ข้ามไปเนื้อหา

ไตรภูมิพระร่วง

จาก วิกิซอร์ซ
แม่แบบผิดพลาด: มีการลบช่องที่ไม่ได้ใช้ออก โปรดเติมกลับเข้าไป (โปรดดูเอกสารกำกับแม่แบบ)



ไตรภูมิพระร่วง หรือ ไตรภูมิกถา


พระราชนิพนธ์ใน


พระมหาธรรมราชาที่ ๑ (พระยาลิไท)



_______________



สำนักพิมพ์บรรณาคาร จัดพิมพ์จำหน่าย


พุทธศักราช ๒๕๔๓





คำนำ


_______________


สำนักพิมพ์บรรณาคารได้มาแจ้งกองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร ว่า มีความประสงค์จะขออนุญาตจัดพิมพ์หนังสือเรื่อง ไตรภูมิพระร่วง หรือ ไตรภูมิกถา พระราชนิพนธ์ในพระมหาธรรมราชาที่ ๑ (พระยาลิไท) พระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์สุโขทัย เพื่อจำหน่ายเผยแพร่ กรมศิลปากรพิจารณาแล้ว ยินดีอนุญาตให้จัดพิมพ์ได้ตามประสงค์

ไตรภูมิพระร่วง หรือไตรภูมิกถา เป็นวรรณคดีทางพระพุทธศาสนาที่สำคัญมากเล่มหนึ่งของไทย ที่แสดงข้อคิดเห็นเต็มไปด้วยสารัตถประโยชน์เกี่ยวกับหลักธรรมในพระพุทธศาสนา ตลอดจนชี้ให้เห็นถึงผลบาปและผลบุญที่คนทั้งหลายได้กระทำไว้ในชีวิต

หนังสือเรื่องไตรภูมิพระร่วง หรือไตรภูมิกถานี้ เป็นผลงานที่แสดงพระปรีชาสามารถและพระอัจฉริยภาพของพระมหาธรรมราชาที่ ๑ (พระยาลิไท) บูรพกษัตริย์ไทย ในการพระราชนิพนธ์วรรณคดีเรื่องนี้ และผู้ที่ได้ศึกษางานพระราชนิพนธ์นี้จะได้เข้าใจสภาพสังคมสมัยเมื่อเริ่มตั้งอาณาจักรเป็นปึกแผ่นในแผ่นดินไทยว่า พระมหากษัตริย์ไทยในครั้งนั้นต้องทรงมีจิตวิทยาสูงเพียงใด เพราะการก่อตั้งอาณาจักรขึ้นใหม่ จะต้องรวบรวมพลังไพร่ฟ้าข้าแผ่นดิน หากประชาชนตั้งอยู่ในศีลธรรม มีระเบียบวินัย รู้บาปบุญคุณโทษ และมีจิตยึดมั่นในหลักคำสอนทางศาสนา ก็จะสามารถดำรงความมั่นคงและสามารถต่อสู้ศัตรูที่คอยคุกคามความดำรงอยู่ของชาติได้

ไตรภูมิพระร่วงเป็นวรรณคดีที่น้อมนำจิตใจประชาชนให้ยึดมั่นอยู่ในคุณธรรมความดีตามหลักธรรม ทั้งยังแสดงความรู้สึกสอดคล้องกับหลักธรรมชาติและวิทยาศาสตร์ เช่น ตอนพรรณนาถึงกำเนิดของมนุษย์ ทั้ง ๆ ที่ในสมัยสุโขทัย วิทยศาสตร์ยังไม่ก้าวหน้าหรือเป็นที่รู้จักกว้างขวางอย่างในปัจจุบัน แต่หนังสือไตรภูมิพระร่วงเกิดขึ้นและกล่าวถึงเรื่องที่ใกล้เคียงกับหลักการทางวิทยาศาสตร์มานับร้อยปีแล้ว คุณค่าสาระของหนังสือเรื่องนี้จึงน่าศึกษาค้นคว้าอย่างยิ่ง โดยเฉพาะความรู้ทางศาสนา ทางอักษรศาสตร์ ภาษาศาสตร์ จารีตประเพณี และวัฒนธรรม ซึ่งมีอิทธิพลต่อความคิดของคนไทยโดยทั่วไป

