ข้ามไปเนื้อหา

งานแปล:ค่าจ้าง ราคา และกำไร/บทที่ 14

จาก วิกิซอร์ซ
ค่าจ้าง ราคา และกำไร (ค.ศ. 1865) โดย คาร์ล มาคส์, ตรวจแก้โดย เอเลนอร์ มาคส์ เอฟลิง, แปลจากภาษาอังกฤษ โดย วิกิซอร์ซ
XIII. กรณีหลักของความพยายามเพิ่มค่าจ้างหรือต่อต้านการลดต่ำลงของมัน
Let us now seriously consider the main cases in which a rise of wages is attempted or a reduction of wages resisted. เรามาพิจารณากรณีหลัก ๆ ของการพยายามขึ้นค่าจ้างหรือการต่อต้านการลดค่าจ้างอย่างจริงจังกันเสีย
1. We have seen that the value of the labouring power, or in more popular parlance, the value of labour, is determined by the value of necessaries, or the quantity of labour required to produce them. If, then, in a given country the value of the daily average necessaries of the labourer represented six hours of labour expressed in three shillings, the labourer would have to work six hours daily to produce an equivalent for his daily maintenance. If the whole working day was twelve hours, the capitalist would pay him the value of his labour by paying him three shillings. Half the working day would be unpaid labour, and the rate of profit would amount to 100 per cent. But now suppose that, consequent upon a decrease of productivity, more labour should be wanted to produce, say, the same amount of agricultural produce, 60 that the price of the average daily necessaries should rise from three to four shillings. In that case the value of labour would rise by one-third, or 331/3 per cent. Eight hours of the working day would be required to produce an equivalent for the daily maintenance of the labourer, according to his old standard of living. The surplus labour would therefore sink from six hours to four, and the rate of profit from 100 to 50 per cent. But in insisting upon a rise of wages, the labourer would only insist upon getting the increased value of his labour, like every other seller of a commodity, who, the costs of his commodities having increased, tries to get its increased value paid. If wages did not rise, or not sufficiently rise, to compensate for the increased values of necessaries, the price of labour would sink below the value of labour, and the labourer's standard of life would deteriorate. 1. เราได้เห็นแล้วว่ามูลค่าของพลังที่ใช้แรงงาน หรือด้วยสำนวนที่เป็นรู้จักกว่ากล่าวคือมูลค่าของแรงงาน มันถูกกำหนดโดยมูลค่าของสิ่งจำเป็น หรือปริมาณของแรงงานที่จำเป็นในการผลิตมัน หากว่าในประเทศหนึ่ง มูลค่าของสิ่งจำเป็นโดยเฉลี่ยต่อวันของผู้ใช้แรงงานนั้นเป็นตัวแทนของแรงงานหกชั่วโมงซึ่งถูกแสดงออกมาเป็นสามชิลลิง ผู้ใช้แรงงานจะต้องทำงานหกชั่วโมงต่อวันเพื่อผลิตในปริมาณที่เท่ากันเพื่อบำรุงรักษาตัวเขาในทุก ๆ วัน หากวันทำงานนั้นเป็นสิบสองชั่วโมง นายทุนจะจ่ายให้เขามูลค่าของแรงงานของเขาเท่ากับสามชิลลิง วันทำงานครึ่งหนึ่งจะเป็นแรงงานที่ไม่ได้รับค่าจ้าง และอัตรากำไรจะเท่ากับร้อยละร้อย แต่ทีนี้ให้สมมุติว่า อันเป็นผลมาจากการลดลงของผลิตภาพ ทำให้ต้องการแรงงานมากขึ้นเพื่อผลิตผลผลิตทางการเกษตรในปริมาณเท่าเดิมเป็นต้น ทำให้ราคาของสิ่งจำเป็นโดยเฉลี่ยต่อวันเพิ่มขึ้นจากสามเป็นสี่ชิลลิง ในกรณีนั้นมูลค่าของแรงงานจึงจะเพิ่มขึ้นหนึ่งในสาม หรือร้อยละสามสิบสาม จำเป็นต้องทำงานแปดชั่วโมงในวันทำงานเพื่อผลิตปริมาณที่เท่ากันเพื่อบำรุงรักษาตัวผู้ใช้แรงงานเขาเองในทุก ๆ วันตามมาตรฐานการครองชีพแบบเก่าของเขา แรงงานส่วนเกินนั้นจึงจมลงจากหกชั่วโมงเหลือสี่ และอัตรากำไรจากร้อยละร้อยเหลือร้อยละห้าสิบ แต่ในการยืนหยัดให้เพิ่มค่าจ้าง ผู้ใช้แรงงานนั้นยืนหยัดเพื่อเพิ่มมูลค่าของแรงงานของเขาเท่านั้น เช่นเดียวกันกับผู้ขายสินต้าโภคภัณฑ์คนอื่น ๆ ซึ่งเมื่อต้นทุนของสินค้าของเขาได้เพิ่มขึ้นก็จะพยายามที่จะได้รับเงินจ่ายมาที่มูลค่าที่เพิ่มขึ้น หากค่าจ้างนั้นไม่เพิ่มขึ้นหรือไม่เพิ่มขึ้นมาพอ เพื่อชดเชยมูลค่าของสิ่งจำเป็นที่เพิ่มขึ้น ราคาของแรงงานก็จะต่ำกว่ามูลค่าของแรงงาน และคุณภาพชีวิตของผู้ใช้แรงงานก็จะเสื่อมโทรมลง
