คำพิพากษาฯ คดีประทุษฐร้ายต่อพระองค์พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 8/อธิบายประกอบ
หน้าตา
บุคคล
[แก้ไข]ข
[แก้ไข]- ขุนเทพประสิทธิ์ หรือ ขุนเทพฯ — อาจได้แก่ ขุนเทพประสิทธิ์ไปรษณีย์ (มาลัย เทพประสิทธิ์; พ.ศ. 2437–2517)[1]
ค
[แก้ไข]- คณะรัฐประหาร — ได้แก่ คณะทหารแห่งชาติ คณะบุคคลที่ก่อรัฐประหารเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490
- คุณท้าวสัตยาฯ — ได้แก่ คุณท้าวสัตยานุรักษ์ บรรดาศักดิ์ข้าราชการฝ่ายใน,[2] แต่ยังไม่อาจสืบค้นได้ว่า เป็นผู้ใด
จ
[แก้ไข]- เจ้าคุณเทพหัสดินทร์ — ดู พระยาเทพหัสดินทร์
- เจ้าหมื่นสรรเพ็ชรภักดี — ?
ด
[แก้ไข]น
[แก้ไข]- นางทองใบ — อาจได้แก่ นางสาวทองใบ แนวนาค ลูกจ้างในบ้านพระยาศรยุทธเสนี, ดู พระยาศรยุทธเสนี
- นางสาวจรูญ — ได้แก่ ท้าวพิทักษ์อนงคนิกร (จรูญ ตะละภัฏ) ข้าหลวงของสมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์ พระราชชนนีของรัชกาลที่ 8
- นางสาวเนื่อง — ได้แก่ ท้าวอินทรสุริยา (เนื่อง จินตดุล; พ.ศ. 2428–2517) พระพี่เลี้ยงของรัชกาลที่ 8
- นายฉันท์ หุ้มแพร — ได้แก่ นายฉัน หุ้มแพร เป็นบรรดาศักดิ์มหาดเล็ก, ผู้มีบรรดาศักดิ์ดังกล่าวตามเอกสารนี้ คือ ทัศน์ สุจริตกุล[5] (? – พ.ศ. 2489)
- นายเฉลียว — ได้แก่ นายเฉลียว ปทุมรส (พ.ศ. 2445–2498) จำเลย
- นายชิต — ได้แก่ ชิต สิงหเสนี (พ.ศ. 2447–2498) จำเลย
- นายชื้น — ยังไม่อาจสืบค้นได้ว่า เป็นผู้ใด, เอกสารนี้ว่า ถูกปืนยิง
- นายตี๋ — ได้แก่ ตี๋ ศรีสุวรรณ (ราว พ.ศ. 2420[6] – ?) พ่อค้าไม้ซึ่งเป็นพยานโจทก์
- นายตุ๊ — เอกสารนี้ว่า เป็นอีกชื่อหนึ่งของ เรือเอก วัชรชัย ชัยสิทธิเวช, ดู เรือเอก วัชรชัย
- นายไถง — อาจได้แก่ ไถง สุวรรณทัต (พ.ศ. 2449–2535) เพราะเอกสารนี้ว่า ถูกระเบิด
- นายนเรศร์ธิรักษ์ — ได้แก่ นายนเรศร์ธิรักษ์ (แสวง; พ.ศ. 2441–2495)[7] เลขานุการสำนักพระราชวัง
- นายบุศย์ — ได้แก่ บุศย์ ปัทมศริน (พ.ศ. 2443–2498) จำเลย
- นายปรีดี — ได้แก่ หลวงประดิษฐ์มนูธรรม (ปรีดี พนมยงค์; พ.ศ. 2443–2526)
- นายพลตำรวจตรี แผ้วพาลชน — ดู หลวงแผ้วพาลชน
- นายพินิจ — อาจได้แก่ พินิจ ปทุมรส เพราะเอกสารนี้ว่า เป็นน้องชายของนายเฉลียว, ดู นายเฉลียว
- นายแพทย์ศิริ — ยังไม่อาจสืบค้นได้ว่า เป็นผู้ใด, เอกสารนี้ว่า เป็นเจ้าหน้าที่กรมวิทยาศาสตร์ (กระทรวงอุตสาหกรรม)
- นายมี — ได้แก่ มี พาผล พยานโจทก์
- นายระวิ — ได้แก่ ระวิ ผลเนื่องมา หัวหน้าแผนกพระราชพาหนะ
- นายเรือเอก วัชรชัย — ดู เรือเอก วัชรชัย
- นายเลียงไชยกาล — อาจได้แก่ เลียง ไชยกาล (พ.ศ. 2445–2529) นักการเมือง
- นายสี่ หรือชูรัตน์ — ?
