ข้ามไปเนื้อหา

หน้า:Photchananukrom Kotmai 2474.djvu/36

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
31
ขันต่อ

มาตรา ๓๕ ข้อ ๓) เมื่อศาลเห็นสมควร ศาลอาจจะไต่สวนแลลงโทษเสียเองในทันทีก็ได้ (พ.ร.บ. วิธีพิจารณาความแพ่ง ร.ศ. ๑๒๗ มาตรา ๑๓๗)

ขันต่อ การพะนันที่มีการต่อรองกัน (ดู การพะนัน)
ขันหมาก ขันใส่หมากพลูของเจ้าบ่าวซึ่งเชิญไปพร้อมกับของอื่นในพิธีแต่งงานเพื่อเป็นเครื่องคำนับผู้ปกครองของเจ้าสาว (ดู กฎห์ ลักษณะผัวเมีย บทที่ ๑๑๔)
ขาดนัด คู่ความฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดที่มิได้ไปศาลตามกำหนดวันเวลาที่ได้นัดไว้
โจทก์ขาดนัดฝ่ายเดียว ถ้าเป็นคดีแพ่ง ศาลมีอำนาจที่จะสั่งให้จำหน่ายคดีเสียได้ (พ.ร.บ. วิธีพิจารณาความแพ่ง ร.ศ. ๑๒๗ มาตรา ๔๗) แต่โจทก์มีโอกาศที่จะร้องขอให้กลับพิจารณาใหม่ได้เมื่อมีเหตุผลสมควร (พ.ร.บ. วิธีพิจารณาความแพ่ง ร.ศ. ๑๒๗ มาตรา ๕๐) ถ้าเป็นคดีอาชญา ศาลมีอำนาจที่จะตัดสินยกฟ้องของโจทก์เสียทีเดียวก็ได้ (พ.ร.บ. ลักษณะพะยาน ร.ศ. ๑๑๓ มาตรา ๓๒, พ.ร.บ. วิธีพิจารณาความมีโทษสำหรับใช้ไปพลางก่อน ร.ศ. ๑๑๕ มาตรา ๑๐)
จำเลยขาดนัด ถ้าเป็นคดีแพ่ง ศาลสืบพะยานโจทก์ไปฝ่ายเดียวแล้วตัดสินไปตามรูปความ (พ.ร.บ. วิธีพิจารณาความแพ่ง ร.ศ. ๑๒๗ มาตรา ๔๘) แต่จำเลย