But a change might also take place in an opposite direction. By virtue of the increased productivity of labour, the same amount of the average daily necessaries might sink from three to two shillings, or only four hours out of the working day, instead of six, be wanted to reproduce an equivalent for the value of the daily necessaries. The working man would now be able to buy with two shillings as many necessaries as he did before with three shillings. Indeed, the value of labour would have sunk, but that diminished value would command the same amount of commodities as before. Then profits would rise from three to four shillings, and the rate of profit from 100 to 200 per cent. Although the labourer's absolute standard of life would have remained the same, his relative wages, and therewith his relative social position, as compared with that of the capitalist, would have been lowered. If the working man should resist that reduction of relative wages, he would only try to get some share in the increased productive powers of his own labour, and to maintain his former relative position in the social scale. Thus, after the abolition of the Corn Laws, and in flagrant violation of the most solemn pledges given during the anti-Corn Law agitation, the English factory lords generally reduced wages ten per cent. The resistance of the workmen was at first baffled, but, consequent upon circumstances I cannot now enter upon, the ten per cent. lost were afterwards regained. แต่การเปลี่ยนแปลงก็เกิดขึ้นในทิศทางตรงกันข้ามได้เช่นกัน ด้วยคุณของผลิตภาพของแรงงานที่เพิ่มขึ้น ปริมาณของสิ่งจำเป็นโดยเฉลี่ยต่อวันเท่าเดิมอาจมีต่ำลงจากสามเหลือสองชิลลิง หรือเพียงสี่ชั่วโมงของวันทำงานแทนหกชั่วโมงที่ต้องการเพื่อผลิตซ้ำปริมาณที่เท่ากันกับมูลค่าของสิ่งจำเป็นต่อวัน คนทำงานในตอนนี้จึงสามารถซื้อของจำเป็นด้วยสองชิลลิงได้เท่าเดิมที่เคยด้วยสามชิลลิง แน่นอนว่ามูลค่าของแรงงานจะลดลง แต่มูลค่าที่ลดลงนั้นจะบัญชาสินค้าโภคภัณฑ์ในปริมาณเท่าเดิมอย่างก่อน และกำไรจึงเพิ่มจากเดิมสามเป็นสี่ชิลลิง และอัตรากำไรจากร้อยละร้อยเป็นร้อยละสองร้อย แม้ว่าคุณภาพชีวิตโดยสัมบูรณ์ของผู้ใช้แรงงานนั้นจะคงเท่าเดิม ค่าจ้างสัมพัทธ์ของเขา และพร้อมไปกับที่ยืนทางสังคมโดยสัมพัทธ์ของเขา เมื่อเปรียบกับของนายทุนแล้วก็จะได้ลดต่ำลง หากคนทำงานนั้นต่อต้านการลดค่าจ้างสัมพัทธ์แล้ว เขาเพียงแค่พยายามที่จะเอาส่วนแบ่งของกำลังการผลิตของแรงงานของเขาที่เพิ่มมากขึ้น และเพื่อคงไว้ซึ่งสถานะสัมพัทธ์บนตราชั่งทางสังคมให้คงเดิมก็เท่านั้น ดังนั้นแล้ว หลังจากการยกเลิกกฎหมายธัญพืช และด้วยการละเมิดคำปฏิญาณที่เคร่งขรึมซึ่งได้ให้ไว้ในช่วงการปลุกปั่นต่อต้านกฎหมายธัญพืชอย่างซึ่งหน้า พวกเจ้าโรงงานอังกฤษก็ลดค่าจ้างลงร้อยละสิบโดยถ้วนหน้า การต่อสู้ของคนงานในตอนแรกนั้นยุ่งเหยิงมาก แต่ด้วยเหตุแห่งปัจจัยซึ่งในตอนนี้ผมไม่สามารถกล่าวถึงได้ ความสูญเสียไปร้อยละสิบนั้นก็ได้คืนกลับมาในภายหลัง
2. The values of necessaries, and consequently the value of labour, might remain the same, but a change might occur in their money prices, consequent upon a previous change in the value of money. 2. มูลค่าของสิ่งจำเป็น และมูลค่าของแรงงานตามต่อมานั้น อาจคงอยู่เท่าเดิม แต่ราคาตัวเงินของมันอาจเปลี่ยนแปลงไปตามการเปลี่ยนแปลงก่อน ๆ ในมูลค่าของเงินตรา
