ข้ามไปเนื้อหา

หน้า:Prachum Chotmaihet Samai Ayutthaya 2510.djvu/49

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ยังไม่ได้พิสูจน์อักษร
๒๑
ทางพระราชไมตรีและค้าขาย

ฟังแล้ว จะได้ไม่เปนที่หวั่นหวาดแก่บิดามารดาผู้จะยอมให้บุตรออกไปเปนนักเรียนนั้น ชาวสยามซึ่งไปราชการกรุงฝรั่งเศสในครั้งนี้ คือ ทูตานุทูต ๓ นาย นักเรียน ๕ นาย รวมเปน ๘ นาย กับขุนนางพนักงานแลคนใช้สอยตามสมควร

กำปั่นรบที่รับทูตานุทูตสยามใช้ใบไปประมาณ ๒ เดือนเศษจึงถึงน่าแหลมเข็ม ซึ่งกำปั่นรบโปรตุเกศได้มาแตกที่ตรงนี้ เมื่อออกขุนชำนาญได้เห็นแหลมนั้น ก็รฦกถึงการเก่าซึ่งได้มีความลำบากในที่นี้เปนอันมาก

ครั้นถึงณเดือนห้า ขึ้นหกค่ำ ปีมะโรง ยังเปนนพศก เวลาบ่าย ๕ โมง กำปั่นไปถึงอ่าวแหลมเคปออฟกุดโฮป ได้ทอดสมอในที่นั้น พักอยู่ ๑๐ วัน แล้วก็ใช้ใบต่อไป

ถึงณเดือน ๘ ขึ้นสิบห้าค่ำ ปีมะโรง สัมฤทธิศก จุลศักราช ๑๐๕๐ กำปั่นไปถึงอ่าวเมืองบเรศต์ ทูตานุทูตสยามได้ขึ้นจากกำปั่นรบที่ไปนั้น แล้วเปลี่ยนไปลงกำปั่นรบเล็ก ๆ ลำใหม่ ใช้ใบต่อไปจนถึงเมืองรุเอ็น แล้วขึ้นรถเทียมม้าต่อไปหลายวันจนถึงกรุงปารีศ ได้พักอยู่ที่ตึกรับแขกเมืองหลายวัน คอยว่าเครื่องราชบรรณาการจะไปถึงจึ่งจะเข้าเฝ้าพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสได้ ครั้นเครื่องราชบรรณาการซึ่งเจ้าพนักงานฝรั่งเศสขนส่งไปถึงกรุงปารีศแล้ว ทูตานุทูตสยามได้ขอต่อเสนาบดีฝรั่งเศสว่า จะขอเข้าเฝ้าพระเจ้ากรุงฝรั่งเศส ๆ หาได้ประทับอยู่ในกรุงปารีศไม่ เสด็จไปประทับแรมอยู่ที่พระราชวังในเมืองฟอนเตนโปล นอกกรุงปารีศ ครั้นพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสได้ทรงทราบว่า ราชทูตสยามมาถึงแล้ว จึงมีรับสั่งกำหนดว่า จะเสด็จออกรับราชทูตสยามที่พระราชวังณเมืองเวอร์ไซล์ เปนที่ทรงพระประพาศนอกกรุงปารีศ ณเดือนอ้าย ขึ้นเจ็ดค่ำ ปีมะโรง สัมฤทธิศก ตรงกับวันที่ ๑๕ เดือนดีแซมเบอร์ คือ เดือนธันวาคมข้างน่านั้น ครั้นได้ทรงทราบว่า ราชทูตสยามจะต้องไปถวายพระราชสาส์นต่อโปปกรุงโรมด้วย จึงมีพระราชดำรัสสั่งเสนาบดีให้มาแจ้งความแก่ราชทูตสยามว่า ถ้าจะรอคอยเฝ้าตามวันกำหนดนั้น ก็จะไม่ทันไปเฝ้าโปปกรุงโรม แลจะไม่ทันฤดูลมที่จะกลับไปกรุงสยามได้ เพราะฉนั้น ให้ทูตานุทูตสยามรีบไปเฝ้าโปปณกรุงโรมก่อน แล้วจึงกลับมากรุงฝรั่งเศส จึงจะได้เข้าเฝ้าพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสพร้อมกัน แล้วจะได้กลับไปกรุงสยามให้ทันฤดูลม

ครั้นทูตานุทูตสยามได้ทราบพระราชดำรัสพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสนั้นแล้ว เมื่อถึงวันที่ ๕ เดือนโนเวมเบอร์ คือ เดือนพฤศจิกายนตรง กับเดือน ๑๑ แรม ๑๑ ค่ำในปีนั้น ทูตานุทูตสยามก็ขึ้นรถออกจากกรุงปารีศพร้อมด้วยบาดหลวงล่ามผู้กำกับแลชาวสยามคนใช้ ๒ นายไปจนถึงเมือง (กัน) อันอยู่ชายทเล ได้ลงเรือใบ ๒ ลำซึ่งเสนาบดีผู้ว่าราชการต่างประเทศสั่งให้จัดมารับ ใช้ใบออกจากเมืองนั้นต่อไปจนถึงปากอ่าวเมืองเยนูวา ประเทศอิตาลี พักอยู่ที่นั้นสองสามวัน ก็ใช้ใบเลียบฝั่งต่อไปอิก ได้พักตามหัวเมือง (จิวิตา เวกเกีย) รายทางใน ทเลหลายเมือง ถึงปากอ่าวเมืองชีวิตเวกวียะซึ่งเปนปากอ่าวของกรุงโรม ในวันที่ ๒๐ เดือนธันวาคม ตรงกับเดือนอ้าย ขึ้น ๑๒ ค่ำ ในปีนั้น เรือสองลำได้เข้าไปในลำน้ำวัน ๑ ก็ถึงน่ากรุงโรม ได้ขึ้นรถเล่ม ๑ เทียมม้า ๓ คู่ ซึ่งท่านมหาสังฆราชผู้ว่าราชการต่างประเทศกรุงโรมได้จัดมารับทูตานุทูตสยาม ๆ ได้พักในที่ตึกใหญ่โตระโหฐานเปนที่สำราญมาก ซึ่งท่านมหาสังฆราชจัดไว้รับรอง แลมีการเลี้ยงอย่าง