งานแปล:ค่าจ้าง ราคา และกำไร/บทที่ 15

จาก วิกิซอร์ซ
ค่าจ้าง ราคา และกำไร (ค.ศ. 1865) โดย คาร์ล มาคส์, ตรวจแก้โดย เอเลนอร์ มาคส์ เอฟลิง, แปลจากภาษาอังกฤษ โดย วิกิซอร์ซ
XIV. การต่อสู้ระหว่างทุนกับแรงงานและผลลัพธ์ของมัน
1. Having shown that the periodical resistance on the part of the working men against a reduction of wages, and their periodical attempts at getting a rise of wages, are inseparable from the wages system, and dictated by the very fact of labour being assimilated to commodities, and therefore subject to the laws regulating the general movement of prices; having, furthermore, shown that a general rise of wages would result in a fall in the general rate of profit, but not affect the average prices of commodities, or their values, the question now ultimately arises, how far, in this incessant struggle between capital and labour, the latter is likely to prove successful. 1. เมื่อได้แสดงให้เห็นแล้วว่าการต่อต้านการลดค่าจ้างเป็นระยะและความพยายามเพิ่มค่าจ้างเป็นระยะของคนทำงานนั้นแยกไม่ออกจากระบบค่าจ้างเอง และถูกบังคับให้เป็นด้วยข้อเท็จจริงที่แรงงานถูกทำให้กลายเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ และจึงอยู่ใต้กฎเกณฑ์ซึ่งควบคุมการเคลื่อนไหวทั่วไปของราคา และเมื่อได้แสดงให้เห็นต่อมาแล้วว่าการขึ้นค่าจ้างโดยทั่วไปนั้นจะส่งผลให้อัตรากำไรโดยทั่วไปลดลง แต่จะไม่ส่งผลต่อราคาเฉลี่ยของสินค้าโภคภัณฑ์ หรือมูลค่าของพวกมัน คำถามจึงบังเกิดขึ้นในท้ายที่สุดว่า ในการต่อสู้อย่างไม่หยุดหย่อนระหว่างทุนกับแรงงาน ฝ่ายหลังนั้นท่าทางจะมีความสำเร็จมากเท่าใด
I might answer by a generalization, and say that, as with all other commodities, so with labour, its market price will, in the long run, adapt itself to its value; that, therefore, despite all the ups and downs, and do what he may, the working man will, on an average, only receive the value of his labour which resolves into the value of his labouring power, which is determined by the value of the necessaries required for its maintenance and reproduction, which value of necessaries finally is regulated by the quantity of labour wanted to produce them. ผมอาจตอบได้ด้วยนัยทั่วไป และกล่าวว่าเช่นเดียวกับสินค้าโภคภัณฑ์อื่น ๆ แรงงานก็เช่นกัน ราคาตลาดของมันในระยะยาวจะปรับตัวเข้ากับมูลค่าของมัน ว่าแม้จะขึ้นลงเท่าใดและไม่ว่าเขาจะกระทำอะไร คนทำงานนั้นจึงโดยเฉลี่ยจะได้รับมูลค่าของแรงงานของเขาซึ่งคืนสภาพเป็นมูลค่าของพลังที่ใช้แรงงานของเขา ซึ่งถูกกำหนดโดยมูลค่าของสิ่งจำเป็นที่ต้องใช้เพื่อบำรุงรักษาและผลิตซ้ำเขา ซึ่งมูลค่าของสิ่งจำเป็นเองก็ถูกกำหนดโดยปริมาณของแรงงานที่ต้องการเพื่อผลิตพวกมัน
But there are some peculiar features which distinguish the value of the labouring power, or value of labour, from the value of all other commodities. The value of the labouring power is formed by two elements -- the one merely physical, the other historical or social. Its ultimate limit is determined by the physical element, that is to say, to maintain and reproduce itself, to perpetuate its physical existence, the working class must receive the necessaries absolutely indispensable for living and multiplying. The value of those indispensable necessaries forms, therefore, the ultimate limit of the value of labour. On the other hand, the length of the working day is also limited by ultimate, although very elastic