ข้ามไปเนื้อหา

กฎหมายไทยฯ/เล่ม 1/เรื่อง 32

จาก วิกิซอร์ซ
ประกาศกระเษียรอายุลูกทาษลูกไทย

มีพระบรมราชโองการมารพระบัณฑูรสุรสิงหนาทโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้แจ้งความแก่พระบรมวงษานุวงษ์แลข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อยฝ่ายน่าฝ่ายในแลอาณาประชาราษฎรไทยจีนพ่อค้าชาวต่างประเทศในกรุงเทพฯ แลหัวเมืองฝ่ายเหนือฝ่ายใต้ทั่วทั้งพระราชอาณาจักรให้ทราบทั่วกันว่า ได้ทรงพระราชดำริห์ปฤกษาพร้อมด้วยท่านเสนาบดีแลเคาน์ซิลออฟสเตดให้ตั้งพระราชบัญญัติลักษณลูกทาษซึ่งเกีดแต่ทาษทั้ง ๗ จำพวกตั้งไว้เปนพระราชกำหนดกฎหมายสำหรับแผ่นดินเพื่อจะให้เปนคุณเปนประโยชน์มีความศุขเจริญแก่ชนชาวสยามต่อไปภายน่า แต่ทรงพระราชดำริห์วิตกอยู่ว่า ด้วยคน ๒ จำพวกจะไม่ทราบชัดเข้าใจถนัดในพระราชดำริห์พระราชประสงค์ซึ่งทรงจัดเปนพระราชบัญญัติขึ้นครั้งนี้ คือ คนพวกหนึ่งที่มีสันดานอันหนาแน่นอยู่ด้วยธรรมเนียมเดีมซึ่งเปนของชั่ว ประกอบแต่การกดขี่กันแลกัน คนมีเงินข่มเหงคนจน คนวาศนามากกดขี่คนวาศนาน้อย ตามอย่างจารีตโบราณแต่เดิม ๆ มานั้น ก็จะไม่เปนที่ชอบใจ พูดกันไปกันมาว่า ซึ่งโปรดตั้งพระราชบัญญัติลดพิกัดกระเษียรอายุลูกทาษลงชั้นหนึ่งแล้ว ๆ เมื่อลูกทาษอายุถึง ๒๑ ปี  หลุดค่าตัวแล้ว ก็ห้ามมิให้ช่วยไถ่กันได้ต่อไป ดังนี้ เจ้านายข้าราชการแลผู้มีทรัพย์ทั้งปวงที่ไม่เคยทำกิจการงานด้วยแรงตนก็จะต้องทนทุกข์ลำบากทำการเอง เพราะจะไม่มีทาษแลลูกทาษใช้สอยเปนพาหะนะกำลังช่วยทำมาหากินประกอบกิจราชการต่าง ๆ จะได้ความลำบากยากเย็นเปนอันมาก ฝ่ายคนพลเรือนแลไพร่เลวยากจนขัดสนลง จะเอาบุตรเอาหลานไปขายฝากไว้ภอแก้ขัดไปบ้างเหมือนอย่างแต่ก่อนภอผ่อนจนไปก็ไม่ได้ ฝ่ายคนอีกจำพวกหนึ่งซึ่งเปนคนดีมีความกรุณาเมตาตามธรรมเนียมที่ควรที่ชอบ ได้ยินได้ฟังการศิวิไลของใจตนต่างประเทศ ก็จะนึกไปว่า ซึ่งโปรดตั้งพระราชบัญญัติเรืองลูกทาษลูกไทยไว้ครั้งนี้ ก็เปนการดีการชอบ คงจะรุ่งเรืองแก่บ้านเมือง ราษฎรจะอยู่เย็นเปนศุขขึ้นบ้าง แต่ยังจะช้าอยู่ที่ทาษจะเลิกให้หมดเหมือนเมืองศิวิไลเศดชั่นนั้นด้วยพระราชบัญญัติใหม่ยังมิได้ห้ามขาดเรื่องขายทาษซื้อขายช่วยไถ่ทาษช่วยไถ่เชลยเลิกถอนกฎหมายลักษณทาษเก่าฃาดทีเดียว กับหนึ่งยังมิได้เลิกบ่อนเบี้ยการพนันซึ่งเปนรากเง่าเค้ามูลแห่งความที่จะก่อให้เกิดเปนทาษซื้อเนื้อขายตัวกันดังนี้ เมื่อไรทาษจึงจะหมดได้ เหนจะยังช้าอีกหลายสิบปีจึงจะได้เปนการดีไม่กดขี่ข่มเหงกันเหมือนประเทศอื่น