งานแปล:ค่าจ้าง ราคา และกำไร/บทที่ 9

จาก วิกิซอร์ซ
ค่าจ้าง ราคา และกำไร (ค.ศ. 1865) โดย คาร์ล มาคส์, ตรวจแก้โดย เอเลนอร์ มาคส์ เอฟลิง, แปลจากภาษาอังกฤษ โดย วิกิซอร์ซ
VIII. การผลิตมูลค่าส่วนเกิน
Now suppose that the average amount of the daily necessaries of a labouring man require six hours of average labour for their production. Suppose, moreover, six hours of average labour to be also realized in a quantity of gold equal to 3s. Then 3s. would be the Price, or the monetary expression of the Daily Value of that man's Labouring Power. If he worked daily six hours he would daily produce a value sufficient to buy the average amount of his daily necessaries, or to maintain himself as a labouring man. ทีนี้สมมุติว่าปริมาณของสิ่งจำเป็นที่คนใช้แรงงานต้องการต่อวันนั้นต้องใช้แรงงานโดยเฉลี่ยปริมาณหกชั่วโมงเพื่อผลิตมัน สมมุติอีกว่า แรงงานโดยเฉลี่ยหกชั่วโมงนี้ยังกลายเป็นจริงด้วยในทองคำปริมาณเท่ากับสามชิลลิง แล้วอย่างนั้นสามชิลลิงจึงเป็นราคา หรือการแสดงออกในรูปเงินตราของมูลค่าต่อวันของพลังที่ใช้แรงงานของคน ๆ นั้น หากเขาทำงานหกชั่วโมงต่อวัน เขาจะสามารถผลิตมูลค่าที่เพียงพอแต่ละวันต่อการซื้อสิ่งจำเป็นประจำวันปริมาณโดยเฉลี่ยแต่ละวันของเขาได้ หรือต่อการบำรุงรักษาตนเองให้คงเป็นผู้ใช้แรงงาน
But our man is a wages labourer. He must, therefore, sell his labouring power to a capitalist. If he sells it at 3s. daily, or 18s. weekly, he sells it at its value. Suppose him to be a spinner. If he works six hours daily he will add to the cotton a value of 3s. daily. This value, daily added by him, would be an exact equivalent for the wages, or the price of his labouring power, received daily. But in that case no surplus value or surplus produce whatever would go to the capitalist. Here, then, we come to the rub. แต่คนของเราคนนี้เป็นผู้ใช้แรงงานรับจ้าง เขาจึงต้องขายพลังแรงงานของเขาให้กับนายทุน หากเขาขายไปที่ราคาสามชิลลิงต่อวัน หรือสิบแปดชิลลิงต่ออาทิตย์ เขากำลังขายมันไปที่มูลค่าของมัน สมมุติให้เขาเป็นช่างทอ หากเขาทำงานหกชั่วโมงต่อวัน เขาจะเพิ่มมูลค่าเท่ากับสามชิลลิงให้กับฝ้าย มูลค่านี้ซึ่งเขาเพิ่มเข้าไปรายวัน จะเป็นมูลค่าเท่ากับค่าจ้างของเขา หรือราคาของพลังที่ใช้แรงงานของเขา ที่เขาจะได้รายวัน แต่ในกรณีนั้นก็จะไม่มีมูลค่าส่วนเกินหรือผลผลิตส่วนเกินใด ๆ ที่นายทุนจะได้เลย ที่นี่เองที่เราหยุดชะงัก
In buying the labouring power of the workman, and paying its value, the capitalist, like every other purchaser, has acquired the right to consume or use the commodity bought. You consume or use the labouring power of a man by making him work, as you consume or use a machine by making it run. By paying the daily or weekly value of the labouring power of the workman, the capitalist has, therefore, acquired the right to use or make that labouring power work during the whole day or week. The working day or the working week has, of course, certain limits, but those we shall afterwards look more closely at. ในการที่นายทุนซื้อพลังที่ใช้แรงงานของคนงาน และจ่ายที่มูลค่าของมัน เช่นเดียวกับผู้ซื้อของอื่น ๆ เขาได้รับสิทธิที่จะบริโภคหรือใช้สอยสินค้าโภคภัณฑ์ที่เขาซื้อมา คุณบริโภคหรือใช้สอยพลังที่ใช้แรงงานของคน ๆ หนึ่งโดยการให้เขาทำงาน เช่นเดียวกับที่คุณบริโภคหรือใช้งานเครื่องจักรด้วยการเดินเครื่องมัน นายทุนซึ่งจ่ายมูลค่ารายวันหรือรายสัปดาห์ของพลังที่ใช้แรงงานของคนงานจึงได้รับสิทธิที่จะใช้หรือให้พลังที่ใช้แรงงานนั้นทำงานในช่วงวันหรือสัปดาห์ วันทำงานหรือสัปดาห์ทำงานนั้น แน่นอนว่ามีข้อจำกัดเท่าหนึ่ง แต่สิ่งเหล่านั้นเราต้องพิจารณาใกล้ขึ้นอีกนิดในครั้งถัดไป
