ข้ามไปเนื้อหา

งานแปล:ค่าจ้าง ราคา และกำไร/บทที่ 13

จาก วิกิซอร์ซ
ค่าจ้าง ราคา และกำไร (ค.ศ. 1865) โดย คาร์ล มาคส์, ตรวจแก้โดย เอเลนอร์ มาคส์ เอฟลิง, แปลจากภาษาอังกฤษ โดย วิกิซอร์ซ
XII. ความสัมพันธ์โดยทั่วไปของกำไร ค่าจ้าง และราคา
Deduct from the value of a commodity the value replacing the value of the raw materials and other means of production used upon it, that is to say, deduct the value representing the past labour contained in it, and the remainder of its value will resolve into the quantity of labour added by the working man last employed. If that working man works twelve hours daily, if twelve hours of average labour crystallize themselves in an amount of gold equal to six shillings, this additional value of six shillings is the only value his labour will have created. This given value, determined by the time of his labour, is the only fund from which both he and the capitalist have to draw their respective shares or dividends, the only value to be divided into wages and profits. It is evident that this value itself will not be altered by the variable proportions in which it may be divided amongst the two parties. There will also be nothing changed if in the place of one working man you put the whole working population, twelve million working days, for example, instead of one. ลบมูลค่าซึ่งแทนที่มูลค่าของวัตถุดิบและปัจจัยการผลิตอื่น ๆ ซึ่งถูกใช้ไป กล่าวคือลบมูลค่าซึ่งเป็นตัวแทนของแรงงานในอดีตซึ่งมีอยู่ข้างในออกจากมูลค่าของสินค้าโภคภัณฑ์ แล้วมูลค่าที่เหลือจะกลายเป็นปริมาณของแรงงานซึ่งถูกเพิ่มเข้าโดยคนทำงานซึ่งถูกว่าจ้างไปล่าสุด หากคนทำงานคนนั้นทำงานสิบสองชั่วโมงต่อวัน หากแรงงานเฉลี่ยสิบสองชั่วโมงตกผลึกในปริมาณทองเท่ากับหกชิลลิง การเพิ่มมูลค่าเท่ากับหกชิลลิงนั้นเป็นมูลค่าเท่าเดียวที่แรงงานของเขาจะได้สร้างขึ้น มูลค่าดังนี้ซึ่งถูกกำหนดโดยเวลาของแรงงานของเขานั้นเป็นทุนกองเดียวที่ทั้งเขาและนายทุนจะต้องดึงเอาส่วนแบ่งหรือเงินปันผลของตัวเองแต่ละคนออกมา มูลค่าเดียวที่จะถูกแบ่งออกเป็นค่าจ้างและกำไร เป็นสิ่งที่แน่ชัดว่ามูลค่าตัวนี้เองจะไม่ถูกดัดแปลงไปด้วยสัดส่วนต่าง ๆ ที่มันจะถูกแบ่งออกให้กับทั้งสองฝ่าย จะไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงไปเลยหากว่าในที่ของคนทำงานคนหนึ่งคุณจะเอาประชากรทำงานมาทั้งหมดแทน เป็นวันทำงานสิบสองล้านวันเป็นต้น แทนที่จะเป็นวันเดียว
Since the capitalist and workman have only to divide this limited value, that is, the value measured by the total labour of the working man, the more the one gets the less will the other get, and vice versa. Whenever a quantity is given, one part of it will increase inversely as the other decreases. If the wages change, profits will change in an opposite direction. If wages fall profits will rise; and if wages rise, profits will fall. If the working man, on our former supposition, gets shillings, equal to one-half of the value he has created, or if his whole working day consists half of paid, half of unpaid labour, the rate of profit will be 100 per cent., because the capitalist would