งานแปล:ค่าจ้าง ราคา และกำไร/บทที่ 7

จาก วิกิซอร์ซ
ค่าจ้าง ราคา และกำไร (ค.ศ. 1865) โดย คาร์ล มาคส์, ตรวจแก้โดย เอเลนอร์ มาคส์ เอฟลิง, แปลจากภาษาอังกฤษ โดย วิกิซอร์ซ
VI. มูลค่าและแรงงาน
Citizens, I have now arrived at a point where I must enter upon the real development of the question. I cannot promise to do this in a very satisfactory way, because to do so I should be obliged to go over the whole field of political economy. I can, as the French would say, but eflleurer la question, touch upon the main points. พลเมือง ผมได้มาถึงจุดที่ผมจำต้องเข้าสู่คำถามที่เกิดขึ้นจริง ผมไม่สามารถสัญญาได้ว่าจะทำได้ในแบบที่น่าพึงพอใจมากนัก เพราะในการที่จะทำนั้นผมถูกบังคับให้ต้องพูดถึงสาขาวิชาของเศรษฐศาสตร์การเมืองทั้งหมด แต่ผมจะสามารถ เอเฟลอเร ลา แก็สตียง หรือแตะที่จุดหลัก ๆ อย่างที่ชาวฝรั่งเศสเขาพูดกัน
The first question we have to put is: What is the value of a commodity? How is it determined? คำถามข้อแรกที่เราต้องตั้งคือ: มูลค่าของโภคภัณฑ์ตืออะไร มันถูกกำหนดอย่างไร
At first sight it would seem that the value of a commodity is a thing quite relative, and not to be settled without considering one commodity in its relations to all other commodities. In fact, in speaking of the value, the value in exchange of a commodity, we mean the proportional quantities in which it exchanges with all other commodities. But then arises the question: How are the proportions in which commodities exchange with each other regulated? เมื่อมองผ่านครั้งแรก ก็เหมือนกับว่ามูลค่าของสินค้าโภคภัณฑ์นั้นเป็นสิ่งสัมพัทธ์พอสมควร และไม่ถูกกำหนดโดยไม่พิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างโภคภัณฑ์อย่างหนึ่งกับโภคภัณฑ์อย่างอื่นทั้งหมด แท้จริงแล้วเมื่อพูดถึงมูลค่า มูลค่าในการแลกเปลี่ยนสินค้าโภคภัณฑ์ เราหมายถึงปริมาณตามอัตราส่วนที่มันถูกแลกเปลี่ยนกับโภคภัณฑ์อื่น ๆ ทั้งหมด แต่ก็เกิดคำถามขึ้นว่า: อัตราส่วนเหล่านั้นที่สินค้าโภคภัณฑ์ถูกแลกเปลี่ยนกันด้วยนั้นถูกควบคุมอย่างไร
We know from experience that these proportions vary infinitely. Taking one single commodity, wheat, for instance, we shall find that a quarter of wheat exchanges in almost countless variations of proportion with different commodities. Yet, its value remaining always the same, whether expressed in silk, gold, or any other commodity, it must be something distinct from, and independent of, these different rates of exchange with different articles. It must be possible to express, in a very different form, these various equations with various commodities. เรารู้จากประสบการณ์ว่าอัตราส่วนเหล่านี้แปรผันอย่างไม่รู้จบ ยกตัวอย่างโภคภัณฑ์อย่างหนึ่ง เช่นข้าวสาลี เราจะพบว่าข้าวสาลีหนึ่งควอเตอร์นั้นถูกแลกเปลี่ยนกับสินค้าโภคภัณฑ์อื่น ๆ ในอัตราส่วนที่นับไม่ถ้วน ทว่ามูลค่าของมันคงอยู่อย่างเดิมเสมอ ไม่ว่าจะถูกแสดงออกในรูปของไหม ทองคำ หรือโภคภัณฑ์อื่นใด มันจะต้องเป็นสิ่งอื่นซึ่งแยกออกจาก และเป็นอิสระจากอัตราแลกเปลี่ยนที่แตกต่างกันกับสิ่งของอื่น ๆ เหล่านี้ มันจะต้องสามารถแสดงออกซึ่งสมการที่หลากหลายกับโภคภัณฑ์ต่าง ๆ ได้ในรูปแบบที่ต่างออกไป
Besides, if I say a quarter of wheat exchanges with iron in a certain proportion, or the value of a quarter of wheat is expressed in a certain amount of iron, I say that the value of wheat and its equivalent in iron are equal to some third thing, which is neither wheat nor iron, because I suppose them to express the same magnitude in two different shapes. Either of them, the wheat or the iron, must, therefore, independently of the other, be reducible to this third thing which is their common measure. นอกจากนั้น หากผมบอกว่าข้าวสาลีหนึ่งควอเตอร์จะถูกแลกเปลี่ยนกับเหล็กในอัตราส่วนอย่างหนึ่ง หรือก็คือมูลค่าของข้าวสาลีหนึ่งควอเตอร์ซึ่งถูกแสดงออกเป็นเหล็กปริมาณหนึ่ง ผมกำลังบอกว่ามูลค่าของข้าวสาลีและของเหล็กที่เท่ากันนั้นก็เท่ากับสิ่งที่สามอีกสิ่ง ซึ่งไม่ใช่ทั้งข้าวสาลีหรือเหล็ก เพราะผมให้มันแสดงถึงขนาดที่เท่ากันในสองรูปร่าง ดังนั้นทั้งสอง ข้าวสาลีหรือเหล็ก จึงจะต้องสามารถถูกลดรูปเป็นสิ่งที่สามนี้ได้ ซึ่งก็คือมาตรวัดที่ทั้งสองมีร่วมกัน