- นายสุวิทย์ — ยังไม่อาจสืบค้นได้ว่า เป็นผู้ใด, เอกสารนี้ว่า ถูกปืนกลยิง
- ในพระบรมโกศ — เป็นคำเรียกพระมหากษัตริย์ที่สวรรคตแล้ว, ในที่นี้ได้แก่ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8
บ
[แก้ไข]- เบอร์นาร์ดชอว์ — ได้แก่ จอร์จ เบอร์นาร์ด ชอว์ (George Bernard Shaw; ค.ศ. 1856–1950) นักเขียนชาวไอริช
พ
[แก้ไข]- พรรคประชาธิปตัย — ได้แก่ พรรคประชาธิปัตย์
- พระดุลยกรณ์พิทารณ์ — ได้แก่ พระดุลยกรณ์พิทารณ์ (เชิด บุนนาค; พ.ศ. 2439–2512)[8] ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์
- พระดุลยนิติศาสตร์โกศล — ได้แก่ พระดุลยนิติศาสตร์โกศล (ดุลยนิติศาสตร์โกศล เพียรพิจารณ์)[9] ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์
- พระดุลยพากย์สุวมัณฑ์ — ได้แก่ พระดุลยพากย์สุวมัณฑ์ (ปิ่ณฑ์ ปัทมสถาน) ผู้พิพากษาศาลฎีกา
- พระนาถปริญญา — ได้แก่ พระนาถปริญญา (นิ่ม กัลล์ประวิทธ์)
- พระพิจารณ์พลกิจ — ได้แก่ พระพิจารณ์พลกิจ (ยู่เซ็ก ดุละลัมพะ; พ.ศ. 2435–2502) อธิบดีกรมตำรวจ
- พระพิจิตรราชสาส์น หรือ พระพิจิตร — ได้แก่ พระพิจิตรราชสาส์น (สอน วินิจฉัยกุล; พ.ศ. 2434–2498)[10] ผู้ช่วยราชเลขานุการในพระองค์
- พระพินิจชนคดี — ได้แก่ พระพินิจชนคดี (พินิจ อินทรทูต; ? – พ.ศ. 2513) รองอธิบดีกรมตำรวจ
- พระพิบูลย์ไอศวรรย์ — ได้แก่ พระพิบูลย์ไอศวรรย์ (เปรียบ สุจริตกุล; พ.ศ. 2441–2522)[11] ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์
- พระยาชาติเดชอุดม หรือ พระยาชาติฯ — ได้แก่ พระยาชาติเดชอุดม (หม่อมราชวงศ์โป๊ะ มาลากุล; พ.ศ. 2434–2509)[12]
- พระยาเทพหัสดินทร์ หรือ พระยาเทพหัสดินฯ — ได้แก่ พระยาเทพหัสดิน (ผาด เทพหัสดิน ณ อยุธยา; พ.ศ. 2420–2494)
- พระยาธรรมบัณฑิตสิทธิศฤงฆาร — ได้แก่ พระยาธรรมบัณฑิตสิทธิศฤงคาร (บุญจ๋วน บุณยะปานะ; พ.ศ. 2436–2506)[13] ผู้พิพากษาศาลฎีกา
- พระยาเลขวณิชธรรมวิทักษ์ — ได้แก่ พระยาเลขวณิชธรรมวิทักษ์มนูญประจักษ์ภักดีสภา (เหยียน เลขะวนิช) ผู้พิพากษาศาลฎีกา
- พระยาวิชิตสรศาสตร์ — ได้แก่ พระยาวิชิตสรศาสตร์ (จินดา วัชรเสถียร)
- พระยาศรยุทธเสนี หรือ พระยาศรยุทธฯ — ได้แก่ พลเรือตรี พระยาศรยุทธเสนี (กระแส ประวาหะนาวิน; พ.ศ. 2431–2505)
- พระยาอนุรักษ์ราชมณเฑียร — ได้แก่ พระยาอนุรักษ์ราชมณเฑียร (ก๊าด วัชโรทัย; พ.ศ. 2439–2518)[14]
