ข้ามไปเนื้อหา

หน้า:Karl Marx - Wage Labor and Capital - tr. Harriet E. Lothrop (1902).djvu/89

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
23
บทนำ

ทาสค้าจ้างในเรือนเบี้ยพฤตินัย ชนกรรมาชีพ ซึ่งมีจำนวนสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ในขณะเดียวกันก็ถูกเครื่องจักรประหยัดแรงงานแบบใหม่แย่งที่อย่างต่อเนื่อง กล่าวอย่างรวบรัดคือ สังคมเข้าตาจน หมดทางหนี เหลือทางเลือกเดียวคือการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจอันเป็นรากฐาน จากมุมมองนี้ มาคส์ตัดสินเมื่อสี่สิบปีก่อน ในหลักการ ว่าจะสนับสนุนการค้าเสรีในฐานะแผนการที่ก้าวหน้ากว่า และฉะนั้น เป็นแผนการที่จะพาสังคมทุนนิยมถึงทางตันนั้นได้เร็วที่สุด แต่หากมาคส์สนับสนุนการค้าเสรีด้วยเหตุผลนี้ ก็เป็นเหตุผลให้ผู้สนับสนุนระเบียบสังคมปัจจุบันหันมาประกาศต้านการค้าเสรีกันหมดไม่ใช่หรือ? หากบอกว่าการค้าเสรีเป็นแนวปฏิวัติ พลเมืองดีทั้งหลายไม่ควรหันมาลงคะแนนให้การคุ้มครองอันเป็นแผนการอนุรักษ์นิยมหรือ?

หากประเทศใดในยุคนี้ยอมรับการค้าเสรี ก็มิได้ทำไปเพื่อโปรดพวกสังคมนิยม เพราะการค้าเสรีได้กลายเป็นสิ่งจำเป็นต่อนายทุนอุตสาหกรรม แต่หากเขาไม่เอาการค้าเสรีแล้วยึดติดการคุ้มครองเพียงเพื่อฉ้อหายนะทางสังคมที่คาดไว้ไปจากพวกสังคมนิยม ก็มิได้ทำลายโอกาสของสังคมนิยมเลยแม้แต่น้อย การคุ้มครองเป็นแผนการเพื่อผลิตผู้ผลิตโดยวิธีเทียม และจึงเป็นแผนการเพื่อผลิตแรงงานรับจ้างโดยวิธีเทียมเช่นกัน ท่านจะขยายพันธุ์อย่างหนึ่งแล้วเว้นอีกอย่างไม่ได้ แรงงานรับจ้างเดินตามรอยเท้าเจ้าของโรงงานไปทุกแห่ง เหมือน “ความวิตกหม่นดำ” ของฮอเรซ ที่นั่งซ้อนท้ายม้าเกาะหลังอัศวินตามไปทุกแห่ง[a] ท่านมิอาจฝืนชะตา ท่านมิอาจหนีผลอันจำเป็นของกรรมที่ท่านก่อ ระบบการผลิตบนการขูดรีดแรงงานรับจ้าง ที่ยิ่งจ้างและยิ่งขูดรีดคนงานแล้วยิ่งมั่งมี ระบบทำนองนี้อย่างไรเสีย

  1. อ้างถึง ศังสกานท์ บทประพันธ์โดยฮอเรซ ในเล่มที่ 3
    fastidiosus: sed Timor et Minae
    scandunt eodem quo dominus, neque
    decedit aerata triremi et
    post equitem sedet atra Cura.

    แปลว่า "... แต่ความกลัวและภัยอันตรายปีนขึ้นมาเสมอกับเจ้านาย ความวิตกหม่นดำจะไม่ทิ้งเรือเลี่ยมสำริด และจะนั่งซ้อนท้ายไปกับอัศวิน" (เชิงอรรถของวิกิซอร์ซ)