นิทานโบรานคดี/นิทานที่ 7
เมื่อปีวอก พ.ส. 2415 พระบาทสมเด็ดพระจุลจอมเกล้าเจ้าหยู่หัวเสวยราชย์ได้ 4 ปี สเด็ดไปอินเดีย เมื่อถึงเมืองพารานสี สเด็ดไปซงบำเพ็นพุทธบูชานะพระบริโภคเจดียสถานไนมรึคทายวันที่พระพุทธเจ้าซงสแดงปถมเทสนาประกาสตั้งพระพุทธสาสนา อันพุทธสาสนิกชนทั่วทั้งโลกนับถือว่า เปนเจดียสถานที่สำคันหย่างยิ่งแห่งหนึ่งไนพระพุทธสาสนา
เมื่อเขียนนิทานนี้ ฉันนึกขึ้นว่า จะมีไทยไครได้เคยไปถึงมรึคทายวันก่อนพระบาทสมเด็ดพระพุทธเจ้าหลวงบ้างหรือไม่ คิดหาไม่เห็นไคร เลยคิดค้นต่อไปไนเรื่องพงสาวดาร ก็เกิดพิสวง ด้วยปรากตว่า เมืองไทยเราขาดคมนาคมกับอินเดียไนเรื่องพระพุทธสาสนามาเสียตั้งแต่ก่อนพระร่วงครองกรุงสุโขทัย เพราะพระพุทธสาสนาไนอินเดียถูกพวกมิจฉาทิตถิ ทั้งที่ถือสาสนาอิสลามและที่ถือสาสนาฮินดู พยายามล้างผลานมาช้านาน จนหมดสิ้นสงคะมนทล และประชาชนที่ถือพระพุทธสาสนาไม่มีไนอินเดียมาเสียแต่ราว พ.ส. 1600 ก่อนตั้งราชวงส์พระร่วงถึง 200 ปี เพราะฉะนั้น ไทยจึงต้องเปลี่ยนไปนับถือประเทสลังกา รับพระไตรปิดกกับทั้งสมนะวงส์และเจดีย์วัตถุต่าง ๆ มีพระบรมธาตุและต้นพระสรีมหาโพธิเปนต้น มาจากลังกาทวีป ดังปรากตไนเรื่องพงสาวดารและสิลาจารึกครั้งสุโขทัย ต่อมาไนสมัยกรุงสรีอยุธยาก็เปนเช่นเดียวกัน ถึงแม้การไปมาไนระหว่างเมืองไทยกับอินเดียยังมีหยู่ ก็เปนไนการซื้อขาย ไม่เกี่ยวข้องถึงสาสนา และไปค้าขายเพียงตามเมืองไนอินเดียทางฝ่ายไต้ที่เปนภาคมัทราส Madras บัดนี้ หาปรากตว่า ได้มีไทยไปจนถึงอินเดียตอนมัชชิมประเทสที่พระพุทธเจ้าซงสั่งสอนพระสาสนาไม่ เพราะฉะนั้น การที่สมเด็ดพระพุทธเจ้าหลวงสเด็ดไปถึงมรึคทายวันเมื่อ พ.ส. 2415 เปนการสำคัน ถ้าเรียกหย่างโบรานก็ว่า "สเด็ดไปสืบพระสาสนา" ซึ่งเริดร้างมากว่า 700 ปี และการที่สเด็ดไปครั้งนั้นก็มีผลทำไห้ความรู้ความเห็นของไทยไนโบรานคดีเรื่องพระพุทธสาสนากว้างขวางขึ้นโดยลำดับมาจนบัดนี้ จะเล่าเรื่องที่ปรากตไนชั้นแรกก่อน
เมื่อสมเด็ดพระพุทธเจ้าหลวงสเด็ดกลับจากอินเดีย ได้รูปฉายพระ "ธัมเมกข" เจดีย์ ที่เปนพระเจดีย์องค์ไหย่หยู่ไนมรึคทายวัน มาถวายกรมสมเด็ดพระปวเรสวริยาลงกรน์ เปนครั้งแรกที่ไทยจะได้เห็นรูปพระสถูปเจดีย์ไนอินเดีย รูปพระธัมเมกขเจดีย์นั้นเปนพระเจดีย์กลม ตอนล่างไหย่ ตอนบนรัดเล็กเข้าไป ดูเปน 2 ลอน ผิดกับรูปซงพระเจดีย์ที่ส้างกันไนเมืองไทย กรมสมเด็ดพระปวเรสฯ ซงพิจารนากับพระมหาเถระองค์อื่น ๆ ลงมติพร้อมกันว่า รูปพระธัมเมกขเจดีย์ตรงกับไนพระบาลีว่า