To elucidate this point I shall recur to a very simple geometrical illustration. In comparing the areas of triangles of all possible forms and magnitudes, or comparing triangles with rectangles, or any other rectilinear figure, how do we proceed? We reduce the area of any triangle whatever to an expression quite different from its visible form. Having found from the nature of the triangle that its area is equal to half the product of its base by its height, we can then compare the different values of all sorts of triangles, and of all rectilinear figures whatever, because all of them may be resolved into a certain number of triangles. เพื่อไขความประเด็นนี้ ผมจะย้อนกลับไปหาการแสดงให้เห็นเชิงเรขาคณิตอย่างง่ายมาก ๆ เวลาที่เราเปรียบเทียบพื้นที่ของสามเหลี่ยมในทุก ๆ รูปแบบและทุกขนาด หรือเปรียบเทียบสามเหลี่ยมกับสี่เหลี่ยม หรือรูปสี่ด้านรูปอื่น ๆ เราจะดำเนินอย่างไร เราลดรูปพื้นฐานของสามเหลี่ยมใด ๆ ให้กลายเป็นการแสดงออกในรูปที่ต่างไปจากรูปปรากฏของมัน ด้วยเหตุว่าเราได้ค้นพบธรรมชาติของสามเหลี่ยมแล้วว่าพื้นที่นั้นเท่ากับครึ่งหนึ่งของผลคูณของฐานกับความสูง จากนั้นเราจึงเปรียบเทียบค่าต่าง ๆ ของสามเหลี่ยมรูปแบบหลากชนิด และรูปสี่เหลี่ยมทั้งหลาย หรืออย่างไรก็ตาม เพราะพวกมันทั้งหมดสามารถถูกสลายกลายเป็นรูปสามเหลี่ยมจำนวนหนึ่งได้
The same mode of procedure must obtain with the values of commodities. We must be able to reduce all of them to an expression common to all, and distinguishing them only by the proportions in which they contain that identical measure. เราจะต้องได้มาซึ่งกระบวนการเดียวกันสำหรับมูลค่าของสินค้าโภคภัณฑ์ เราจะต้องสามารถลดรูปมันทั้งหมดให้กลายเป็นการแสดงออกอย่างหนึ่งซึ่งมีร่วมกันทั้งหมด และต่างกันด้วยอัตราส่วนต่าง ๆ ของมาตรวัดที่มีเหมือนกันเหล่านั้นที่พวกมันมี
As the exchangeable values of commodities are only social functions of those things, and have nothing at all to do with their natural qualities, we must first ask, What is the common social substance of all commodities? It is Labour. To produce a commodity a certain amount of labour must be bestowed upon it, or worked up in it. And I say not only Labour, but Social Labour. A man who produces an article for his own immediate use, to consume it himself, creates a product, but not a commodity. As a self-sustaining producer he has nothing to do with society. But to produce a commodity, a man must not only produce an article satisfying some social want, but his labour itself must form part and parcel of the sum total of labour expended by society. It must be subordinate to the Division of Labour within Society. It is nothing without the other visions of labour, and on its part is required to integrate them. เนื่องด้วยมูลค่าแลกเปลี่ยนของโภคภัณฑ์นั้นเป็นเพียงคุณลักษณะทางสังคมของสิ่งเหล่านั้น และไม่มีความเกี่ยวข้องแต่อย่างใดกับคุณภาพทางธรรมชาติของมัน เราจึงต้องถามก่อนว่า สสารทางสังคมที่สินค้าโภคภัณฑ์ทั้งหมดมีร่วมกันนั้นคืออะไร มันคือแรงงาน ในการผลิตโภคภัณฑ์จะต้องได้รับมอบแรงงานปริมาณหนึ่ง หรือถูกกระทำลงไป และผมไม่ได้กล่าวถึงแรงงานเท่านั้น แต่เป็นแรงงานทางสังคม ผู้ใดที่ผลิตสิ่งของมาใช้เองทันที มาบริโภคเอง คนนั้นได้สร้างผลิตภัณฑ์ใช่โภคภัณฑ์ ในฐานะที่เป็นผู้ผลิตซึ่งยังยืนด้วยตัวเอง เขาไม่ได้ยุ่งเกี่ยวกับสังคมเลย แต่เพื่อที่จะผลิตโภคภัณฑ์ คนนั้นใช่แต่จะต้องผลิตสิ่งของเพื่อสนองความต้องการทางสังคมอย่างหนึ่งเท่านั้น แต่แรงงานของเขาเองจะต้องเป็นมัดเป็นส่วนหนึ่งของผลรวมทั้งมวลของแรงงานซึ่งสังคมได้ใช้ไป มันจะต้องอยู่ใต้บังคับบัญชาของการแบ่งงานกันทำภายในสังคม มันไม่เป็นสิ่งใดเลยหากไร้แรงงานในวิสัยอื่น และมันจำเป็นต้องบูรณาการพวกมันเข้ากันในส่วนของมันเอง
If we consider commodities as values, we consider them exclusively under the single aspect of realized, fixed, or, if you like, crystallized social labour. In this respect they can differ only by representing greater or smaller quantities of labour, as, for example, a greater amount of labour may be worked up in a silken handkerchief than in a brick. But how does one measure quantities of labour? By the time the labour lasts, in measuring the labour by the hour, the day, etc. Of course, to apply this measure, all sorts of labour are reduced to average or simple labour as their unit. หากเราถือว่าโภคภัณฑ์เป็นมูลค่า เราพิจารณาพวกมันในแง่มุมด้านเดียวนั้นคือแรงงานทางสังคมซึ่งกลายเป็นจริง ถูกตรึง หรือถ้าคุณอนุญาต ที่ตกผลึกลงมาโดยเฉพาะ ในแง่นี้พวกมันแตกต่างกันด้วยปริมาณของแรงงานที่พวกมันเป็นตัวแทนว่าอันไหนมากกว่าหรือน้อยกว่าเท่านั้น ตัวอย่างเช่นผ้าเช็ดหน้าผ้าไหมอาจเป็นการปรากฏของแรงงานที่มากกว่าก้อนอิฐ แต่เราจะวัดปริมาณของแรงงานอย่างไร ก็ด้วยระยะเวลาที่ใช้ ด้วยการวัดแรงงานตามรายชั่วโมง รายวัน ฯลฯ แน่นอนว่าเพื่อที่จะใช้การวัดเช่นนี้ แรงงานทุกชนิดจะถูกลดรูปเป็นหน่วยของแรงงานอย่างง่ายหรือโดยเฉลี่ย
