ข้ามไปเนื้อหา

แม่แบบ:สาธารณสมบัติ-ไทย-ยกเว้น/doc

จาก วิกิซอร์ซ

วัตถุประสงค์

[แก้ไข]

แม่แบบนี้ไว้ใช้กำหนดสถานะทางลิขสิทธิ์ของงานตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ของประเทศไทย

วิธีใช้

[แก้ไข]

ใส่แม่แบบนี้ไว้ในส่วนล่างสุดของหน้าใด ๆ ด้วยโค้ดดังต่อไปนี้

โค้ด สำหรับ หมวดหมู่ที่จะเกิดขึ้นอัตโนมัติ
{{สทย|1}} งานตามมาตรา 7 (1) คือ
"ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสาร อันมิใช่งานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ"
หมวดหมู่:งานที่ปลอดลิขสิทธิ์ตามมาตรา 7 (1) แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
{{สทย|2}} งานตามมาตรา 7 (2) คือ
"รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย"
หมวดหมู่:งานที่ปลอดลิขสิทธิ์ตามมาตรา 7 (2) แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
{{สทย|3}} งานตามมาตรา 7 (3) คือ
"ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น"
หมวดหมู่:งานที่ปลอดลิขสิทธิ์ตามมาตรา 7 (3) แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
{{สทย|4}} งานตามมาตรา 7 (4) คือ
"คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ"
หมวดหมู่:งานที่ปลอดลิขสิทธิ์ตามมาตรา 7 (4) แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
{{สทย|5}} งานตามมาตรา 7 (5) คือ
"คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่าง ๆ ตาม (1) ถึง (4) ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น จัดทำขึ้น"
หมวดหมู่:งานที่ปลอดลิขสิทธิ์ตามมาตรา 7 (5) แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537

ถ้าไม่ระบุประเภทงาน จะขึ้นคำเตือน พร้อม หมวดหมู่:สาธารณสมบัติ-ไทย-ยกเว้น ไม่ระบุประเภทงาน โดยอัตโนมัติ

ปัญหาบางประการ

[แก้ไข]

พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ไม่นิยามงานแต่ละอย่างตามมาตรา 7 ไว้ ทำให้เกิดปัญหาอย่างมากในการกำหนดสถานะลิขสิทธิ์

  • ในทางวิชาการทั่วไป (เช่น ตามข้อมูลในเว็บไซต์กรมสรรพสามิต) กฎหมาย ได้แก่ กฎหมายแม่บท (เช่น รัฐธรรมนูญ, พระราชบัญญัติ, พระราชกำหนด) และกฎหมายลำดับรอง (เช่น พระราชกฤษฎีกา, กฎกระทรวง, เทศบัญญัติ, ข้อบัญญัติท้องถิ่น ฯลฯ) แต่มาตรา 7 (2) จะเอาแต่กฎหมายแม่บท หรือจะรวมกฎหมายลำดับรองด้วย? (ปัจจุบันวิกิซอร์ซใส่เป็นงานตามอนุมาตราดังกล่าวทั้งหมด)
  • คำพิพากษาศาลฎีกา ที่ 2372/2535 ว่า พระบรมราชโองการสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ย่อมเป็นกฎหมาย ดังนั้น พระบรมราชโองการดังกล่าวย่อมเข้ามาตรา 7 (2)
    • แต่พระบรมราชโองการหลังสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ จะนับเป็นงานอย่างใด เช่น ประกาศแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี จะนับเป็นประกาศตามมาตรา 7 (3) ได้หรือไม่ เพราะพระมหากษัตริย์คงไม่นับเป็น "หน่วยงานของรัฐ" ตามมาตรา 7 (3)
  • คำสั่งและประกาศของคณะรัฐประหารหรือหัวหน้าคณะรัฐประหาร ที่ไม่มีสถานะเป็นกฎหมายตามมาตรา 7 (2) จะนับเป็นคำสั่งและประกาศของหน่วยงานของรัฐตามมาตรา 7 (3) แทนได้หรือไม่ เพราะศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยเมื่อ พ.ศ. 2562 ว่า หัวหน้าคณะรัฐประหารไม่นับเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ (แสดงว่า คณะรัฐประหารย่อมไม่นับเป็นหน่วยงานของรัฐด้วย)
  • แถลงการณ์ นับเป็นคำชี้แจงตามมาตรา 7 (3) ได้หรือไม่ (ปัจจุบันวิกิซอร์ซใส่เป็นงานตามอนุมาตราดังกล่าว)
  • มาตรา 7 ถือเอางานที่ต้องขึ้นชื่อด้วยถ้อยคำนั้น ๆ หรือถือเอางานทุกประเภทที่มีลักษณะตามถ้อยคำนั้น เช่น "ประกาศ" ต้องเป็นงานที่มีชื่อว่า "ประกาศ" เท่านั้น หรือหมายความรวม "แจ้งความ" ด้วย เช่น แจ้งความราชบัณฑิตยสถาน ลงวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2529 จะถือเป็นประกาศตามมาตรา 7 (3) ได้หรือไม่
  • คำว่า ทางราชการ ในมาตรา 7 (4) ก็น่าสงสัย เพราะหน่วยงานบางแห่งมีสถานะเกี่ยวข้องกับรัฐ แต่ไม่เป็น "ส่วนราชการ" ดังนี้ จะนับเป็น "ทางราชการ" ตามอนุมาตรานี้ได้หรือไม่ (เช่น พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2558 มาตรา 5 ว่า มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นหน่วยงานในกำกับของรัฐ แต่ไม่เป็นส่วนราชการและไม่เป็นรัฐวิสาหกิจ)

ข้อแนะนำ งานใดน่าสงสัยว่าเข้ามาตรา 7 นี้หรือไม่ ถ้าอายุเกิน 50 ปี อาจใช้ แม่แบบ:ลิขสิทธิ์หมดอายุ-ไทย แทนได้ (ดูเงื่อนไขในแม่แบบนั้นด้วย)

ดูเพิ่ม

[แก้ไข]