ข้ามไปเนื้อหา

หน้า:Photchananukrom Kotmai 2474.djvu/37

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
32
ขาดยื่นคำให้การ

มีโอกาศจะขอให้ศาลพิจารณาใหม่ได้เมื่อมีเหตุผลอันสมควร (พ.ร.บ. วิธีพิจารณาความแพ่ง ร.ศ. ๑๒๗ มาตรา ๕๐) ส่วนคดีอาชญา จำเลยขาดนัด จะสืบพะยานโจทก์ไปฝ่ายเดียวไม่ได้ เพราะการพิจารณาจะต้องพิจารณาต่อหน้าจำเลยทุกคราวไป (พ.ร.บ. วิธีพิจารณาความมีโทษสำหรับใช้ไปพลางก่อน ร.ศ. ๑๑๕ มาตรา ๑๑) แต่เป็นโอกาศให้ศาลเรียกประกันตัวจำเลย หรือถ้ามีประกันอยู่แล้ว ก็อาจจะถูกถอนประกันเสียได้

ถ้าโจทก์จำเลยขาดนัดทั้งสองฝ่าย ในคดีแพ่ง จะต้องถูกจำหน่ายความเรื่องนั้นออกจากบัญชี แต่โจทก์จะฟ้องใหม่อีกก็ได้เมื่อไม่เกินอายุความ (พ.ร.บ. วิธีพิจารณาความแพ่ง ร.ศ. ๑๒๗ มาตรา ๔๖) ส่วนความอาชญา ก็จะต้องถูกจำหน่ายบัญชีเช่นเดียวกัน
ขาดยื่นคำให้การ จำเลยมิได้ไปแก้คดีหรือยื่นคำให้การตามวันเวลาที่ศาลกำหนด ในคดีแพ่ง มีผลให้จำเลยสืบพะยานฝ่ายตนเองมิได้ ได้แต่จะสาบาลตัวเองแล้วเบิกความ กับจะคอยซักค้านพะยานโจทก์เท่านั้น (พ.ร.บ. วิธีพิจารณาความแพ่ง ร.ศ. ๑๒๗ มาตรา ๔๕) ส่วนในทางอาชญา จำเลยยังมีอำนาจที่จะสืบพะยานตนเองได้ (พ.ร.บ. วิธีพิจารณาความมีโทษสำหรับใช้ไปพลางก่อน ร.ศ. ๑๑๕ มาตรา ๑๒)