- พระราชชนนี — ดู สมเด็จพระราชชนนี
- พระราชอนุชา — ดู สมเด็จพระราชอนุชา
- พระรามอินทรา — ได้แก่ พระรามอินทรา (ดวง จุลัยยานนท์; พ.ศ. 2432–2498) อธิบดีกรมตำรวจ
- พระศราภัยสฤษดิการ — ยังสืบค้นชื่อไม่ได้, เอกสารนี้ว่า เป็นสมุหราชองครักษ์
- พระศิลปศาสตราคม — อาจได้แก่ พระศิลปศัสตราคม (ภักดิ์ เกษสำลี; พ.ศ. 2435–2525),[15] เอกสารนี้ว่า เป็นสมุหราชองครักษ์
- พระศิลปสิทธิ์วินิจฉัย — ได้แก่ พระศิลปสิทธิวินิจฉัย (มารค อุณหะนันทน์; ? – พ.ศ. 2509?) ผู้พิพากษาศาลฎีกา
- พระสุทธิอรรถฯ — ได้แก่ พระสุทธิอรรถนฤมนตร์ (สุธ เลขยานนท์) ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์
- พระองค์เจ้าอาทิตย์ฯ — ได้แก่ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา (พ.ศ. 2447–2489)
- พลเรือตรี กระแส หรือ พลเรือตรี กระแสฯ — ดู พระยาศรยุทธเสนี
- พันเอก ช่วง — ได้แก่ พันเอก หลวงเชวงศักดิ์สงคราม (ช่วง เชวงศักดิ์สงคราม; พ.ศ. 2442–2505)
- พันเอก ประพันธ์ — ได้แก่ พันเอก ประพันธ์ กุลพิจิตร (พ.ศ. 2449–2537) ราชองครักษ์ประจำกรมราชองครักษ์
ม
[แก้ไข]- ม.จ.นิกรเทวัญ — ได้แก่ หม่อมเจ้านิกรเทวัญ เทวกุล (พ.ศ. 2440–2519)
- ม.จ.ศุภสวัสดิ์ — ดู หม่อมเจ้าศุภสวัสดิ์
- ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ — ได้แก่ หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช (พ.ศ. 2454–2538) สมาชิกพรรคประชาธิปัตย์
- ม.ร.ว.เทวาธิราช — ได้แก่ หม่อมราชวงศ์เทวาธิราช ป. มาลากุล (พ.ศ. 2432–2510)
- ม.ร.ว.สุมนชาติ หรือ ม.ร.ว.สุมนชาติฯ — ดู หม่อมราชวงศ์สุมนชาติ
- ม.ร.ว.เสนีย์ — ได้แก่ หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช (พ.ศ. 2448–2540) หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
- มหาวงศ์ — ได้แก่ วงศ์ เชาวนะกวี (พ.ศ. 2440–?)[16] ผู้ถวายพระอักษรให้แก่รัชกาลที่ 8
ร
[แก้ไข]- ร้อยตรี กรี — ได้แก่ ร้อยตรี กรี พิมพกร
- รัฐบาลรัฐประหาร — ดู คณะรัฐประหาร
- เรือเอก วัชรชัย — ได้แก่ เรือเอก วัชรชัย ชัยสิทธิเวช ราชองครักษ์
ส
[แก้ไข]- สมเด็จพระราชชนนี — ได้แก่ สมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์ (พ.ศ. 2443–2538) พระราชชนนีของรัชกาลที่ 8