By the discovery of more fertile mines and so forth, two ounces of gold might, for example, cost no more labour to produce than one ounce did before. The value of gold would then be depreciated by one-half, or fifty per cent. As the values of all other commodities would then be expressed in twice their former money prices, so also the same with the value of labour. Twelve hours of labour, formerly expressed in six shillings, would now be expressed in twelve shillings. If the working man's wages should remain three shillings, instead of rising to six shillings, the money price of his labour would only be equal to half the value of his labour, and his standard of life would fearfully deteriorate. This would also happen in a greater or lesser degree if his wages should rise, but not proportionately to the fall in the value of gold. In such a case nothing would have been changed, either in the productive powers of labour, or in supply and demand, or in values. Nothing could have changed except the money names of those values. To say that in such a case the workman ought not to insist upon a proportionate rise of wages, is to say that he must be content to be paid with names, instead of with things. All past history proves that whenever such a depreciation of money occurs, the capitalists are on the alert to seize this opportunity for defrauding the workman. A very large school of political economists assert that, consequent upon the new discoveries of gold lands, the better working of silver mines, and the cheaper supply of quicksilver, the value of precious metals has been again depreciated. This would explain the general and simultaneous attempts on the Continent at a rise of wages. จากการค้นพบเหมืองแร่ที่อุดมสมบูรณ์มากกว่าและอื่น ๆ ทองสองออนซ์อาจไม่ต้องใช้แรงงานผลิตมากไปกว่าที่ต้องใช้กับหนึ่งออนซ์อย่างเก่าเป็นต้น มูลค่าของทองจึงลดลงครึ่งหนึ่งหรือร้อยละห้าสิบ พร้อมที่มูลค่าของสินค้าโภคภัณฑ์ชนิดอื่น ๆ ก็จะถูกแสดงออกในรูปราคาตัวเงินมากกว่าเดิมสองเท่า เช่นเดียวกันมูลค่าของแรงงานด้วย แรงงานสิบสองชั่วโมงซึ่งแต่ก่อนแสดงออกเป็นหกชิลลิงก็จะแสดงออกเป็นสิบสองชิลลิงในตอนนี้ หากค่าจ้างของคนทำงานยังเท่ากับสามชิลลิงเท่าเดิม แทนที่จะเพิ่มเป็นหกชิลลิง ราคาตัวเงินของแรงงานของเขาก็จะเท่ากับครึ่งหนึ่งของมูลค่าของแรงงานของเขาเท่านั้น และคุณภาพชีวิตของเขาก็จะเสื่อมสภาพลงอย่างน่ากลัว นี่จะเกิดขึ้นเช่นกันในระดับที่น้อยหรือมากกว่าหากค่าค่าของเขาเพิ่มขึ้นแต่ไม่เป็นไปตามสัดส่วนของมูลค่าของทองที่ลดลง ในกรณีเช่นนั้นจะไม่มีอะไรเปลี่ยนไปเลย ไม่ว่าจะเป็นกำลังการผลิตของแรงงาน หรืออุปทานกับอุปสงค์ หรือมูลค่าต่าง ๆ ไม่ได้มีอะไรเปลี่ยนไปเลยนอกจากชื่อทางเงินตราของมูลค่าเหล่านั้น การกล่าวว่าคนงานไม่ควรยืนหยัดให้เพิ่มค่าจ้างให้เป็นไปตามสัดส่วนนั้นคือการบอกว่าเขาควรพอใจที่ได้รับค่าจ้างด้วยชื่อ แทนที่จะได้รับเป็นสิ่งของ ประวัติศาสตร์ในอดีตล้วนพิสูจน์ว่าเมื่อใดที่เงินเสื่อมค่าลง นายทุนนั้นจะว่องไวในการยึดเอาโอกาสนี้เพื่อโกงคนงาน นักเศรษฐศาสตร์การเมืองในสำนักหนึ่งซึ่งใหญ่มากได้กล่าวยืนยันว่า อันเป็นผลจากการค้นพบที่ดินที่มีทองใหม่ ๆ การทำงานเหมืองเงินที่ดีขึ้น และอุปทานของปรอทที่ถูกลง มูลค่าของโลหะก็จะลดลงอีกครั้งหนึ่ง นี่จะอธิบายความพยายามเพิ่มค่าจ้างในภาคพื้นทวีปซึ่งเกิดขึ้นพร้อมกันโดยทั่วไปได้
