ข้ามไปเนื้อหา

งานแปล:ค่าจ้าง ราคา และกำไร/บทที่ 6

จาก วิกิซอร์ซ
ค่าจ้าง ราคา และกำไร (ค.ศ. 1865) โดย คาร์ล มาคส์, ตรวจแก้โดย เอเลนอร์ มาคส์ เอฟลิง, แปลจากภาษาอังกฤษ โดย วิกิซอร์ซ
V. ค่าจ้างและราคา
Reduced to their simplest theoretical expression, all our friend's arguments resolve themselves into this one single dogma: "The prices of commodities are determined or regulated by wages." เมื่อลดรูปให้เหลือเป็นนิพจน์ทางทฤษฎีที่เรียบง่ายที่สุดของมัน คำกล่าวอ้างทั้งหมดของสหายเราจะแก้ปมตัวเองกลายเป็นสิทธันต์อันหนึ่งเดียว: "ราคาของสินค้าโภคภัณฑ์ถูกกำหนดหรือควบคุมโดยค่าจ้าง"
I might appeal to practical observation to bear witness against this antiquated and exploded fallacy. I might tell you that the English factory operatives, miners, shipbuilders, and so forth, whose labour is relatively high-priced, undersell by the cheapness of their produce all other nations; while the English agricultural labourer, for example, whose labour is relatively low-priced, is undersold by almost every other nation because of the dearness of his produce. By comparing article with article in the same country, and the commodities of different countries, I might show, apart from some exceptions more apparent than real, that on an average the high-priced labour produces the low-priced, and the low-priced labour produces the high-priced commodities. This, of course, would not prove that the high price of labour in the one, and its low price in the other instance, are the respective causes of those diametrically opposed effects, but at all events it would prove that the prices of commodities are not ruled by the prices of labour. However, it is quite superfluous for us to employ this empirical method. ผมอาจใช้การสังเกตการณ์เชิงปฏิบัติเพื่อพิสูจน์ว่าเหตุผลวิบัติที่ล้าสมัยและไร้มูลนี้ผิด ผมอาจบอกคุณว่าคนงานโรงงาน คนงานเหมืองแร่ ช่างต่อเรือ และอื่น ๆ ชาวอังกฤษนั้นมีแรงงานที่ราคาแพงพอสมควร พวกเขาขายผลผลิตราคาต่ำกว่าชาติอื่น ๆ ในขณะที่ผู้ใช้แรงงานเกษตรกรรมชาวอังกฤษนั้นมีแรงงานที่ราคาต่ำพอสมควร พวกเขาถูกขายที่ราคาต่ำกว่าชาติอื่น ๆ เพราะผลผลิตราคาแพงของเขา จากการเปรียบเทียบสิ่งของต่าง ๆ ในประเทศเดียวกัน และสินค้าโภคภัณฑ์ในแต่ละประเทศ ผมอาจแสดงให้เห็นว่านอกเหนือจากข้อยกเว้นบางประการที่ชัดเจนยิ่งกว่าจริง ว่าโดยเฉลี่ยแล้วแรงงานที่ราคาแพงผลิตสินค้าโภคภัณฑ์ราคาต่ำ และแรงงานที่ราคาต่ำผลิตที่ราคาสูง แน่นอนว่านี่ไม่สามารถพิสูจน์ว่าแรงงานที่ราคาสูงในกรณีหนึ่ง และที่ราคาต่ำในอีกกรณีนั้นเป็นเหตุของผลลัพธ์ที่ตรงข้ามกันอย่างสิ้นเชิงตามลำดับ แต่ในทุกเหตุการณ์มันจะพิสูจน์ว่าราคาของสินค้าโภคภัณฑ์นั้นไม่ถูกควบคุมโดยราคาของแรงงาน ทว่าเราไม่จำเป็นต้องใช้วิธีการเชิงประจักษ์เช่นนี้เลย