boundaries. Its ultimate limit is given by the physical force of the labouring man. If the daily exhaustion of his vital forces exceeds a certain degree, it cannot be exerted anew, day by day. However, as I said, this limit is very elastic. A quick succession of unhealthy and short-lived generations will keep the labour market as well supplied as a series of vigorous and long-lived generations. แต่มูลค่าของพลังที่ใช้แรงงานหรือมูลค่าของแรงงานมีคุณลักษณะที่ประหลาดซึ่งทำให้ต่างไปจากมูลค่าของสินค้าโภคภัณฑ์อื่น ๆ อยู่บางประการ มูลค่าของพลังที่ใช้แรงงานมีสององค์ประกอบ -- ประการแรกเป็นทางกายภาพ อีกประการเป็นทางประวัติศาสตร์หรือทางสังคม ข้อจำกัดขั้นสุดท้ายของมันถูกกำหนดโดยองค์ประกอบทางกายภาพ กล่าวคือเพื่อบำรุงรักษาและผลิตซ้ำตัวเอง เพื่อขยายการดำรงอยู่ทางกายภาพของมันต่อไป ชนชั้นแรงงานจะต้องได้รับสิ่งจำเป็นซึ่งขาดไม่ได้เพื่อครองชีพและทวีคูณ มูลค่าของสิ่งจำเป็นที่ขาดไม่ได้เหล่านั้นจึงประกอบเป็นข้อจำกัดขั้นสุดท้ายของมูลค่าของแรงงาน ในอีกทางหนึ่ง ความยาวนานของวันทำงานก็ถูกจำกัดโดยขอบเขตขั้นสุดท้ายที่มีความยืดหยุ่นมาก ข้อจำกัดขั้นสุดท้ายของมันนั้นได้มาจากแรงทางกายภาพของคนที่ใช้แรงงาน หากในทุกวันแรงชีพของเขาถูกใช้ไปเกินระดับหนึ่ง ก็จะไม่สามารถออกแรงได้อีกครั้ง วันต่อวัน ทว่าอย่างที่ผมได้พูดไป ขีดจำกัดนี้ยืดหยุ่นมาก การมีชั่วรุ่นของคนสุขภาพไม่ดีที่อายุสั้นเกิดมาบ่อย ๆ ก็จะทำให้ตลาดแรงงานมีอุปทานมากพอเท่ากับการมีชั่วรุ่นของคนที่มีกำลังและอายุยืนยาว
Besides this mere physical element, the value of labour is in every country determined by a traditional standard of life. It is not mere physical life, but it is the satisfaction of certain wants springing from the social conditions in which people are placed and reared up. The English standard of life may be reduced to the Irish standard; the standard of life of a German peasant to that of a Livonian peasant. The important part which historical tradition and social habitude play in this respect, you may learn from Mr. Thornton's work on Over-population, where he shows that the average wages in different agricultural districts of England still nowadays differ more or less according to the more or less favourable circumstances under which the districts have emerged from the state of serfdom. นอกจากปัจจัยทางกายภาพเท่านี้แล้ว มูลค่าของแรงงานในทุก ๆ ประเทศถูกกำหนดโดยมาตรฐานการครองชีพตามประเพณี ผู้คนไม่ได้มีชีวิตทางกายเท่านั้น แต่ยังมีการสนองความต้องการบางประการที่เกิดจากสภาพทางสังคมซึ่งพวกเขายืนอยู่และได้รับเลี้ยงดูจนเติบใหญ่อยู่ภายใต้มัน มาตรฐานการครองชีพในอังกฤษอาจถูกลดจนเหลือเท่ามาตรฐานในไอร์แลนด์ หรือมาตรฐานการครองชีพของไพร่ชาวเยอรมันเหลือเท่าของไพร่ชาวลีฟว์ บทบาทส่วนสำคัญที่ประเพณีทางประวัติศาสตร์และขนบธรรมเนียมทางสังคมมีต่อแง่มุมนี้ คุณเรียนรู้ได้จากงานของนายธอร์นตันว่าด้วยประชากรล้นเกิน ซึ่งเขาได้แสดงให้เห็นว่าค่าจ้างเฉลี่ยในแต่ละเขตการเกษตรในอังกฤษแต่ละเขตนั้นแม้ในสมัยนี้ยังแตกต่างกันไม่มากก็น้อยโดยเป็นไปตามตามพฤติการณ์ที่น่าพึงพอใจมากหรือน้อยก็ตามที่เขตเหล่านั้นได้ปรากฏตัวขึ้นออกมาจากจากระบบข้าที่ดิน
