เรื่องของสมเด็ดพระเจ้ากรุงธนบุรี/ผู้วายชนม์

จาก วิกิซอร์ซ
พระยาศรีสกลไกรนุชิต (สวาสดิ์ ศรีสกลไกรนุชิต ภัทรนาวิก)
พระยาศรีสกลไกรนุชิต (สวาสดิ์ ศรีสกลไกรนุชิต ภัทรนาวิก)


  • ชาตะ   27 พรึสจิกายน 2426.
  • มรนะ   22 สิงหาคม 2487.

ประวัติ
นายสวาสดิ์ สรีสกลไกรนุชิต ภัทรนาวิก
(พระยาสรีสกลไกรนุชิต)


นายสวาสดิ์ สรีสกลไกรนุชิต ภัทรนาวิก เกิดเมื่อปีมะแม วันอังคาร แรม 13 ค่ำ เดือน 12 ตรงกับวันที่ 27 พรึสจิกายน พ.ส. 2426 เปนบุตรพระยาวรสิทธิเสวีวัตร์ (ไต้ฮัก) คุนแม่ผาดเปนมารดา

การสึกสาและคุนวุทธิ

เริ่มแรก ได้เข้าเรียนหนังสือไทยที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ต่อมา ได้เข้าเรียนที่โรงเรียนอัสสัมชัญเพื่อสึกสาวิชาภาสาต่างประเทส จากโรงเรียนอัสสัมชัญ ได้ไปสึกสาวิชาบั้นปลายที่โรงเรียนราชวิทยาลัย กรุงเทพฯ อาสัยที่เปนผู้มีความขยันหมั่นเพียรไนการสึกสาแต่ต้นตลอดมา โดยฉเพาะหย่างยิ่ง วิชาภาสาต่างประเทส นับว่า เปนเยี่ยมไนการสอบไล่ทุกคราว และได้รับคำชมเชยจากครูบาอาจารย์หยู่เปนนิจ เจ้าคุนผู้บิดาเห็นว่า หากจะได้ส่งเข้าโรงเรียนที่สอนภาสาต่างประเทสสูงกว่าโรงเรียนไนกรุงเทพฯ แล้ว ก็จะเปนผู้มีความรู้ความสามาถอันอาดจะอำนวยประโยชน์ไห้แก่ประเทสชาติไนพายหน้าได้เปนหย่างมาก ดังนั้น ไนปี พ.ส. 2441 จึงได้ถูกส่งตัวไปสึกสาวิชาต่อนะโรงเรียนเซ็นต์ซาเวียอินสติติวชั่นที่เมืองปีนังจนถึง พ.ส. 2445 สอบไล่ได้ชั้น 7 ของโรงเรียน และได้รับเซอร์ติฟิเกตของรัถบาลสเตรตเสตเติลเมนต์ เมื่อกลับเข้ามาบ้านเกิดเมืองมารดรแล้ว จึงได้เข้ารับราชการไนกะซวงมหาดไทย และได้ถูกส่งตัวไปสึกสาวิชาข้าราชการพลเรือนที่มนทลกรุงเก่า

ตลอดอายุราชการของนายสวาสดิ์ สรีสกลไกรนุชิต ภัทรนาวิก ได้อำนวยประโยชน์ไห้แก่ราชการแผ่นดินเปนหย่างดียิ่ง โดยฉเพาะหย่างยิ่ง ไนการติดต่อกับชาวต่างประเทสที่เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารทำการค้าหยู่ไนราชอานาจักรไทยตามจังหวัดต่าง ๆ เช่น ไนจังหวัดภาคไต้ที่มีการทำเหมือง หรือไนจังหวัดภาคเหนือที่มีการป่าไม้ เพราะเกือบตลอดอายุราชการของนายสวาสดิ์ สรีสกลไกรนุชิต ภัทรนาวิก ได้ถูกโยกย้ายไปประจำการหยู่ตามจังหวัดชายแดนทางภาคไต้และภาคตะวันออกเสียเปนส่วนมาก ตามบันทึกความเห็นของผู้บังคับบันชานับแต่เริ่มรับราชการมาจนกะทั่งออกรับพระราชทานบำนาน สแดงไห้เห็นว่า เปนผู้ที่มีอุปนิสัยสัจซื่อต่อหน้าที่ราชการเปนหย่างยิ่ง เคารพและเชื่อฟังคำสั่งสอนของผู้บังคับบันชาและสามาถปติบัติงานที่ได้รับมอบหมายไห้บันลุสมความมุ่งหวังของทางราชการทุกคราวไป แม้ไนบางคราวจะต้องประสบกับอุปสัคและฝ่าอันตรายนานาประการก็ตาม อุทิสเวลาเพื่อราชการแผ่นดินทั้งหมดแม้ไนยามพักผ่อน โดยถือเอาหน้าที่ราชการเหนือกว่าหน้าที่ส่วนตัว ความเข้งแขงทางกำลังไจ ความมานะ ความพากเพียน ความซื่อสัจ ฯ เหล่านี้ ปรากตหยู่หย่างพร้อมมูล อันจะเปนอนุสรและตัวหย่างอันดีเลิสแก่มวนลูกหลานไนชั้นหลังต่อไป