We arrive, therefore, at this conclusion. A commodity has a value, because it is a crystallization of social labour. The greatness of its value, of its relative value, depends upon the greater or less amount of that social substance contained in it; that is to say, on the relative mass of labour necessary for its production. The relative values of commodities are, therefore, determined by the respective quantities or amounts of labour, worked up, realized, fixed in them. The correlative quantities of commodities which can be produced in the same time of labour are equal. Or the value of one commodity is to the value of another commodity as the quantity of labour fixed in the one is to the quantity of labour fixed in the other. เราจึงได้ข้อสรุปมาดังนี้ว่า สินค้าโภคภัณฑ์มีมูลค่า เพราะมันเป็นผลึกของแรงงานทางสังคม ขนาดของมูลค่าของมัน ของมูลค่าเชิงสัมพัทธ์ของมัน ขึ้นอยู่กับปริมาณของสสารทางสังคมนั้นที่อาจมีอยู่ข้างในในปริมาณที่มากหรือน้อยก็ตาม กล่าวคือ ขึ้นอยู่กับมวลเชิงสัมพัทธ์ของแรงงานที่จำเป็นในการผลิตมัน มูลค่าสัมพัทธ์ของสินค้าโภคภัณฑ์นั้นจึงถูกกำหนดโดยปริมาณหรือขนาดของแรงงานของแต่ละชิ้น ซึ่งถูกกระทำ กลายเป็นจริง และถูกตรึงไว้ในมัน ปริมาณสหสัมพันธ์ของสินค้าโภคภัณฑ์ที่สามารถผลิตได้ในช่วงเวลาเท่ากันนั้นจะเท่ากัน หรือก็คือ มูลค่าของโภคภัณฑ์ชิ้นหนึ่งเป็นต่อมูลค่าโภคภัณฑ์ชิ้นอื่น เช่นเดียวกับที่ปริมาณของแรงงานซึ่งถูกตรึงไว้ในอันหนึ่งเป็นต่อปริมาณของแรงงานซึ่งถูกตรึงไว้ในอันอื่น
I suspect that many of you will ask, Does then, indeed, there exist such a vast, or any difference whatever, between determining the values of commodities by wages, and determining them by the relative quantities of labour necessary for their production? You must, however, be aware that the reward for labour, and quantity of labour, are quite disparate things. Suppose, for example, equal quantities of labour to be fixed in one quarter of wheat and one ounce of gold. I resort to the example because it was used by Benjamin Franklin in his first essay published in 1729, and entitled, A Modest Enquiry into the Nature and Necessity of a Paper Currency, where he, one of the first, hit upon the true nature of value. Well. We suppose, then, that one quarter of wheat and one ounce of gold are equal values or equivalents, because they are crystallizations of equal amounts of average labour, of so many days' or so many weeks' labour respectively fixed in them. In thus determining the relative values of gold and corn, do we refer in any way whatever to the wages of the agricultural labourer and the miner? Not a bit. We leave it quite indeterminate how their day's or week's labour was paid, or even whether wages labour was employed at all. If it was, wages may have been very unequal. The labourer whose labour is realized in the quarter of wheat may receive two bushels only, and the labourer employed in mining may receive one-half of the ounce of gold. Or, supposing their wages to be equal, they may deviate in all possible proportions from the values of the commodities produced by them. They may amount to one-half, one-third, one-fourth, one-fifth, or any other proportional part of the one quarter of corn or the one ounce of gold. Their wages can, of course, not exceed, not be more than the values of the commodities they produced, but they can be less in every possible degree. Their wages will be limited by the values of the products, but the values of their products will not be limited by the wages. And above all, the values, the relative values of corn and gold, for example, will have been settled without any regard whatever to the value of the labour employed, that is to say, to wages. To determine the values of commodities by the relative quantities of labour fixed in them, is, therefore, a thing quite different from the tautological method of determining the value of commodities by the value of labour, or by wages. This point, however, will be further elucidated in the progress of our inquiry. ผมคาดว่าพวกคุณหลายคนจะถามว่า แล้วอย่างนั้นการกำหนดมูลค่าของโภคภัณฑ์ด้วยค่าจ้าง กับการกำหนดด้วยปริมาณสัมพัทธ์ของแรงงานที่จำเป็นต่อการผลิตมันนั้น มันต่างกันหรือไม่ไม่ว่าจะมากหรือน้อยก็ตาม แต่คุณต้องรู้ว่ารางวัลสำหรับแรงงาน และปริมาณของแรงงานนั้นเป็นของสองอย่างที่ต่างกันอย่างมาก สมมุติเช่น ในข้าวสาลีหนึ่งควอเตอร์กับทองคำหนึ่งออนซ์มีแรงงานปริมาณเท่ากัน ผมใช้ตัวอย่างพวกนี้เพราะมันถูกใช้โดย เบนจามิน แฟรงคลิน ในความเรียงของเขาฉบับแรกจาก ค.