This historical or social element, entering into the value of labour, may be expanded, or contracted, or altogether extinguished, so that nothing remains but the physical limit. During the time of the anti-Jacobin war, undertaken, as the incorrigible tax-eater and sinecurist, old George Rose, used to say, to save the comforts of our holy religion from the inroads of the French infidels, the honest English farmers, so tenderly handled in a former chapter of ours, depressed the wages of the agricultural labourers even beneath that mere physical minimum, but made up by Poor Laws the remainder necessary for the physical perpetuation of the race. This was a glorious way to convert the wages labourer into a slave, and Shakespeare's proud yeoman into a pauper. ปัจจัยทางประวัติศาสตร์และทางสังคมเหล่านี้ซึ่งได้แทรกซึมเข้าไปในมูลค่าของแรงงาน มันอาจขยายตัวหรือหดตัวหรือแม้แต่ดับสลายไป จนไม่เหลืออะไรยกเว้นขีดจำกัดทางกายภาพเท่านั้น ในช่วงที่มีสงครามต่อต้านฌากอแบ็ง พูดตามอย่างที่คนเหลือขอที่คอยกินภาษีและนั่งรับสตางค์ไปวัน ๆ เฒ่าจอร์จ โรส คนนั้นชอบพูดไว้ว่า มันถูกทำไปเพื่อปกป้องความสงบสุขของศาสนาอันศักดิ์สิทธิ์ของเราจากการโจมตีของพวกนอกรีตชาวฝรั่งเศส ชาวนาผู้ซื่อตรงชาวอังกฤษซึ่งเราได้พูดถึงไปในบทก่อน ๆ อย่างนุ่มนวลก็ได้ลดค่าจ้างของผู้ใช้แรงงานภาคการเกษตรลงจนต่ำกว่าค่าต่ำสุดทางกายภาพเสียอีก แต่พวกเขาก็ยังได้รับการชดเชยจากกฎหมายคนจนส่วนที่เหลือที่จำเป็นเพื่อคงเผ่าพันธุ์ให้ดำรงอยู่สืบไปได้ในทางกายภาพ นี่เป็นวิธีเปลี่ยนผู้ใช้แรงงานรับจ้างให้กลายเป็นทาส และเปลี่ยนเสรีชนผู้ภาคภูมิของเชกสเปียร์ให้กลายเป็นยาจกได้อย่างยอดเยี่ยม
By comparing the standard wages or values of labour in different countries, and by comparing them in different historical epochs of the same country, you will find that the value of labour itself is not a fixed but a variable magnitude, even supposing the values of all other commodities to remain constant. เมื่อเปรียบเทียบมาตรฐานค่าจ้างหรือมูลค่าของแรงงานในแต่ละประเทศ และเมื่อเปรียบเทียบพวกมันในแต่ละยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ภายในประเทศหนึ่งแล้ว คุณจะพบว่ามูลค่าของแรงงานนั้นไม่ถูกตรึงไว้แต่เป็นปริมาณที่แปรผัน ถึงแม้ว่าเราจะให้มูลค่าของสินค้าโภคภัณฑ์สิ่งอื่นทุกสิ่งเป็นค่าคงตัวก็ตาม
A similar comparison would prove that not only the market rates of profit change, but its average rates. การเปรียบเทียบที่คล้ายกันยังจะพิสูจน์ด้วยว่าไม่ใช่แค่อัตรากำไรตลาดเท่านั้นที่เปลี่ยน อัตราเฉลี่ยก็ด้วย
But as to profits, there exists no law which determines their minimum. We cannot say what is the ultimate limit of their decrease. And why cannot we fix that limit? Because although we can fix the minimum of wages, we cannot fix their maximum. We can only say that, the limits of the working day being given, the maximum of profit corresponds to the physical minimum of wages; and that wages being given, the maximum of profit corresponds to such a prolongation of the working day as is compatible with the physical force of the labourer. The maximum of profit is, therefore, limited by the physical minimum of wages and the physical maximum of the working day. It is evident that between the two limits of this maximum rate of profit an immense scale of variations is possible. The fixation of its actual degree is only settled by the continuous struggle between capital and labour, the capitalist constantly tending to reduce wages to their physical minimum, and to extend the working day to its physical maximum, while the working man constantly presses in the opposite direction. แต่สำหรับกำไรแล้ว ไม่มีกฎเกณฑ์ใดที่กำหนดค่าต่ำสุดของมันไว้ เราพูดไม่ได้ว่ามันสามารถลดลงได้ต่ำสุดเท่าใด แล้วทำไมเราจึงกำหนดขีดจำกัดนั้นไม่ได้ล่ะ ก็เพราะว่าแม้ว่าเราจะสามารถกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำได้ เรากำหนดค่าจ้างขั้นสูงสุดไม่ได้ เราพูดได้เพียงว่าเมื่อวันทำงานถูกจำกัดไว้เท่าใด กำไรสูงสุดนั้นจะสอดคล้องกับค่าจ้างค่าต่ำสุดในทางกายภาพ และเมื่อค่าจ้างถูกกำหนดมาเท่าใด กำไรสูงสุดก็จะสอดคล้องกับความยาวนานของวันทำงานเท่าที่เข้ากันได้กับแรงทางกายภาพของผู้ใช้แรงงาน กำไรสูงสุดนั้นจึงถูกกำหนดโดยค่าจ้างค่าต่ำสุดในทางกายภาพและค่าความยาวนานของวันทำงานที่สูงสุดในทางกายภาพ เป็นสิ่งที่แน่ชัดว่าขีดจำกัดของอัตรากำไรสูงสุดสองขีดนี้สามารถมีความแปรผันในขนาดที่ใหญ่มากได้ ส่วนมันจะเป็นในระดับเท่าใดนั้นถูกกำหนดโดยการต่อสู้อย่างต่อเนื่องระหว่างทุนกับแรงงาน นายทุนมีแนวโน้มที่จะลดค่าจ้างให้ต่ำที่สุดในทางกายภาพและขยายวันทำงานออกไปให้นานที่สุดในทางกายภาพเสมอ ในขณะที่คนทำงานคอยกดดันให้เป็นไปในทิศทางตรงกันข้ามเสมอ
The matter resolves itself into a question of the respective powers of the combatants. ประเด็นนี้จึงนำมาสู่คำถามถึงอำนาจของคู่ต่อสู้ทั้งสองฝ่าย
2. As to the limitation of the working day in England, as in all other countries, it has never been settled except by legislative interference. Without the working men's continuous pressure from without, that interference would never have taken place. But at all events, the result was not to be attained by private settlement between the working men and the capitalists. This very necessity of general political action affords the proof that in its merely economic action capital is the stronger side. 2. ในส่วนของการจำกัดวันทำงานในประเทศอังกฤษ มันไม่เคยถูกกำหนดโดยวิธีอื่นนอกจากการแทรกแซงทางนิติบัญญัติ และซึ่งหากไร้แรงกดดันภายนอกจากคนทำงานอย่างต่อเนื่อง การแทรกแซงนั้นจะไม่มีวันเกิดขึ้น แต่ในทุก ๆ เหตุการณ์ผลลัพธ์ไม่ได้มาด้วยการตกลงกันส่วนตัวระหว่างคนทำงานกับนายทุน ความจำเป็นที่จะต้องมีปฏิบัติการทางการเมืองโดยทั่วไปอย่างนี้เป็นข้อพิสูจน์แล้วว่าปฏิบัติการทางเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียวของทุนนั้นเป็นฝ่ายที่ทรงพลังกว่า
As to the limits of the value of labour, its actual settlement always depends upon supply and demand, I mean the demand for labour on the part of capital, and the supply of labour by the working men. In colonial countries the law of supply and demand favours the working man. Hence the relatively high standard of wages in the United States. Capital may there try its utmost. It cannot prevent the labour market from being continuously emptied by the continuous conversion of wages labourers into independent, self-sustaining peasants. The position of a wages labourer is for a very large part of the American people but a probational state, which they are sure to leave within a longer or shorter term. To mend this colonial state of things, the paternal British Government accepted for some time what is called the modern colonization theory, which consists in putting an artificial high price upon colonial land, in order to prevent the too quick conversion of the wages labourer into the independent peasant. ในส่วนของขีดจำกัดของมูลค่าของแรงงาน การตกลงกันในความเป็นจริงนั้นขึ้นอยู่กับอุปทานและอุปสงค์อยู่เสมอ ผมหมายถึงอุปสงค์ของแรงงานในส่วนของทุน และอุปทานของแรงงานในส่วนของคนทำงาน ในประเทศอาณานิคม กฎแห่งอุปทานและอุปสงค์เป็นคุณต่อคนทำงาน