จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัตินี้สืบไปดังนี้ว่า
มาตรา๑การแต่งงานตามกฎหมายแลธรรมเนียมฝ่ายสยามนั้นเปนการปฏิญญาณสัญญากันในระหว่างสามีกับภิริยาซึ่งมีข้อสำคัญตามปรกติใช้ได้เหมือนกันข้อสัญญากันอย่างอื่น ๆ แลเหตุฉนั้น เมื่อได้แสดงถ้อยคำปฏิญญาณต่อกันฤๅได้ทำการมงคลพิธีให้เปนที่ปรากฎชัดเจนว่า ชายหญิงทั้งสองฝ่ายนั้นยินยอมพร้อมใจกันสมัคที่จะเปนสามีภิริยาต่อกัน แลฝ่ายชายก็ดี ฤๅฝ่ายหญิงก็ดี ไม่ได้กระทำการอันเปนที่ต้องห้ามตามกฎหมายฉนั้นแล้ว ก็นับว่าเปนอันได้กระทำการแต่งงานกันถูกต้องใช้ได้ตามกฎหมาย
มาตรา๒เมื่อชายแลหญิงทั้งสองฝ่ายก็ดี ฤๅแต่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดก็ดี เปนผู้ที่อยู่ในกรุงสยามแล้ว การที่ตกลงปรองดองพร้อมใจกันที่จะเปนสามีแลภริยาซึ่งกันแลกันนั้น จะพึงพิสูทธ์ให้เปนหลักฐานตามกฎหมายได้ในเวลาที่กระทำการแต่งงานกัน ฤๅในเวลาที่แต่งกันแล้ว โดยแสดงคำปฏิญญาณอันนั้นให้ปรากฎต่อหน้าผู้มีชื่อซึ่งรู้จักกันมากเปนพยานอย่างน้อยที่สุด ๔ คน ถ้าแต่งกันในกรุงเทพฯ ก็ให้แสดงคำปฏิญญาณนี้เฉภาะหน้าเสนาบดีกระทรวงพระนครบาลฤๅผู้แทนเสนาบดีนั้น ถ้าเปนการนอกกรุงเทพฯ ก็ให้แสดงต่อผู้ว่าราชการเมืองซึ่งชายแลหญิงฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดอยู่ในขณะนั้นอยู่เมืองนั้น
มาตรา๓ให้เจ้าพนักงานผู้รับคำแสดงนั้นเขียนคำปฏิญญาณ