ศ. 1729 นามว่า การสอบสวนโดยประมาณเกี่ยวกับธรรมชาติและความจำเป็นของเงินตรากระดาษ ซึ่งเป็นหนึ่งในที่แรกที่เขาได้เผชิญกับธรรมชาติอันแท้จริงของมูลค่า ดีหละ เราสมมุติแล้วกันว่าข้าวสาลีหนึ่งควอเตอร์และทองคำหนึ่งออนซ์นั้นเป็นมูลค่าที่เท่ากันหรือสมมูลกัน เพราะทั้งสองเป็นการตกผลึกจากแรงงานโดยเฉลี่ยในปริมาณเท่า ๆ กัน เป็นแรงงานนับหลายวัน หรือหลายสัปดาห์ซึ่งถูกตรึงไว้ภายในมันทั้งสองตามลำดับ ดังนั้นในการกำหนดมูลค่าสัมพัทธ์ของทองคำและข้าว เราหมายถึงค่าจ้างของกรรมกรเกษตรและเหมืองแร่ในแง่ใดแง่หนึ่งเลยหรือไม่ ไม่เลยสักนิด เราทิ้งไว้เป็นความคลุมเครือว่าแรงงานรายวันรายสัปดาห์ของพวกเขานั้นเป็นรายจ่ายเท่าใด หรือแม้แต่ว่าเป็นแรงงานรับจ้างหรือไม่ก็ตาม เพราะหากเป็นเช่นนั้น ค่าจ้างจะต่างกันอย่างมาก แรงงานของกรรมกรที่ได้กลายเป็นจริงข้างในข้าวสาลีควอเตอร์หนึ่งนั้นอาจได้รับมาเพียงปริมาณสองบุชเชิลเท่านั้น และกรรมกรที่ทำงานในเหมืองก็อาจได้เป็นทองครึ่งออนซ์ หรือหากสมมุติให้ค่าจ้างเท่ากันแล้ว ก็จะต่างไปจากมูลค่าของโภคภัณฑ์ที่พวกเขาผลิตเป็นอัตราส่วนทั้งหลาย มันอาจเท่ากับครึ่งหนึ่ง หนึ่งในสาม ในสี่ ในห้า หรือในอัตราส่วนอื่นใดของข้าวสาลีหนึ่งควอเตอร์หรือทองหนึ่งออนซ์นั้น แน่นอนว่าค่าจ้างของพวกเขาจะไม่มากเกินไปกว่ามูลค่าของโภคภัณฑ์ที่พวกเขาผลิต แต่จะสามารถน้อยกว่ามันในทุกระดับ ค่าจ้างของพวกเขาถูกจำกัดโดยมูลค่าของผลผลิต แต่มูลค่าของผลผลิตของพวกเขาจะไม่ถูกจำกัดโดยค่าจ้าง และเหนือสิ่งอื่นใด มูลค่าเหล่านั้น มูลค่าสัมพัทธ์ของข้าวและทอง ดังตัวอย่าง จะถูกกำหนดโดยไม่สนใจเลยว่ามูลค่าของแรงงานที่จ้างไปเป็นเท่าใด กล่าวคือค่าจ้างนั่นเอง ในการที่จะกำหนดมูลค่าของโภคภัณฑ์ด้วยปริมาณสัมพัทธ์ของแรงงานที่ถูกตรึงไว้ข้างในพวกมันนั้น จึงแตกต่างอย่างยิ่งจากวิธีการแบบสัจนิรันดร์ที่จะกำหนดมูลค่าของโภคภัณฑ์ด้วยมูลค่าของแรงงาน หรือด้วยค่าจ้าง อย่างไรก็ตาม ข้อนี้จะถูกอธิบายเพิ่มเติมเมื่อการสอบสวนของเราดำเนินต่อไป
In calculating the exchangeable value of a commodity we must add to the quantity of labour last employed the quantity of labour previously worked up in the raw material of the commodity, and the labour bestowed on the implements, tools, machinery, and buildings, with which such labour is assisted. For example, the value of a certain amount of cotton-yarn is the crystallization of the quantity of labour added to the cotton during the spinning process, the quantity of labour previously realized in the cotton itself, the quantity of labour realized in the coal, oil, and other auxiliary substances used, the quantity of labour fixed in the steam-engine, the spindles, the factory building, and so forth. Instruments of production properly so-called, such as tools, machinery, buildings, serve again and again for a longer or shorter period during repeated processes of production. If they were used up at once, like the raw material, their whole value would at once be transferred to the commodities they assist in producing. But as a spindle, for example, is but gradually used up, an average calculation is made, based upon the average time it lasts, and its average waste or wear and tear during a certain period, say a day. In this way we calculate how much of the value of the spindle is transferred to the yarn daily spun, and how much, therefore, of the total amount of labour realized in a pound of yarn, for example, is due to the quantity of labour previously realized in the spindle. For our present purpose it is not necessary to dwell any longer upon this point. ในการคำนวณมูลค่าแลกเปลี่ยนของสินค้าโภคภัณฑ์ เราต้องรวมเอาปริมาณของแรงงานที่ได้ใช้งานไป ปริมาณของแรงงานซึ่งถูกลงแรงไปในวัตถุดิบของสินค้าโภคภัณฑ์นั้น กับแรงงานที่ได้มอบให้กับเครื่องมือ อุปกรณ์ เครื่องจักร และอาคารต่าง ๆ ซึ่งได้ถูกใช้อำนวยแรงงานนั้นไป ตัวอย่างเช่น มูลค่าของไหมที่ทำจากฝ้ายปริมาณหนึ่งคือผลึกของแรงงานปริมาณที่ถูกเพิ่มเข้าไปในฝ้ายในขั้นตอนการปั่น ปริมาณที่ได้กลายเป็นจริงก่อนแล้วในตัวฝ้ายเอง ปริมาณที่ได้กลายเป็นจริงขึ้นในรูปของถ่านหิน น้ำมัน และสารอนุเคราะห์อื่น ๆ ที่ถูกใช้ ปริมาณที่ถูกตรึงไว้ในเครื่องยนต์ไอน้ำ กระสวย อาคารโรงงาน และอื่น ๆ ต่อไป สิ่งที่ถูกเรียกอย่างเหมาะสมว่าอุปกรณ์ในการผลิต อาทิเครื่องมือ เครื่องจักร อาคารต่าง ๆ ได้รับใช้กระบวนการผลิตซึ่งเกิดขึ้นซ้ำเป็นช่วงเวลาไม่ว่านานหรือสั้นก็ตามอย่างไม่หยุดหย่อน หากมันถูกใช้หมดในครั้งเดียว เช่นเดียวกับวัตถุดิบ มูลค่าของมันทั้งหมดก็จะถูกส่งต่อไปยังสินค้าโภคภัณฑ์ที่มันช่วยผลิตในทีเดียว ทว่าหากยกตัวอย่างเช่นกระสวยซึ่งถูกใช้จนค่อย ๆ หมดอายุไป ก็จะถูกคำนวณโดยเฉลี่ย บนฐานของเวลาที่มันจะใช้งานได้โดยเฉลี่ย และความชำรุดหรือความสูญเสียโดยเฉลี่ยในช่วงเวลาหนึ่ง เช่นหนึ่งวัน ด้วยวิธีนี้เราจะคำนวณหามาว่ามูลค่าของกระสวยเท่าใดที่ถูกส่งต่อไปยังไหมที่ถูกปั่นออกมาต่อวัน และดังนั้น แรงงานปริมาณเท่าใดจากทั้งหมดซึ่งปรากฏอยู่ในไหมหนึ่งปอนด์นั้นมาจากปริมาณของแรงงานที่ได้กลายเป็นจริงอยู่ในกระสวยอันนั้น สำหรับจุดประสงค์ของเราในตอนนี้ เราไม่จำเป็นต้องพูดถึงประเด็นนี้ให้นานมากกว่านี้แล้ว
