ไตรภูมิพระร่วง/อสุรกายภูมิ
อสุรกายภูมิ
[แก้ไข]จะกลาวเถิงสัตว์อันเกิดในอสุรกายภูมินั้นย่อมเอาปฏิสนธิในโยนิทั้ง ๔ อันแล ฯ ลางอสุรเอาด้วยอัณฑชะโยนิ ลางอสูรเอาด้วยชลามพุชะโยนิ ลางอสุรเอาด้วยสังเสทชะโยนิ ลางอสุรเอาด้วยอุปปาติกโยนิแลฯ อันว่าสุรกายทั้งนี้มีเป็นคำรบ ๒ สิ่ง ๆ หนึ่งื่อกาลกัญชกาสุรกายฯ สิ่งหนึ่งชื่อว่าทิพพอสุรกายแลฯ อันว่ากาลกัญชกาอุรนั้นมีตนสูงได้ถึงคาพยุต ๑ ผิจคณนาด้วยวามนุษย์นี้ได้ ๒๐๐๐ วา แลมีตัวนั้นผอมนักหนา มาตรว่เนื้อน้อยหนึ่งก็ดีเลือดน้อยหนึ่งก็โ ก็หาบมิได้ในตัวเขานั้นแล ตัวเขานั้นดังใบไม้อันแห้งนั้นแล มีตาอันน้อยดังตาปูแล ตาเขานั้นขึ้นไปตั้งอยู่เหนือกระหม่อมแล ปากเขานั้นน้อย ๆ เท่ารูเข็มแล ปากนั้นอยู่เหนือกระหม่อมโสด ผิแลว่าเขาเห็นสิ่งอันใดแลเขาจะใคร่เอากินไส้เทียรย่อมปักหัวลง เอาตีนชันขึ้นจึงได้กิน แลที่เขาอยู่ไส้เทียรย่อมอยู่ถือสากแต่ตีกันทุกเมื่อ แลฝูงกัญชกาสุรกายนี้หาความสุขบมิได้ ยากเย็นเข็ญใจ นักหนากว่าอสุรกายฝูงอื่นแลฯ อันว่ากาลกัญชกาสูรกายนั้นมี ๒ จำพวก ๆ ๑ ไส้ เป็นทุกข์ลำบากเข็ญใจนัก
ดังกล่าวมานี้แลฯ แลจำพวก ๑ นั้นไส้มีตนสูงได้คาพยุต ๑ ดุจเดียว แต่ว่ามีรูปนั้นต่าง ๆ กัน แลมีหน้าบมิงามท้องยานฝีปากใหญ่ แลมีเล็บตีนเล็บมืออันรี แลมีตานั้นฝังตาดำสูง หลังหัก จมูกเบี้ยวใจกล้าหน้าแข็งแรง มักเคียด มักพูดแก่กาลกัญชกาสูรกายฝูงนั้น ยังมี ๆ ช้างมีม้ามีข้ามีไทยแกล้วหาญ มีรี้พลเพียงดังพระอินทร์ อันว่ที่อยู่แห่งอสูรกายนั้นเขาย่อมอยู่ใต้เขาพระสุเมรุราช ยังมีที่อันหนึ่งชื่อว่าอสูรพิภพ โดยกว้างได้หมื่นโยชน์เทียรย่อมแผ่นทองคำดูเรืองงามนักหนา ที่นัน้นเป็นเมืองพระญาอสูรราชอยู่หนแลฯ แต่มนุษย์เรานี้ลงไปเถิงอสูรพิภพอยู่นั้นลึกได้ ๘๔๐๐๐ โยชน์ มีเมืองอสูรใหญ่ ๔ เมือง แลเมืองมีพระญาอสูรอยู่ละเจ้า ๆ ละแห่งละสอง ๆ พระญา แลเมืองนั้นมีปราสาทราชบัณฑิต ความเป็นมณเทียรย่อมแล้วด้วยทองแลประดับนิ์ด้วยแก้วสัตตพิธรั้ตนะ แลมีกำแพงทองประดับนิ์ด้วยแก้วอันมีค่าได้อนันต์ แลมีปราการประตูเมืองได้แล ๑๐๐๐ ประตูย่อมสรรพด้วยแวอันมีค่า แลประดับนิ์ด้วยแก้วมีประตูล้อมรอบโดยบลึกได้ชั่วลำตาล ๑ กลางเมืองนั้นมีสระทองมีดอกบัว ๔ สิ่ง บนงามนักรุ่งเรืองดังทองแล ย่อมประดับนิ์ด้วยแก้วสัตตพิธรัตนะ พระญาอสูรย่อมลงเล่นสนุกนิ์ดุจดังนันทโบกขรณีอันมีในไตรตรึงษาสวรรค์ แลมีเมืองน้อยก็มาก มีบ้านใหญ่บ้านน้อยก็มาก แลมีน้ำสมุทรท่วมครึ่งกลางเมืองอสูรนั้น ในท่ามกลางแผ่นดินอันชื่ออสูรพิภพนั้น แลมีไม้ต้น ๑ เกิดแต่อาทิตั้งแผ่นดินเป็นธรรมดา แลไม้ต้นนั้นใหญ่เท่าไม้ปาริกชาตอันมีในไตรตรึงษาสวรรค์นั้น แลไม้ต้นนั้นแต่ต้นขึ้นไปค่าคงได้ ๔๐ โยชน์ แต่ค่าคบเถิงยอดได้ ๔๐ โยชน์ มีตารอบนั้นย่อมยาวแลตา แลได้ ๕๐ โยชน์ ใต้ต้นไม้นั้นมีศิลา ๔ แผ่นอยู่รอบต้นไม้แคฝอยนั้น โดยทิศใหญ่ทั้ง ๔ ทิศแลแผ่นศิลานั้นแต่แลแผ่นโดยกว้างได้ ๓ โยชน์จตุรัส ครั้นว่าเมื่อใดวันดีคืนดี แลพระญาอสูรทั้งหลายย่อมไปเล่นสนุกนิ์สำราญด้วยกันแห่งนั้นแล อสูรฝูงนั้นเป็นดีนักแล มีปราสาทราชมณเฑียรย่อมเงินแลทอง แลประดับนิ์ด้วยแก้วทั้ง ๗ ประการ แล้วแลรุ่งเรืองงามนักหนา เท่าว่ายังถ่อมกว่าเมืองไตราตรึงษานั้นน้อย ๑ แลฯ เมืองทิศตระวันออกนั้นมีพระญาอสูรสองตน ตนหนึ่งชื่อว่าเวปจิตราสูร ๆ นั้นเป็นพระญาแก่อสูรทั้งหลายอยู่เมืองบุพวิเทหนั้นแลฯ เบื้องทักษิณทิศมีพระญาอสูร ๒ ตน ๆ หนึ่งชื่อว่าอสัพพร ตน ๑ ชื่อว่าสุลิเป็นพระญาแก่อสูรทั้งหลายอยู่เมืองชมพูทวีปนี้แล ฝ่ายตระวันตกมีพระญาอสูร ๒ ตน ๆ หนึ่งชื่อว่าเวราสูร ตน ๑ ชื่อว่าปริกาสูรเป็ฯพระญาแก่อสูรทั้งหลายอันอยู่เมืองอมรโคยานีทวีปแล เมืองอุตรกุรุทวีป มีพระญาอสูร ๒ ตน ๆ หนึ่งชื่อพรหมทัต ตน ๑ ชื่อราหู เป็นพระญาแก่หมู่อสูรทั้งหลายอันอยู่เมืองอุตรกุรุทวีปนั้นแลฯ พระญาอสูรผู้ชื่อว่าราหูนั้นมีอำนาจแลมีกำลังกล้าแกล้วหาญกว่าพระญาอสูรทั้งหลาย ใหญ่กว่าเทพยดาทั้งหลายในสวรรค์โดยสูงได้ ๙๘๐๐๐ โยชน์ฯ แลอ้อมรอบหัวโดยใหญ่ ๘๐๐ โยชน์ แลหัวเขากว้างได้ ๑๒๐๐ โยชน์ แต่ข้างแลข้างได้ ๒๖๐๐ โยชน์ แลหน้าผาากโดยกว้างได้ ๓๐๐ โยขน์ แลจมูกโดยยาวได้ ๓๐๐ โยชน์ แต่หว่างคิ้วก็ดีหว่างตาก็ดีได้ ๙๐ โยชน์ แต่หัวคิ้วมาเถิงหางคิ้วได้ ๒๐๐ โยชน์ แต่หัวตามาเถิงหางตาได้ ๒๐๐ โยชน์ แต่ปากโดยกว้างได้ ๒๐๐ โยชน์ โดยลึกปากได้ ๓๐๐ โยชน์ โดยกว้างฝ่ามือได้ ๒๐๐ โยชน์ ขนตีนขนมือขนนั้นแลยาวได้เถิง ๓๐ โยชน์ ฯ ครั้นเมื่อวันเดือนเพ็งแลเดือนนั้นงามฯ ครั้นเมื่อวันเดือนดับแลตระวันงามแลราหูนั้นมีหน้าจะมักเห็นพระอาทิตย์ แลพระจันทร์อันงามดังนั้น แลมันมีใจหึงษามันจึงขึ้นเหนือจอมเขายุคุนธรนั้นแล ก็นั่งอยู่ถ้าพระอาทิตย์อันอยู่ในปราสาทอันสถิตอยู่ในเกวียนทองพายทอง แลประดับนิ์ด้วยแก้วอันชื่ออินทนิลแลมีรัสมีได้พัน ๑ อันงามนักแล มีม้าสินธพชาติพัน ๑ เข็นเกวียนทองนั้นไปล่วงอากาศ เลียบรอบขอบพระสิเนรุราชไปด้วยเพียงปลายเขายุคุนธรแลฯ พระจันทร์เจ้าไส้อยู่ในปราสาทไส้อันมีอยู่ในเกวียนแก้วมณีรัตนแล มีม้าสินธพชาติ ๕๐๐ เข็นไปล่วงอากาศต่ำกว่าทางพระอาทิตย์นั้นโยชน์ ๑ เลียบรอบเขาพระสิเนรุราชแลดาษไปด้วยดาวดารากรทั้งกลาย
ครั้งไปเถิงราหูอยู่นั้นลางคาบราหูอ้าปากออกเอาพระอาทิตย์แลพระจันทร์วับเข้าไปไว้ในปาก ลางคาบเอานิ้วมือบังไว้ ลางคาบเอาไว้ใต้คาง ลางคาบเอาไว้ใต้รักแร้ แลกระทำดังเมื่อกระทำดังนั้นไซร้ อันว่ารัสมีพระอาทิตย์ก็โ พระจันทร์ก็ดีเศร้าหมองบมิงามได้เลย แลคนทั้งหลายว่ามีสุริยคาธแลฯ จะกล่าวถึงพระพุทธศรีสากยมุนีโคดมเจ้าเรา เมื่อเสด็จยังธรมานอยู่ในโลกย์นี้แลยังมิไปเสด็จเข้าสู่พระนิพพานไส้ฯ ในกาลคาบ ๑ พระเจ้าเสด็จอยู่ในเชตุพนมหาวิหารอันเป็นอารามแห่งนายอนาถบิณฑิกเศรษฐีแลอาศัยแก่เมืองสาวัตถีมหานคร ในกาลเมื่อวันเพ็งบุณณมีทิวสแลเกิดมีจันทคาธ จึงพระจันทร์เทพบุตรก็ระลึกเถิงพระพุทธเจ้าก็นมัสการแด่พระพุทธเจ้าแล้วแล กล่าวด้วยคาถาว่าดังนี้ว่า ข้าแต่พระพุทธเจ้าผู้เพียร ข้าก็ไหว้พระบาทแห่งพระผู้มีพระภาคยน์พระองค์อังพ้นจากกิเลสทั้งปวง แลบัดนี้ข้าผู้เเป็นข้าพระองค์เจ้ามาบังเกิดภัยอันตรายยากเนื้อแค้นใจนักหนา