For the present I want to turn your attention to one decisive point. ในปัจจุบัน ผมอยากให้คุณสนใจมาที่ประเด็นที่เด็ดขาดข้อหนึ่งนี้
The value of the labouring power is determined by the quantity of labour necessary to maintain or reproduce it, but the use of that labouring power is only limited by the active energies and physical strength of the labourer. The daily or weekly value of the labouring power is quite distinct from the daily or weekly exercise of that power, the same as the food a horse wants and the time it can carry the horseman are quite distinct. The quantity of labour by which the value of the workman's labouring power is limited to the quantity of labour which his labouring power is apt to perform. Take the example of our spinner. We have seen that, to daily reproduce his labouring power, he must daily reproduce a value of three shillings, which he will do by working six hours daily. But this does not disable him from working ten or twelve or more hours a day. But by paying the daily or weekly value of the spinner's labouring power, the capitalist has acquired the right of using that labouring power during the whole day or week. He will, therefore, make him work say, daily, twelve hours. Over and above the six hours required to replace his wages, or the value of his labouring power, he will, therefore, have to work six other hours, which I shall call hours of surplus labour, which surplus labour will realize itself in a surplus value and a surplus produce. If our spinner, for example, by his daily labour of six hours, added three shillings' value to the cotton, a value forming an exact equivalent to his wages, he will, in twelve hours, add six shillings' worth to the cotton, and produce a proportional surplus of yarn. As he has sold his labouring power to the capitalist, the whole value of produce created by him belongs to the capitalist, the owner pro tem. of his labouring power. By advancing three shillings, the capitalist will, therefore, realize a value of six shillings, because, advancing a value in which six hours of labour are crystallized, he will receive in return a value in which twelve hours of labour are crystallized. By repeating this same process daily, the capitalist will daily advance three shillings and daily pocket six shillings, one-half of which will go to pay wages anew, and the other half of which will form surplus value, for which the capitalist pays no equivalent. It is this sort of exchange between capital and labour upon which capitalistic production, or the wages system, is founded, and which must constantly result in reproducing the working man as a working man, and the capitalist