นายสวาสดิ์ สรีสกลไกรนุชิต ภัทรนาวิก ได้เริ่มป่วยเปนโรครูมาติซัม แต่ พ.ส. 2458 ได้พยายามรักสาตัวตลอดมาจน พ.ส. 2474 อาการป่วยมีแต่ซงกับซุด จึงได้กราบถวายบังคมลาออกจากราชการรับพระราชทานบำนานไนปี พ.ส. 2474 นั้นเอง ระหว่างที่ข้าสึกได้มาทำการทิ้งระเบิดไนย่านกรุงเทพฯ นั้น ปรากตว่า ไนคราวหนึ่ง ลูกระเบิดได้ตกลงรอบบ้านที่พักอันเปนการกะทบกะเทือนประสาทของผู้มรนะซึ่งกำลังป่วยหยู่มาก จนกะทั่งต้องอพยพหลบภัยไปพักหยู่ที่อำเพอบางบัวทองพร้อมทั้งครอบครัว แต่เนื่องจากสถานที่ที่ไปพักหลบภัยนั้นหยู่ห่างจากย่านชุมนุมชน การรักสาพยาบาลประสบกับความไม่สดวกนานาประการ เนื่องจากไม่มีแพทย์ผู้สามาถพอที่จะเยียวยาไนยามต้องการได้ อาการป่วยจึงกลับซุดหนักลงถึงกับตาฝ้าฟาง จึงต้องอพยพกลับกรุงเทพฯ แต่ทั้ง ๆ ที่ได้รับการรักสากันหย่างเต็มที่ อาการก็มิได้ดีขึ้น กลับซุดหนักลงจนตามองไม่เห็น และกินอาหารไม่ได้ ดังนั้น จึงถึงแก่มรนะกัมเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม พ.ส. 2487 ไนอาการกิริยาอันสงบท่ามกลางภริยาและบุตร สิริรวมอายุได้ 61 ปี

นายสวาสดิ์ สรีสกลไกรนุชิต ภัทรนาวิก มีบุตรหยิงชายรวมทั้งสิ้น 5 คน ซึ่งทุกคนยังมีชีวิตหยู่ คือ:—

 นางสังวาล จุลละเกส

 ร.ต.อ. สุวัตถิ์ ภัทรนาวิก ผู้บังคับกองตำหรวดภูธร อำเพอเชียงคาน

 นายแสวง ภัทรนาวิก หัวหน้าแผนกต่างประเทส กรมไปรสนียโทรเลข

 นางไสว จุลละเกส

 นางสวิท วสุวัต

ตำแหน่งราชการ

พ.ส. 2446 รองเวนห้องต่างประเทส กะซวงมหาดไทย
พ.ส. 2446 เลขานุการมนทลนครราชสิมา
พ.ส. 2447 นายอำเพอสูงเนิน มนทลนครราชสิมา
พ.ส. 2449 ปลัดเมืองตรัง
พ.ส. 2455 ปลัดกรมพลำพัง กะซวงมหาดไทย
พ.ส. 2456 เกนท์เมืองรั้ง
พ.ส. 2457 เจ้ากรมพลำพัง กะซวงมหาดไทย
พ.ส. 2457 เจ้ากรมสำหรวด กะซวงมหาดไทย
พ.ส. 2457 เจ้ากรมพยาบาล กะซวงมหาดไทย
พ.ส. 2458 ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราสดร์ธานี
พ.ส. 2459 ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร
พ.ส. 2464 ปลัดมนทลมหาราสดร์
พ.ส. 2467 ผู้ว่าราชการจังหวัดตราด
พ.ส. 2471 ผู้ว่าราชการจังหวัดตะกั่วป่า
ยสและบันดาสักดิ์

วันที่ 15 มกราคม 2448 ได้รับพระราชทานบันดาสักดิ์เปนขุนอังคนานุรักส์
วันที่ 4 ตุลาคม 2449 ได้รับพระราชทานยสเปนรองอำมาจเอก
วันที่ 12 มกราคม 2451 ได้รับพระราชทานบันดาสักดิ์เปนหลวงอังคนานุรักส์
วันที่ 6 สิงหาคม 2456 ได้รับพระราชทานยสเปนอำมาจตรี
วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2456 ได้รับพระราชทานบันดาสักดิ์เปนพระนนทราชธานี
วันที่ 20 สิงหาคม 2458 ได้รับพระราชทานบันดาสักดิ์เปนพระสุราสดร์ธานีสรีกเสตรนิคม
วันที่ 4 มกราคม 2459 ได้รับพระราชทานบันดาสักดิ์เปนพระชุมพรบุรีสรีสมุทเขต
วันที่ 20 ธันวาคม 2462 ได้รับพระราชทานยสเปนอำมาจโท
วันที่ 1 มกราคม 2466 ได้รับพระราชทานบันดาสักดิ์เปนอำมาจเอก
วันที่ 10 ตุลาคม 2472 ได้รับพระราชทานบันดาสักดิ์เปนพระยาสรีสกลไกรนุชิต
เครื่องราชอิสริยาภรน์และเหรียน