พระสถูปสันถานเหมือนลอมฟาง (รูปลอมฟางไนเมืองไทยมี 2 หย่าง หย่างหนึ่งเหมือนโอคว่ำ อีกหย่างหนึ่งเปน 2 ลอนเหมือนหย่างรูปพระธัมเมกขเจดีย์) ครั้งนั้น มีผู้เชื่อว่า รูปพระสถูปเจดีย์แบบเดิมคงเปน 2 ลอนหย่างพระธัมเมกขเจดีย์ ถึงเอาแบบไปส้างขึ้นหลายแห่ง ว่าแต่ที่ฉันจำได้ ส้างไว้ที่บริเวนกุดีสมเด็ดพระวันรัต (พุทฺธสิริ ทัพ) วัดโสมนัสวิหารแห่งหนึ่ง ที่วัดกันมาตุยารามแห่งหนึ่ง ดูเหมือนจะยังหยู่จนเดี๋ยวนี้ ความนิยมที่จะไปอินเดียเพื่อสึกสาโบรานคดีเนื่องด้วยพระพุทธสาสนาก็เริ่มเกิดขึ้นตั้งแต่สมเด็ดพระพุทธเจ้าหลวงสเด็ดไปครั้งนั้น ต่อมาจึงมีไทยทั้งที่เปนครึหัถและพระภิกสุพวกเที่ยวธุดงค์ไปถึงมัชชิมประเทสไนอินเดียเนือง ๆ
ฉันไปอินเดียเมื่อ พ.ส. 2434 พายหลังสมเด็ดพระพุทธเจ้าหลวงสเด็ดไปได้ 19 ปี ไนระหว่างนั้น ความนิยมที่จะสึกสาและหาความรู้โบรานคดีไนอินเดียจเรินขึ้นกว่าแต่ก่อนมากแล้ว แม้ตัวฉันเองเมื่อไปถึงอินเดียก็ออกสนุกไนการที่จะพิจารนาขนบทำเนียมที่พ้องกับเมืองไทยดังได้เล่าไว้ไนนิทานเรื่องอื่น ไนนิทานเรื่องนี้จะเล่าถึงพระบริโภคเจดีย์ที่ฉันได้บูชา กับที่ฉันได้เสาะหาของต่าง ๆ ซึ่งเปนพุทธเจดีย์เอามาเมืองไทยไนครั้งนั้น
เมื่อฉันพักหยู่นะเมืองพารานสี ก็ได้ไปกะทำพุทธบูชาที่พระบริโภคเจดีย์ไนมรึคทายวัน แต่ชาวเมืองเรียกชื่อตำบนนั้นว่า "สารนาถ" Sarnath ว่ามาแต่คำ "สารังคนาถ" ภาสามคธแปลว่า "ผู้เปนที่พึ่งของกวาง" มรึคทายวันหยู่นอกเมืองพารานสีทางด้านตะวันออก ห่างแม่น้ำคงคาราวสัก 160 เส้น ไนสมัยเมื่อฉันไปยังร้างรกหยู่มาก กรมตรวดโบรานคดีไนอินเดียเปนแต่ได้ขุดค้นเปนแห่ง ๆ เพื่อหาของโบรานส่งไปเข้าพิพิธภันทสถาน ยังไม่ได้ลงมือขุดเปิดไห้เห็นแผนผัง และจัดการรักสาหย่างเดี๋ยวนี้ ไปมรึคทายวันไนสมัยนั้น ยังแลเห็นแต่พระธัมเมกขเจดีย์สูงตระหง่านเปนสำคันหยู่องค์เดียว กับมีเครื่องสิลาจำหลักซึ่งเพิ่งพบไหม่ ยังไม่ทันส่งไปพิพิธภันทสถานรวมไว้แห่งหนึ่ง ฉันขอมาได้บ้าง ดังจะเล่าต่อไปข้างหน้า นอกจากนั้น ยังแลเห็นแต่ดินเปนโคกน้อยไหย่ไปรอบข้าง พระธัมเมกขเจดีย์นั้น ไนหนังสือนำทางแต่งชั้นหลังบอกขนาดว่า สูงแต่รากขึ้นไปตลอดองค์ราว 24 วา วัดผ่ากลางตอนไหย่ 15 วาครึ่ง และตอนไหย่นั้นเปนสิลาขึ้นไปราว 6 วา เมื่อฉันพิจารนาดูพระธัมเมกขเจดีย์ เกิดความเห็นขึ้นไหม่ผิดกับเข้าไจกันหยู่ไนกรุงเทพฯ ที่ว่า ส้างรูปซงเปน 2 ลอนเหมือนลอมฟางดังกล่าวมาแล้ว เพราะไปสังเกตตอนไหย่ที่หยู่เบื้องต่ำเห็นก่อหุ้มด้วยสิลา ตอนเบื้องบนที่คอดเข้าไปก่อด้วยอิถ ฉันคิดเห็นว่า ที่ดูรูปเปน 2 ลอน น่าจะเปนเพราะการแก้ไขเปลี่ยนแปลง มิไช่แบบเดิมเจตนาจะไห้เปนเช่นนั้น คิดสันนิถานต่อไปเห็นว่า ของเดิมคงก่อหุ้มด้วยสิลาตลอดทั้งองค์ ถูกพวกมิจฉาทิตถิรื้อเอาแท่งสิลาตอนข้างบนไปเสีย เหลือทิ้งไว้แต่แกนอิถ หรือมิฉะนั้น พวกมิจฉาทิตถิเจตนาจะทำลายพระเจดีย์นั้นทั้งหมด แต่รื้อลงมาค้างหยู่ครึ่งองค์ ภายหลังมา มีพวกสัมมาทิตถิไปปติสังขรน์ ก่อแกนอิถขึ้นไปตลอดองค์ แต่ไปค้างหยู่ ไม่ได้ก่อสิลาหุ้มตอนบน จึงเหลือเปนอิถหยู่เช่นนั้น รูปพระเจดีย์เดิมเห็นจะเปนหย่างซงโอคว่ำ ก็เหมือนซงลอมฟางหย่างที่ไม่คอดเช่นว่ามาแล้ว เมื่อไปบูชา ฉันคิดเห็นเพียงเท่านั้น ต่อมาอีกหลายสิบปี จึงได้เห็นรูปพระสถูปเจดีย์แบบเดิมที่เมืองสารเขต อันเปนเมืองโบรานรุ่นเดียวกับเมืองนครปถม หยู่ไกล้เมืองแปรไนประเทสพม่า รูปซงคล้ายกับโอคว่ำหรือโคมหวดคว่ำ มีบัลลังก์ปักฉัตรเปนยอดหยู่ข้างบน ชั้นประทักสินทำแต่เหมือนหย่างบันไดขั้นเดียวติดกับถานพระสถูป พระสถูปเจดีย์เมืองอนุราธบุรีไนลังกาทวีปที่ส้างชั้นเดิมก็เปนรูปเช่นว่า และได้เห็นรูปภาพไนหนังสืออังกริดแต่งว่าด้วยพุทธเจดีย์ไนคันธารราสด์ก็ว่า พระสถูปชั้นเดิมรูปเปนหย่างนั้น แล้วกล่าวอธิบายต่อไปว่า ชาวอินเดียแต่โบรานกลัวบาป ไม่รื้อแย่งพระเจดีย์ ถ้าจะบุรนะปติสังขรน์ ก็มีแต่ก่อพอกเพิ่มพระเจดีย์เดิม เปนเหตุไห้รูปซงพระเจดีย์เปลี่ยนไปดังปรากตไนชั้นหลัง แม้พระธัมเมกขเจดีย์ที่มรึคทายวันเขาก็ตรวดพบว่า มีองค์เดิมซึ่งสันนิถานว่า ส้างครั้งพระเจ้าอโสกมหาราชหยู่ข้างไนไม่สู้ไหย่นัก ก่อองค์ที่ยังแลเห็นอิถครอบองค์เดิม แล้วยังมีผู้สัทธามาก่อสิลาครอบเข้าข้างนอกอีกชั้นหนึ่ง แต่ทำไม่สำเหร็ดค้างหยู่ เขาสังเกตลวดลายที่จำหลักว่า เปนแบบของช่างสมัยราชวงส์สุงคะราว พ.ส. 450 พระธัมเมกขเจดีย์จึงกลายเปนรูป 2 ลอนด้วยประการฉะนี้ ถ้าเปนเช่นเขาว่า ที่ฉันสันนิถานว่า เปนเพราะมิจฉาทิตถิทำร้ายก็ผิดไป ถึงไทยเราก็ถือเปนคติมาแต่ดั้งเดิมเหมือนเช่นชาวอินเดียว่า ไม่ควนรื้อแย่งพุทธเจดีย์ แม้เพื่อจะบุรนะปติสังขรน์ มีตัวหย่างจะอ้างได้ง่าย ๆ เช่น พระบาทสมเด็ดพระจอมเกล้าเจ้าหยู่หัวซงส้างพระปถมเจดีย์ ก็ซงส้างพระมหาสถูปครอบพระปถมเจดีย์องค์ก่อน หาได้ซงรื้อแย่งองค์เดิมหย่างไดไม่