3. We have till now supposed that the working day has given limits. The working day, however, has, by itself, no constant limits. It is the constant tendency of capital to stretch it to its utmost physically possible length, because in the same degree surplus labour, and consequently the profit resulting therefrom, will be increased. The more capital succeeds in prolonging the working day, the greater the amount of other people's labour it will appropriate. During the seventeenth and even the first two-thirds of the eighteenth century a ten hours working day was the normal working day all over England. During the anti-Jacobin war, which was in fact a war waged by the British barons against the British working masses, capital celebrated its bacchanalia, and prolonged the working day from ten to twelve, fourteen, eighteen hours. Malthus, by no means a man whom you would suspect of a maudlin sentimentalism, declared in a pamphlet, published about 1815, that if this sort of thing was to go on the life of the nation would be attacked at its very source. A few years before the general introduction of the newly-invented machinery, about 1765, a pamphlet appeared in England under the title, An Essay on Trade. The anonymous author, an avowed enemy of the working classes, declaims on the necessity of expanding the limits of the working day. Amongst other means to this end, he proposes working houses, which, he says, ought to be "Houses of Terror." And what is the length of the working day he prescribes for these "Houses of Terror"? Twelve hours, the very same time which in 1832 was declared by capitalists, political economists, and ministers to be not only the existing but the necessary time of labour for a child under twelve years. 3. จนถึงตอนนี้เราได้สมมุติว่าวันทำงานนั้นมีขีดจำกัดอยู่ ทว่าวันทำงานนั้นโดยตัวมันเองไม่มีขีดจำกัดตายตัว แนวโน้มที่ตายจตัวของทุนคือการยืดมันออกไปให้ยาวนานเท่าที่จะทำได้ในเชิงกายภาพ เพราะแรงงานส่วนเกิน และกำไรที่เกิดขึ้นจากมันก็จะเพิ่มขึ้นไปในระดับเดียวกัน ยิ่งทุนสำเร็จในการยืดวันทำงานออกไปเท่าใด ปริมาณของแรงงานของคนอื่น ๆ ซึ่งจะถูกใช้ประโยชน์ก็จะยิ่งมากขึ้น ในช่วงศตวรรษที่สิบเจ็ดและแม้แต่ในสองในสามส่วนแรกของศตวรรษที่สิบแปด วันทำงานสิบชั่วโมงนั้นเป็นวันทำงานปกติทั่วทั้งประเทศอังกฤษ ในช่วงสงครามต้านฌากอแบ็งซึ่งความจริงแล้วเป็นสงครามที่ขุนนางอังกฤษประกาศกับมวลชนทำงานชาวอังกฤษ ทุนได้เฉลิมฉลองเลี้ยงเหล่าไลน์ให้กันและได้ยืดวันทำงานออกไปจากสิบเป็นสิบสอง สิบสี่ สิบแปดชั่วโมง มาลธัสซึ่งไม่ใช่คนที่คุณควรสงสัยว่าเจ้าอารมณ์ขี้แยแต่อย่างใด ได้ประกาศในจุลสารฉบับหนึ่งซึ่งเผยแพร่ในประมาณ ค.ศ. 1815 ว่าหากเรื่องแบบนี้ยังเกิดขึ้นต่อไป ชีวิตของชาติก็จะถูกโจมตีแต่รากเหง้าของมัน ไม่กี่ปีก่อนที่จะมีการนำเครื่องจักรซึ่งถูกประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่ ๆ มาใช้โดยทั่วไป ประมาณ ค.ศ. 1765 มีจุลสารฉบับหนึ่งปรากฎตัวขึ้นในประเทศอังกฤษภายใต้ชื่อ ความเรียงว่าด้วยอาชีพ ผู้เขียนนิรนามคนนั้นซึ่งประกาศตัวเป็นศัตรูของชนชั้นแรงงานได้กล่าวถึงความจำเป็นที่จะต้องขยายขีดจำกัดของวันทำงาน ท่ามกลางวิธีการอื่น ๆ เพื่อบรรลุเป้าหมายนี้ เขาได้เสนอให้มีบ้านทำงาน ซึ่งเขากล่าวว่าควรเป็น "บ้านแห่งความสยองขวัญ" แล้ววันทำงานมันยาวนานเท่าไหร่หรือที่เขากำหนดให้กับ "บ้านแห่งความสยองขวัญ" เหล่านี้ ก็สิบสองชั่วโมง เวลาเท่ากับที่เมื่อ ค.ศ. 1832 ที่นายทุน นักเศรษฐศาสตร์การเมือง และรัฐมนตรีต่าง ๆ ได้ประกาศว่าไม่ใช่เป็นเพียงแต่เวลาของแรงงานที่เป็นอยู่ แต่เป็นอย่างที่จำเป็นสำหรับเด็กอายุต่ำกว่าสิบสองปีด้วย