also get three shillings. If the working man receives only two shillings, or works only one third of the whole day for himself, the capitalist will get four shillings, and the rate of profit will be 200 per cent. If the working man receives four shillings, the capitalist will only receive two, and the rate of profit would sink to 50 per cent., but all these variations will not affect the value of the commodity. A general rise of wages would, therefore, result in a fall of the general rate of profit, but not affect values. ในเมื่อนายทุนและคนงานจะต้องแบ่งปันมูลค่าที่จำกัดนี้เท่านั้น กล่าวคือมูลค่าซึ่งถูกวัดด้วยแรงงานทั้งหมดของคนทำงาน ยิ่งคนใดได้มากเท่าใดอีกคนจะได้น้อยลง และเช่นกันในอีกทางหนึ่ง เมื่อใดที่มีปริมาณเท่าหนึ่ง ส่วนหนึ่งก็จะเพิ่มขึ้นโดยผกผันกับที่อีกส่วนลดลง หากค่าจ้างเปลี่ยน กำไรจะเปลี่ยนไปในทิศทางตรงกันข้าม หากค่าจ้างลดกำไรจะเพิ่มและหากค่าจ้างเพิ่มกำไรจะลด หากคนทำงานคนนั้น ในสมมุติฐานเก่าของเรา ได้รับปริมาณชิลลิงเท่ากับกึ่งหนึ่งของมูลค่าที่เขาได้สร้างขึ้น หรือหากวันทำงานทั้งหมดของเขาประกอบด้วยแรงงานที่ได้ค่าจ้างครึ่งหนึ่งและไม่ได้ค่าจ้างครึ่งหนึ่ง อัตรากำไรจะเป็นร้อยละร้อย เพราะนายทุนก็จะได้สามชิลลิงเช่นกัน หากคนทำงานได้รับเพียงสองชิลลิง หรือทำงานให้กับตัวเองเพียงหนึ่งในสามของทั้งวัน นายทุนก็จะได้สี่ชิลลิง และอัตรากำไรจะเท่ากับร้อยละสองร้อย หากคนทำงานได้รับสี่ชิลลิง นายทุนจะได้เพียงสอง และอัตรากำไรจะจมลงเหลือร้อยละห้าสิบ แต่การเปลี่ยนแปลงไปในแบบเหล่านี้จะไม่ส่งผลต่อมูลค่าของสินค้าโภคภัณฑ์ การเพิ่มค่าจ้างโดยทั่วไปนั้นจึงจะส่งผลให้อัตรากำไรโดยทั่วไปลดลง แต่ไม่ส่งผลต่อมูลค่า
But although the values of commodities, which must ultimately regulate their market prices, are exclusively determined by the total quantities of labour fixed in them, and not by the division of that quantity into paid and unpaid labour, it by no means follows that the values of the single commodities, or lots of commodities, produced during twelve hours, for example, will remain constant. The number or mass of commodities produced in a given time of labour, or by a given quantity of labour, depends unon the productive power of the labour employed, and upon its extent or length. With one degree of the productive power of spinning labour, for example, a working day of twelve hours may produce twelve pounds of yarn, with a lesser degree of productive power only two pounds. If then twelve hours' average labour were realized in the value of six shillings in the one case, the twelve pounds of yarn would cost six shillings, in the other case the two pounds of yarn would also cost six shillings. One pound of yarn would, therefore, cost sixpence in the one case, and three shillings in the other. This difference of price would result from the difference in the productive powers of the labour employed. One hour of labour would be realized in one pound of yarn with the greater productive power, while with the smaller productive power, six hours of labour would be realized in one pound of