มหาเจดียสถานไนอินเดีย ที่เรียกว่า "บริโภคเจดีย์" มี 4 แห่ง ล้วนมีเรื่องเนื่องด้วยพุทธประวัติว่า เมื่อพระพุทธเจ้าซงประชวรคราวจะสเด็ดเข้าพระนิพพาน พระอานนท์ทูนปรารภความวิตกว่า เมื่อพระพุทธองค์สเด็ดล่วงลับไปแล้ว พวกพุทธบริสัทซึ่งได้เคยเฝ้าแหนเห็นพระองค์หยู่เนืองนิจจะพากันเปลี่ยวเปล่าเส้าไจ พระพุทธเจ้าจึงซงพระกรุนาโปรดประทานอนุญาตไว้ว่า ถ้าพวกพุทธบริสัทไครเกิดว้าเหว่ ก็ไห้ไปปลงธัมสังเวชนะสถานที่อันเนื่องกับพระพุทธประวัติ 4 แห่ง คือที่พระพุทธองค์ประสูติไนสวนลุมพินีนะเมืองกบิลพัสดุ์แห่งหนึ่ง ที่พระพุทธองค์ตรัดรู้พระโพธิญานนะเมืองคยาแห่งหนึ่ง ที่พระพุทธองค์ซงสแดงปถมเทสนาตั้งพระสาสนาไนมรึคทายวันนะเมืองพารานสีแห่งหนึ่ง ที่พระพุทธองค์สเด็ดเข้าพระนิพพานไนป่าสาลวันนะเมืองกุสินาราแห่งหนึ่ง จะไปยังแห่งไดแห่งหนึ่งก็ได้ตามแต่จะสะดวก เพราะฉะนั้น จำเดิมแต่ล่วงพุทธกาล พวกพุทธบริสัทก็พากันไปกะทำพุทธบูชานะที่ 4 แห่งนั้นสืบมา เรียกว่า บริโภคเจดีย์ เพราะเกี่ยวกับพระองค์พระพุทธเจ้า ก็บริโภคเจดีย์ทั้ง 4 นั้นมีคนไปบูชาที่มรึคทายวันมากกว่าแห่งอื่น เพราะหยู่ไนชานมหานคร แต่อีก 3 แห่งหยู่ไนเขตเมืองน้อย มหาเจดียสถานที่มรึคทายวันจึงไหย่โตกว่าแห่งอื่น กรมตรวดโบรานคดีพบของโบรานมีแบบกะบวนช่าง สังเกตได้ว่า บุรนะปติสังขรน์มาทุกสมัยเมื่อยังมีพุทธสาสนิกชนหยู่ไนอินเดีย และถูกพวกมิจฉาทิตถิรื้อทำลายยิ่งกว่าที่ไหน ๆ เพราะหยู่ไกล้มหานครกว่าแห่งอื่น
เมืองคยาเปนเมืองน้อย เมื่อสมเด็ดพระพุทธเจ้าหลวงสเด็ดไปอินเดีย ยังไม่มีทางรถไฟไปถึง จึงไม่ได้สเด็ดไป เมื่อฉันไป มีทางรถไฟแล้ว ถึงกะนั้น รัถบาลอินเดียก็ไม่ได้กะจะไห้ไป หากฉันหยากบูชาพระบริโภคเจดีย์ที่พระพุทธเจ้าตรัดรู้พระโพธิญาน เขาจึงจัดไห้ไปตามประสงค์ พอไปถึง ก็เห็นความลำบากของรัถบาล เพราะไม่มีที่จะไห้พัก ต้องแบ่งห้องไนเรือนของเจ้าเมืองไห้ฉันหยู่ และเอากะโจมเต็นต์ผ้าไบไปปักที่ลานบ้านเจ้าเมืองไห้คนอื่นที่ไปกับฉันหยู่อีกหลายหลัง แต่มีดีกว่าที่อื่นหย่างหนึ่งที่มีมิสเตอร์เครียสัน เจ้าเมือง เปนนักเรียนโบรานคดีทั้งเรื่องสาสนาและภาสาของชาวอินเดีย พายหลังมาได้เปนเซอร์ มีชื่อเสียงเปนนักปราชญ์สำคันคนหนึ่ง พอรู้ว่า ฉันจะไป ก็เตรียมต้นโพธิพรรนพระสรีมหาโพธิที่พระพุทธเจ้าตรัดรู้ปลูกไส่กะบอกไม้ไผ่ไว้ไห้ 3 ต้นสำหรับจะได้เอามาเมืองไทย แต่จะรอเรื่องต้นโพธินั้นไว้เล่าต่อไปข้างหน้า มิสเตอร์เครียสันบอกว่า ที่ไนแขวงเมืองคยานั้นยังมีของโบรานเนื่องด้วยพระพุทธสาสนาจมหยู่ไนแผ่นดินอีกมากมายหลายแห่ง เสียดายที่ฉันไปหยู่น้อยวันนัก ถ้ามีเวลาพอ จะพาไปเมืองราชครึห์ของพระเจ้าพิมพิสาร เปนเมืองร้างทางเกวียนไปสักวันหนึ่ง เตรียมจอบเสียมไปด้วย อาดจะขุดหาของโบรานได้สนุกดีทีเดียว