By selling his labouring power, and he must do so under the present system, the working man makes over to the capitalist the consumption of that power, but within certain rational limits. He sells his labouring power in order to maintain it, apart from its natural wear and tear, but not to destroy it. In selling his labouring power at its daily or weekly value, it is understood that in one day or one week that labouring power shall not be submitted to two days' or two weeks' waste or wear and tear. Take a machine worth £1,000. If it is used up in ten years it will add to the value of the commodities in whose production it assists £100 yearly. If it be used up in five years it would add £200 yearly, or the value of its annual wear and tear is in inverse ratio to the time in which it is consumed. But this distinguishes the working man from the machine. Machinery does not wear out exactly in the same ratio in which it is used. Man, on the contrary, decays in a greater ratio than would be visible from the mere numerical addition of work. ด้วยการขายพลังที่ใช้แรงงานของเขา และซึ่งเขาจำเป็นต้องทำภายใต้ระบบในปัจจุบัน คนทำงานยกให้นายทุนบริโภคพลังนั้น แต่ภายในขีดจำกัดตามเหตุผลเท่าหนึ่ง เขาขายพลังที่ใช้แรงงานของเขาเพื่อบำรุงรักษามันไม่ใช่เพื่อทำลายมัน เว้นแต่การชำรุดตามธรรมชาติของมัน ในการขายพลังที่ใช้แรงงานของเขาที่มูลค่ารายวันหรือรายสัปดาห์ เป็นที่เข้าใจกันว่าในหนึ่งวันหรือหนึ่งสัปดาห์นั้น พลังที่ใช้แรงงานจะไม่ถูกให้จำนนต่อความสูญเสียหรือความชำรุดเท่ากับสองวันหรือสองสัปดาห์ ยกเอาเครื่องจักรมูลค่า 1000 ปอนด์ หากมันใช้จนพังภายในสิบปีมันก็จะเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าโภคภัณฑ์ที่มันผลิตเท่ากับ 100 ปอนด์ต่อปี หากมันใช้จนพังภายในห้าปีก็จะเพิ่มให้ 200 ปอนด์ต่อปี หรือมูลค่าการชำรุดของมันต่อปีนั้นเป็นอัตราส่วนผกผันกับเวลาที่ใช้บริโภคัน แต่ที่เป็นสิ่งที่แยกระหว่างคนทำงานกับเครื่องจักร เครื่องจักรไม่ได้ชำรุดในอัตราส่วนเดียวกันกับที่มันถูกใช้งาน ในทางตรงกันข้าม มนุษย์เสื่อมตามอัตราส่วนที่มากยิ่งไปกว่าที่จะมองเห็นได้จากเพียงจำนวนของการทำงานที่เพิ่มมากขึ้น
In their attempts at reducing the working day to its former rational dimensions, or, where they cannot enforce a legal fixation of a normal working day, at checking overwork by a rise of wages, a rise not only in proportion to the surplus time exacted, but in a greater proportion, working men fulfil only a duty to themselves and their race. They only set limits to the tyrannical usurpations of capital. Time is the room of human development. A man who has no free time to dispose of, whose whole lifetime, apart from the mere physical interruptions by sleep, meals, and so forth, is absorbed by his labour for the capitalist, is less than a beast of burden. He is a mere machine for producing Foreign Wealth, broken in body and brutalized in mind. Yet the whole history of modern industry shows that capital, if not checked, will recklessly and ruthlessly work to cast down the whole working class to this utmost state of degradation. ในความพยายามของพวกเขาที่จะลดวันทำงานให้มีมิติอย่างมีเหตุผลอย่างที่เคยเป็น หรือที่จะทัดทานการทำงานมากเกินไปด้วยการขึ้นค่าจ้างในกรณีที่พวกเขาไม่สามารถบังคับใช้การกำหนดวันทำงานปกติตามกฎหมายได้ ซึ่งไม่ใช่เพียงการเพิ่มขึ้นตามสัดส่วนของเวลาส่วนเกินอย่างเที่ยงตรงแต่เป็นสัดส่วนที่มากยิ่งกว่า คนทำงานเพียงแค่บรรลุหน้าที่ที่เขามีต่อพวกเขาและเผ่าพันธุ์ของเขา