คำสั่งนายกรัฐมนตรี ให้ประหารชีวิตนายครอง จันดาวงศ์ กับนายทองพันธุ์ สุทธิมาศ
โดยที่ปรากฏจากการสอบสวนเป็นที่แน่ชัดว่า นายครอง จันดาวงศ์ กับนายทองพันธุ์ สุทธิมาศ ได้กระทำการอันแรงร้าย บ่อนทำลายความมั่นคงของราชอาณาจักร คุกคามความสงบภายใน ทำการสะสมอาวุธร้ายแรงมากมายหลายชนิด เพื่อแยกเอาดินแดนภาคตะวันออกเฉียงเหนือไปรวมกับอาณาจักรลาวในระบบนิยมคอมมิวนิสต์ ชักชวนให้ล้มล้างรัฐปัจจุบัน โดยนำกำลังและอาวุธจากภายนอกราชอาณาจักรเข้ามาสนับสนุนหรือบังคับให้เป็นไปตามความมุ่งหมายของตน และดำเนินการปล้มสดมภ์ทรัพย์สินราษฎรในท้องที่ ๓ จังหวัด คือ สกลนคร อุดรธานี และหนองคาย ให้เกิดความระส่ำระสายในการดำรงชีพโดยทั่วไป คนทั้งสองนี้ได้เกลี้ยกล่อมและโฆษณาชักจูงให้ราษฎรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเข้าเป็นสมัครพรรคพวก โดยกล่าวหาใส่ร้ายรัฐบาลไทยุทกยุคทุกสมัยเพื่อให้ราษฎรเสื่อมคลายความนิยมและจงรักภักดีต่อราชอาณาจักรไทย นายครอง จันดาวงศ์ ได้กระทำการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เพื่อให้เกิดความเกลียดชังและขาดความเคารพจงรักภักดีต่อราชบัลลังก์ การกระทำของนายครอง จันดาวงศ์ กับนายทองพันธุ์ สุทธิมาศ เป็นภัยร้ายแรง เป็นการบ่อนทำลายความมั่นคงของราชอาณาจักรและราชบัลลังก์
อาศัยอำนาจตามมาตรา ๑๗ แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร และมติคณะรัฐมนตรีในการประชุมเมื่อวันอังคารที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๐๔ ให้กรมตำรวจจัดการประหารชีวิตนายครอง จันดาวงศ์ กับนายทองพันธุ์ สุทธิมาศ เพื่อรักษาไว้ซึ่งความมั่นคงของราชอาณาจักรและราชบัลลังก์สืบไป
ให้กรมตำรวจปฏิบัติตามคำสั่งนี้โดยเร็วที่สุด
- สั่ง ณ วันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๐๔
- (ลงนาม) จอมพล ส. ธนะรัชต์
- นายกรัฐมนตรี
บรรณานุกรม
[แก้ไข]- สภาร่างรัฐธรรมนูญ. (2504). รายงานการประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ทำหน้าที่นิติบัญญัติ) ครั้งที่ 29 วันพฤหัสบดีที่ 1 มิถุนายน พุทธศักราช 2504. สภาร่างรัฐธรรมนูญ: พระที่นั่งอนันตสมาคม. หน้า 350–351.
งานนี้ ปัจจุบันเป็นสาธารณสมบัติแล้ว เพราะลิขสิทธิ์ได้หมดอายุตามมาตรา 19 และมาตรา 20 ของพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ซึ่งระบุว่า
- ถ้ารู้ตัวผู้สร้างสรรค์ ในกรณีที่ผู้สร้างสรรค์เป็นบุคคลธรรมดา
- ลิขสิทธิ์หมดอายุเมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ผู้สร้างสรรค์ถึงแก่ความตาย
- ถ้ามีผู้สร้างสรรค์ร่วม ลิขสิทธิ์หมดอายุ
- เมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ผู้สร้างสรรค์ร่วมคนสุดท้ายถึงแก่ความตาย หรือ
- เมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ได้โฆษณางานนั้นเป็นครั้งแรก ในกรณีที่ไม่เคยโฆษณางานนั้นเลยก่อนที่ผู้สร้างสรรค์ร่วมคนสุดท้ายจะถึงแก่ความตาย
- ถ้ารู้ตัวผู้สร้างสรรค์ ในกรณีที่ผู้สร้างสรรค์เป็นนิติบุคคล หรือถ้าไม่รู้ตัวผู้สร้างสรรค์
- ลิขสิทธิ์หมดอายุเมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ได้สร้างสรรค์งานนั้นขึ้น
- แต่ถ้าได้โฆษณางานนั้นในระหว่าง 50 ปีข้างต้น ลิขสิทธิ์หมดอายุเมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ได้โฆษณางานนั้นเป็นครั้งแรก