ๆ ที่สมบูรณฉนั้น ก็ซึ่งคนทั้งสองจำพวกที่คิดเหนต่าง ๆ กันดังว่ามานี้ ก็เปนการถูกด้วยกันทั้งสองฝ่าย ฝ่ายหนึ่งเหนว่าเปนการดีมีคุณ ฝ่ายหนึ่งเหนว่าเปนโทษไม่มีคุณสิ่งใด ก็จะชี้แจงให้เข้าใจตามความพระราชดำริห์ความพระราชประสงค์ซึ่งได้ทรงโปรดตั้งพระราชบัญญัติไว้เปนปานกลาง จะได้เปนทางที่จะได้ดัดแปลงผ่อนผั่นหันการชั่วมาหาการดีตามการตามเวลาทีละเล็กคราวละน้อยทุก ๆ ครั้งทุก ๆ คราวไป ก็ฝ่ายใจคนจำพวกที่มีสันดานเคยตัวในการชั่วใช้ทาษหาอำนาจในการกดขี่นั้น ก็จะนึกพรั่นหวั่นหวาดกลัวทาษจะสูญหมดไปโดยเร็วนั้น จงเข้าใจให้ชัดเถดว่า ลูกทาษลูกไทยซึ่งโปรดให้ลดกระเษียรอายุลงเสมอ ๗ ปี ๘ ปีเต็มค่าเพียง ๘ ตำลึง อายุถึง ๒๑ ปีหมดค่านั้น ที่พ้นค่าตัวเปนไทยแล้วช่วยไถ่กันไม่ได้นั้นก็ดี การนี้ก็จำเภาะแต่เด็กที่เกีดในปีมโรง สัมริทธิศก เปนต้นไปเท่านั้น ก็ยังเด็กที่เกิดในปีเถาะ นพศก ปีขาน อัฐศก ถอยขึ้นไป ก็ยังมีอยู่เปนอันมาก คงได้ช่วยไถ่เอามาเปนทาษใช้สอยอยู่นาน แลทาษที่เปนพ่อแม่พี่ป้าน้าอาเก่า ๆ เหล่านั้นก็ยังมีถมไป คงช่วยไถ่ใช้กันอยู่อีกนาน กลัวจะเกินอายุท่านผู้ที่มีความวิตกนั้นเสียอิก ด้วยคนที่เกีดในปีขาน ปีเถาะ นั้น กว่าอายุจะถึง ๗๐ ปีบอกหักชราได้นั้น ก็ยังนานนัก ถ้าจะติดตั้งแต่ปีจอนี้ไป ก็ยังอิก ๖๑ ปี ๖๒ ปี เพราะฉนี้ จึงทรงพระราชดำริห์เปนปานกลางภอจะได้ให้เปนทางเข้าใจรู้ศึกตัวไว้บ้างที่จะได้เลือกจ้างคนที่เกิดปีมโรงเปนต้นไว้ใช้ภอเข้าใจเสียก่อน จึงมิได้ทรงพระราชดำริห์เลีกถอนโดยเร็วแขงแรงเหมือนเมื่อครั้งคิดกันมาแต่แรกบรมราชาภิเศกว่า จะให้นายเงินลดค่าตัวให้แก่ทาษเดือนละกึ่งตำลึงนั้น ถ้าคิดดู ที่จะดังนี้ปีหนึ่งเปนเงิน ๖ ตำลึง ทาษค่าตัวถัวธรรมดาคนละ ๒ ชั่ง คิดดู ๗ ปีเสศ ทาษก็จะต้องเลีกหมดไปโดยเร็ว ผู้ที่ช่วยไถ่มีทาษไว้แต่เดีมก็จะได้ความลำบากยากแค้นเปนอันมาก เหมือนผู้อยู่ที่อันสบายกลับกลายมาถูกร้อนโดยเร็ว ก็คงจะไม่สบายไปต่าง ๆ แล้วก็เปนทางที่ขาดทุนเสียทรัพย์ของผู้ที่ช่วยไถ่ไว้แต่เดีมนั้น จึงทรงผ่อนผันแต่เรื่องลูกทาษที่ไม่เปนการขาดทุนสิ่งใด เพราะทรงหวังตั้งพระราชหฤไทยแต่ให้เปนคุณเปนประโยชน์ ไม่ทรงอยากให้เปนโทษได้ความเดือดร้อนรำคาญต่าง ๆ จึงได้ทรงไว้เปนปานกลางภอให้เปนหนทางที่จะได้ใช้ลูกจ้างบ้างใช้ทาษบ้างรคนปนกันภอเคยใจไว้ เพราะไม่ทรงอยากให้เจ้าของทรัพย์ขาดทุนเดีมสิ่งใดให้เปนที่ร้อนใจรำคานในการซึ่งทรงพระราชดำริห์นี้ กับอนึ่ง