as a capitalist. มูลค่าของพลังที่ใช้แรงงานนั้นถูกกำหนดโดยปริมาณของแรงงานอันจำเป็นในการบำรุงรักษาและผลิตมันซ้ำ แต่การใช้พลังที่ใช้แรงงานนั้นถูกจำกัดไว้เท่าที่พลังงานกัมมันต์และพละกำลังทางกายภาพที่ผู้ใช้แรงงานมี มูลค่ารายวันหรือรายสัปดาห์ของพลังที่ใช้แรงงานนั้นค่อนข้างแตกต่างจากการปฏิบัติใช้พลังนั้นในแต่ละวันหรือแต่ละสัปดาห์ เช่นเดียวกับที่อาหารที่ม้าต้องการกับเวลาที่มันสามารถให้คนขี่ม้าขี่มันได้นั้นต่างกันพอสมควร ปริมาณของแรงงานซึ่งจำกัดมูลค่าของพลังที่ใช้แรงงานของคนงานนั้น คือปริมาณของแรงงานที่พลังที่ใช้แรงงานของเขาพึงกระทำได้ ยกตัวอย่างเช่นช่างทอของเรา เราพบแล้วว่าเพื่อผลิตซ้ำพลังที่ใช้แรงงานของเขาในแต่ละวัน เขาต้องผลิตมูลค่าอย่างน้อยสามชิลลิงต่อวัน ซึ่งเขากระทำได้โดยการทำงานหกชั่วโมงในแต่ละวัน แต่นี่ไม่ได้หมายความว่าเขาจะทำงานต่อเป็นสิบหรือสิบสองชั่วโมงไม่ได้ แต่เมื่อนายทุนได้จ่ายมูลค่ารายวันหรือรายสัปดาห์ของพลังที่ใช้แรงงานของช่างทอแล้ว เขาได้รับสิทธิในการใช้สอยพลังที่ใช้แรงงานนั้นทั้งวันหรือทั้งสัปดาห์ เขาจึงจะให้เขาทำงานสิบสองชั่วโมงต่อวัน มากกว่าหกชั่วโมงที่เพียงพอแล้วเพื่อแทนที่ค่าจ้างของเขา หรือมูลค่าของพลังที่ใช้แรงงานของเขา ดังนั้นเขาจึงต้องทำงานต่อไปอีกหกชั่วโมง ซึ่งผมขอเรียกว่าชั่วโมงแรงงานส่วนเกิน โดยแรงงานส่วนเกินนี้จะกลายร่างเป็นมูลค่าส่วนเกินและผลผลิตส่วนเกิน หากช่างทอของเราทำงานหกชั่วโมงต่อวันเป็นต้น ได้เพิ่มมูลค่าสามชิลลิงให้กับฝ้ายแล้ว ซึ่งเป็นมูลค่าที่เท่ากันอย่างแม่นยำกับค่าจ้างของเขา ในสิบสองชั่วโมงเขาจึงได้เพิ่มมูลค่าหกชิลลิงเขาไปในฝ้าย และผลิตไหมออกมาเป็นส่วนเกินตามสัดส่วน ในเมื่อเขาขายพลังที่ใช้แรงงานของเขาให้กับนายทุน มูลค่าของผลผลิตทั้งหมดที่เขาสร้างขึ้นมาจะเป็นของนายทุน ซึ่งเป็นเจ้าของชั่วคราวของพลังที่ใช้แรงงานของเขา และจากการจ่ายไปสามชิลลิง นายทุนจึงได้สร้างมูลค่าขึ้นหกชิลลิง เพราะด้วยการจ่ายมูลค่าตกผลึกของแรงงานปริมาณหกชั่วโมง เขาได้กลับมาเป็นมูลค่าตกผลึกเท่ากับแรงงานปริมาณสิบสองชั่วโมง นายทุนซึ่งดำเนินการเช่นเดิมเช่นนี้ซ้ำไปทุก ๆ วันก็จะจ่ายเงินไปสามชิลลิงและเก็บเข้ากระเป๋าหกชิลลิงในทุก ๆ วัน ครึ่งหนึ่งถูกนำไปจ่ายค่าจ้างอีกรอบ และอีกครึ่งจะก่อรูปเป็นมูลค่าส่วนเกิน ซึ่งนายทุนไม่ต้องเอาไปจ่ายอะไรที่เท่ากันเลย การแลกเปลี่ยนแบบนี้ระหว่างทุนกับแรงงานคือรากฐานซึ่งก่อตั้งระบบการผลิตแบบทุนนิยม หรือระบบค่าจ้าง และจำส่งผลให้เกิดการผลิตคนที่ทำงานเป็นคนที่ทำงาน และนายทุนเป็นนายทุนอยู่เป็นนิจ
The rate of surplus value, all other circumstances remaining the same, will depend on the proportion between that necessary to reproduce the value of the labouring power and the surplus time or surplus labour performed for the capitalist. It will, therefore, depend on the ratio in which the working day is prolonged over and above that extent, by working which the working man would only reproduce the value of his labouring power, or replace his wages. หากพฤติการณ์ทั้งหมดคงตัวเหมือนเดิม อัตราของมูลค่าส่วนเกินนั้นจะขึ้นอยู่กับอัตราสัดส่วนระหว่างเท่าที่จำเป็นต้องผลิตซ้ำมูลค่าของพลังที่ใช้แรงงาน และเวลาหรือแรงงานส่วนเกินซึ่งได้กระทำไปให้กับนายทุน ดังนั้นมันจึงขึ้นอยู่กับว่าวันทำงานวันหนึ่งนั้นยาวนานไปมากกว่าและเหนือกว่าขีดนั้นในอัตราส่วนเท่าไหร่ ขีดเส้นนั้นซึ่งคนทำงานต้องทำงานเพื่อผลิตซ้ำมูลค่าของพลังที่ใช้แรงงานของเขา หรือเพื่อแทนที่เท่าค่าจ้างของเขา