งานแปล:ค่าจ้าง ราคา และกำไร/บทที่ 8

จาก วิกิซอร์ซ
ค่าจ้าง ราคา และกำไร (ค.ศ. 1865) โดย คาร์ล มาคส์, ตรวจแก้โดย เอเลนอร์ มาคส์ เอฟลิง, แปลจากภาษาอังกฤษ โดย วิกิซอร์ซ
VII. พลังที่ใช้แรงงาน
Having now, as far as it could be done in such a cursory manner, analyzed the nature of Value, of the Value of any commodity whatever, we must turn our attention to the specific Value of Labour. And here, again, I must startle you by a seeming paradox. All of you feel sure that what they daily sell is their Labour; that, therefore, Labour has a Price, and that, the price of a commodity being only the monetary expression of its value, there must certainly exist such a thing as the Value of Labour. However, there exists no such thing as the Value of Labour in the common acceptance of the word. We have seen that the amount of necessary labour crystallized in a commodity constitutes its value. Now, applying this notion of value, how could we define, say, the value of a ten hours working day? How much labour is contained in that day? Ten hours' labour. To say that the value of a ten hours working day is equal to ten hours' labour, or the quantity of labour contained in it, would be a tautological and, moreover, a nonsensical expression. Of course, having once found out the true but hidden sense of the expression "Value of Labour," we shall be able to interpret this irrational, and seemingly impossible application of value, in the same way that, having once made sure of the real movement of the celestial bodies, we shall be able to explain their apparent or merely phenomenal movements. ตอนนี้เราได้ทำการวิเคราะห์ธรรมชาติของมูลค่าไปแล้ว เท่าที่สามารถทำได้อย่างคร่าว ๆ เช่นนี้ ของมูลค่าของโภคภัณฑ์ใดก็ตาม ต่อมาเราต้องหันมาให้ความสนใจในมูลค่าของแรงงานโดยเฉพาะ และ ณ ที่นี้ผมจำต้องทำให้คุณตกใจด้วยสิ่งที่ดูเหมือนเป็นปฏิทรรศน์ พวกคุณทุกคนแน่ใจว่าสิ่งที่พวกเขาขายในทุก ๆ วันคือแรงงานของเขา ดังนั้นแรงงานจึงมีราคา และเมื่อราคาของสินค้าโภคภัณฑ์เป็นการแสดงออกมาในรูปเงินตราของมูลค่าของมัน มูลค่าของแรงงานก็ต้องเป็นสิ่งที่มีอยู่จริงอย่างแน่นอน ทว่ามูลค่าของแรงงานในความหมายที่ยอมรับกันทั่วไปที่ว่านั้นมันไม่มีอยู่จริง เราพบแล้วว่าผลึกของปริมาณของแรงงานอันจำเป็นข้างในสินค้าโภคภัณฑ์นั้นประกอบเป็นมูลค่าของมัน ทีนี้เมื่อนำแนวคิดนี้มาใช้ เราจะให้นิยามกับมูลค่าของวันทำงานนานสิบชั่วโมงได้อย่างไร ในหนึ่งวันนั้นมีแรงงานปริมาณเท่าใด ก็แรงงานนานสิบชั่วโมง เป็นต้น การกล่าวว่ามูลค่าของวันทำงานนานสิบชั่วโมงนั้นเท่ากับแรงงานนานสิบชั่วโมง หรือปริมาณของแรงงานที่มีอยู่ในนั้น ก็จะเป็นข้อความที่ซ้ำความและยังไร้ความหมายเสียอีก แน่นอนว่าหลังจากที่เราจะได้ค้นพบกับความหมายที่แท้จริงและอยู่เบื้องหลังคำว่า "มูลค่าของแรงงาน" แล้ว เราจะสามารถตีความการประยุกต์ใช้แนวคิดเรื่องมูลค่าที่ไร้เหตุผลและดูเหมือนจะเป็นไปไม่ได้เช่นนี้ ได้ในหนทางเดียวกันกับที่เมื่อเรารู้แน่ถึงการเคลื่อนที่ที่แท้จริงของเหล่าเทห์ฟากฟ้าแล้ว เราก็จะสามารถอธิบายการเคลื่อนไหวที่ชัดเจน หรือเป็นเพียงปรากฏการณ์ของพวกมันได้