ที่เมืองคยานั้น มีเจดียสถานของโบรานที่คนนับถือมากสองแห่ง คือ ที่ตำบนคยาสิระ มีวัดวิสนุบาท เปนที่นับถือของพวกฮินดูแห่งหนึ่ง กับวัดพุทธคยา เปนที่นับถือของพวกถือพระพุทธสาสนาแห่งหนึ่ง แม้ที่พุทธคยา พวกฮินดูก็ไปบูชา เพราะพวกฮินดูที่เมืองคยาถือคติฝ่ายวิสนุเวทโดยมาก ถือว่า พระวิสนุอวตารลงมาเปนพระพุทธเจ้า ดังกล่าวไนเรื่องนารายน์สิบปาง จึงมีคนต่างด้าวทั้งพวกฮินดูและพวกถือพระพุทธสาสนาพากันไปบูชาที่เจดียสถานทั้งสองแห่งนั้นตั้งปีละ 100,000 คนเปนนิจ
พระมหาเจดียสถานที่พุทธคยาหยู่ห่างเมืองคยาสักระยะทางราว 75 เส้น มีถนนไปรถเทียมม้าคู่ได้ตลอดทาง ต้องผ่านวัดคยาสิระของพวกฮินดูไปก่อน วัดนั้นหยู่กลางหมู่บ้านของพวกชาวเมือง ฉันแวะเข้าไปดู พวกฮินดูก็พากันต้อนรับ พาเข้าไปไนวัด และเลี้ยงดูโดยเอื้อเฟื้อ เรื่องตำนานของวัดนั้นว่า เดิมมียักส์ตนหนึ่งชื่อว่า คยา เปนสัตว์บาปหยาบช้าเที่ยวเบียดเบียนมนุส จึงร้อนถึงพระวิสนุ คือ พระนารายน์ สเด็ดลงมาปราบยักส์ตนนั้น เอาพระบาทขวาเหยียบอกตัดหัวยักส์โยนไป แล้วสาปไห้หัวยักส์กลายเปนหินเช่นปรากตหยู่ รอยพระบาทของพระวิสนุที่เหยียบอกก็ปรากตหยู่ด้วย จึงเรียกเจดียสถานนั้นว่า "วิสนุบาท" พวกฮินดูเชื่อกันว่า ถ้าไครไปบูชา อาดจะอธิถานช่วยญาติที่ตายไปแล้วไห้พ้นอบายภูมิได้ จึงพากันไปบูชาหาบุญเพื่อเหตุนั้น ฉันเข้าไปเยี่ยมดูเพียงประตูวิหาร จะเข้าไปไนนั้น เกรงว่า พวกฮินดูจะรังเกียด เห็นมีสิลาสีดำเทือกหนึ่งซึ่งสมมตว่า เปนตัวยักส์คยา ยาวสัก 8 สอก ดูรูปคล้ายกับคนนอน หยู่บนถานชุกชีกลางวิหาร ทำนองเดียวกันกับม้วนผ้าที่บนพระแท่นดงรังไนเมืองไทย รอยวิสนุบาทฉันไม่ได้เห็น แต่เขาพรรนนาไว้ไนหนังสือนำทางว่า ทำรูปพระบาทด้วยแผ่นเงินขนาดกว้างยาวเท่า ๆ กับตีนคน ติดไว้กับพื้นโพรงหินอันมีหยู่ตรงอกของรูปยักส์ แต่พวกชาวบ้านจำลองรูปพระบาททำด้วยแผ่นทองแดง และทำของอื่น ๆ ด้วยสิลาดำ เช่นเดียวกับที่เปนตัวยักส์จำหลักรูปวิสนุบาทติดไว้ขายพวกสัปบุรุสหลายหย่าง ตำบนคยาสิระนี้ดูชื่อพ้องกับนิทานวัจนนำอาทิตตปริยายสูตร ซึ่งว่า "คยายํ วิหรติ คยาสีเส" น่าจะหมายความว่า "พระพุทธเจ้าซงสแดงพระสูตรนั้นนะตำบนคยาสิระไนแขวงเมืองคยา" คือ ไนตำบนที่ฉันไปนั่นเอง นิทานเรื่องพระนารายน์ปราบยักส์คยาน่าจะเกิดขึ้นต่อภายหลังพุทธกาล ด้วยเอาคำ "คยาสีเส" หรือ "คยาสิระ" มาผูกขึ้นเปนเรื่องยักส์มารดังกล่าวมา
