ศุภมัสดุ ๑๑๖๖ มุสิกะสังวัจฉะระมาฆะมาศ ศุกะปักษยปาฎิบท[2] ดฤษถีคุรุวาระ บริเฉทะกาลกำหนด พระบาทสมเดจ์พระบรมราชาธิราชรามาธิบดี ศรีสินทรบรมมหาจักรพรรดิราชาธิบดินทรธรนินทราธิราช รัตนากาศภาศกระวงษองคบรมาธิเบศ ตรีภูวเนศวรนารถนายกดิลกรัตนราชชาติอาชาวะไศรยสมุทยดโรมนต์ สกลจักรวาฬาธิเบนทร สุริเยทราธิบดินทรหริหรินทราธาดาธิบดี ศรีสุวิบุลคุณอักขนิตฤทธิฤทธีราเมศวรธรรม์มิกราชาธิราชเดโชไชยะพรหมเทพาดิเทพตรีภูวนาธิเบศโลกะเชษฐวิสุทธิมกุฎประเทศคะตามหาพุทธางกูร บรมบพิตรพระพุทธิเจ้าอยู่หัว อันเสดจ์ปราบดาภิเศกผ่านพิภพกรุงเทพทวาราวดีศรีอยุทธยา มหาดิลกภพนพรัตนราชธานีบุรีรมย เสดจ์ออกพระธี่นั่งบุษบกมาลามหาจักรพรรดิพิมาน พร้อมด้วยหมู่มุกขมาตยามนตรีกระวิชาติราชสุริวงษพงษพฤฒาโหราจารย เฝ้าเบี้องบาทบงกชมาศ จึ่งเจ้าพญาศรีธรรมราชเดชะชาติอำมาตยานุชิตรพิพิทวรวงษ[3] พงษภักตยาธิเบศวราธิบดี ศรีรัตนราชโกษาธิบดีอภัย
- ↑ ประกาศพระราชปรารภนี้ปรากฎมีอยู่ในหน้าต้นแห่งฉะบับหลวงทุกฉะบับ เว้นแต่ฉะบับใดมีตัวบทกฎหมายยืดยาวซึ่งต้องเขียนเป็นหลายเล่มต่อ ๆ กันแล้ว ประกาศนี้จึ่งเขียนฉะเพาะในตอนต้นแห่งเล่มที่ ๑ แต่เล่มเดียว ณ ที่นี้พิมพ์ตามต้นฉะบับหลวง L1 คือ ตามฉะบับที่มีพระธรรมสาตรเขียนไว้ด้วย
- ↑ มีใบบอกแก้คำผิดให้แก้ "ปาฎิบท" เป็น "ปาฏิบท" (เชิงอรรถของวิกิซอร์ซ)
- ↑ บางฉะบับว่า พิพิธวงษ หรือ พิพิทธวรวงษ