พวกเขาเพียงแค่ขีดเส้นจำกัดการช่วงชิงที่ทุนทรราชย์พึงกระทำ เวลาเป็นห้วงของพัฒนาการมนุษย์ ผู้ใดไร้ซึ่งเวลาว่างให้ใช้ ซึ่งเวลาชีวิตทั้งหมดของเขานอกจากการสอดแทรกทางกายภาพอย่างการนอน มื้ออาหาร และอื่น ๆ เพียงเท่านี้ เขานั้นถูกกลืนกินโดยแรงงานของเขาที่ให้นายทุน ต่ำกว่าสัตว์พาหนะ เขาเป็นเพียงเครื่องจักรไว้ผลิตความมั่งคั่งต่างด้าว กายพังใจช้ำ แต่แล้วประวัติศาสตร์แห่งอุตสาหกรรมสมัยใหม่ทั้งมวลล้วนแสดงให้ทราบว่าทุนนั้น หากไม่ถูกตรวจสอบ ก็จะดำเนินการอย่างไม่ยั้งคิดและไร้ความปราณีที่จะทิ้งขว้างชนชั้นทำงานทั้งปวงให้อยู่ในสถานภาพอันเสื่อมขั้นสุด
In prolonging the working day the capitalist may pay higher wages and still lower the value of labour, if the rise of wages does not correspond to the greater amount of labour extracted, and the quicker decay of the labouring power thus caused. This may be done in another way. Your middle-class statisticians will tell you, for instance, that the average wages of factory families in Lancashire have risen. They forget that instead of the labour of the man, the head of the family, his wife and perhaps three or four children are now thrown under the Juggernaut wheels of capital, and that the rise of the aggregate wages does not correspond to the aggregate surplus labour extracted from the family. ในการยืดวันทำงานให้ยาวออกไป นายทุนอาจจ่ายค่าจ้างที่สูงขึ้นแต่ก็ยังลดมูลค่าของแรงงานลงหากการขึ้นค่าจ้างนั้นไม่สอดคล้องกับปริมาณของแรงงานที่ถูกสกัดออกมามากขึ้น และจึงทำให้พลังที่ใช้แรงงานนั้นผุพังเร็วยิ่งกว่า นี่ยังสามารถถูกกระทำได้ในอีกทางหนึ่ง นักสถิติชนชั้นกลางของคุณจะบอกว่าค่าจ้างเฉลี่ยของครอบครัวโรงงานในแลงคาเชอร์นั้นเพิ่มสูงขึ้นเป็นต้น เขาลืมไปว่าแทนที่จะเป็นแรงงานของผู้ชายซึ่งเป็นเสาหลักของครอบครัว ในตอนนี้ทั้งภรรยาและบางทีก็ลูกสามสี่คนของเขาก็ถูกโยนเข้าไปในวัฏจักรชคันนาถแห่งทุนแล้ว และค่าจ้างโดยรวมที่สูงขึ้นนั้นไม่สอดคล้องกับแรงงานส่วนเกินโดยรวมซึ่งถูกสกัดออกมาจากครอบครัวนั้น
Even with given limits of the working day, such as they now exist in all branches of industry subjected to the factory laws, a rise of wages may become necessary, if only to keep up the old standard value of labour. By increasing the intensity of labour, a man may be made to expend as much vital force in one hour as he formerly did in two. This has, to a certain degree, been effected in the trades, placed under the Factory Acts, by the acceleration of machinery, and the greater number of working machines which a single individual has now to superintend. If the increase in the intensity of labour or the mass of labour spent in an hour keeps some fair proportion to the decrease in the extent of the working day, the working man will still be the winner. If this limit is overshot, he loses in one form what he has gained in another, and ten hours of labour may then become as ruinous as twelve hours were before. In checking this tendency of capital, by struggling for a rise of wages corresponding to the rising intensity of labour, the working man only resists the depreciation of his labour and the deterioration of his race. ถึงแม้วันทำงานอาจมีขีดจำกัด อย่างเช่นที่มีอยู่ในอุตสาหกรรมทุกสาขาในตอนนี้ซึ่งอยู่ใต้กฎหมายโรงงาน การขึ้นค่าจ้างอาจกลายเป็นความจำเป็นแม้ว่าจะแค่เพื่อคงมูลค่ามาตรฐานของแรงงานแบบเก่าไว้ ด้วยการเพิ่มความเข้มข้นของแรงงาน คน ๆ หนึ่งอาจสามารถใช้จ่ายแรงชีพของเขาในชั่วโมงหนึ่งได้มากเท่ากับที่เคยภายในสองชั่วโมง