ฉันไปพุทธคยาครั้งนั้น นึกคาดไปว่า จะได้เกียรติเปนไทยคนแรกที่ได้ไปสืบพระสาสนาถึงที่พระพุทธเจ้าตรัดรู้พระโพธิญาน เหมือนเช่นสมเด็ดพระพุทธเจ้าหลวงสเด็ดไปสืบสาสนาถึงมรึคทายวันที่พระพุทธเจ้าซงประกาสตั้งพระพุทธสาสนา แต่เมื่อไปถึงวัดพุทธคยา พอเข้าประตูวิหาร เห็นผ้ากราบพระปักตรางานหลวงไนเมืองไทยผูกห้อยหยู่ผืนหนึ่ง ก็สิ้นกะหยิ่มไจ ด้วยมีพระภิกสุไทยองค์ไดองค์หนึ่งได้ไปถึงเสียก่อนแล้ว พิจารนาดูหนังสือไทยที่เขียนไว้กับผ้ากราบ บอกชื่อว่า "พระสังกันตเนตรได้มาบูชา" ฉันก็รู้จักตัว คือ พระสมุห์เนตร วัดเครือวัลย์ฯ พายหลังมาได้เปนพระราชาคนะที่พระสมุทมุนี ซึ่งเปนพระชอบเที่ยวธุดงค์มาแต่ยังหนุ่มจนขึ้นชื่อลือนาม แต่ฉันไม่ได้คาดว่า จะสามาถไปได้ถึงพุทธคยาไนอินเดียไนสมัยนั้น ก็ประหลาดไจ ที่ตำบนพุทธคยามีแต่วัดพระสรีมหาโพธิ หรือถ้าเรียกหย่างไทยก็ว่า "วัดโพธิ" กับบ้านพวกพราหมน์มหันต์หยู่หมู่หนึ่ง ไม่มีบ้านเรือนราสดรห้อมล้อมเหมือนเช่นที่วัดวิสนุบาท เพราะที่ดินตำบนนั้นเปนกรรมสิทธิ์ของพวกพราหมน์มหันต์ ดังจะบอกเหตุต่อไปข้างหน้า ที่วัดหยู่ห่างฝั่งลำน้ำเนรัญชรที่พระพุทธเจ้าซงลอยถาดไม่ถึง 10 เส้น แต่ลำน้ำเนรัญชรนั้น เวลาเมื่อฉันไป เปนรึดูแล้ง น้ำแห้งขาด แลดูท้องน้ำเปนแต่พื้นซายเม็ดไหย่ แต่เขาว่า ขุดลงไปตรงไหนก็ได้น้ำที่ไหลหยู่ไต้ซายเสมอ ตัววัดพระสรีมหาโพธิ เมื่อฉันไป มีสิ่งสำคันแต่พระปรางค์ไหย่หยู่ด้านหน้าทางทิสตะวันออกองค์หนึ่ง หลังพระปรางค์เข้าไปมีพระแท่น "รัตนบัลลังก์" เปนสิลาจำหลักแผ่นไหย่ ว่า พระเจ้าอโสกมหาราชซงส้างประดิสถานไว้ตรงที่พระพุทธเจ้าประทับเมื่อตรัสรู้ที่ไกล้โคนต้นพระสรีมหาโพธิแผ่นหนึ่ง ต่อพระแท่นไปก็ถึงต้นพระสรีมหาโพธิ มีถานก่อล้อมรอบต้นพระสรีมหาโพธิ เมื่อฉันไป ขนาดลำต้นราวสัก 4 กำ เปนทายาทสืบสันตติพรรนมาแต่พระสรีมหาโพธิต้นเดิมที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้สักกี่ชั่วแล้วไม่มีไครรู้ รู้แต่ว่า สืบพืชพรรนมาแต่พระสรีมหาโพธิต้นเดิมหยู่ไนที่เดียวกันมาจนกาลบัดนี้ ลานวัดปราบเปนที่ราบออกไปสัก 2 เส้น 4 เหลี่ยมมีกำแพงล้อม นอกกำแพงออกไปยังเปนกองดินสูงบ้างต่ำบ้างเปนพืดไป กรมตรวดโบรานคดียังไม่ได้ขุดค้น
