไทย (เชิงอรรถของวิกิซอร์ซ)
  9. Dictionary.com (2022a) ว่า "cast away" เป็นสำนวนแปลว่า ประสบเหตุเรือล่ม (เชิงอรรถของวิกิซอร์ซ)
  10. อาจหมายถึง ชายฝั่งมะละบาร์ ประเทศอินเดียปัจจุบัน (เชิงอรรถของวิกิซอร์ซ)