ในระดับหนึ่งนี่ได้มีผลแล้วในอาชีพต่าง ๆ ภายใต้พระราชบัญญัติโรงงานต่าง ๆ ด้วยความเร่งของเครื่องจักร และจำนวนเครื่องจักรทำงานที่คน ๆ เดียวสามารถควบคุมได้ที่มากขึ้นแล้วตอนนี้ หากความเข้มข้นของแรงงานที่มากขึ้นหรือมวลของแรงงานที่ใช้จ่ายได้ในหนึ่งชั่วโมงนั้นได้มีสัดส่วนกับการลดขนาดของวันทำงานอย่างยุติธรรม คนทำงานก็จะยังคงเป็นฝ่ายชนะ หากเกินขีดจำกัดนี้ไปเขาก็จะเสียในรูปหนึ่งสิ่งที่เขาได้มาในอีกรูปหนึ่ง แล้วแรงงานสิบชั่วโมงก็อาจทำลายได้เท่ากับสิบสองชั่วโมงอย่างเก่า ในการที่คนทำงานทักทานกับแนวโน้มของทุนประการนี้ด้วยการต่อสู้เรียกร้องการขึ้นค่าจ้างให้ตรงสัดส่วนกับแรงงานที่เข้มข้นมากขึ้น พวกเขาเพียงแค่ต่อต้านการลดมูลค่าแรงงานของเขาและความเสื่อมโทรมของเผ่าพันธุ์ของเขา
4. All of you know that, from reasons I have not now to explain, capitalistic production moves through certain periodical cycles. It moves through a state of quiescence, growing animation, prosperity, overtrade, crisis, and stagnation. The market prices of commodities, and the market rates of profit, follow these phases, now sinking below their averages, now rising above them. Considering the whole cycle, you will find that one deviation of the market price is being compensated by the other, and that, taking the average of the cycle, the market prices of commodities are regulated by their values. Well! During the phase of sinking market prices and the phases of crisis and stagnation, the working man, if not thrown out of employment altogether, is sure to have his wages lowered. Not to be defrauded, he must, even with such a fall of market prices, debate with the capitalist in what proportional degree a fall of wages has become necessary. If, during the phases of prosperity, when extra profits are made, he did not battle for a rise of wages, he would, taking the average of one industrial cycle, not even receive his average wages, or the value of his labour. It is the utmost height of folly to demand that while his wages are necessarily affected by the adverse phases of the cycle, he should exclude himself from compensation during the prosperous phases of the cycle. Generally, the values of all commodities are only realized by the compensation of the continuously changing market prices, springing from the continuous fluctuations of demand and supply. On the basis of the present system labour is only a commodity like others. It must, therefore, pass through the same fluctuations to fetch an average price corresponding to its value. It would be absurd to treat it on the one hand as a commodity, and to want on the other hand to exempt it from the laws which regulate the prices of commodities. The slave receives a permanent and fixed amount of maintenance; the wages labourer does not. He must try to get a rise of wages in the one instance, if only to compensate for a fall of wages in the other. If he resigned himself to accept the will, the dictates of the capitalist as a permanent economical law, he would share in all the miseries of the slave, without the security of the slave. 