ทาษไพร่ใจพาลสันดานข้าก็ยังไม่รู้จักที่จะทำมาหากินสิ่งไร จึงต้องผ่อนหย่อนไปให้ภอให้อาไศรยนายเงินได้กินอยู่นุ่งห่มไปพลาง ๆ ก่อนกว่าบุตรหลานจะได้หลุดถอนพ้นค่าตัวไปได้วิชาสิ่งไรภอรับจ้างหากินมีทรัพย์สินมาช่วยรับใช้แบ่งไถ่ให้บิดามารดาพ้นค่าหลุดเปนไทยไปได้บ้าง เปรียบเหมือนอย่างบิดาคนหนึ่ง มารดาคนหนึ่ง บุตร ๓ คน ถ้าบุตรหลุดพ้นไปได้ คงคิดเบี่ยงบ่ายรับจ้างหาเงินมาช่วยไถ่บิดามารดาไปให้เปนไทยได้ ก็คงช่วยกันซื้อขายทำมาหากินต่อไป บิดามารดาคงไม่กลับใจไปในการที่ชั่วตามที่เคยตัวมาแต่แรก เพราะบุตรได้ร่ำเรียนวิชา คงชักภาให้ดีมีแต่ที่ชอบทุกประการ จึงได้ทรงพระสันนิฐานเปนพระราชบัญญัติจัดไว้เปนอย่างกลางตามทางดังนี้ อนึ่ง ฝ่ายคนอีกจำพวกหนึ่งที่มีสันดานดี อยากจะไม่ให้มีธรรมเนียมใช้ทาษนั้น พึงทราบพระราชดำริห์พระราชประสงค์เถิดว่า ซึ่งทรงโปรดมีพระราชบัญญัติครั้งนี้ เพื่อจะแบ่งหนักให้เปนเบาไว้ก่อน เพราะจะผ่อนลูกทาษลูกไทยซึ่งเกีตในปีมโรงเปนต้นนั้น อายุได้ ๒๑ ปี พ้นหนี้หลุดค่าตัวเปนไทย แลไม่ให้ขายกันได้ต่อไปนั้น เพราะจะให้หัดทำการหาวิชาเปนที่ทำมาหากินรู้ในศิลปสาตรต่าง ๆ งะได้เปนลูกจ้างหากินต่อไป เมื่อธรรมเนียมจ้างกันหนาแน่นชุกชุมขึ้นแล้ว ก็เหนว่า ธรรมเนียมใช้ทาษก็คงจะน้อยลงทุกครั้งทุกที การดีก็จะมากขึ้นร่ำไป จึงได้ทรงตั้งพระราชบัญญัติให้คนเข้าใจเคยหูเคยตาด้วยกันมาก แล้วภายน่าต่อไป ถึงจะไม่มีใครใช้ทาษ ก็คงจะไม่เปนไรนัก เพราะเหมือนชวนชักให้คนที่มีสันดานอันหนาตามธรรมดาอยากจะใช้ทาษนั้นให้เคยหูเคยใจเคยตาเสียก่อน ก็คงจะมีความผ่อนหาสิ่งสว่างเสื่อมส่างการที่ชั่วได้ จึงยักย้ายพระราชบัญญัติตัดต่อเพิ่มเตีมขึ้นตามการตามเวลาที่จะเปนไปได้ทุกสิ่งทุกอย่างจนถึงหนทางที่จะตรงนั้น กับอนึ่ง การเล่นเบี้ยพนันเอาเงินกันเปนที่ก่อต้นรากให้เกิดเปนทาษขึ้นนั้น การอันนี้ มีพระราชหฤไทยรำพึงถึงอยู่เสมอที่จะหลีกถอนผ่อนให้หมดไปนั้นเปนแน่ แต่เปนเงินถึง ๑๑,๐๐๐ ชั่งเสศได้สำหรับจ่ายใช้ราชการแผ่นดินอยู่เสมอ ถ้าจะเลีกถอนเสียโดยเร็วนี้ เงินซึ่งสำหรับจะใช้จ่ายราชการก็ยังไม่มีภอที่จะทำการงานโยธาต่าง ๆ แทนเงินซึ่งจะเลีกได้นั้น แต่การอันนี้ ก็ได้ทรงพระราชดำริห์ปฤกษาอยู่ในเคาน์ซิลแล้ว เมื่อตกลงอย่างไร ท่านทั้งปวงคงได้ทราบต่อไปเมื่อภายน่า แจ้งความมาณวันอาทิตย เดือนสีบเอด ขึ้นแปดค่ำ ปีจอ ฉศก ศักราช ๑๒๓๖ เปนปีที่ ๗ ในรัชกาลปัตยุบันนี้ ขุนหลวงพระไกรสีห์ เคิลกออบเคาน์ซิล ๚