หน้า:พรบ กรรมสิทธิ์ผู้แต่งหนังสือ รศ ๑๒๐.pdf/2

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
เล่ม ๑๘ น่า ๒๘๗
วันที่ ๑๘ สิงหาคม ๑๒๐
ราชกิจจานุเบกษา

นับแต่วันที่ผู้แต่งถึงมรณภาพไป ก็รับกรรมสิทธิ์หนังสือเรื่องนั้นได้ แลให้กรรมสิทธิ์นั้นมีอายุ ๔๒ ปีนับตั้งแต่วันผู้แต่งถึงมรณภาพไปเปนกำหนด

มาตราต่อหนังสือซึ่งได้พิมพ์ในพระราชอาณาจักร์แลได้จำหน่ายครั้งแรกในพระราชอาณาจักร์ จึงจะมีกรรมสิทธิ์ได้

มาตราหนังสือตำราเรียนซึ่งรัฐบาลได้ลงทุนให้แต่งขึ้นไว้ กรรมสิทธิ์แห่งหนังสือนั้นอยู่ในรัฐบาลทุกเมื่อ

มาตราหนังสือซึ่งได้แต่งขึ้นหรือได้พิมพ์จำหน่ายก่อนแต่วันใช้พระราชบัญญัตินี้นั้น

ข้อถ้าผู้แต่งได้ถึงมรณภาพก่อนวันใช้พระราชบัญญัตินี้แล้ว หนังสือนั้นจะมีกรรมสิทธิ์ไม่ได้

ข้อถ้าผู้แต่งยังอยู่ แลเปนผู้พิมพ์จำหน่ายเอง ถ้ามาขอกรรมสิทธิ์ภายใน ๑๒ เดือนนับแต่วันใช้พระราชบัญญัตินี้ ก็รับกรรมสิทธิ์ได้

ข้อถ้าผู้แต่งยังอย่ แต่ได้ขายเรื่องหนังสือนั้นให้ผู้อื่นไปพิมพ์จำหน่ายเปนสิทธิ์ขาดแล้ว หนังสือเรื่องนั้นจะมีกรรมสิทธิ์ไม่ได้

ข้อถ้าผู้แต่งยังอยู่ แต่ได้ยอมให้ผู้อื่นพิมพ์จำหน่ายโดยมีสัญญาแย่งผลประโยชน์กันมาประการใด ผู้แต่งจะขอกรรมสิทธิ์ ต้องบอกให้ผู้พิมพ์จำหน่ายทราบก่อน ถ้าผู้พิมพ์จำหน่ายยินยอม ผู้แต่งจึงจะมีกรรมสิทธิ์ได้ ถ้าผู้พิมพ์จำหน่ายร้องขัดขวาง ก็ให้ศาลพิจารณาดูผลประโยชน์ที่จะพึงได้พึงเสียในคดีเรื่องนั้นตามกฎหมายแลประเพณี 
แลให้ศาลมีอำนาจที่จะพิพากษาว่า หนังสือเรื่องนั้นควรมีกรรมสิทธิ์หรือไม่
หมวดที่ ๓ ว่าด้วย
ลักษณรับแลโอนกรรมสิทธิ์

มาตรา๑๐บรรดาหนังสือซึ่งจะมีกรรมสิทธิ์ได้ตามพระราชบัญญัตินี้ ต้องลงพิมพ์แล้ว แลผู้แต่งต้องนำหนังสือเรื่องนั้นมาให้เจ้าพนักงานจดลงทะเบียนแต่ภายในกำหนด ๑๒ เดือนตั้งแต่ได้พิมพ์จำหน่าย หรือถ้าเปนหนังสือที่ผู้แต่งถึงมรณภาพก่อนได้รับกรรมสิทธิ์ ผู้รับมรฎกต้องนำมาขอจดทะเบียนแต่ภายในกำหนด ๑๒ เดือนนับแต่วันมรณภาพของผู้แต่ง

มาตรา๑๑หนังสือเรื่องใดที่ได้มีกรรมสิทธิ์แล้ว แม้ผู้มีกรรมสิทธิ์ได้แก้ไขแลพิมพ์ขึ้นเปนฉบับหลังต่อไป จะนำฉบับหลังมาจดทะเบียนขอกรรมสิทธิ์ในฉบับนั้น ๆ ต่อไปก็ได้

มาตรา๑๒บรรดาหนังสือที่นำมาจดทะเบียนขอกรรมสิทธิ์นั้น ให้ผู้ขอกรรมสิทธิ์ส่งหนังสือนั้นไว้กับเจ้าพนักงานฉบับ ๑

มาตรา๑๓ให้เจ้าพนักงานมีสมุดจดทะเบียนไว้สำหรับจดบาญชีหนังสือที่มีผู้ขอกรรมสิทธิ์จงทุกราย แลเมื่อได้จดหนังสือเรื่องใดลงทะเบียน ต้องให้ผู้ขอกรรมสิทธิ์แลเจ้าพนักงานลงชื่อไว้ในทะเบียนเปนสำคัญ แลสมุดฉบับที่ผู้ขอกรรมสิทธิ์ได้ส่งไว้ต่อเจ้าพนักงานนั้น ก็ให้เจ้าพนักงานแลผู้ขอลงชื่อไว้เปนสำคัญอย่างเดียวกัน

มาตรา๑๔ผู้ใดได้รับโอนกรรมสิทธิ์ ต้องนำหลักฐานเปนสำคัญในการที่ได้โอนกรรมสิทธิ์นั้นมาแสดงต่อเจ้า