4. จากเหตุผลที่ผมยังไม่ได้อธิบาย พวกคุณทุกคนรู้ว่าการผลิตแบบทุนนิยมนั้นเคลื่อนตัวผ่านวัฏจักรหนึ่งเป็นครั้งคราว มันเคลื่อนผ่านสถานะของความเงียบสงบ การเคลื่อนไหวเติบโต ความรุ่งเรือง การค้าขายเกินกำลัง วิกฤต และความซบเซา ราคาตลาดของสินค้าโภคภัณฑ์และอัตรากำไรตลาดก็เป็นไปตามระยะพวกนี้ ซึ่งจมลงต่ำกว่าค่าเฉลี่ย แล้วก็สูงขึ้นกว่าพวกมัน คุณพิจารณาวัฏจักรทั้งมวลแล้วจะพบว่าความเบี่ยงเบนของราคาตลาดก็จะถูกชดเชยด้วยอีกอย่างหนึ่ง และเมื่อเฉลี่ยทั้งวัฏจักรแล้วคุณก็จะพบว่าราคาตลาดของสินค้าโภคภัณฑ์นั้นถูกกำหนดโดยมูลค่าของมัน อ้าว! ในช่วงที่ราคาตลาดลดลงและช่วงวิกฤตและความซบเซา คนทำงานนั้นหากไม่ถูกไล่ออกจากงานไปแล้วก็แน่นอนที่จะได้ค่าจ้างน้อยลง เพื่อไม่ให้โดนโกงเขาจะต้องมาโต้วาทีกับนายทุนว่าจำเป็นต้องลดค่าจ้างในสัดส่วนเท่าใดด้วยราคาตลาดที่ลดลงเช่นนี้ หากในช่วงที่รุ่งเรืองที่มีกำไรเป็นพิเศษแล้วเขาไม่ต่อสู้ให้เพิ่มค่าจ้างแล้วล่ะก็ เมื่อเฉลี่ยในวัฏจักรอุตสาหกรรมหนึ่งรอบ เขาจะไม่ได้รับแม้แต่ค่าจ้างเฉลี่ยของเขา หรือมูลค่าของแรงงานของเขา มันจะเป็นความโง่เขลาขั้นสูงสุดที่จะเรียกร้องว่าในขณะที่ค่าจ้างของเขานั้นได้รับผลกระทบจากช่วงวัฏจักรที่ย่ำแย่แล้วเขาควรที่จะกีดกันตัวเองไม่ให้ได้รับการชดเชยจากช่วงวัฏจักรที่รุ่งเรือง โดยทั่วไปแล้วมูลค่าของสินค้าโภคภัณฑ์ทั้งหมดนั้นกลายเป็นจริงด้วยการชดเชยราคาตลาดที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ซึ่งเกิดจากอุปสงค์และอุปทานที่ผันผวนอยู่ตลอด บนฐานของระบบที่เป็นอยู่นั้น แรงงานเป็นเพียงสินค้าโภคภัณฑ์เช่นสิ่งอื่น มันจึงจำต้องผ่านการผันผวนในแบบเดียวกันเพื่อให้ได้ราคาเฉลี่ยที่สอดคล้องกับมูลค่าของมัน มันจะเป็นสิ่งที่ไร้เหตุผลอย่างมากที่จะพิจารณามันเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ในกรณีหนึ่ง แล้วในอีกกรณีกลับยกเว้นมันจากกฎเกณฑ์ซึ่งกำหนดราคาของสินค้าโภคภัณฑ์ ข้าทาสได้รับการบำรุงรักษาในปริมาณที่ถูกตรึงไว้และถาวร แต่ผู้ใช้แรงงานรับจ้างกลับไม่ได้ เขาจะต้องพยายามให้ขึ้นค่าจ้างในกรณีหนึ่งเพียงเพื่อชดเชยการลดค่าจ้างในอีกกรณี หากเขายอมจำนนยอมรับความต้องการและบัญชาของนายทุนเป็นกฎทางเศรษฐศาสตร์ที่ถาวรแล้ว เขาก็จะสัมผัสความทุกข์ทรมานทุกประการร่วมกับพวกทาส แต่ไม่มีความมั่นคงอย่างที่พวกทาสมี
5. In all the cases I have considered, and they form ninety-nine out of a hundred, you have seen that a struggle for a rise of wages follows only in the track of previous changes, and is the necessary offspring of previous changes in the amount of production, the productive powers of labour, the value of labour, the value of money, the extent or the intensity of labour extracted, the fluctuations of market prices, dependent upon the fluctuations of demand and supply, and consistent with the different phases of the industrial cycle; in one word, as reactions of labour against the previous action of capital. By treating the struggle for a rise of wages independently of all these circumstances, by looking only upon the changes of wages, and overlooking all the other changes from which they emanate, you proceed from a false premise in order to arrive at false conclusions. 5. ในทุกกรณีที่ผมได้พิจารณาแล้ว และพวกมันเป็นเก้าสิบเก้าในหนึ่งร้อย คุณได้เห็นว่าการต่อสู้เพื่อการขึ้นค่าจ้างนั้นเป็นไปตามลู่ทางของความเปลี่ยนแปลงก่อน ๆ เท่านั้น และมันเป็นผลผลิตอันจำเป็นของความเปลี่ยนแปลงในปริมาณของการผลิต ในกำลังการผลิตของแรงงาน ในมูลค่าของแรงงาน ในมูลค่าของเงินตรา ในขนาดและความเข้มข้นของแรงงานซึ่งถูกสกัด ในความผันผวนของราคาตลาดซึ่งขึ้นกับความผันผวนของอุปสงค์และอุปทาน และตามระยะต่าง ๆ ของวัฏจักรอุตสาหกรรมที่เกินขึ้นก่อน พูดอีกอย่างได้ว่า เป็นปฏิกิริยาของแรงงานต่อการกระทำครั้งก่อนของทุน เมื่อเราพิจารณาการต่อสู้เพื่อขึ้นค่าจ้างอย่างเป็นอิสระจากพฤติการณ์ทั้งหมดนี้แล้ว เมื่อเรามองเพียงแต่การเปลี่ยนแปลงของค่าจ้าง และเมื่อมองข้ามการเปลี่ยนแปลงอื่น ๆ ทั้งหมดซึ่งทำให้มันเกิดขึ้น คุณก็จะดำเนินไปจากข้อตั้งที่เป็นเท็จเพื่อมายังข้อสรุปที่เป็นเท็จ