It might seem that if the value of a commodity is determined by the quantity of labour bestowed upon its production, the lazier a man, or the clumsier a man, the more valuable his commodity, because the greater the time of labour required for finishing the commodity. This, however, would be a sad mistake. You will recollect that I used the word "Social labour," and many points are involved in this qualification of "Social." In saying that the value of a commodity is determined by the quantity of labour worked up or crystallized in it, we mean the quantity of labour necessary for its production in a given state of society, under certain social average conditions of production, with a given social average intensity, and average skill of the labour employed. When, in England, the power-loom came to compete with the hand-loom, only one-half the former time of labour was wanted to convert a given amount of yarn into a yard of cotton or cloth. The poor hand-loom weaver now worked seventeen or eighteen hours daily, instead of the nine or ten hours he had worked before. Still the product of twenty hours of his labour represented now only ten social hours of labour, or ten hours of labour socially necessary for the conversion of a certain amount of yarn into textile stuffs. His product of twenty hours had, therefore, no more value than his former product of ten hours. อาจดูเหมือนว่าหากมูลค่าของสินค้าโภคภัณฑ์นั้นถูกกำหนดโดยปริมาณแรงงานที่สละให้กับการผลิตมัน ยิ่งผู้ใดเกียจคร้านเท่าใด หรือซุ่มซ่ามเพียงใด โภคภัณฑ์ของเขาก็จะยิ่งมีมูลค่ามากขึ้นเท่านั้น อันเนื่องมาจากเวลาแรงงานที่จำเป็นต้องใช้สำเร็จกิจโภคภัณฑ์นั้นที่มากกว่า แต่ว่านี่ก็เป็นเพียงความเข้าใจผิดที่น่าเศร้า คุณจะจำได้ว่าผมได้ใช้คำว่า "แรงงานทางสังคม" ไป และหลาย ๆ ประเด็นก็เกี่ยวข้องกับคุณสมบัติ "ทางสังคม" นี้ เมื่อผมกล่าวว่ามูลค่าของสินค้าโภคภัณฑ์นั้นถูกกำหนดโดยปริมาณของแรงงานที่ถูกลงแรงไปในหรือตกผลึกอยู่ข้างในมันนั้น ผมหมายถึงปริมาณของแรงงานอันจำเป็นต่อการผลิตมันท่ามกล่างสังคมที่อยู่ในสถานะหนึ่ง ภายใต้เงื่อนไขในการผลิตโดยเฉลี่ยทางสังคมอันหนึ่ง ด้วยความเข้มข้นโดยเฉลี่ยทางสังคมและทักษะโดยเฉลี่ยของแรงงานที่ถูกใช้งาน ในประเทศอังกฤษ ขณะที่เครื่องทอผ้ากลแข็งขันกับเครื่องทอผ้าด้วยมือ ทำให้ต้องการเวลาแรงงานเพียงครึ่งหนึ่งจากเดิมเพื่อแปลงไหมปริมาณหนึ่งเป็นผ้าฝ้ายหนึ่งหลาเท่านั้น ช่างทอฝีมือผู้อาภัพนั้นก็จำต้องทำงานสิบเจ็ดหรือสิบแปดชั่วโมงต่อวัน จากเดิมเพียงเก้าหรือสิบชั่วโมงอย่างที่เคย ถึงอย่างนั้นผลผลิตของแรงงานของเขาในเวลายี่สิบชั่วโมงกลับเป็นตัวแทนของแรงงานทางสังคมเพียงสิบชั่วโมงเท่านั้น หรือก็คือแรงงานอันจำเป็นทางสังคมเพื่อแปลงเส้นไหมปริมาณหนึ่งให้กลายเป็นสิ่งทอเป็นเวลานานสิบชั่วโมง ผลผลิตจากยี่สิบชั่วโมงของเขานั้นจึงไม่ได้มีมูลค่ามากไปกว่าผลผลิตในสิบชั่วโมงของเขาจากเมื่อก่อนเลย
If then the quantity of socially necessary labour realized in commodities regulates their exchangeable values, every increase in the quantity of labour wanted for the production of a commodity must augment its value, as every diminution must lower it. อย่างนั้นหากปริมาณของแรงงานอันจำเป็นทางสังคมที่ปรากฏขึ้นในสินค้าโภคภัณฑ์เป็นสิ่งที่ควบคุมมูลค่าแลกเปลี่ยนของพวกมันแล้ว ทุก ๆ ครั้งที่ปริมาณของแรงงานที่ต้องการในการผลิตสินค้าโภคภัณฑ์เพิ่มขึ้นย่อมทำให้มูลค่าสูงขึ้น และทุกครั้งที่ลดลงย่อมทำให้ต่ำลง
If the respective quantities of labour necessary for the production of the respective commodities remained constant, their relative values also would be constant. But such is not the case. The quantity of labour necessary for the production of a commodity changes continuously with the changes in the productive powers of the labour employed. The greater the productive powers of labour, the more produce is finished in a given time of labour: and the smaller the productive powers of labour, the less produce is finished in the same time. If, for example, in the progress of population it should become necessary to cultivate less fertile soils, the same amount of produce would be only attainable by a greater amount of labour spent, and the value of agricultural produce would consequently rise. On the other hand, if with the modern means of production, a single spinner converts into yarn, during one working day, many thousand times the amount of cotton which he could have spun during the same time with the spinning wheel, it is evident that every single pound of cotton will absorb many thousand times less of spinning labour than it did before, and, consequently, the value added by spinning to every single pound of cotton will be a thousand times less than before. The value of yarn will sink accordingly. หากปริมาณของแรงงานอันจำเป็นในการผลิตสินค้าโภคภัณฑ์แต่ละชนิดนั้นคงตัวอยู่ มูลค่าเชิงสัมพัทธ์ของพวกมันก็จะคงตัวด้วย แต่มันไม่เป็นเช่นนั้น ปริมาณของแรงงานอันจำเป็นในการผลิตสินค้าโภคภัณฑ์นั้นเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องตามความเปลี่ยนแปลงในกำลังการผลิตของแรงงานที่ถูกนำมาใช้ ยิ่งพลังผลิตภาพของแรงงานสูงขึ้นเท่าใด จะผลิตมากกว่าเดิมภายในเวลาแรงงานเท่าหนึ่ง และยิ่งพลังผลิตภาพของแรงงานต่ำลงเท่าใด จะผลิตได้น้อยกว่าเดิมภายในเวลาเท่าเดิม ยกตัวอย่างเช่น หากพัฒนาการของประชากรทำให้จำเป็นต้องเพาะปลูกในดินที่อุดมสมบูรณ์น้อยลง ปริมาณผลผลิตเท่าเดิมจะได้มาก็ด้วยปริมาณของแรงงานที่ต้องใช้มากขึ้น และมูลค่าของผลผลิตทางการเกษตรก็จะสูงขึ้นตามลำดับ ในทางกลับกัน ด้วยปัจจัยการผลิตสมัยใหม่ ช่างทอคนเดียวใช้เวลาทำงานหนึ่งวันในการปั่นไหมออกมาได้หลายพันเท่ามากกว่าที่เขาเคยทำได้ในช่วงเวลาเดียวกันด้วยเครื่องปั่นด้าย แน่ชัดว่าฝ้ายแต่ละปอนด์ก็จะดูดซึมแรงงานที่ใช้ปั่นมันเข้าไปน้อยกว่าที่มันเคยได้หลายพันเท่า และผลพวงก็คือมูลค่าที่ถูกเพิ่มด้วยการปั่นที่อยู่ในฝ้ายทุก ๆ ปอนด์ก็จะน้อยลงกว่าเดิมหลายพันเท่า มูลค่าของไหมก็ลดลงตามนั้น