หนังสือไตรภูมิพระร่วงนี้ ได้มีผู้คัดลอกกันต่อ ๆ มา และได้ตีพิมพ์มาแล้วหลายครั้ง มีที่วิปลาสคลาดเคลื่อนอยู่มาก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ทรงอธิบายไว้ว่า “หนังสือไตรภูมิฉบับนี้...เมื่ออ่านตรวจดู เห็นได้ว่า หนังสือเรื่องนี้เป็นหนังสือเก่ามาก มีศัพท์เก่า ๆ ที่ไม่เข้าใจ และเป็นศัพท์อันเคยพบแต่ในศิลาจารึกครั้งกรุงสุโขทัยหลายศัพท์ น่าเชื่อว่า หนังสือไตรภูมินี้ฉบับเดิมจะได้แต่งแต่ครั้งกรุงสุโขทัยจริง แต่คัดลอกสืบกันมาหลายชั้นหลายต่อจนวิปลาสคลาดเคลื่อน หรือบางทีจะได้มีผู้ดัดแปลงสำนวนและแทรกเติมข้อความเข้าเมื่อครั้งกรุงเก่าบ้าง ก็อาจจะเป็นได้ ถึงกระนั้น โวหารหนังสือเรื่องนี้ยังเห็นได้ว่าเก่ากว่าหนังสือเรื่องใด ๆ ในภาษาไทย นอกจากศิลาจารึกที่ได้เคยพบมา จึงนับว่าเป็นหนังสือเรื่องดีด้วยอายุประการหนึ่ง”

กรมศิลปากรเห็นความสำคัญและคุณค่าของหนังสือ จึงได้มอบให้นายพิทูร มลิวัลย์ เปรียญธรรม ๙ ประโยค เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งประจำแผนกกองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ ภายหลังโอนไปรับราชการตำแหน่งอนุศาสนาจารย์ หัวหน้าฝ่ายปริยัติปกรณ์ กรมการศาสนา เป็นผู้ตรวจสอบชำระ โดยพยายามรักษาส่วนที่เป็นของเดิมไว้ให้มากที่สุด ส่วนที่ชำรุดหรือวิปลาสไป ก็หาต้นฉบับใส่ไว้ให้สมบูรณ์ ทั้งนี้ ได้นำคำชี้แจงของผู้ตรวจสอบชำระ และพระราชประวัติพระมหาธรรมราชาที่ ๑ (พระยาลิไท) ผู้พระราชนิพนธ์หนังสือเรื่องนี้มาพิมพ์ไว้ต่อจากคำนำนี้ และได้จัดทำเชิงอรรถเพิ่มเติม พร้อมทั้งได้รวบรวมคำโบราณ สำนวนโวหารในไตรภูมิพระร่วง จัดทำคำแปล อีกทั้งได้บอกชื่อคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาที่ปรากฏในหนังสือพิมพ์ไว้เป็นภาคผนวกอีกด้วย[1]

กรมศิลปากรหวังว่า หนังสือเรื่องไตรภูมิพระร่วง หรือไตรภูมิกถานี้ คงจะอำนวยประโยชน์ในด้านการศึกษาแก่นักเรียน นักศึกษา และประชาชนผู้สนใจศึกษาค้นคว้าตามสมควร



นาวาอากาศเอกอาวุธ เงินชูกลิ่น
อธิบดีกรมศิลปากร


กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์
๒๐ กรกฎาคม ๒๕๔๓





สารบัญ


_______________


บานแพนก
เตภูมิกถา
คาถานมัสการ
บานแพนกเดิม
(อารัมภบท)
กามภพ
นรกภูมิ
ติรัจภูมิ
อสุรกายภูมิ
มนุสสภูมิ
ฉกามาพจรภูมิ
รูปภพ
อรูปภพ
เถิงอวินิพโภครูป
(ปัจฉิมบท)



เชิงอรรถ

[แก้ไข]
  1. หนังสือซึ่งวิกิซอร์ซคัดลอกมานี้ ไม่ปรากฏว่ามีภาคผนวกที่ว่าแต่อย่างใด — [เชิงอรรถของ วิกิซอร์ซ].




ขึ้น

งานนี้ ปัจจุบันเป็นสาธารณสมบัติแล้ว เพราะลิขสิทธิ์ได้หมดอายุตามมาตรา 19 และมาตรา 20 ของพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ซึ่งระบุว่า

ถ้ารู้ตัวผู้สร้างสรรค์ ในกรณีที่ผู้สร้างสรรค์เป็นบุคคลธรรมดา
  1. ลิขสิทธิ์หมดอายุเมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ผู้สร้างสรรค์ถึงแก่ความตาย
  2. ถ้ามีผู้สร้างสรรค์ร่วม ลิขสิทธิ์หมดอายุ
    1. เมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ผู้สร้างสรรค์ร่วมคนสุดท้ายถึงแก่ความตาย หรือ
    2. เมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ได้โฆษณางานนั้นเป็นครั้งแรก ในกรณีที่ไม่เคยโฆษณางานนั้นเลยก่อนที่ผู้สร้างสรรค์ร่วมคนสุดท้ายจะถึงแก่ความตาย
ถ้ารู้ตัวผู้สร้างสรรค์ ในกรณีที่ผู้สร้างสรรค์เป็นนิติบุคคล หรือถ้าไม่รู้ตัวผู้สร้างสรรค์
  1. ลิขสิทธิ์หมดอายุเมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ได้สร้างสรรค์งานนั้นขึ้น
  2. แต่ถ้าได้โฆษณางานนั้นในระหว่าง 50 ปีข้างต้น ลิขสิทธิ์หมดอายุเมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ได้โฆษณางานนั้นเป็นครั้งแรก