แลพระองค์เจ้าจงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้าแลช่วยทุกข์ข้าผู้ลำบากใจดังนี้ฯ ในกาลนั้นพระสัพพัญญูเจ้าผู้เป็นโลกวิทูธก็ตรัสรู้อาการดังนั้น พระองค์เจ้าก็มีพระกรุณาแก่จันทรเทวบุตร พระองค์เจ้าจึงมีพุทธบัณฑูรแก่อสุรินทร์ราหูด้วยพระคาถาว่าดังนี้ฯ ตถาคตํอรหัน์ตํ จัน์ทิมาสรณํคโต ราหุจัน์ทํปมุญ์จัส์สุ พุท์ธาโลกานุกัม์ปกาติ ว่าดูกรราหู อันว่าจันทรเทวบุตรนี้ลุแก่สรณาคม พระตถาคตไส้จะยังราหูอสุรินทร์นี้ให้ปล่อยซึ่งจันทรเทพบุตร เพื่อดังฤๅแลว่าสิ้น ชื่ออันว่พระพุทธเจ้าทั้งหลายไส้ ก็ย่อมมีพระกรุณาอันอนุเครมะห์แก่โลกย์ทั้งหลายฯ ในกาลดังนั้นราหูอสุรินทร์ ครั้นได้ยินพระพุทธบัณฑูรดังนั้นจึงวางแก่จันทรเทพบุตรนั้นเสียแล้วก็แล่นหนีไปสู๋พระญาอสูรอันชื่อว่าไพจิตราสูรราช แลราหูอสุรินท์นั้นก็มีใจยินร้ายคนลุกหนังหัวพองจึงยืนอยู่ในสถานแห่ง ๑ พระญาอสูรผู้ชื่อว่าไพจิตราสูรราชนั้น จึงถามอสุรินทร์ว่า ฉันนี้ว่ ดูกรราหูท่านเป็นฉันใดแล ราหูจึงวางจันทรเทวบุตรเสียแลมาด้วยด่วนนักหนา มายืนอยู่แลมีสวภาพอันยินร้ายแล ตระหนกตกใจกลัวนักหนาบารนีฯ ราหูอสุรินทร์นั้นจึงขานไพจิตราสูรว่าด้วยถ้อยคำดังนี้มหาราช ข้าแต่เจ้ากู บัดนี้ข้ากลัวแต่คาถาพระพุทธเจ้าบัณฑูรว่า แลข้าก็วางจันทรเทวบุตรนั้นเสีย เพื่อดังนั้นไส้ ผิแลว่าข้าบมิได้วางจันทรเทวบุตรนั้นเสียไส้ อันว่าศีรษะแห่งข้าเพียงจะแตกออกไปเป็น ๗ ภาคแล แม้นว่าศีรษะบมิแตกบมิตาย แลว่ายังมีชีวิตอยู่ไส้แล ความทสุขจะมีแต่ใดแก่ข้าเลยฯ ในกาลคาบ ๑ พระพุทธเจ้าเสด็จอยู่ในเชตุพนมมหาวิหารอันเป็นอารามแห่งอนาถบิณฑิตกมหาเศรษฐี อาศัยแก่เมืองสาวัตถีมหานครในกาลเม่อวันเาพระวัสสาแลเกิดมีสุริยคาธ แลสุริยเทพบุตรนั้นตระหนกตกใจนักหนาก็ระลึกถึงพระพุทธเจ้า ก็นมัสการแก่พระพุทธเจ้าว่าดังนี้ ข้าแต่พระทศพลเจ้าผู้มีเพียรไส้พระองค์พ้นจากกิเลสทั้งมวล บัดนี้ข้าผู้เป็นข้าพระองค์เจ้าเกิดความทุกข์มากนักแลลำบากยากเนื้อแค้นใจนักหนา จงพระพุทธเจ้ามาเป็นที่พึ่งแก่พระเจ้าบัดนี้เถิด เพื่อดังนั้นพระโลกวิทูเจ้าตรัสรู้อาการทั้งปวงนรั้น