- สมเด็จพระราชอนุชา — ได้แก่ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช (พ.ศ. 2470–2559) พระราชอนุชาของรัชกาลที่ 8
- สมเด็จพระสังฆราช — อาจได้แก่ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ (พ.ศ. 2415–2501)
- เสด็จพระองค์เจ้าคำรบ — ได้แก่ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าคำรบ (พ.ศ. 2414–2482)
ห
[แก้ไข]- หม่อมเจ้าศุภสวัสดิ์ — ได้แก่ หม่อมเจ้าศุภสวัสดิ์วงศ์สนิท สวัสดิวัตน์ (พ.ศ. 2443–2510)
- หม่อมราชวงศ์สุมนชาติ — ได้แก่ หม่อมราชวงศ์สุมนชาติ สวัสดิกุล (พ.ศ. 2453–2507)[17]
- หลวงชาติตระการโกศล — ได้แก่ หลวงชาติตระการโกศล (เจียม ลิมปิชาติ; พ.ศ. 2445–2538) อธิบดีกรมตำรวจ
- หลวงนิตยเวชวิศิษฏ์, หลวงนิตยฯ, หรือ หลวงนิตย์ฯ — ได้แก่ หลวงนิตย์เวชชวิศิษฏ์ (นิตย์ เปาเวทย์; พ.ศ. 2439–?) แพทย์ประจำพระองค์รัชกาลที่ 8
- หลวงนิเทศกลกิจ — ได้แก่ หลวงนิเทศกลกิจ (กลาง โรจนเสนา; ? – พ.ศ. 2491)[18]
- หลวงประดิษฐ์ฯ — ดู นายปรีดี
- หลวงแผ้วพาลชน — ได้แก่ หลวงแผ้วพาลชน (อำไพ ไล่ศัตรูไกล; พ.ศ. 2444–2530)[19]
- หลวงสุทธิภาศนฤพนธ์ — ได้แก่ หลวงสุทธิภาศนฤพนธ์ (ภุมรา ปิยะรัตน์; พ.ศ. 2438–2522?) ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์
- หลวงอรรถวินิจเนตินาท — ได้แก่ หลวงอรรถวินิจเนตินาท (สวัสดิ์ คทวณิช; ? – พ.ศ. 2528?) พนักงานอัยการ
อ
[แก้ไข]- อรรถวินิจเนตินาท — ดู หลวงอรรถวินิจเนตินาท
สถานที่
[แก้ไข]- เกษตรกลางบางเขน — ได้แก่ ที่ดินซึ่งเป็นที่ตั้งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในเขตบางเขน กรุงเทพมหานคร ปัจจุบัน[20]
- ชนะสงคราม, ตำบล — ได้แก่ แขวงชนะสงคราม ในเขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ปัจจุบัน
- พระนคร, จังหวัด — ได้แก่ จังหวัดพระนคร, ภายหลังรวมกับจังหวัดธนบุรีเป็นกรุงเทพมหานครในปัจจุบัน
- พระนคร, อำเภอ — ได้แก่ เขตพระนคร ในกรุงเทพมหานครปัจจุบัน
- โลซานน์, เมือง — ได้แก่ โลซาน (Lausanne) เมืองในประเทศสวิตเซอร์แลนด์
- วัดมงกุฎฯ — อาจได้แก่ วัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร ในเขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
- วิทยาศรม — อาจได้แก่ ที่ตั้งของบริษัทวิทยาศรม ซึ่งผลิตยาและเวชภัณฑ์[21]
- สวิสส์, ประเทศ — ได้แก่ สวิตเซอร์แลนด์ (Switzerland)