It might, perhaps, be denied that Citizen Weston has put forward the dogma: "The prices of commodities are determined or regulated by wages." In point of fact, he has never formulated it. He said, on the contrary, that profit and rent form also constituent parts of the prices of commodities, because it is out of the prices of commodities that not only the working man's wages, but also the capitalist's profits and the landlord's rents must be paid. But how, in his idea, are prices formed? First by wages. Then an additional percentage is joined to the price on behalf of the capitalist, and another additional percentage on behalf of the landlord. Suppose the wages of the labour employed in the production of a commodity to be ten. If the rate of profit was 100 per cent., to the wages advanced the capitalist would add ten, and if the rate of rent was also 100 per cent. upon the wages, there would be added ten more, and the aggregate price of the commodity would amount to thirty. But such a determination of prices would be simply their determination by wages. If wages in the above case rose to twenty, the price of the commodity would rise to sixty, and so forth. Consequently all the superannuated writers on political economy who propounded the dogma that wags regulate prices, have tried to prove it by treating profit and rent as mere additional percentages upon wages. None of them were, of course, able to reduce the limits of those percentages to any economic law. They seem, on the contrary, to think profits settled by tradition, custom, the will of the capitalist, or by some other equally arbitrary and inexplicable method. If they assert that they are settled by the competition between the capitalists, they say nothing. That competition is sure to equalize the different rates of profit in different trades, or reduce them to one average level, but it can never determine the level itself, or the general rate of profit. อาจจะปฏิเสธได้ที่ว่าพลเมืองเวสตันได้เสนอหลักการนี้มา: "ราคาของสินค้าโภคภัณฑ์ถูกกำหนดหรือควบคุมโดยค่าจ้าง" ในความเป็นจริงเขาไม่เคยบัญญัติมันขึ้นเลย ตรงกันข้ามเขากล่าวว่ากำไรและค่าเช่าก็เป็นส่วนประกอบหนึ่งของราคาของสินค้าโภคภัณธ์ เพราะนอกจากค่าจ้างของคนทำงานแล้ว ราคาของสินค้าโภคภัณฑ์ยังถูกใช้เพื่อจ่ายค่ากำไรของนายทุนและค่าเช่าของเจ้าที่ดินด้วย แต่ในมโนคติของเขาราคาประกอบขึ้นอย่างไรหรือ ประการแรกคือค่าจ้าง และเปอร์เซ็นต์เพิ่มเติมก็ถูกรวมเข้ากับราคาในนามของนายทุน และเปอร์เซ็นต์เพิ่มเติมอีกส่วนหนึ่งในนามของเจ้าของที่ดิน สมมุติว่าค่าจ้างของแรงงานที่ถูกจ้างในการผลิตสินค้าโภคภัณฑ์นั้นเท่ากับสิบ หากอัตรากำไรคือ 100 เปอร์เซ็นต์ นายทุนก็จะเพิ่มเข้าไปรวมกับค่าจ้างอีกสิบ และหากอัตราค่าเช่าก็คือ 100 เปอร์เซ็นต์ ก็จะมีเพิ่มอีกสิบเข้าไปกับค่าจ้าง และราคารวมทั้งหมดของสินค้าโภคภัณฑ์ก็จะเท่ากับสามสิบ แต่การกำหนดราคาเช่นนี้ก็เป็นเพียงการกำหนดด้วยค่าจ้าง