พระสัพพัญญูเจ้าก็ทืรงพระกรุณาแก่สุริยเทพบุตร พระพุทธเจ้าจึงมีพุทธฎีกาแก่อสุรินทราหูว่าดังนี้ ดูกรราหู อันว่าอสุรินทเทวบุตรนี้ลุแก่สรณาคมน์พระตถาคตผู้บำบัดกิเลสทั้งมวล แลอสุรินทราหูท่านจงปล่อยสุริยเทวบุตรนั้นเสีย เพราะว่าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
แต่ก่อนเทียรย่อมอนุเคราะห์แก่โลกย์ทั้งหลายแล ดูกรราหูอันว่าพระอาทิตย์อันมีรัสมีอันรุ่งเรือง แลบรรเทามืดมนอนธการทั้งหลายแลย่อมเสร็จใน แลราหูอสุรินท์อย่าได้กลืนพระอาทิตย์ มึงเร่งปล่อยพระอาทิตย์ผู้ลุแก่ไตรสรณาคมน์ของพระตถาคตนี้เสี เมื่ออสุรินทราหูได้ยินพุทธบัณฑูรจึงวางพระอาทิตย์เสีย แล้วก็แล่นไปยังพระญาอสูรอันชื่อไพจิตราสูรราชนั้น แลราหูอสุรินทนี้มีใจยินร้ายตระหนกตกใจนักหนา มีขนลุกหนังหัวพองแล้วก็ยืนอยู่ในสถานแห่ง ๑ แล ไพจิตราสูรมหาราชจึงถามอสุรินทราหูด้วยถ้อยคำว่าดังนี้ว่า ดูกรราหูท่านเป็นฉันใดแลราหูท่นจึงวางพระอาทิตย์เสียแลวิ่งมาด้วยด่วนอันมีสวภาพยินร้ายแลตระหนกตกใจนักหนาแลมายืนอยู่เห็นปานดังนี้ แลอสุรินทราหูจึงขานไพจิตราสูรราชด้วยคำดังนี้ ข้าแต่เจ้ากูบัดนี้ ข้ากลัวแต่คาถาพระพุทธเจ้าบัณฑูรแลข้าจึงวางพระอาทิตย์เทพบุตรเสียไส้ ผิแลว่าข้ามิได้วางสุริยเทพบุตรเสียไส้ ศีรษะแห่งข้าจะแตกได้ ๗ ภาค แม้นว่ข้ามิตายแลมีชีวิตอยู่ไส้ความสุขนั้นจักมีแก่ข้าแต่ที่ใดเลยฯ ราหูนั้นมีดำนาจอาจนักหนา แลเป็นพระญาแก่ฝูงทิพยอสุรกายอันอยู่ทิศอุดร แลเป็นใหญ่กว่าฝูงกาลกัญชกาสูรกายทั้งสองหมู่นั้นด้วยแลฯ กล่าวเถิงสัตว์อันเกิดในอสูรกายภูมิเป็นจตุตถกัณฑ์ โดยสังเขปแล้วแต่เท่านี้แลฯ อันว่าภูมิทั้ง ๔ นี้ อันหนึ่งชื่อว่านรกภูมิ อันหนึ่งชื่อว่าติรัจฉานภูมิ อันหนึ่งชื่ออสุรกายภูมิ อันหนึ่งชื่อเปรตภูมิ แลผสมภูมิทั้ง ๔ อันเข้าด้วยกันเรียกชื่อว่าจตุรายาบภูมิก็ว่า ชื่อทุคติภูมิก็ว่า ทั้งนี้ก็ย่อมสงเคราะห์เข้าในกามภูมิด้วยมนุษย์แลฉกามาพจรภูมิแลฯ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก ไตรภูมิพระร่วง_-_คลังปัญญาไทย