ข้ามไปเนื้อหา

หน้า:Prachum Kotmai Ratchakan Thi Nueng 2482 (1).djvu/349

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๓๓๕
ภญาน

4
มาตราหนึ่ง ผู้มีอรรถคดีทังสองเปนความกันอ้างพญาณ ฝ่ายค่างหนึ่งอ้างได้ทิพญาณก็ดี อุดรพญาณก็ดี อุตริพญาณก็ดี ท่านให้พิดเคราะดูคำพญาณ ๓ ประการนี้ไซ้ ถ้าว่าสมด้วยผู้อ้าง ให้พึงพิจารณาดูผู้มีอรรถคดีทังสองนั้น ผู้ใดเปนอุก ผู้ใดหมีได้เปนอุก ให้พิภากษาตามโทษนั้นเถิด
5
อนึ่ง ทังสองอ้างพญาณร่วมกันอันเดียว ถ้าสมข้างผู้ใด ให้เอาข้างผู้นั้นเปนชณะแก่ความ ท่านเรียกว่า สมพญาณ ถ้าสมพญาณมีพิรุท ท่านเรียกว่า อะสมพญาณ ท่านว่า หมีเปนชณะแก่ความ ให้เลงดูเขาทังสองสถานนี้ ให้พญาณนั้นพิสูทตัวเอง ถ้าชณะแก่พิสูทแล้ว เปนชณะแก่ความ กล่าวมาทังนี้ชื่อว่า สมพญาณอะสมพญาณ
6
อนึ่ง ถ้าโจท
จำเลย
อ้างพญาณต่าง ๆ กัน ชื่อ นา ๆ พญาณ ถ้าอ้างร่วมกัน ชื่อ สมะพญาณ สมคำผู้ใดเปนชณะแก่ความ ถ้าพิรุทไซ้ ชื่อ อะสมพญาณ หมีเปนชนะแก่ความ ให้ใคร่ดูทิพพญาณอุดร
อุตริ
พญาณที่จะฟังได้หฤๅหมีได้ ให้ฟังเอาแต่ที่อันจริง ถ้าผู้หนึ่งอ้างพญาณ ครั้นไปเผชิญพญาณ ๆ ให้การว่า มีผู้รู้เหนได้ยินเปน ๓ ต่อออกไป ชื่อ โยนพญาน สมดังคำอ้าง ฟังเอาเปนพญาณได้
ม.ธ.ก.