หากค่าจ้างในกรณีดังกล่าวเพิ่มเป็นยี่สิบ ราคาของสินค้าโภคภัณฑ์ก็จะเพิ่มเป็นหกสิบ และต่อ ๆ ไป ด้วยเหตุเช่นนี้ นักเขียนในเศรษฐศาสตร์การเมืองซึ่งได้เกษียณอายุไปทั้งหลายซึ่งได้เสนอหลักการว่าค่าจ้างควบคุมราคานั้น ได้พยายามพิสูจน์มันโดยการถือว่ากำไรและค่าเช่าเป็นเพียงเปอร์เซ็นต์ที่เพิ่มเข้าไปรวมกับค่าจ้าง แน่นอนว่าไม่มีใครเลยที่สามารถลดรูปขีดจำกัดของเปอร์เซ็นต์เหล่านั้นให้กลายเป็นกฎเกณฑ์ทางเศรษฐศาสตร์ใด ๆ ได้ กลับกันพวกเขาเสมือนว่าคิดว่ากำไรนั้นถูกกำหนดโดยประเพณี ธรรมเนียม ความต้องการของนายทุน หรือโดยวิธีการอื่น ๆ ซึ่งไร้เหตุผลและอธิบายไม่ได้พอ ๆ กัน หากพวกเขายืนยันว่าพวกมันถูกกำหนดโดยการแข่งขันระหว่างนายทุน พวกเขาไม่ได้พูดอะไรออกมาเลย การแข่งขันเช่นนั้นย่อมทำให้อัตรากำไรที่ต่างกันในแต่ละสาขาอาชีพกลับมาเท่ากัน หรือถูกทำให้ลดลงเป็นระดับเฉลี่ยระดับหนึ่ง แต่มันจะไม่สามารถกำหนดระดับนั้นเองได้เลย หรืออัตรากำไรทั่วไปก็ตาม
What do we mean by saying that the prices of the commodities are determined by wages? Wages being but a name for the price of labour, we mean that the prices of commodities are regulated by the price of labour. As "price" is exchangeable value -- and in speaking of value I speak always of exchangeable value -- is exchangeable value expressed in money, the proposition comes to this, that "the value of commodities is determined by the value of labour," or that "the value of labour is the general measure of value." เราหมายถึงอะไรหรือเมื่อพูดว่าราคาของสินค้าโภคภัณฑ์นั้นถูกกำหนดโดยค่าจ้าง ค่าจ้างเป็นสิ่งใดนอกเสียจากนามของราคาของแรงงาน เราหมายความว่าราคาของสินค้าโภคภัณฑ์นั้นถูกควบคุมโดยราคาของแรงงาน เพราะ "ราคา" คือมูลค่าที่แลกเปลี่ยนได้ และเมื่อกล่าวถึงมูลค่าผมหมายถึงมูลค่าที่แลกเปลี่ยนได้เสมอ เป็นมูลค่าที่แลกเปลี่ยนได้ผ่านสิ่งที่เรียกว่าเงินตรา ข้อเสนอนั้นกลายเป็นดังนี้ว่า "มูลค่าของสินค้าโภคภัณฑ์ถูกกำหนดโดยมูลค่าของแรงงาน" หรือว่า "มูลค่าของแรงงานเป็นมาตรวัดทั่วไปของมูลค่า"
But how, then, is the "value of labour" itself determined? Here we come to a standstill. Of course, to a standstill if we try reasoning logically. Yet the propounders of that doctrine make short work of logical scruples. Take our friend Weston, for example. First he told us that wages regulate the price of commodities and that consequently when wages rise prices must rise. Then he turned round to show us that a rise of wages will be no good because the prices of commodities had risen, and because wages were indeed measured by the prices of the commodities upon which they are spent. Thus we begin by saying that the value of labour determines the value of commodities, and we wind up by saying that the value of commodities determines the value of labour. Thus we move to and fro in the most vicious circle, and arrive at no conclusion at