เรื่องตำนานของวัดพระสรีมหาโพธิพุทธคยา เมื่อตอนก่อนสมัยพระเจ้าอโสกมหาราช แม้เปนที่พุทธสาสนิกชนไปบูชามาแต่แรกพระพุทธเจ้าสเด็ดเข้าพระนิพพาน ก็ไม่ปรากตสิ่งไดที่ส้างไว้ก่อน พ.ส. 200 ของเก่าที่พบมีแต่ของครั้งพระเจ้าอโสกมหาราช ว่า ซงส้างพระแท่นรัตนบัลลังก์กับวิหารขนาดน้อยไว้ข้างหน้าต้นโพธิเปนที่คนไปบูชาหลังหนึ่ง ต่อมาเมื่อพระพุทธสาสนาจเรินแพร่หลายไนอินเดีย มีผู้สัทธาไปส้างเจดีย์วัตถุและเครื่องประดับต่าง ๆ เพิ่มเติมต่อมาโดยลำดับ ผู้ตรวดเขาสังเกตแบบลวดลายตามสมัย ได้เค้าว่า มีชาวอินเดียปติสังขรน์มาจนราว พ.ส. 1500 ก่อนพระพุทธสาสนาจะถูกกำจัดจากอินเดียไม่นานนัก แต่การบุรนะปติสังขรน์สิ่งสำคัน คือ พระปรางค์ที่เปนหลักวัดหยู่เดี๋ยวนี้ เขาสันนิถานว่า ถึงสมัยเมื่อเกิดนิยมทำพระพุทธรูปไนราว พ.ส. 500 มีผู้ส้างแปลงวิหารของพระเจ้าอโสกมหาราช ซึ่งเดิมเปนแต่ที่สำหรับคนบูชาพระสรีมหาโพธิไห้ไหย่ขึ้นกว่าเก่า เปนที่ตั้งพระพุทธรูปด้วย ต่อมาถึง พ.ส. 1000 เสส มีมหาพราหมน์คนหนึ่งชื่อ อมรเทวะ เปนปุโรหิตของพระเจ้าวิกรมาทิตย์นะเมืองมัลวา เข้ารีดเลื่อมไสไนพระพุทธสาสนา มาส้างแปลงวิหารนั้นเปนพระปรางค์องค์ที่ยังปรากตหยู่บัดนี้ แบบหย่างรูปซงผิดกับพระเจดีย์บันดาที่มีไนอินเดียทั้งหมด คงเปนเพราะพราหมน์อมรเทวะเคยถือไสยสาตร ชอบแบบหย่างเทวาลัยหยู่ก่อน เอาเค้าเทวาลัยกับพระเจดีย์ทางพระพุทธสาสนาผสมกัน ทำตอนยอดเปนพระสถูป ตอนกลางเปนปรางค์ ตอนล่างเปนวิหารที่ตั้งพระพุทธรูป เพราะฉะนั้น จึงแปลกกับที่อื่น ส้างด้วยก่ออิถถือปูนทั้งองค์ สันถานเปน 4 เหลี่ยมสูงตลอดยอด 30 วา ตอนล่างที่เปนวิหารกว้าง 8 วา สูง 4 วาเสส ทำคูหาตั้งพระพุทธรูปปางมารวิชัย ขนาดหน้าตักสัก 3 สอก เปนประธาน ที่ฝาผนังวิหารมีช่องบันไดขึ้นไปบนหลังคา ซึ่งทำเปนหลังคาตัด ลานทักสินรอบพระปรางค์ไหย่องค์กลาง และมีปรางค์น้อยตามมุมลานทักสิน 4 องค์ ปรางค์ไหย่ก็เปนรูป 4 เหลี่ยมซงสอบขึ้นไปทางยอด ทำซุ้มจรนำมีคูหาสำหรับตั้งพระพุทธรูปเรียงรอบพระปรางค์เปนชั้น ๆ ขึ้นไป 9 ชั้น ถึงที่สุดปรางค์ทำพระสถูปเจดีย์กลมไว้เปนยอด เมื่อไหม่ ๆ ดูก็เห็นจะงามแปลกตา
ครั้นถึงสมัยเมื่อพระพุทธสาสนาถูกพวกมิจฉาทิตถิล้างผลานที่ไนอินเดีย มีพวกชาวอินเดียที่ถือพระพุทธสาสนาพากันหนีไปพึ่งพระเจ้าราชาธิราชพม่านะเมืองพุกามอันเปนพุทธสาสนูปถัมภกเปนอันมาก คงไปทูนพรรนนาถึงพุทธเจดียสถานไนอินเดียไห้พระเจ้าคันชิต ราชาธิราชพระองค์ที่ 3 ซงซาบ จึงซงเลื่อมไสสัทธาไห้ปติสังขรน์พระปรางค์พุทธคยาเมื่อราว พ.ส. 1655 ครั้งหนึ่ง ต่อมา พระเจ้าอลองคสิทธุ ราชาธิราชพระองค์ที่ 4 ไปปติสังขรน์อีกครั้งหนึ่ง และพระเจ้าติโลมินโล ราชาราชาธิราชองค์ที่ 9 ไห้ไปถ่ายแบบพระปรางค์พุทธคยาไปส้างไว้ที่เมืองพุกามเมื่อราว พ.