Apart from the different natural energies and acquired working abilities of different peoples, the productive powers of labour must principally depend: นอกเหนือจากพลังงานทางธรรมชาติต่าง ๆ และความสามารถทำงานที่ได้มาของผู้คนแต่ละคน กำลังการผลิตของแรงงานนั้นโดยหลักการจะต้องขึ้นอยู่กับ:
Firstly. Upon the natural conditions of labour, such as fertility of soil, mines, and so forth; ประการแรก เงื่อนไขทางธรรมชาติของแรงงาน อาทิเช่น ความอุดมสมบูรณ์ของดิน เหมืองแร่ และอื่น ๆ
Secondly. Upon the progressive improvement of the Social Powers of Labour, such as are derived from production on a grand scale, concentration of capital and combination of labour, subdivision of labour, machinery, improved methods appliance of chemical and other natural agencies, shortening of time and space by means of communication and transport, and every other contrivance by which science presses natural agencies into the service of labour, and by which the social or co-operative character of labour is developed. The greater the productive powers of labour, the less labour is bestowed upon a given amount of produce; hence the smaller the value of this produce. The smaller the productive powers of labour, the more labour is bestowed upon the same amount of produce; hence the greater its value. As a general law we may, therefore, set it down that: -- ประการที่สอง การพัฒนาอย่างก้าวกระโดดของพลังทางสังคมของแรงงาน เช่นอย่างที่ได้มาจาการผลิตในขนาดใหญ่ การรวมศูนย์ของทุนและการผสมผสานของแรงงาน การแบ่งสัดส่วนของแรงงาน เครื่องจักร การพัฒนาวิธีการประยุกต์ใช้สารเคมีและตัวกระทำทางธรรมชาติอื่น ๆ การลดเวลาและพื้นที่ด้วยวิธีการสื่อสารและขนส่ง และสิ่งประดิษฐ์อื่น ๆ ทั้งหลายซึ่งวิทยาศาสตร์ใช้กดดันพลังของธรรมชาติมารับใช้แรงงาน และซึ่งถูกใช้เพื่อพัฒนาคุณลักษณะทางสังคมหรือสหกรณ์ของแรงงาน ยิ่งกำลังการผลิตของแรงงานมากขึ้นเท่าใด แรงงานที่ถูกสละให้กับผลผลิตจำนวนหนึ่งก็จะน้อยลงเท่านั้น และจึงทำให้มูลค่าของผลผลิตนี้ต่ำลง ยิ่งกำลังการผลิตของแรงงานน้อยลงเท่าใด แรงงานที่ถูกสละให้กับผลผลิตในจำนวนเดียวกันก็จะมากขึ้นเท่านั้น และจึงทำให้มูลค่าของมันมากขึ้น เราอาจกำหนดเป็นกฎทั่วไปได้ว่า: --
The values of commodities are directly as the times of labour employed in their production, and are inversely as the productive powers of the labour employed. มูลค่าของสินค้าโภคภัณฑ์นั้นเป็นโดยตรงกับเวลาแรงงานที่ใช้ในการผลิตมัน และเป็นโดยผกผันกับกำลังการผลิตของแรงงานที่ถูกใช้
Having till now only spoken of Value, I shall add a few words about Price, which is a peculiar form assumed by value. จนถึงตรงนี้ผมพูดถึงแต่มูลค่า ผมควรกล่าวอีกหน่อยเกี่ยวกับราคา ซึ่งเป็นรูปแบบที่แปลกประหลาดอันหนึ่งของมูลค่า
Price, taken by itself, is nothing but the monetary expression of value. The values of all commodities of this country, or example, are expressed in gold prices, while on the Continent they are mainly expressed in silver prices. The value of gold or silver, like that of all other commodities, is regulated by the quantity of labour necessary for getting them. You exchange a certain amount of your national products, in which a certain amount of your national labour is crystallized, for the produce of the gold and silver producing countries, in which a certain quantity of their labour is crystallized. It is in this way, in fact by barter, that you learn to express in gold and silver the values of all commodities, that is, the respective quantities of labour bestowed upon them. Looking somewhat closer into the monetary expression of value, or what comes to the same, the conversion of value into price, you will find that it is a process by which you give to the values of all commodities an independent and homogeneous form, or by which you express them as quantities of equal social labour. So far as it is but the monetary expression of value, price has been called natural price by Adam Smith, "prix necessaire" by the