งานแปล:ร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับสตีเวนส์และพระยาศรีวิสารวาจา/บันทึกของสตีเวนส์

จาก วิกิซอร์ซ
ร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับสตีเวนส์และพระยาศรีวิสารวาจา (พ.ศ. 2474), แปลจากภาษาอังกฤษ โดย วิกิซอร์ซ
บันทึกเกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงในรูปแบบการปกครองตามที่เสนอ ลงวันที่ 9 มีนาคม ค.ศ. 1932 (พ.ศ. 2474)โดย เรย์มอนด์ บี. สตีเวนส์
Memorandum
Concerning the proposed changes
In the form of government
บันทึก
เกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลง
ในรูปแบบการปกครองตามที่เสนอ

I have doubts whether it is advisable to adopt in its entirety the proposed plan for a new constitution. I express these views with some diffidence as I fully realise that my knowledge of the Siamese people is limited. On the other hand I have had a long experience with popular government. I am not one of those who believe that unlimited monarchy should continue to exist indefinitely in Siam. The time will undoubtedly come when some distribution of power will have to be made. I do not believe however that time has yet arrived.

ข้าพระพุทธเจ้ากังขาว่า ควรตกลงรับโครงการระเบียบการปกครอง[1] แบบใหม่ตามที่เสนอมานั้นทั้งหมดหรือไม่ ข้าพระพุทธเจ้าแสดงทัศนะเหล่านี้ด้วยความตะขิดตะขวงอยู่บ้าง เพราะข้าพระพุทธเจ้ารู้อยู่เต็มอกว่า ความรู้ของข้าพระพุทธเจ้าในเรื่องชนชาวสยามนั้นมีขีดจำกัด แต่กลับกัน ข้าพระพุทธเจ้ามีประสบการณ์มายาวนานในเรื่องการปกครองโดยประชาชน ข้าพระพุทธเจ้ามิใช่หนึ่งในบรรดาผู้เชื่อว่า ราชาธิปไตยแบบไม่จำกัดอำนาจนั้นจะดำรงอยู่ต่อไปในสยามชั่วกาลนาน เวลาแห่งความจำเป็นที่จะต้องกระจายอำนาจนั้นจักต้องมาอย่างไม่ต้องสงสัย ถึงอย่างนั้น ข้าพระพุทธเจ้าก็ยังไม่เชื่อว่า เวลานั้นได้มาถึงแล้ว

There is one marked difference between the two important aspects of the proposed plan:— The creation of a Prime Minister and the creation of a Legislative Council with both legislative and administrative functions. While the creation of a Prime Minister would be an important change it cannot be deemed fundamental. At present His Majesty is His own Prime Minister and exercises His power as Chief Executive through responsible minister. The experiment of a Prime Minister can be tried without serious consequences even if it should prove unsuccessful.

การจัดตั้งอัครมหาเสนาบดี และการจัดตั้งสภานิติบัญญัติซึ่งมีกิจหน้าที่ทั้งทางนิติบัญญัติและทางบริหาร อันเป็นลักษณะสำคัญสองประการของโครงการที่เสนอมานั้น มีความแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัดอยู่แง่หนึ่ง แม้การจัดตั้งอัครมหาเสนาบดีจะเป็นความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ แต่จะมองว่าเป็นความเปลี่ยนแปลงจนถึงฐานก็ยังไม่ได้ ปัจจุบันนี้ พระองค์ทรงเป็นอัครมหาเสนาบดีของพระองค์เอง และทรงใช้พระราชอำนาจในฐานะผู้บริหารสูงสุดผ่านเสนาบดีผู้มีหน้าที่รับผิดชอบ การลองมีอัครมหาเสนาบดีสักคนอาจกระทำได้โดยไม่ส่งผลร้ายแรงตามมา แม้ในกรณีที่การทดลองนั้นจะปรากฏผลว่าล้มเหลวก็ตาม

The creation of a Legislative Council with a substantial number of elected members exercising both legislative and executive functions is of quite a different category. It is extremely difficult to withdraw political power once granted to the people.