What the working man sells is not directly his Labour, but his Labour Power, the temporary disposal of which he makes over to the capitalist. This is so much the case that I do not know whether by the English laws, but certainly by some Continental laws, the maximum time is fixed for which a man is allowed to sell his labouring power. If allowed to do so for any indefinite period whatever, slavery would be immediately restored. Such a sale, if it comprised his lifetime, for example, would make him at once the lifelong slave of his employer. คนทำงานไม่ได้ขายแรงงานของเขาไปโดยตรง แต่ขายพลังแรงงานของเขา ซึ่งเขาจำหน่ายให้กับนายทุนไปเป็นเวลาชั่วคราว นี่เป็นจริงอย่างยิ่งโดยผมรู้อย่างแน่นอนในกฎหมายภาคพื้นทวีป แต่กฎหมายอังกฤษเป็นอย่างไรผมไม่รู้ ว่าคน ๆ หนึ่งได้รับอนุญาตให้ขายพลังที่ใช้แรงงานของเขาภายในระยะเวลาสูงสุดที่ถูกกำหนดไว้เท่านั้น หากเขาได้รับอนุญาตให้ทำไปเป็นเวลาไม่จำกัดเท่าใดก็ตาม ก็เป็นการฟื้นฟูระบบทาสขึ้นมาทันที การค้าขายเช่นนี้ เช่นหากประกอบด้วยชั่วชีวิตของเขาแล้ว ก็จะทำให้เขาเป็นทาสของนายจ้างของเขาไปตลอดชีวิต
One of the oldest economists and most original philosophers of England -- Thomas Hobbes -- has already, in his Leviathan, instinctively hit upon this point overlooked by all his successors. He says: "The value or worth of a man is, as in all other things, his price: that is, so much as would be given for the Use of his Power." นักปรัชญาที่ดั้งเดิมและนักเศรษฐศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุดของประเทศอังกฤษ โทมัส ฮอบส์ ได้ใช้สัญชาตญาณค้นพบประเด็นนี้ซึ่งผู้มาก่อนเขาล้วนมองข้ามไป เขากล่าว "มูลค่าหรือคุณค่าของคน ๆ หนึ่งนั้น อย่างที่เป็นในสิ่งอื่นล้วน คือราคาของเขา กล่าวคือ ตราบเท่าใดที่จะให้เขาสำหรับการใช้พลังของเขา"
Proceeding from this basis, we shall be able to determine the Value of Labour as that of all other commodities. ดำเนินไปจากรากฐานนี้ เราจะสามารถกำหนดมูลค่าของแรงงานได้อย่างเช่นในสินค้าโภคภัณฑ์อื่น ๆ
But before doing so, we might ask, how does this strange phenomenon arise, that we find on the market a set of buyers, possessed of land, machinery, raw material, and the means of subsistence, all of them, save land in its crude state, the products of labour, and on the other hand, a set of sellers who have nothing to sell except their labouring power, their working arms and brains? That the one set buys continually in order to make a profit and enrich themselves, while the other set continually sells in order to earn their livelihood? The inquiry into this question would be an inquiry into what the economists call "Previous, or Original Accumulation," but which ought to be called Original Expropriation. We should heed that this so-called Original Accumulation means nothing but a series