all. แต่แล้ว "มูลค่าของแรงงาน" นั้นถูกกำหนดอย่างไรกัน ทีนี้เรามาถึงทางตัน แน่นอนว่าถึงทางตันถ้าเราให้เหตุผลอย่างเป็นตรรกะ แต่ผู้ที่เสนอหลักการนั้นก็สร้างข้อลังเลทางตรรกะอย่างรวดเร็ว พิจารณาเวสตันสหายของเราเป็นตัวอย่าง ประการแรกเขาบอกเราว่าค่าจ้างควบคุมราคาของสินค้าโภคภัณฑ์ และด้วยเหตุนั้นเมื่อค่าจ้างเพิ่มราคาจำต้องเพิ่ม แล้วเขาหันกลับมาแสดงให้เราเห็นว่าการเพิ่มค่าจ้างจะไม่มีประโยชน์เพราะราคาของสินค้าโภคภัณฑ์ได้เพิ่มขึ้น และเพราะค่าจ้างถูกวัดจากราคาของสินค้าโภคภัณฑ์ซึ่งมันจะถูกใช้จ่ายไป ดังนั้นเราเริ่มจากการกล่าวว่ามูลค่าของแรงงานกำหนดมูลค่าของสินค้าโภคภัณฑ์ แล้วเรามาจบด้วยการกล่าวว่ามูลค่าของสินค้าโภคภัณฑ์กำหนดมูลค่าของแรงงาน ดังนั้นเราเคลื่อนที่ไปมาในวงจรอุบาทว์ และไปไม่ถึงข้อสรุปเลยสักที
On the whole it is evident that by making the value of one commodity, say labour, corn, or any other commodity, the general measure and regulator of value, we only shift the difficulty, since we determine one value by another, which on its side wants to be determined. ทั้งหมดทั้งมวลมันชัดเจนว่าด้วยการทำให้มูลค่าของสินค้าโภคภัณฑ์อย่างหนึ่ง กล่าวคือแรงงาน ธัญพืช หรือสินค้าโภคภัณฑ์อื่นใด เป็นตัวควบคุมและมาตรวัดทั่วไปของมูลค่า เราเพียงแต่ขยับความยากลำบาก เพราะเรากำหนดมูลค่าอันหนึ่งด้วยอีกอันหนึ่ง ซึ่งมันเองก็ต้องการถูกกำหนดบนตัวเอง
The dogma that "wages determine the prices of commodities," expressed in its most abstract terms, comes to this, that "value is determined by value," and this tautology means that, in fact, we know nothing at all about value. Accepting this premise, all reasoning about the general laws of political economy turns into mere twaddle. It was, therefore, the great merit of Ricardo that in his work on The Principles of Political Economy, published in 1817, he fundamentally destroyed the old, popular, and worn-out fallacy that "wages determine prices," a fallacy which Adam Smith and his French predecessors had spurned in the really scientific parts of their researches, but which they reproduced in their more esoteric and vulgarizing chapters. สิทธันต์ดังว่า "ค่าจ้างกำหนดราคาของสินค้าโภคภัณฑ์" นั้นเมื่อถูกแสดงในรูปนามธรรมที่สุดจะกลายเป็นดังนี้ว่า "มูลค่าถูกกำหนดโดยมูลค่า" และสัจนิรันดร์นี้มีความหมายว่า แท้จริงแล้ว เราไม่รู้อะไรเกี่ยวกับมูลค่าเลย เมื่อยอมรับข้อตั้งนี้แล้ว การให้เหตุผลเกี่ยวกับกฎทั่วไปของเศรษฐศาสตร์การเมืองก็ล้วนกลายเป็นเพียงคำพูดเหลวไหล ดังนั้นจึงเป็นความดีงามอันยิ่งใหญ่ของริคาร์โดที่ในงานของเขาว่าด้วยหลักการของเศรษฐกิจการเมือง ซึ่งตีพิมพ์ใน ค.ศ. 1817 เขาได้ทำลายล้างเหตุผลวิบัติที่โบราณ โด่งดัง และเหนื่อยหน่ายโดยพื้นฐานที่ว่า "ค่าจ้างกำหนดราคา" ซึ่งเป็นเหตุผลวิบัติที่อดัม สมิธ กับบรรพบุรุษชาวฝรั่งเศสของเขาได้ปัดทิ้งไปในงานวิจัยส่วนที่เป็นวิทยาศาสตร์จริง ๆ แต่ในส่วนที่หยาบและลึกลับกว่าของเขาเขากลับผลิตซ้ำมัน