แต่การจัดตั้งสภานิติบัญญัติโดยมีสมาชิกจำนวนมากพอดูมาจากการเลือกตั้งและกระทำกิจหน้าที่ทั้งทางนิติบัญญัติและทางบริหารนั้นออกจะเป็นคนละเรื่องกันเลย เพราะอำนาจทางการเมือง เมื่อมอบให้ประชาชนไปแล้ว จะเอากลับคืนย่อมยากเย็น

As a rule such organisations when once created tend inevitably to acquire more power. Accordingly such experiments should not be made until it is clear that, in the words of Lord Bacon, “The necessity be urgent or the utility evident”. I do not believe a Legislative Council would render the Government of Siam more efficient or wiser than the present Government. Also I do not believe a desire for some form of popular government is widespread among the people.

เป็นธรรมดาอยู่เองที่องค์การเช่นว่านั้นเมื่อก่อตั้งขึ้นแล้วก็ย่อมได้รับอำนาจทวีขึ้นอย่างเลี่ยงมิได้ ฉะนั้น จึงไม่ควรดำเนินการทดลองดังกล่าวจนกว่าจะกระจ่างแจ้งว่า "มีความจำเป็นอย่างเร่งรัด หรือมีประโยชน์อย่างแน่ชัด" ดังวาทะของลอร์ดเบคอน[2] ข้าพระพุทธเจ้าไม่เชื่อว่า สภานิติบัญญัติจะทำให้การปกครองสยามมีประสิทธิภาพหรือมีความรอบคอบยิ่งไปกว่าการปกครองแบบปัจจุบัน ข้าพระพุทธเจ้าไม่เชื่อด้วยว่า ความต้องการให้มีการปกครองโดยประชาชนสักรูปแบบนั้นจะเป็นสิ่งที่แพร่หลายในหมู่ประชาชน

It is true that a period of depression such as now exists in Siam always creates some re-action against the Government in power. However, His Majesty’s Government is not responsible for the economic depression. Since in large measure the present unrest is due to economic reasons and not because of dissatisfaction with the form of Government it is not advisable to attempt to allay that unrest through changes in the constitution.

จริงอยู่ที่ช่วงภาวะตกต่ำดังที่เป็นอยู่ในสยามยามนี้จะก่อให้เกิดปฏิกิริยาบางอย่างต่อรัฐบาลในอำนาจเนือง ๆ แต่ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำก็หาใช่สิ่งที่รัฐบาลของพระองค์ต้องรับผิดชอบไม่ ด้วยเหตุที่ความวุ่นวายในเวลานี้โดยมากแล้วเป็นผลมาจากปัจจัยทางเศรษฐกิจ มิใช่เพราะความไม่พอใจในรูปแบบการปกครอง จึงไม่ควรลองระงับความวุ่นวายนั้นด้วยความเปลี่ยนแปลงในระเบียบการปกครอง

In stating the opinion that the greater part of the Siamese people are not yet fit to take part in the national Government I would not be understood as casting reflections on the natural capacity of the Siamese race as compared with the Burmese or other Eastern races where elected Legislative Council now exists. In fact the capacity of the Siamese for government has been amply shown by the achievement of the Royal Family and officials of the Government. The situation in Burma is fundamentally different from the situation in Siam. Burma for many generations has been ruled by an alien power. Naturally there exists in Burma a wide-spread feeling against English rule. Siam has been, on the other hand, always ruled by its own people and the Siamese people have been loyal to their rulers.

