ข้ามไปเนื้อหา

หน้า:Prachum Chotmaihet Samai Ayutthaya 2510.djvu/189

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้ตรวจสอบแล้ว
เรื่องจดหมายการพระศพ
สมเด็จพระรูป วัดพุทไธสวรรค์ กรุงเก่า

[1]๏ วัน ค่ำ จุลศักราช ๑๐๙๗ ปีเถาะสพศ่ก[2] เพลาย่ำฆ้องค่ำแล้ว ๓ บาด สมเดจ์พระรูปเจ้า[3] เสรจ์นิฦๅภาณณ่วัดพุไทยสวัรร ฯ เสดจ์ลงไปณะพระศภ จึงทรํง ฯ สังว่า ให้เชีนสมเดจ์พระบรํมศภขึ้นไปไว้ณ่พระทือนังจักระหวัดไภยชํลมหาปราสาททนั้นแล พระธรรมาฯ กราบทูลพระก่รรุนา ฯ ด้วยการจ่ตั้งเคริองพระมหาก่ถิน[4] สำมรับการสมเดจ์พระบรมศภ แลคนแห่แลจ่หามพญาณุมาดนั้นน้อย มิครํบการ จึง ฯ ทรํง ฯ สังวา ให้วานเอาล้อมพระราชวัง ๖๐ คนแบงให้ข้างพระอพิรํม ๓๐
พระราธียาร ๓๐
๖๐ คํน[5] แลทือจ่ตั้งเครื้องณ่พระธินั้งจักระหวัดนั้น ฯ ก่ให้ตั้งการตามสมควรเทีษ

แลคั้นณ่วัน ๑๒ ฯ  ค่ำ เพลาบายแล้วโมง ๑ ฯ เสดจ์ ฯ ลงไปเชีนสมเดจ์พระบรมศภ ครั้นเพลาย่ำฆ้องค่ำ ชาวทีจิงเชีนพระเฉลียงเงินเซ้า[6] มารับสมเดจ์พระบรํมโกฏลงพญานุมาด ๓ คานซึ่งตั้งอยู่ณเรือพระทือนั่งนั้น แล้วจึงเชินสมเดจ์พระบรมศภแหเปนกระบวญมาตามทางชณมาต ล้นเกล้า ฯ ก่เสดจ์ ฯ มาด้วย

ครั้นถึงฉหนวนประทับเรือณ่ท่าปราบ[7] แล้ว จึง ฯ ทรํง ฯ สังให้เชีนสมเดจ์พระบรมศภขึ้นจากเรือพระทือนั่งแล้ว แลเรือพระทือนั่งซึ่งล้นเกล้า ฯ ทรงมานั้นถอยหลังไปยประทับณ่ขนานประจำท้าพระราชวังหลวง แลขุนทิพภัยชนคุมพระราธยานทองลงไปยรับเสดจ์ ฯ จิงเชีนเครื่องสิบแปดอยางกลางแหเสดจ์ ฯ ไปหนาจวญทหารใน ใปเฃ้าปรตูท่าปราบตามสมเดจ์พระบรํมศภถึงพระทือนังจักระหวัดภัยชนม่หาปราสาท

แล้วเสดจ์ ฯ ขึ้นเกยฝายขวา แตสมเดจ์พระบรํมศภนั้น ชาวทือเชีนพระเฉลียงเงินต่อชาวเครื่องไปรับสมเดจ์พระบรํมศภเข้าไปในพระทือนั้ง ตั้งเหนิอพระเบญาแลว จิงเชีนเครื่องพระอพิรํม ๕ ชั้นเข้าตั้ง ๓ ด้าน เปนเครื่งสูง ๔ คู้ แลกานฃาดใด้เอามาตั้ง มีแต้งอยู่ในยแผนกเผนทือพระนัี่งขกรระหวัดนั้นแล้ว ครั้นเชีญสมเดจ์พระบรํมศภขึ้นตั้ง


  1. อักษรวิธีตามต้นฉบับ
  2. พุทธศักราช ๒๒๗๘
  3. สมเด็จเจ้าฟ้าสุดาวดี กรมหลวงโยธาเทพ พระราชธิดาสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เป็นพระมเหสีซ้ายสมเด็จพระเพทราชา เมื่อจะสิ้นพระชนม์ ทรงผนวชเป็นชี จึงเรียกในหนังสือนี้ว่าพระรูป
  4. ที่เรียกเครื่องพระมหากฐินในหนังสือนี้หมายความว่าเครื่องสูง คือ อภิรุม ชุมสาย แลบังแทรกรวมกัน
  5. การที่ถึงกราบบังคมทูลขอเรียนพระราชปฏิบัติเรื่องเกณฑ์แห่ขาด ๖๐ คน ชวนให้เห็นว่า ในครั้งนั้นผู้คนรับราชการจะบกพร่องมิใช่น้อย
  6. พระเสลี่ยงก็เห็นจะทำนองที่เรียกว่าพระเสลี่ยงหิ้ว แต่ในชั้นกรุงรัตนโกสินทร์ไม่ปรากฏว่ามีเสลี่ยงเงิน
  7. ท่าเจ้าปราบนั้นอยู่ทำนองท่าขุนนางในกรุงเทพฯ