of historical processes, resulting in a Decomposition of Original Union existing between the Labouring Man and his Instruments of Labour. Such an inquiry, however, lies beyond the pale of my present subject. The Separation between the Man of Labour and the Instruments of Labour once established, such a state of things will maintain itself and reproduce itself upon a constantly increasing scale, until a new and fundamental revolution in the mode of production should again overturn it, and restore the original union in a new historical form. แต่ก่อนอื่น เราอาจถามว่าปรากฏการณ์อันแปลกประหลาดนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร ที่ในตลาดเราพบผู้ซื้อชุดหนึ่ง ซึ่งถือครองที่ดิน เครื่องจักร วัตถุดิบ และปัจจัยดำรงชีพ ทั้งหมดล้วนเป็นผลผลิตของแรงงาน เว้นแต่ที่ดินที่ว่างเปล่า และในอีกด้านหนึ่งเป็นผู้ขายชุดที่ไม่มีอย่างอื่นให้ขายเลยนอกจากพลังที่ไว้ใช้แรงงานของเขา แขนที่ไว้ใช้ทำงาน และมันสมอง ที่กลุ่มนึงซื้อไว้ตลอดเวลาเพื่อนำมาทำกำไรและความร่ำรวย ในขณะที่อีกกลุ่มขายไปตลอดเวลาเพื่อให้มีรายได้ไว้พอดำรงชีพ การสอบสวนในคำถามนี้จะเป็นการสอบสวนในสิ่งที่นักเศรษฐศาสตร์เรียกว่า "การสะสมก่อน หรือดั้งเดิม" แต่ว่าควรที่จะถูกเรียกว่าการเวนคืนดั้งเดิม เราควรระมัดระวังไว้ว่าสิ่งที่เรียกว่าการสะสมดั้งเดิมนี้ไม่ใช่สิ่งใดเลยนอกเสียจากกระบวนการในประวัติศาสตร์เป็นลำดับ ซึ่งนำไปสู่การสลายเอกภาพดั้งเดิมที่ดำรงอยู่ระหว่างคนใช้แรงงานกับอุปกรณ์ใช้แรงงาน ทว่าการสอบสวนเช่นนี้อยู่นอกขอบเขตประเด็นปัจจุบันของผม การแยกตัวออกมาระหว่างคนใช้แรงงานกับอุปกรณ์ใช้แรงงานซึ่งเมื่อเกิดขึ้น สถาวะของสรรพสิ่งในแบบนี้จะพยุงตนเองและผลิตซ้ำตนเองไปเรื่อยในระดับที่เพิ่มมากขึ้น จนกระทั่งการปฏิวัติแต่พื้นฐานครั้งใหม่ในวิถีการผลิตจะมาล้มล้างมันอีกครั้ง และฟื้นฟูเอกภาพดั้งเดิมนี้ด้วยรูปแบบใหม่ในทางประวัติศาสตร์
What, then, is the Value of Labouring Power? แต่เดี๋ยว มูลค่าของพลังที่ใช้แรงงานคืออะไรหรือ
Like that of every other commodity, its value is determined by the quantity of labour necessary to produce it. The labouring power of a man exists only in his living individuality. A certain mass of necessaries must be consumed by a man to grow up and maintain his life. But the man, like the machine, will wear out, and must be replaced by another man. Beside the mass of necessaries required for his own maintenance, he wants another amount of necessaries to bring up a certain quota of children that are to replace him on the labour market and to perpetuate the race of labourers. Moreover, to develop his labouring power, and acquire a given skill, another amount of values must be spent. For our purpose it suffices to consider only average labour, the costs of whose education and development are vanishing magnitudes. Still I must seize upon this occasion to state that, as the costs of producing labouring powers of different quality differ, so must differ the values of the