พ.ส. 2450 ได้รับพระราชทาน เหรียญ รัชมงคล
พ.ส. 2452 "   " " รัชมังคลาภิเสก
พ.ส. 2454 "   " " บรมราชาภิเสก
พ.ส. 2455 "   " เสมา ส.ผ. ลงยา กรอบประดับเพชร
พ.ส. 2460 ได้รับพระราชทานเข็มข้าหลวงเดิม
พ.ส. 2466 ได้รับพระราชทานตราจตุรถาภรน์ช้างเผือก
พ.ส. 2469 ได้รับพระราชทานเหรียนบรมราชาภิเสก
พ.ส. 2474 ได้รับพระราชทานเหรียนจักรพัดิมาลา
ราชการพิเสส

พ.ส. 2445 โปรดเกล้าฯ ไห้นำโปรเฟสเซอร์ไวส์มูลเลอร์ไปชมพระราชวังบางปอินและโบรานสถานที่กรุงเก่า
พ.ส. 2445 โปรดเกล้าฯ ไห้นำเรเวอร์แรนด์เคเนดีไปชมพระราชวังบางปอินและโบรานสถานที่กรุงเก่า
พ.ส. 2445 โปรดเกล้าฯ ไห้นำมองซิเออร์โดโนไปชมเมืองนครชัยสรี
พ.ส. 2446 โปรดเกล้าฯ ไห้นำมิสเตอร์ดันลอป มิสเตอร์มินสตู มิสเตอร์สก๊อต ไปตรวดการเจาะบ่อน้ำที่นครชัยสรี
พ.ส. 2446 โปรดเกล้าฯ ไห้นำดอกเตอร์เคอร์ไปตรวดโรคเจ้าพระยาสุพรรนที่เมืองเพชรบุรี
พ.ส. 2446 ตามสเด็ดสมเด็ดกรมพระยาดำรงราชานุภาพ (ขนะนั้น เปนกรมหลวง) ไปพระราชวังบางปอิน
พ.ส. 2451 ไปราชการเมืองพูเก็ต เมืองสตูล เมืองปลิส เมืองไซบุรี กับพระยาสรีสหเทพ ปลัดทูนฉลองกะซวงมหาดไทย
พ.ส. 2451 ได้นำพันธุ์ข้าวของมนทลพูเก็ตเข้ามาสแดงพิพิธภันท์ที่กรุงเทพฯ
พ.ส. 2452 จัดการรับสเด็ดสมเด็ดพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุตราชกุมาร ซึ่งสเด็ดประพาสเมืองตรัง ได้รับพระราชทานลูกกะดุมเงินลงยามหาวชิราวุธ
พ.ส. 2455 จัดการรับสเด็ดสมเด็ดพระพันปีหลวง ได้รับพระราชทานเสมา ส.ผ. ลงยา กรอบประดับเพชร
ยสเสือป่า

เมื่อ พ.ส. 2454 เมื่อซงพระกรุนาโปรดเกล้าฯ ตั้งกองเสือป่า นายสวาสดิ์ สรีสกลไกรนุชิต ภัทรนาวิก ได้สมัคเข้าเปนสมาชิกเสือป่า และได้รับพระราชทานยสดังนี้

1 พรึสจิกายน 2454 เปนพลเสือป่าประจำกองร้อยที่ 2 เมืองตรัง มนทลพูเก็ต
1 ธันวาคม 2454 เปนผู้บังคับหมวดที่ 1 กองร้อยที่ 2 เมืองตรัง มนทลพูเก็ต
25 พรึสภาคม 2455 เปนว่าที่นายหมู่ตรีประจำกองร้อยที่ 2 เมืองตรัง มนทลพูเก็ต
6 สิงหาคม 2458 เปนนายหมู่โท กองร้อยที่ 6 มนทลกรุงเทพฯ
10 กันยายน 2458 เปนนายหมู่โท กองร้อยที่ 1 เมืองสุราสดร์ธานี มนทลสุราสดร์ธานี
5 มิถุนายน 2459 เปนนายหมวดตรี กองร้อยที่ 1 เมืองสุราสดร์ธานี มนทลสุราสดร์ธานี
17 ธันวาคม 2461 เปนนายหมวดโท กองร้อยที่ 2 เมืองชุมพร มนทลสุราสดร์ธานี
8 พรึสจิกายน 2463 เปนนายหมวดเอก กองร้อยที่ 2 เมืองชุมพร มนทลสุราสดร์ธานี
17 ตุลาคม 2464 เปนนายหมวดเอก กองร้อยที่ 2 เมืองแพร่ มนทลมหาราสดร์
29 พรึสจิกายน 2466 เปนนายกองตรี กองร้อยที่ 2 เมืองแพร่ มนทลมหาราสดร์
26 พรึสจิกายน 2467 เปนนายกองโท กองร้อยที่ 2 เมืองแพร่ มนทลมหาราสดร์