French physiocrats. เมื่อพิจารณาราคาอย่างโดด ๆ มันเป็นสิ่งใดนอกเสียจากการแสดงออกมูลค่าในรูปตัวเงิน มูลค่าของสินค้าโภคภัณฑ์ทั้งหมดในประเทศนี้เป็นต้น ล้วนถูกแสดงออกมาเป็นราคาของทอง ในขณะที่ในภาคพื้นทวีปพวกมันถูกแสดงออกเป็นราคาของแร่เงินเป็นหลัก มูลค่าของทองหรือเงิน เช่นเดียวกับสินค้าโภคภัณฑ์อื่น ๆ ก็ถูกควบคุมโดยปริมาณของแรงงานอันจำเป็นในการได้มันมา คุณแลกเปลี่ยนผลผลิตของชาติคุณปริมาณหนึ่ง ซึ่งในนั้นก็มีแรงงานของชาติคุณปริมาณหนึ่งตกผลึกอยู่ กับผลผลิตของประเทศที่ผลิตทองและเงิน ซึ่งในนั้นก็มีแรงงานของพวกเขาปริมาณหนึ่งที่ตกผลึกอยู่ ในทางนี้เอง ความจริงแล้วก็คือด้วยการแลกเปลี่ยนสินค้า ที่คุณได้เรียนรู้ที่จะแสดงออกมูลค่าของสินค้าโภคภัณฑ์ทั้งหลายด้วยทองและเงิน นั่นคือด้วยปริมาณของแรงงานซึ่งถูกมอบให้กับพวกมันตามลำดับ หากมองใกล้ขึ้นอีกนิดเข้าไปยังการแสดงออกมูลค่าด้วยเงินตรา หรือสิ่งที่ก็กลายเป็นสิ่งเดียวกัน การแปลงมูลค่าเป็นราคา คุณจะพบว่ามันเป็นกระบวนการที่คุณให้รูปแบบที่เป็นเนื้อเดียวกันและเป็นอิสระให้กับมูลค่าของสินค้าโภคภัณฑ์ทั้งหมด หรือเป็นวิธีที่คุณใช้แสดงออกพวกมันเป็นปริมาณของแรงงานทางสังคมที่เท่ากัน ตราบเท่าที่มันเป็นเพียงแต่การแสดงออกมูลค่าเป็นเงินตรา อดัม สมิธ ได้เรียกราคาว่าเป็นราคาทางธรรมชาติ และพวกธรรมชาตินิยมชาวฝรั่งเศสก็เรียกมันว่า "พรี เนเซแซร์"
What then is the relation between value and market prices, or between natural prices and market prices? You all know that the market price is the same for all commodities of the same kind, however the conditions of production may differ for the individual producers. The market price expresses only the average amount of social labour necessary, under the average conditions of production, to supply the market with a certain mass of a certain article. It is calculated upon the whole lot of a commodity of a certain description. อย่างนั้นแล้วความสัมพันธ์ระหว่างมูลค่าและราคาตลาด หรือระหว่างราคาทางธรรมชาติและราคาตลาดคืออะไรหรือ พวกคุณทุกคนรู้ว่าราคาตลาดนั้นเท่ากันสำหรับสินค้าโภคภัณฑ์ชนิดเดียวกันทุกชิ้น ทุก ๆ ชนิด อย่างไรก็ตามเงื่อนไขของการผลิตอาจแตกต่างกันระหว่างผู้ผลิตแต่ละเจ้า ราคาตลาดเป็นสิ่งที่แสดงออกเพียงแต่ปริมาณโดยเฉลี่ยของแรงงานทางสังคมอันจำเป็น ภายในเงื่อนไขในการผลิตโดยเฉลี่ย เพื่อจัดเตรียมสิ่งของอย่างหนึ่งในปริมาณหนึ่งให้กับตลาด มันถูกคำนวณบนสินค้าโภคภัณฑ์ชนิดหนึ่งในจำนวนมาก ๆ
So far the market price of a commodity coincides with its value. On the other hand, the oscillations of market prices, rising now over, sinking now under the value or natural price, depend upon the fluctuations of supply and demand. The deviations of market prices from values are continual, but as Adam Smith says: จนถึงตรงนี้ราคาตลาดของสินค้าโภคภัณฑ์นั้นสอดคล้องกับมูลค่าของมัน ในทางกลับกันการผันผวนของราคาตลาดที่สูงขึ้นแล้วลดลงจากมูลค่าหรือราคาทางธรรมชาติก็ขึ้นอยู่กับการผันผวนของอุปทานและอุปสงค์ การเบี่ยงเบนของราคาตลาดไปจากมูลค่านั้นเกิดขึ้นอย่างต่อเนือง แต่อย่างที่อดัม สมิธ กล่าว:

The natural price . . . is the central price, to which the prices of all commodities are continually gravitating. Different accidents may sometimes keep them suspended a good deal above it, and sometimes force them down even somewhat below it. But whatever may be the obstacles which hinder them from settling in this centre of repose and continuance they are constantly tending towards it.

ราคาทางธรรมชาติ . . . เป็นราคาตรงกลาง ที่ราคาของสินค้าโภคภัณฑ์ทั้งหมดโคจรอยู่รอบมันอย่างต่อเนื่อง อุบัติเหตุต่าง ๆ ในบางครั้งอาจทำให้มันอยู่สูงกว่ามาก และบางครั้งก็กดมันต่ำกว่าพอสมควร แต่ไม่ว่าจะมีอุปสรรคใดที่คอยกันไม่ให้มันตั้งอยู่ในความสงบและความต่อเนื่องตรงกลางนี้ พวกมันก็โน้มเอียงเข้าหามันอยู่ตลอดเวลา

I cannot now sift this matter. It suffices to say that if supply and demand equilibrate each other, the market prices of commodities will correspond with their natural prices, that is to say, with, their values, as determined by the respective quantities of labour required for their production. But supply and demand must constantly tend to equilibrate each other, although they do so only by compensating one fluctuation by another, a rise by a fall, and vice versa. If instead of considering only the daily fluctuations you analyze the movement of market prices for longer periods, as Mr. Tooke, for example, has done in his History of Prices, you will find that the fluctuations of market prices, their deviations from values, their ups and downs, paralyze and compensate each other; so that apart from the effect of monopolies and some other modifications I must now pass by, all descriptions of commodities are, on average, sold at their respective values or natural prices. The average