- ไฮเดลแบร์ก, เมือง — ได้แก่ ไฮเดิลแบร์ค (Heidelberg) เมืองในประเทศเยอรมนี
อื่น ๆ
[แก้ไข]- กฎหมายลักษณะอาญา — ได้แก่ กฎหมายลักษณะอาญา ที่ตราขึ้นใน ร.ศ. 127 (พ.ศ. 2451)
- มาตรา 57 — ว่า "ถ้าเด็กอายุกว่าเจ็ดขวบขึ้นไป แต่ยังไม่ถึงสิบสี่ขวบ กระทำความผิด ท่านให้ศาลมีอำนาจกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดใน 3 ประการที่จะว่าต่อไปนี้ คือ
- (1) ถ้าเห็นว่า มันยังไม่รู้ผิดชอบ จะให้ปล่อยตัวไปเสียก็ได้ หรือถ้าศาลเห็นว่า มันพอจะเข้าใจความผิดชอบได้อยู่บ้าง ให้ศาลว่ากล่าวให้มันรู้สึกตัว แล้วภาคทัณฑ์ปล่อยตัวไปก็ได้ ฉนี้ประการหนึ่ง
- (2) มอบตัวเด็กให้แก่บิดามารดาหรือผู้ปกครองไป แลบังคับเรียกประกันทานบน หรือเรียกแต่ทานบน แก่บิดามารดาหรือผู้ปกครองเด็กนั้น ให้สัญญาว่า จะระวังเด็กนั้นให้ประพฤติตนรักษาความเรียบร้อย ตลอดเวลาที่ศาลจะกำหนดให้ไม่เกินกว่าสามปี ถ้าผิดทานบน ให้ศาลปรับเปนจำนวนเงินตามที่กำหนดไว้ในทานบนไม่เกินร้อยบาทขึ้นไป ฉนี้ประการหนึ่ง
- (3) สั่งให้ส่งตัวเด็กนั้นไปไว้ในโรงเรียนตัดสันดานตลอดเวลาที่ศาลจะกำหนดให้ แต่อย่าให้เกินไปกว่าเวลาที่เด็กนั้นมีอายุครบสิบแปดขวบ ประการหนึ่ง"[22]
- มาตรา 63 — ว่า "ในคดีที่บุคคลตั้งแต่สองขึ้นไปกระทำความผิดอย่างเดียวกัน ท่านให้ถือว่า บรรดาผู้ที่ได้ลงมือกระทำความผิดนั้นเปนตัวการ แลอาจลงอาญาตามที่กฎหมายบัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้นแก่มันทุกคนเหมือนอย่างมันได้กระทำความผิดแต่ผู้เดียวฉนั้น"[23]
- มาตรา 64 — ว่า "ผู้ใดใช้ให้ผู้อื่นกระทำความผิดด้วยอุบายอย่างใดใด เช่น ว่าจ้างวานหรือบังคับขู่เข็ญข่มขืนให้ผู้อื่นกระทำความผิด เปนต้น ท่านว่า มันผู้ใช้นั้นต้องรวางโทษฐานเปนตัวการ"[23]
- มาตรา 70 — ว่า "ผู้ใดกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง แลการที่กระทำนั้นเปนการเลมิดกฎหมายหลายบทด้วยกัน ท่านให้ใช้บทกฎหมายที่อาญาหนักลงโทษแก่มัน"[24]
- มาตรา 71 — ว่า "เมื่อศาลพิจารณาเห็นว่า ผู้ใดมีความผิดหลายกทง ในคำพิพากษาอันเดียวกัน ศาลจะพิพากษาลงโทษตามกทงความผิดทุกกทงก็ได้ แต่เมื่อรวมโทษทุกกทงเข้าด้วยกัน ถ้าจะต้องจำคุก อย่าให้จำเกินยี่สิบปีขึ้นไป เว้นแต่โทษของมันถึงจำคุกตลอดชีวิตร์ เช่นนั้น ต้องเปนไปตามโทษ ถ้าแลรวมโทษทุกกทงในฐานที่จะต้องจำคุกแทนปรับ ท่านว่า อย่าให้จำมันเกินกว่าสองปีขึ้นไป"[24]