yarn. The price of a pound of yarn would, in the one instance, be only sixpence, although wages were relatively high and the rate of profit low, it would be three shillings in the other instance, although wages were low and the rate of profit high. This would be so because the price of the pound of yarn is regulated by the total amount of labour worked up in it, and not by the proportional division of that total amount into paid and unpaid labour. The fact I have before mentioned that high-priced labour may produce cheap, and low-priced labour may produce dear commodities, loses, therefore, its paradoxical appearance. It is only the expression of the general law that the value of a commodity is regulated by the quantity of labour worked up in it, and that the quantity of labour worked up in it depends altogether upon the productive powers of the labour employed, and will, therefore, vary with every variation in the productivity of labour. แต่ถึงแม้ว่ามูลค่าของสินค้าโภคภัณฑ์ซึ่งสุดท้ายจำกำหนดราคาตลาดของมันนั้นจะถูกกำหนดโดยปริมาณของแรงงานทั้งหมดซึ่งถูกตรึงอยู่ข้างในโดยเฉพาะ และไม่ใช่โดยการแบ่งปริมาณนั้นเป็นแรงงานที่ได้รับหรือไม่ได้รับค่าจ้าง แต่อย่างใดก็ไม่ได้หมายความว่ามูลค่าของสินค้าโภคภัณฑ์ชิ้นหนึ่ง หรือของสินค้าโภคภัณฑ์ชุดหนึ่ง ซึ่งถูกผลิตภายในสิบสองชั่วโมงเป็นต้นนั้นจะเป็นค่าคงตัว จำนวนหรือมวลรวมของสินค้าโภคภัณฑ์ซึ่งถูกผลิตภายในเวลาแรงงานเท่าหนึ่ง หรือด้วยปริมาณแรงงานเท่าหนึ่ง มันขึ้นอยู่กับกำลังการผลิตของแรงงานซึ่งถูกใช้งาน และขึ้นอยู่กับระยะหรือความยาวนานของมัน ตัวอย่างเช่น ด้วยกำลังการผลิตระดับหนึ่งของแรงงานทอผ้า วันทำงานสิบสองชั่วโมงอาจผลิตไหมพรมสิบสองปอนด์ แต่ด้วยกำลังการผลิตระดับต่ำลงมาได้แค่สองปอนด์ หากเช่นนั้นแล้วแรงงานเฉลี่ยสิบสองชั่วโมงนั้นได้กลายเป็นจริงเป็นมูลค่าหกชิลลิงในกรณีหนึ่ง และไหมพรมสิบสองปอนด์นั้นจะมีราคาหกชิลลิง ในอีกกรณีหนึ่งไหมพรมสองปอนด์ก็จะมีราคาหกชิลลิงเช่นกัน ไหมพรทหนึ่งปอนด์นั้นจึงจะมีราคาหกเพนซ์ในกรณีหนึ่งและหกชิลลิงในอีกกรณี ราคาที่ต่างกันนี้เป็นผลมาจากกำลังการผลิตที่ต่างกันของแรงงานซึ่งถูกนำมาใช้ แรงงานหนึ่งชั่วโมงจะกลายเป็นจริงในไหมพรมหนึ่งปอนด์ด้วยกำลังการผลิตที่มากกว่า ในขณะที่กับกำลังการผลิตที่น้อยกว่า แรงงานหกชั่วโมงจะกลายเป็นจริงในไหมพรมหนึ่งปอนด์ ในกรณีหนึ่งนั้นราคาของไหมพรมหนึ่งปอนด์จึงเท่ากับหกเพนซ์เท่านั้น แม้ว่าค่าจ้างจะสูงและอัตรากำไรต่ำ และในอีกกรณีจะมีราคาสามชิลลิง แม้ว่าค่าจ้างจะต่ำและอัตรากำไรสูง นี่เป็นเพราะว่าราคาของไหมพรมปอนด์นั้นถูกกำหนดโดยปริมาณของแรงงานทั้งหมดซึ่งถูกทำงานเข้าไปข้างในมัน และไม่ใช่ด้วยการแบ่งปริมาณทั้งหมดนั้นเป็นสัดส่วนของแรงงานที่ได้ค่าจ้างกับไม่ได้ค่าจ้าง ข้อเท็จจริงที่ผมได้กล่าวไปก่อนแล้วว่าแรงงานราคาสูงสามารถผลิตที่ราคาถูก และแรงงานราคาถูกสามารถผลิตสินค้าโภคภัณฑ์แพง ๆ ได้ ภาพปรากฏปฏิทรรศน์ของมันนั้นจึงเสื่อมสลายไป มันเป็นเพียงการแสดงออกซึ่งกฎทั่วไปว่ามูลค่าของสินค้าโภคภัณฑ์นั้นถูกควบคุมโดยปริมาณของแรงงานซึ่งถูกทำงานเข้าไปข้างในมัน และปริมาณของแรงงานซึ่งถูกทำงานไปข้างในมันนั้นล้วนขึ้นอยู่กับกำลังการผลิตของแรงงานที่ถูกนำมาใช้ และจึงจะเปลี่ยนไปพร้อม ๆ กับการแปรเปลี่ยนของผลิตภาพของแรงงาน