พีรียบรากรมภาหุ กราบบังคมทูลพระกรรุณาด้วยข้อความนายบุญศรี[1] ช่างเหลกหลวงร้องทุกข[2] ราชกล่าวโทษ พระเกษม
นายราชาอรรถ ใจความว่า อำแดงป้อม ภรรยานายบุญศรี ฟ้องหย่านายบุญศรี ๆ ให้การแก่พระเกษมว่าอำแดงป้อมนอกใจทำชู้ด้วยนายราชาอรรถแล้วมาฟ้องหย่านายบุญศรี ๆ ไม่หย่า พระเกษมหาพิจารณาตามคำให้การนายบุญศรีไม่พระเกษมพูดจาแพละโลมอำแดงป้อม แลพิจารณาไม่เปน สัจ
ธรรม เข้าด้วยอำแดงป้อม แล้วคัดข้อความมาให้ลูกขุนสานหลวงปฤกษา ๆ ว่า เปนหญิงหย่าชาย ให้อำแดงป้อมกับนายบุญศรีขาดจากผัวเมียกันตามกฎหมาย จึ่งทรงพระกรรุณาตรัสว่า หญิงนอกใจชายแล้วมาฟ้องหย่าชาย ลูกขุนปฤกษาให้หย่ากันนั้นหาเปน ยุติ
ธรรม ไม่ จึ่งมีพระราชโองการตรัสสั่ง ให้เจ้าพญาพระคลังเอากฎหมายณสานหลวงมาสอบกับฉบับ หอหลวง
ข้างที่ ได้ความว่า ชายหาผิดมิได้ หญิงขอหย่า ท่านว่า เปนหญิงหย่าชาย หย่าได้ ถูกต้องกันทังสามฉบับ จึ่งมีพระราชโองการมานพระบันทูลสูรสิงหนาทดำรัสว่า ฝ่ายพุทธจักรนั้น พระไตรยปิฎกแปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์อันสมเดจ์พระพุทธิเจ้าทรงพระมหากรรุณาประดิษฐานไว้ต่างพระองคได้เปนหลักโลกยสั่งสอนบรรพชิตบริษัษยแลฆราวาศบริษัษยได้ประฏิบัดิ[3] รู้ซึ่งทางศุคติภูมแลทุคติภูม แลพระ
- ↑ บางฉะบับเขียนว่า บุญสี
- ↑ ต้นฉะบับเขียนว่า ทุคราช ฉะบับอื่นว่า ทุกขราช บ้าง ทุกคราช บ้าง
- ↑ มีใบบอกแก้คำผิดให้แก้ "ประฏิบัดิ" เป็น "ประฏิบัดิ" (เชิงอรรถของวิกิซอร์ซ)