- มาตรา 97 — ว่า "ผู้ใดทนงองอาจกระทำการประทุษฐร้ายต่อพระองค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ดี สมเด็จพระมเหษีก็ดี มกุฎราชกุมารก็ดี ต่อผู้สำเร็จราชการแผ่นดินในเวลารักษาราชการต่างพระองค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ดี ท่านว่า โทษของมันถึงต้องประหารชีวิตร์
- ผู้ใดพยายามจะกระทำการประทุษฐร้ายเช่นว่ามาแล้ว แม้เพียงตระเตรียมการก็ดี สมคบกันเพื่อการประทุษฐร้ายนั้นก็ดี หรือสมรู้เปนใจด้วยผู้ประทุษฐร้าย ผู้พยายามจะประทุษฐร้าย ก็ดี มันรู้ว่า ผู้ใดคิดประทุษฐร้ายเช่นว่ามานี้ มันช่วยปกปิดไม่เอาความนั้นไปร้องเรียนขึ้นก็ดี ท่านว่า โทษมันถึงตายดุจกัน"[25]
- มาตรา 154 — ว่า "ผู้ใดเจตนาจะช่วยผู้อื่นให้พ้นอาญาอันควรรับตามกฎหมาย แลมันกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดดังกล่าวต่อไปในมาตรานี้ คือว่า
- (1) มันกระทำข้อความหรือสิ่งซึ่งเปนสักขีพยานในการกระทำผิดให้สูญหายไปเสียก็ดี
- (2) มันเพทุบายเอาเนื้อความที่มันรู้อยู่ว่า เปนเท็จ มาบอกเล่าในเรื่องความผิดใดใด เพื่อจะให้หลงเชื่อไปในทางที่เปนเท็จก็ดี
- (3) มันให้สำนักหรือซ่อนเร้นผู้กระทำผิดหรือผู้ต้องหาในความผิดไว้ก็ดี
- (4) มันช่วยด้วยประการใดใดให้ผู้ที่กระทำผิด หรือผู้ต้องหาว่า ได้กระทำผิดนั้น หลบหลีกไม่ให้ถูกจับกุมก็ดี
- ท่านว่า มันผู้กระทำการเช่นว่ามานี้ มีความผิด ต้องรวางโทษจำคุกตั้งแต่เดือนหนึ่งขึ้นไปจนถึงสามปี แลให้ปรับตั้งแต่ยี่สิบบาทขึ้นไปจนถึงสองร้อยบาทด้วยอีกโสดหนึ่ง
- ถ้าแลผู้กระทำผิดหรือผู้ต้องหาที่มันช่วยนั้นเปนผู้กระทำผิดหรือผู้ต้องหาในความผิดอุกฤษฐโทษถึงประหารชีวิตร์ หรือเปนมหันตโทษ คือ จำคุกตั้งแต่สิบห้าปีขึ้นไป ท่านว่า มันผู้ช่วยนั้นต้องรวางโทษจำคุกตั้งแต่สามเดือนขึ้นไปจนถึงห้าปี แลให้ปรับตั้งแต่ห้าสิบบาทขึ้นไปจนถึงห้าร้อยบาทด้วยอีกโสดหนึ่ง
- แต่ถ้าการที่ช่วยผู้กระทำผิดดังที่ว่ามาในข้อ 3 แลข้อ 4 ในมาตรานี้นั้นเปนการที่สามีช่วยภรรยา หรือภรรยาช่วยสามีไซ้ ท่านว่า อย่าให้ลงอาญาแก่มันผู้ที่ช่วยนั้นเลย เพราะมันเปนผัวเมีย เสียกันมิได้"[26]
- เชฟโรเลต, รถ — ได้แก่ เชฟโรเลต (Chevrolet)
- เดมเล่อร์, รถ — ได้แก่ เดมเลอร์ (Daimler)
- แนช, รถ — อาจได้แก่ แนชแรมเบลอร์ (Nash Rambler) รถยนต์ประเภทหนึ่ง
- โนแวลยิน, ยา — ?