periods during which the fluctuations of market prices compensate each other are different for different kinds of commodities, because with one kind it is easier to adapt supply to demand than with the other. ผมกลั่นกรองประเด็นนี้ไม่ได้อีกแล้ว คงพอแล้วหากกล่าวว่าถ้าอุปทานและอุปสงค์นั้นทำให้ทั้งสองอยู่ในสมดุล ราคาตลาดของสินค้าโภคภัณฑ์ย่อมสอดคล้องต้องกับราคาตามธรรมชาติของมัน กล่าวคือมูลค่าของมัน ดังที่กำหนดไว้โดยปริมาณของแรงงานอันจำเป็นในขั้นตอนการผลิตของมันออกมาตามแต่ละชิ้น แต่อุปทานและอุปสงค์จำต้องทำให้สมดุลกันเองอยู่ตลอดเวลา แม้ว่าจะทำไปด้วยการชดเชยการผันผวนครั้งหนึ่งด้วยอีกครั้งหนึ่ง การขึ้นด้วยการลง และในทำนองกลับกัน หากว่าแทนที่จะพิจารณาเพียงแต่การผันผวนที่เกิดขึ้นรายวัน คุณไปวิเคราะห์การเคลื่อนไหวของราคาตลาดเหนือช่วงเวลาที่นานขึ้น อย่างเช่นคุณทุกซึ่งได้ทำไปในเล่มประวัติศาสตร์ของราคาของเขา คุณจะพบว่าการผันผวนของราคาตลาดนั้น ค่าเบี่ยงเบนจากมูลค่าของมัน ราคาที่ขึ้นและลง ชะงักงันและชดเชยซึ่งกันและกัน ทำให้หากปราศจากผลที่เกิดจากการผูกขาดและการดัดแปลงอื่น ๆ ซึ่งผมต้องขอข้ามไปก่อน โดยเฉลี่ยแล้ว สินค้าโภคภัณฑ์ในทุกประเภทจะถูกขายไปที่มูลค่าหรือราคาทางธรรมชาติของมันแต่ละชนิดตามลำดับ ช่วงเวลาโดยเฉลี่ยที่ความผันผวนของราคาตลาดนั้นชดเชยกันนั้นแตกต่างกันไปตามโภคภัณฑ์แต่ละชนิด เพราะอุปสงค์อุปทานของสินค้าชนิดเดียวกันนั้นปรับตัวกันได้อย่างง่ายดายกว่ากับชนิดอื่น ๆ
If then, speaking broadly, and embracing somewhat longer periods, all descriptions of commodities sell at their respective values, it is nonsense to suppose that profit, not in individual cases, but that the constant and usual profits of different trades spring from surcharging the prices of commodities, or selling them at a price over and above their value. The absurdity of this notion becomes evident if it is generalized. What a man would constantly win as a seller he would as constantly lose as a purchaser. It would not do to say that there are men who are buyers without being sellers, or consumers without being producers. What these people pay to the producers, they must first get from them for nothing. If a man first takes your money and afterwards returns that money in buying your commodities, you will never enrich yourselves by selling your commodities too dear to that same man. This sort of transaction might diminish a loss, but would never help in realizing a profit. อย่างนั้นแล้วหากกล่าวโดยกว้าง และถือเอาช่วงเวลาที่นานขึ้นกว่าเท่าหนึ่ง สินค้าโภคภัณฑ์ทุกชนิดจะถูกขายไปที่มูลค่าของมันตามลำดับ การนึกคิดว่ากำไรนั้น ไม่ใช่ในกรณีปัจเจก แต่ว่ากำไรธรรมดาทั่วไปที่คงตัวในแต่ละสายอาชีพ ว่าเกิดขึ้นจากการเก็บเงินเพิ่มขึ้นจากราคาของโภคภัณฑ์นั้น หรือก็คือการขายมันในราคาที่สูงกว่ามูลค่าของพวกมันนั้น จึงเป็นสิ่งที่เหลวไหล ความไร้เหตุผลของแนวคิดนี้ชัดเจนยิ่งขึ้นเมื่อมันถูกนำมาวางนัยทั่วไป ใครนั้นที่เป็นผู้ขายที่มีชัยอยู่เสมอ ก็จะเป็นผู้ซื้อที่ต้องพ่ายอยู่เสมอเช่นกัน ใช้ไม่ได้แน่หากเราพูดว่ามีมนุษย์ใดที่เป็นผู้ซื้อโดยไม่เป็นผู้ขาย หรือเป็นผู้บริโภคโดยไม่เป็นผู้ผลิต สิ่งที่ผู้คนเช่นนี้จ่ายให้กับผู้ผลิต พวกเขาต้องได้มันมาก่อนจากความว่างเปล่า หากผู้ใดเอาเงินไปจากคุณแล้วกลับเอาเงินนั้นมาซื้อสินค้าโภคภัณฑ์ของคุณ คุณก็จะไม่มีวันร่ำรวยเลยไม่ว่าจะขายให้คน ๆ เดียวกันนั้นแพงขึ้นเท่าใดก็ตาม ธุรกรรมในแบบนี้อาจลดความขาดทุน แต่ไม่ช่วยให้กำไรกลายเป็นจริงขึ้นมา
To explain, therefore, the general nature of profits, you must start from the theorem that, on an average, commodities are sold at their real values, and that profits are derived from selling them at their values, that is, in proportion to the quantity of labour realized in them. If you cannot explain profit upon this supposition, you cannot explain it at all. This seems paradox and contrary to every-day observation. It is also paradox that the earth moves round the sun, and that water consists of two highly inflammable gases. Scientific truth is always paradox, if judged by every-day experience, which catches only the delusive appearance of things. ดังนั้นเพื่อที่จะอธิบายถึงธรรมชาติโดยทั่วไปของกำไร คุณต้องเริ่มจากทฤษฎีบทก่อนที่ว่า โดยเฉลี่ยแล้ว สินค้าโภคภัณฑ์ถูกขายที่มูลค่าจริงของมัน และกำไรนั้นหาได้มาจากการขายที่มูลค่าของพวกมัน นั่นคือ ในอัตราส่วนต่อปริมาณของแรงงานที่ปรากฏขึ้นอยู่ข้างในมัน หากคุณไม่สามารถอธิบายกำไรด้วยสมมุติฐานนี้ คุณก็จะไม่สามารถอธิบายได้เลย นี่ดูเหมือนเป็นปฏิทรรศน์และขัดกับการสังเกตุการณ์ในชีวิตประจำวัน เช่นกัน การที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์และการที่น้ำประกอบไปด้วยแก็สไวไฟสองชนิดนั้นก็เป็นปฏิทรรศน์ ความจริงทางวิทยาศาสตร์เป็นปฏิทรรศน์เสมอ หากใช้ประสบการณ์ชีวิตประจำวันมาตัดสิน ซึ่งเข้าใจเพียงแค่รูปปรากฏที่ลวงหลอกตาของสิ่งต่าง ๆ เท่านั้น