ในสหรัฐมาตรฐานค่าจ้างจึงสูงกว่าเมื่อเทียบกัน ที่นั่นทุนจึงต้องพยายามอย่างยิ่ง มันไม่สามารถป้องกันตลาดแรงงานไม่ให้ว่างขึ้นอยู่ตลอดจากผู้ใช้แรงงานรับจ้างที่ผันตัวไปเป็นชาวนาที่พึ่งพาตนเองและเป็นอิสระได้อยู่เสมอ สำหรับคนอเมริกันแล้ว ตำแหน่งของผู้ใช้แรงงานรับจ้างนั้นโดยส่วนมากเป็นเพียงสถานะภาคทัณฑ์ซึ่งเขามั่นใจว่าจะได้ออกไปไม่ช้าก็เร็ว รัฐบาลบริเตนพ่อปกครองลูกจึงได้รับสิ่งที่เรียกว่าทฤษฎีอาณานิคมสมัยใหม่มาใช้อยู่ชั่วครู่หนึ่งเพื่อซ่อมแซมสถานการณ์อาณานิคมนี้ ซึ่งประกอบไปด้วยการกำหนดราคาที่ดินอาณานิคมที่สูงเกินจริงเพื่อป้องกันการผันตัวของผู้ใช้แรงงานรับจ้างไปเป็นไพร่เสรีไม่ให้เร็วเกินไป
But let us now come to old civilized countries, in which capital domineers over the whole process of production. Take, for example, the rise in England of agricultural wages from 1849 to 1859. What was its consequence? The farmers could not, as our friend Weston would have advised them, raise the value of wheat, nor even its market prices. They had, on the contrary, to submit to their fall. But during these eleven years they introduced machinery of all sorts, adopted more scientific methods, converted part of arable land into pasture, increased the size of farms, and with this the scale of production, and by these and other processes diminishing the demand for labour by increasing its productive power, made the agricultural population again relatively redundant. This is the general method in which a reaction, quicker or slower, of capital against a rise of wages takes place in old, settled countries. Ricardo has justly remarked that machinery is in constant competition with labour, and can often be only introduced when the price of labour has reached a certain height, but the appliance of machinery is but one of the many methods for increasing the productive powers of labour. This very same development which makes common labour relatively redundant simplifies on the other hand skilled labour, and thus depreciates it. แต่เรามาดูประเทศอารยธรรมเก่ากัน ที่ทุนได้ครอบงำกระบวนการผลิตทั้งหมดแล้ว ยกตัวอย่างเช่นการขึ้นค่าจ้างภาคการเกษตรในอังกฤษระหว่างปี 1849 กับ 1859 ผลลัพธ์คืออะไร ชาวนาเขาไม่สามารถขึ้นราคาข้าวสาลีได้ตามที่สหายเวสตันของเราได้แนะนำพวกเขา หรือแม้แต่ราคาตลาดก็ตาม ในทางตรงกันข้าม พวกเขากลับต้องพบกับราคาตกต่ำ แต่ในสิบเอ็ดปีนั้นพวกเขาได้เอาเครื่องจักรสารพัดชนิดมาใช้ นำเอาวิธีการแบบวิทยาศาสตร์มาใช้ เปลี่ยนที่ดินเพาะปลูกส่วนหนึ่งเป็นทุ่งเลี้ยงสัตว์ เพิ่มขนาดไร่ และด้วยการผลิตในขนาดเท่านี้ และด้วยกระบวนการเหล่านี้และอื่น ๆ ซึ่งลดอุปสงค์ของแรงงานผ่านการเพิ่มกำลังการผลิตของมัน ทำให้ประชากรภาคการเกษตรมีมากเกินต้องการอีกครั้ง นี่เป็นวิธีทั่วไปที่ปฏิกิริยาของทุนต่อการขึ้นค่าจ้างเกิดขึ้นในประเทศเก่า ๆ ที่ตั้งรกรากแล้วไม่ช้าก็เร็วกว่านี้ ริคาร์โดได้กล่าวถึงเครื่องจักรอย่างเป็นธรรมว่าแข่งขันกับแรงงานอยู่ตลอดเวลา และมักถูกนำมาใช้เมื่อราคาของแรงงานสูงขึ้นประมาณหนึ่ง แต่การนำเครื่องจักรมาใช้เป็นเพียงหนึ่งในหลากหลายวิธีที่จะเพิ่มกำลังการผลิตของแรงงาน พัฒนาการเดียวกันนี้ซึ่งทำให้แรงงานทั่วไปไม่เป็นที่ต้องการเมื่อเทียบกับเมื่อก่อนแล้วยังเป็นการทำให้แรงงานฝีมือที่ต้องใช้ทักษะง่ายลงด้วย และจึงทำให้มูลค่าลดลง