- ประมวลกฎหมายลักษณะอาญา — ดู กฎหมายลักษณะอาญา
- โปรเต๊กโทรน — ภาษาอังกฤษ "protect throne" แปลว่า "คุ้มครองราชบัลลังก์"
- มอร์ริส, รถ — อาจได้แก่ รถที่บริษัทมอร์ริส (Morris) ผลิต
- รัฐประหาร — ได้แก่ รัฐประหารเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490
- โรลสลอยด์, รถ — ได้แก่ โรลส์-รอยซ์ (Rolls-Royce)
- เวสต์ป๊อยต์ — ได้แก่ เวสต์พอยต์ (West Point) ชื่อหนึ่งของ วิทยาลัยทหารสหรัฐ (United States Military Academy)
- อ๊อปตาลิดอน, ยา — Optalidon[27]
- แอ๊กซิเดนท์ — ภาษาอังกฤษ "accident" แปลว่า "อุบัติเหตุ"
เชิงอรรถ
[แก้ไข]อ้างอิง
[แก้ไข]- ↑ หอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (2563h)
- ↑ "พระราชทานสัญญาบัตร์ฯ" (2468, น. 3890)
- ↑ จ่าง รัตนะรัต (ม.ป.ป.)
- ↑ คำประกาศเกียรติคุณฯ (2517, น. 2)
- ↑ "พระราชทานเหรียญฯ" (2469, น. 3128}}
- ↑ เปลวสีเงิน (2563)
- ↑ หอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (2563d)
- ↑ หอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (2563c)
- ↑ "แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรีฯ" (2491, น. 3992)
- ↑ หอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ม.ป.ป.a)
- ↑ หอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ม.ป.ป.b)
- ↑ หอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (2563a)
- ↑ หอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (2563b)
- ↑ หอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (2563f)
- ↑ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร (ม.ป.ป.)
- ↑ ทีมงาน (2555)
- ↑ หอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (2563e)
- ↑ วุฒิสภา (2491, น. 1)
- ↑ หอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (2563g)
- ↑ วิทยาเขตบางเขน (ม.ป.ป.)
- ↑ วิทยาศรม (2563)
- ↑ "กฎหมายลักษณอาญา" (2451, น. 221)
- ↑ 23.0 23.1 "กฎหมายลักษณอาญา" (2451, น. 223)
- ↑ 24.0 24.1 "กฎหมายลักษณอาญา" (2451, น. 224)
- ↑ "กฎหมายลักษณอาญา" (2451, น. 229)
- ↑ "กฎหมายลักษณอาญา" (2451, น. 242)
- ↑ Drugs.com (2020)
บรรณานุกรม
[แก้ไข]- "กฎหมายลักษณอาญา". (2451, 1 มิถุนายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 25, ฉบับพิเศษ. หน้า 206–287.
- คำประกาศเกียรติคุณ ดร.จ่าง รัตนะรัต วิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ วันศุกร์ที่ 18 ตุลาคม 2517 ปีการศึกษา 2516. (2517). สืบค้นจาก https://www.yumpu.com/xx/document/read/33268269/-
- จ่าง รัตนะรัต. (ม.ป.ป.). สืบค้นจาก https://www.tungsong.com/Nakorn/Person/jiang.htm
- "แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสสริยาภรณ์ ลงวันที่ 5 ธันวาคม 2491". (2491, 7 ธันวาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 65, ตอน 71. หน้า 3976–3997.
