หน้า:ธศย ๑๒๗.pdf/6

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
วันที่ ๑๔ มิถุนายน ๑๒๗
เล่ม ๒๕ หน้า ๓๓๔
ราชกิจจานุเบกษา

จะพิจารณาแลพิพากษาคดีโดยกำหนดดังนี้ คือ

ประการความแพ่งทุนทรัพย์ไม่เกินหมื่นบาท

ประการความมีโทษหลวงโดยกำหนดโทษเหล่านี้ คือ

สฐานจำไม่เกินสิบปี

สฐานเฆี่ยนไม่เกินสามสิบที

สฐานปรับไม่เกินหมื่นบาท

มาตรา๒๗ศาลมณฑลมีอำนาจดังนี้ คือ

ข้อที่จะพิจารณาพิพากษาคดีทั้งปวงได้ทุกบทกฎหมาย

ข้อที่จะพิจารณาพิพากษาความอุทธรณ์ศาลต่ำในมณฑลนั้นตามที่เสนาบดีกระทรวงยุติธรรมจะกำหนดให้

  • หมวดที่ ๗
  • ว่าด้วยข้าหลวงพิเศษ

มาตรา๒๘ข้าหลวงพิเศษจัดการศาลยุติธรรมในหัวเมืองนั้น คือ

ผู้ที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้เปนข้าหลวงพิเศษ

ผู้เปนตำแหน่งข้าหลวงสำเร็จราชการมณฑล

ผู้ว่าราชการเมืองที่เสนาบดีกระทรวงมหาดไทยมีอำนาจตั้งได้ในมณฑลละคนหนึ่ง

ข้าหลวงพิเศษซึ่งได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งนั้น มีอำนาจทั่วทุกหัวเมือง

ข้าหลวงพิเศษที่เปนเทศาภิบาลแลที่เปนผู้ว่าราชการเมืองมีอำนาจเฉภาะแต่ในมณฑลนั้น

มาตรา๒๙ข้าหลวงพิเศษทั้ง ๓ อย่างตามในมาตรา ๒๘ นั้น มีอำนาจพิจารณาแลพิพากษาความได้ทุกชนิด แลข้าหลวงพิเศษที่ทรงพระกรุณาโปรดตั้ง มีอำนาจพิจารณาแลพิพากษาความได้ในทุกหัวเมือง แต่ข้าหลวงพิเศษที่เปนเทศาภิบาลแลที่เปนผู้ว่าราชการเมือง มีอำนาจพิจารณาแลพิพากษาความได้เฉภาะในมณฑลนั้น

เมื่อข้าหลวงพิเศษผู้ใดผู้หนึ่งดังที่กล่าวมาแล้วได้พิพากษาคดีเรื่องหนึ่งเรื่องใดไป คู่ความอุทธรณ์ไม่ได้ ต้องทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาทีเดียว

  • หมวดที่ ๘
  • ว่าด้วยอำนาจบังคับบัญชา

มาตรา๓๐ผู้พิพากษาซึ่งเปนอธิบดีหรือเปนประธานในศาลใดเปนผู้รับผิดชอบที่จะรักษาบรรดาการในศาลนั้นให้เรียบร้อยถูกต้องตามแบบแผน แลมีอำนาจที่จะตั้ง จะผลัดเปลี่ยน แลบังคับบัญชาพนักงานในศาลนั้นได้ทุกตำแหน่ง