The same law obtains in another form. With the development of the productive powers of labour the accumulation of capital will be accelerated, even despite a relatively high rate of wages. Hence, one might infer, as Adam Smith, in whose days modern industry was still in its infancy, did infer, that the accelerated accumulation of capital must turn the balance in favour of the working man, by securing a growing demand for his labour. From this same standpoint many contemporary writers have wondered that English capital having grown in the last twenty years so much quicker than English population, wages should not have been more enhanced. But simultaneously with the process of accumulation there takes place a progressive change in the composition of capital. That part of the aggregate capital which consists of fixed capital, machinery, raw materials, means of production in all possible forms, progressively increases as compared with the other part of capital, which is laid out in wages or in the purchase of labour. This law has been stated in a more or less accurate manner by Mr. Barton, Ricardo, Sismondi, Professor Richard Jones, Professor Ramsay, Cherbuliez, and others. กฎเกณฑ์เดียวกันนี้ยังได้มาในอีกรูปแบบหนึ่งด้วย เมื่อกำลังการผลิตของแรงงานพัฒนาไปการสะสมของทุกก็จะเร่งขึ้น แม้ว่าค่าจ้างจะสูงขึ้นโดยสัมพัทธ์ก็ตาม เราอาจอนุมานได้เหมือนกับอดัม สมิธ ซึ่งอุตสาหกรรมสมัยใหม่ในยุคของเขาเพิ่งคลอดได้อนุมานว่าการสะสมที่เร่งขึ้นของทุนนั้นจะต้องถ่วงตาชั่งให้เป็นประโยชน์กับคนทำงาน ด้วยเป็นการมัดกุมอุปสงค์ที่กำลังโตขึ้นของแรงงานของเขา จากจุดยืนเดียวกันนี้นักเขียนร่วมสมัยหลายคนได้สงสัยว่าในเมื่อทุนอังกฤษได้เติบโตขึ้นในช่วงยี่สิบปีที่ผ่านมานี้เร็วกว่าประชากรอังกฤษเสียอีก ค่าจ้างก็ควรสูงขึ้นกว่านี้ ทว่าสิ่งที่เกิดขึ้นไปพร้อม ๆ กับกระบวนการสะสมนั้นคือการเปลี่ยนแปลงพิพัฒนาการในส่วนผสมของทุน ส่วนของทุนโดยรวมซึ่งประกอบด้วนทุนถาวร เครื่องจักร วัตถุดิบ ปัจจัยการผลิตทุกรูปแบบ มันเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดเมื่อเทียบกับทุนอีกส่วนหนึ่งซึ่งถูกแจกจ่ายไปในรูปของค่าจ้างหรือการซื้อแรงงาน กฎเกณฑ์นี้ถูกกล่าวในกิริยาที่แม่นยำไม่มากก็น้อยแล้วโดยนายบาร์ตัน, ริคาร์โด, ซิสม็องดี, ศาสตราจารย์ริชาร์ด โจนส์, ศาสตราจารย์แรมซีย์, แชร์บูว์ลิเย และคนอื่น ๆ
If the proportion of these two elements of capital was originally one to one, it will, in the progress of industry, become five to one, and so forth. If of a total capital of 600, 300 is laid out in instruments, raw materials, and so forth, and 300 in wages, the total capital wants only to be doubled to create a demand for 600 working men instead of for 300. But if of a capital of 600, 500 is laid out in machinery, materials, and so forth, and 100 only in wages, the same capital must increase from 600 to 3,600 in order to create a demand for 600 workmen instead of 300. In the progress of industry the demand for labour keeps, therefore, no pace with the accumulation of capital. It will still increase in a constantly diminishing ratio as compared with the increase of capital. หากสัดส่วนขององค์ประกอบของทุนสองประการนี้แต่เดิมแล้วเท่ากับหนึ่งต่อหนึ่ง มันจะกลายเป็นห้าต่อหนึ่งจากการพัฒนาของอุตสาหกรรม และต่อ ๆ ไป หากทุนทั้งหมดเท่ากับ 600 เครื่องมือกิน วัตถุดิบ และอื่น ๆ กินไปแล้ว 300 และค่าจ้างอีก 300 ทุนทั้งหมดต้องเพิ่มอีกเท่าหนึ่งเท่านั้นเพื่อสร้างอุปสงค์ของคนทำงาน 600 คนแทน 300 คน แต่หากว่าในทุน 600 เครื่องจักร วัสดุ และอื่น ๆ กินไปแล้ว 500 และค่าจ้างอีกร้อยเดียวเท่านั้น ทุนอันเดียวกันนี้ต้องเพิ่มจาก 600 เป็น 3,600 ถึงจะสร้างอุปสงค์ของคนทำงาน 600 คนแทน 300 คนได้ ในพิพัฒนาการของอุตสาหกรรม อุปสงค์ของแรงงานจึงวิ่งตามการสะสมของทุนไม่ทัน และจะเพิ่มมากขึ้นด้วยอัตราส่วนที่ลดลงอย่างต่อเนื่องเมื่อเทียบกับทุนที่เพิ่มขึ้น