- ทีมงาน. (2555). อาจารย์วงศ์ เชาวนะกวี. สืบค้นจาก https://db.sac.or.th/inscriptions/historyteachers/detail/10536
- เปลวสีเงิน. (2563). อดีต ส.ว. ประสาร ถอด 'รหัสนัย 2475': ความรู้ทั้งหมดของข้าพเจ้าเป็นความรู้ทางหนังสือ ข้าพเจ้าไม่ได้เอาสาระสำคัญของมนุษย์มาคำนึงด้วย. สืบค้นจาก https://www.thaipost.net/main/detail/66667
- "พระราชทานสัญญาบัตร์บรรดาศักดิ์ฝ่ายใน ลงวันที่ 20 มีนาคม พระพุทธศักราช 2468". (2468, 28 มีนาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 42. หน้า 3890.
- "พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ฝ่ายหน้า ลงวันที่ 6 พฤศจิกายน พระพุทธศักราช 2469". (2469, 26 พฤศจิกายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 43. หน้า 3120–3130.
- วิทยาเขตบางเขน. (ม.ป.ป.). สืบค้นจาก http://kuhistory.ku.ac.th/02/bangkhen.htm
- วิทยาศรม. (2563). เกี่ยวกับเรา. สืบค้นจาก https://vidhyasom.com/about-vidhyasom/
- วุฒิสภา. (2491). รายงานการประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ 18 (สามัญ) ชุดที่ 1 วันอังคารที่ 7 กันยายน พุทธศักราช 2491. วุฒิสภา: พระที่นั่งอนันตสมาคม.
- สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (ม.ป.ป.). อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ พลโท และพลอากาศโท พระศิลปศัสตราคม (ภักดิ์ เกษสำลี ) ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส วันเสาร์ที่ 16 เมษายน 2526. สืบค้นจาก http://dl.parliament.go.th/handle/lirt/515634
- หอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (ม.ป.ป.a). พระบรมราโชวาทและพระราชดำรัส. สืบค้นจาก https://koha.library.tu.ac.th/bib/191491
- หอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (ม.ป.ป.b). พิมพ์เป็นอนุสรณ์เนื่องในวโรกาสที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินพระราชทานเพลิงศพพระพิบูลย์ไอศวรรย์ (เปรียบ สุจริตกุล). สืบค้นจาก https://koha.library.tu.ac.th/bib/36700
- หอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (2563a). คำกลอนถวายโอวาท: สุนทรภู่แต่งถวายสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์. สืบค้นจาก http://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:1281
- หอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (2563b). ธรรมบัณฑิตานุสรณ์. สืบค้นจาก http://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:5785
- หอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (2563c). พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พระดุลยกรณ์พิทารณ์ ม.ว.ม., ป.ช., ท.จ. (เชิด บุนนาค). สืบค้นจาก http://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:156
- หอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (2563d). มนุษย์จะประสบสุขได้อย่างไร? เชิญอ่านไป จะได้พบสุข. สืบค้นจาก http://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:146380
- หอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (2563e). สุมนชาตินิพนธ์. สืบค้นจาก http://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:139186
- หอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (2563f). อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพพระยาอนุรักษ์ราชมณเฑียร มวม. ปช. ทจว. ณ เมรุหน้าพลับพลาราชอิสริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส วันที่ 10 เดือน มิถุนายน พ.ศ. 2519. สืบค้นจาก http://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:1924
- หอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (2563g). อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพพลตำรวจโท หลวงแผ้วพาลชน ป.ช., ป.ม. ณ เมรุวัดธาตุทอง กรุงเทพมหานคร วันอาทิตย์ที่ 28 กุมภาพันธ์ 2531. สืบค้นจาก http://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:4791
- หอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (2563h). อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ รองอำมาตย์โท ขุนเทพประสิทธิ์ไปรษณีย์ ต.ช. (มาลัย เทพประสิทธิ์) ณ เมรุวัดเทพศิรินทราวาส วันพฤหัสบดีที่ 5 มิถุนายน 2518. สืบค้นจาก http://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:137339
- Drugs.com. (2020). Optalidon. Retrieved from https://www.drugs.com/international/optalidon.html