ในการออกความเห็นว่า ชาวสยามส่วนใหญ่ยังไม่เหมาะจะเข้าร่วมการปกครองระดับชาตินั้น ข้าพระพุทธเจ้าคงไม่ถูกเข้าใจว่า กำลังสะท้อนมุมมองเรื่องความสามารถตามธรรมชาติของชนชาติสยามโดยเปรียบเทียบกับชนชาติพม่าและชาติตะวันออกอื่น ๆ ที่บัดนี้มีสภานิติบัญญัติซึ่งมาจากการเลือกตั้งแล้ว ที่จริงความสามารถของชาวสยามในการปกครองนั้นปรากฏอยู่มากโขผ่านความสำเร็จของราชตระกูลและข้าราชการ โดยพื้นฐานแล้วสถานการณ์ในพม่าต่างจากสถานการณ์ในสยาม พม่าถูกอำนาจต่างชาติปกครองมาหลายชั่วคน ตามธรรมดาแล้วความรู้สึกต่อต้านการปกครองของอังกฤษจึงมีอยู่อย่างแพร่หลายในพม่า กลับกัน สยามอยู่ภายใต้การปกครองโดยคนของตนมาตลอด และชาวสยามก็ภักดีต่อผู้ปกครองของตน

Furthermore in Burma the people have had political training through their participation in local Government for many years before the creation of the Legislative Council. In Siam so far there is no form of real local self government. The best method of training a people for self government is to give them first some control over and responsibility for their local interests with which they are in direct contact.

นอกจากนี้ ผู้คนในพม่ายังได้รับการฝึกฝนทางการเมืองผ่านการปกครองส่วนท้องถิ่นมาหลายปีก่อนจะมีการจัดตั้งสภานิติบัญญัติ ส่วนในสยามทุกวันนี้ก็ยังไม่มีการปกครองตนเองในระดับท้องถิ่นจริง ๆ สักรูปแบบ วิธีฝึกฝนประชาชนให้ปกครองตนเองได้ดีที่สุด ก็คือ ให้ประชาชนมีอำนาจควบคุมและรับผิดชอบประโยชน์ในท้องถิ่นตนบ้าง ซึ่งเป็นสิ่งที่ใกล้ชิดกับเขาเหล่านั้นโดยตรง

I would suggest as a safe source that the changes to be made in the immediate future in Siam should be restricted to the creation of a Prime Minister with a fixed term and creation of municipal governments and that the question of the establishment of a Legislative Council should be deferred.

ข้าพระพุทธเจ้าใคร่เสนอเป็นทางปลอดภัยว่า ความเปลี่ยนแปลงทั้งหลายที่จะได้กระทำขึ้นในสยามในยามอันใกล้จะมาถึงนี้ ควรจำกัดอยู่ที่การจัดตั้งอัครมหาเสนาบดีโดยมีวาระตายตัว และการจัดตั้งคณะปกครองเทศบาล ส่วนคำถามเรื่องการก่อตั้งสภานิติบัญญัตินั้น ควรพักก่อน
  • (Signed) Raymond B. Stevens
  • Office of the Adviser in Foreign Affairs,
  • 9th March, 1932.
RBS: SP
  • (ลงนาม) เรย์มอนด์ บี. สตีเวนส์
  • สำนักงานที่ปรึกษาราชการต่างประเทศ
  • 9 มีนาคม 1932

อาร์บีเอส: เอสพี[3]

เชิงอรรถของวิกิซอร์ซ[แก้ไข]

  1. "Constitution" สามารถหมายถึง (1) ระบบระเบียบการบริหารองค์การ ประเทศ ฯลฯ และ (2) เอกสารว่าด้วยระบบระเบียบดังกล่าว นอกเหนือไปจากความหมายอื่น ในที่นี้ เมื่อพิเคราะห์เนื้อหาโดยรวม และการใช้คำนี้ในส่วนอื่น ๆ แล้ว เห็นว่า ไม่ได้หมายถึงเอกสาร จึงแปลว่า "ระเบียบการปกครอง"
  2. เป็นวาทะของฟรานซิส เบคอน (Francis Bacon) ดู Bacon, F. (1908). Of Innovations. In Scott, M. A. (Ed.), The Essays of Francis Bacon (p. 110). New York: Charles Scribner's Sons.
  3. "อาร์บีเอส" คงหมายถึง เรย์มอนด์ บี. สตีเวนส์ (Raymond B. Stevens) ผู้เขียน ส่วน "เอสพี" เดาว่า หมายถึง วังสราญรมย์ (Saranromya Palace) ที่ว่าการต่างประเทศในขณะนั้น

บรรณานุกรม[แก้ไข]