These few hints will suffice to show that the very development of modern industry must progressively turn the scale in favour of the capitalist against the working man, and that consequently the general tendency of capitalistic production is not to raise, but to sink the average standard of wages, or to push the value of labour more or less to its minimum limit. Such being the tendency of things in this system, is this saying that the working class ought to renounce their resistance against the encroachments of capital, and abandon their attempts at making the best of the occasional chances for the temporary improvement? If they did, they would be degraded to one level mass of broken wretches past salvation. I think I have shown that their struggles for the standard of wages are incidents inseparable from the whole wages system, that in 99 cases out of 100 their efforts at raising wages are only efforts at maintaining the given value of labour, and that the necessity of debating their price with the capitalist is inherent in their condition of having to sell themselves as commodities. By cowardly giving way in their every-day conflict with capital, they would certainly disqualify themselves for the initiating of any larger movement. คำใบ้เพียงไม่กี่คำก็เพียงพอแล้วเพื่อแสดงให้เห็นว่าพัฒนาการของอุตสาหกรรมสมัยใหม่เองนั้นจะต้องถ่วงตาชั่งให้เป็นคุณต่อนายทุนต้านคนทำงานอย่างมากขึ้นเรื่อย ๆ และด้วยเหตุนั้นแนวโน้มโดยทั่วไปของการผลิตแบบทุนนิยมนั้นไม่ใช่การเพิ่ม แต่เป็นการลดมาตรฐานค่าจ้างเฉลี่ยให้จมลง หรือการกดมูลค่าของแรงงานให้อยู่ที่ขีดจำกัดขั้นต่ำของมันไม่มากก็น้อย การที่มีแนวโน้มของสิ่งต่าง ๆ ในระบบเช่นนี้คือการกล่าวว่าชนชั้นแรงงานควรที่จะละทิ้งการต่อต้านการล่วงล้ำของทุนและล้มเลิกความพยายามใช้โอกาสบางครั้งบางคราวให้เต็มที่สำหรับพัฒนาการชั่วคราวหรือไม่ หากพวกเขาทำเช่นนั้นก็จะถูกลดทอนเหลือเป็นมวลสารแบนราบอนาถชำรุดเกินบรรเทาได้แล้ว ผมคิดว่าผมได้แสดงให้เห็นแล้วว่าการต่อสู้เพื่อมาตรฐานของค่าจ้างนั้นเป็นเหตุการณ์ที่แยกออกจากระบบค่าจ้างทั้งมวลไม่ได้ ว่าในร้อยละ 99 กรณีของความพยายามของพวกเขาที่จะเพิ่มค่าจ้างนั้นเป็นเพียงความพยายามที่จะคงมูลค่าของแรงงานที่ได้มาไว้ และความจำเป็นที่จะต้องโต้เถียงราคาของพวกมันกับนายทุนนั้นเป็นสิ่งที่เป็นเนื้อแท้ในสภาวะที่พวกเขาต้องขายตัวเองเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ การที่จะให้ทางกับความขัดแย้งกับทุนที่เกิดขึ้นทุกวันอย่างขี้ขลาด ก็แน่แล้วที่พวกเขาจะตัดสิทธิ์ตัวเองจากการริเริ่มขบวนการขนาดใหญ่ใด ๆ ได้
At the same time, and quite apart from the general servitude involved in the wages system, the working class ought not to exaggerate to themselves the ultimate working of these every-day struggles. They ought not to forget that they are fighting with effects, but not with the causes of those effects; that they are retarding the downward movement, but not changing its direction; that they are applying palliatives, not curing the malady. They ought, therefore, not to be exclusively absorbed in these unavoidable guerilla fights incessantly