labouring powers employed in different trades. The cry for an equality of wages rests, therefore, upon a mistake, is an insane wish never to be fulfilled. It is an offspring of that false and superficial radicalism that accepts premises and tries to evade conclusions. Upon the basis of the wages system the value of labouring power is settled like that of every other commodity; and as different kinds of labouring power have different values, or require different quantities of labour for their production, they must fetch different prices in the labour market. To clamour for equal or even equitable retribution on the basis of the wages system is the same as to clamour for freedom on the basis of the slavery system. What you think just or equitable is out of the question. The question is: What is necessary and unavoidable with a given system of production? เช่นเดียวกับสินค้าโภคภัณฑ์อื่น ๆ มูลค่าของมันถูกกำหนดโดยปริมาณของแรงงานอันจำเป็นต้องใช้ผลิตมัน พลังที่ใช้แรงงานของคนมีอยู่ก็เพราะเป็นปัจเจกที่มีชีวิต เขาต้องบริโภคสิ่งจำเป็นก้อนเท่าหนึ่งเพื่อเติบโตและคงชีพของเขาไว้ แต่มนุษย์ เช่นเดียวกับเครื่องจักร จะมีการชำรุด และจะต้องถูกสลับกับมนุษย์ตนอื่น นอกจากมวลที่จำเป็นเพื่อบำรุงรักษาเขาแล้ว เขายังต้องการสิ่งจำเป็นอีกเท่าหนึ่งเพื่อเลี้ยงดูลูกหลานจำนวนหนึ่งที่จะมาแทนที่เขาในตลาดแรงงาน และเพื่อสืบสานเผ่าพันธุ์ของผู้ใช้แรงงาน นอกจากนั้น เพื่อพัฒนาพลังที่ใช้แรงงานของเขา และเพื่อเรียกรู้ทักษะอย่างหนึ่ง มูลค่าปริมาณอีกเท่าหนึ่งก็ต้องจ่ายไป สำหรับจุดประสงค์ของเรา เพียงพอแล้วที่จะพิจารณาแค่แรงงานโดยเฉลี่ย ซึ่งมีต้นทุนการศึกษาและพัฒนาการในขนาดที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า ถึงอย่างนั้นในโอกาสนี้ผมต้องกล่าวว่าต้นทุนในการผลิตพลังที่ใช้แรงงานในแต่ละคุณภาพนั้นต่างกัน มูลค่าของพลังที่ใช้แรงงานในแต่ละอาชีพย่อมต่างกันด้วย การเรียกร้องให้มีค่าจ้างเท่ากันนั้นจึงอยู่บนฐานของความผิดพลาด มันเป็นความปรารถนาแบบวิกลจริตที่จะไม่มีวันกลายเป็นจริง มันเป็นผลผลิตของแนวคิดที่สุดโต่งแต่ผิวเผินและเป็นเท็จซึ่งยอมรับในข้อตั้งแต่พยายามหลีกหนีข้อสรุป มูลค่าของพลังที่ใช้แรงงานบนรากฐานของระบบค่าจ้างนั้นถูกกำหนดในแบบเดียวกันกับสินค้าโภคภัณฑ์อื่น ๆ และเมื่อพลังที่ใช้แรงงานแต่ละชนิดมีมูลค่าที่ต่างกัน ก็ย่อมได้ราคาที่ต่างกันในตลาดแรงงาน การที่จะโห่ร้องเรียกหาผลตอบแทนที่เท่าเทียมหรือแม้แต่ที่ชอบธรรมโดยอยู่บนฐานของระบบค่าจ้างนั้น เป็นสิ่งเดียวกันกับการโห่ร้องเรียกหาเสรีภาพซึ่งอยู่บนฐานของระบบทาส สิ่งที่คุณคิดว่ายุติธรรมหรือชอบธรรมนั้นเลิกถามได้เลย คำถามคือ: อะไรคือสิ่งที่จำเป็นและเลี่ยงไม่ได้ในระบบการผลิตระบบหนึ่ง
After what has been said, it will be seen that the value of labouring power is determined by the value of the necessaries required to produce, develop, maintain, and perpetuate the labouring power. หลังจากที่กล่าวมาแล้ว จะเห็นได้ว่ามูลค่าของพลังที่ใช้แรงงานนั้นถูกกำหนดโดยมูลค่าของสิ่งที่จำเป็นในการผลิต พัฒนา บำรุง และสืบสาน พลังที่ใช้แรงงาน