springing up from the never-ceasing encroachments of capital or changes of the market. They ought to understand that, with all the miseries it imposes upon them, the present system simultaneously engenders the material conditions and the social forms necessary for an economical reconstruction of society. Instead of the conservative motto, "A fair day's wage for a fair day's work!" they ought to inscribe on their banner the revolutionary watchword, "Abolition of the wages system!" ในขณะเดียวกัน และแยกจากภาวะจำยอมโดยทั่วไปที่มีอยู่ในระบบค่าจ้าง ชนชั้นแรงงานไม่ควรที่จะกล่าวเกินจริงว่าตนเป็นกลไกขั้นสุดท้ายของการต่อสู้ในทุก ๆ วันเหล่านี้ พวกเขาจะต้องไม่ลืมว่าพวกเขากำลังต่อสู้กับผลแต่ไม่ใช่กับเหตุของผลเหล่านั้น ว่าพวกเขากำลังชะลอแนวโน้มที่ลดลงแต่ไม่ได้เปลี่ยนทิศทางของมัน ว่าพวกเขากำลังใช้ยาบรรเทาแต่ไม่ได้รักษาโรคให้หาย พวกเขาจึงควรที่จะต้องไม่หมกมุ่นอยู่กับการต่อสู้แบบกองโจรที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เหล่านี้ซึ่งบังเกิดขึ้นอย่างไม่หยุดหย่อนจากการรุกล้ำอย่างไร้สิ้นสุดของทุนหรือความเปลี่ยนแปลงของตลาดแต่เพียงอย่างเดียว พวกเขาควรที่จะเข้าใจว่าแม้ด้วยความทุกข์ทรมานทั้งหลายของระบบที่เป็นอยู่ที่พวกเขาประสบพบเจอนั้น ในขณะเดียวกันเป็นบ่อเกิดของวัตถุสภาวะและรูปแบบทางสังคมที่จำเป็นต่อการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจของสังคมเสียใหม่ แทนที่คติอนุรักษ์นิยมว่า "ค่าจ้างที่เป็นธรรมสำหรับวันทำงานที่เป็นธรรม!" พวกเขาควรที่จะสลักลงบนผืนธงของพวกเขา คำขวัญปฏิวัติ "ยกเลิกระบบค่าจ้าง!"
After this very long and, I fear, tedious exposition which I was obliged to enter into to do some justice to the subject matter, I shall conclude by proposing the following resolutions: หลังจากอรรถาธิบายที่ยาวเหยียด และผมเกรงว่าน่าเบื่อ ซึ่งผมจำต้องพูดถึงเพื่อให้เป็นธรรมกับประเด็นสาระสำคัญเสียหน่อย ผมจึงจะสรุปความด้วยการเสนอมติดังต่อไปนี้:
Firstly. A general rise in the rate of wages would result in a fall of the general rate of profit, but, broadly speaking, not affect the prices of commodities. ประการแรก การขึ้นอัตราค่าจ้างโดยทั่วไปจะส่งผลให้อัตรากำไรทั่วไปลดลง แต่พูดโดยกว้างแล้วจะไม่ส่งผลต่อราคาของสินค้าโภคภัณฑ์
Secondly. The general tendency of capitalist production is not to raise, but to sink the average standard of wages. ประการที่สอง แนวโน้มทั่วไปของการผลิตแบบทุนนิยมนั้นไม่ใช่การเพิ่ม แต่เป็นการกดมาตรฐานค่าจ้างโดยเฉลี่ยให้ต่ำลง
Thirdly. Trades Unions work well as centres of resistance against the encroachments of capital. They fail partially from an injudicious use of their power. They fail generally from limiting themselves to a guerilla war against the effects of the existing system, instead of simultaneously trying to change it, instead of using their organized forces as a lever for the final emancipation of the working class, that is to say, the ultimate abolition of the wages system. ประการที่สาม สหภาพแรงงานทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางของการต่อต้านการรุกล้ำของทุนได้ดี พวกเขาผิดพลาดในบางส่วนจากการใช้อำนาจของพวกเขาอย่างไม่รอบคอบ โดยทั่วไปพวกเขาผิดพลาดจากการจำกัดตัวเองไว้กับการต่อสู้แบบกองโจรกับผลที่เกิดจากระบบในปัจจุบัน แทนที่จะพยายามเปลี่ยนแปลงมันไปพร้อม ๆ กัน แทนที่จะใช้พลังที่จัดตั้งของพวกเขาเป็นคันโยกของการปลดปล่อยชนชั้นแรงงานเป็นครั้งสุดท้าย กล่าวคือการยกเลิกระบบค่าจ้างในท้ายที่สุด