ส. 1753 องค์หนึ่ง เลยมีเรื่องต่อมาถึงเมืองไทย ด้วยมีพระเจดีย์โบรานก่อด้วยสิลาแลงหยู่ที่เมืองเชียงไหม่องค์หนึ่ง ชาวเมืองเรียกว่า "พระเจดีย์เจ็ดยอด" รูปสันถานทำหย่างพระปรางค์พุทธคยา ฉันได้เคยเห็นทั้งองค์ที่พุทธคยาและองค์ที่เมืองพุกาม จึงอ้างได้แน่ว่า องค์ที่เมืองเชียงไหม่คงถ่ายแบบมาจากองค์ที่เมืองพุกาม เปนแต่ย่อขนาดไห้ย่อมลงสักหน่อย และน่าจะส้างเมื่อก่อน พ.ส. 1800 ไนสมัยเมื่อเมืองเชียงไหม่ยังเปนเมืองขึ้นพระเจ้าราชาธิราชเมืองพุกาม อาดจะมีเจ้านายราชวงส์พุกามมาครอบครอง (บางทีจะเปนองค์ที่อภิเสกกับนางจามเทวี) เอาหย่างพระปรางค์มาจากเมืองพุกามและส้างหย่างประนีตถึงเพียงนั้น ความส่อต่อไปว่า ที่ไนหนังสือพงสาวดารเชียงไหม่ว่า พระยามังรายส้างเมืองเชียงไหม่เมื่อ พ.ส. 1839 นั้น ที่จริงส้างไนท้องที่เมืองเก่าอันร้างหยู่ มิได้ส้างไนที่ป่าเถื่อน เรื่องตำนานพระปรางค์ที่พุทธคยายังมีต่อมาว่า เมื่อ พ.ส. 2420 พายหลังสมเด็ดพระพุทธเจ้าหลวงสเด็ดไปอินเดีย 5 ปี พระเจ้ามินดงประเทสพม่าไคร่จะบำเพ็นพระราชกุสลตามเยี่ยงหย่างพระเจ้าราชาธิราชพม่าแต่ปางก่อน ไห้ไปขออนุญาตต่อรัถบาลอังกริดปติสังขรน์พระปรางค์พุทธคยาอีกครั้งหนึ่ง แต่พม่าไปปติสังขรน์ครั้งนี้ นักโบรานคดีอังกริดยังติเตียนกันหยู่จนทุกวันนี้ว่า เหมือนไปทำลายยิ่งกว่าไปทำไห้กลับคืนดี เพราะข้าหลวงพม่ามีความคิดเพิ่มจะก่อกำแพงล้อมรอบ กับจะปราบที่ไนลานวัดทำไห้ราบรื่น รื้อแย่งเครื่องสิลาของโบรานที่ส้างไว้ไนบริเวนขนเอาออกไปทิ้งเสียโดยมาก ทั้งเที่ยวรื้อเอาอิถตามโบรานสถานไนที่มีหยู่ไกล้ ๆ ไปก่อกำแพงวัดที่ทำนั้น ทำไห้ยิ่งยับเยินหนักไป แม้ที่องค์พระปรางค์ก็กะเทาะเอาลวดลายปั้นของเดิมที่ยังเหลือหยู่ออกเสีย เอาปูนยารอยที่ชำรุดแล้วทาปูนขาวฉาบทั่วทั้งองค์ เอาเปนสำเหร็ดเพียงนั้น ต่อมา จะเปนด้วยรัถบาลอินเดียรู้สึกเองว่า ที่ได้อนุญาตไห้พม่าปติสังขรน์โดยไม่ควบคุมผิดไป หรือจะเปนด้วยถูกพวกนักโบรานคดีติเตียนมาก เจ้าเมืองบังกล่า Bengal จึงไห้ปติสังขรน์องค์พระปรางค์อีกครั้งหนึ่ง ตกแต่งถือปูนเรียบร้อยทั้งองค์ เห็นจะสำเหร็ดก่อนฉันไปไม่ช้านัก และดูยังไหม่ และมีสิลาจารึกบอกไว้ แต่ฉันจำสักราชไม่ได้ว่า ปติสังขรน์เมื่อปีได
เมื่อฉันไปถึงวัดพุทธคยา พวกพราหมน์มหันต์ Mahant พากันมาต้อนรับ พอฉันบูชาพระและเที่ยวดูทั่วเขตวัดแล้ว เชินไปพักที่เรือนมหาพราหมน์ผู้เปนหัวหน้าพวกมหันต์ มีพิธีต้อนรับ เช่น สวมพวงมาลัยไห้ แล้วจัดของว่างมาเลี้ยง เปนต้น ที่วัดพุทธคยามีเครื่องสิลาจำหลักของโบรานเหลือหยู่มากกว่าที่มรึคทายวัน พวกพราหมน์มหันต์เก็บเอามาประดับประดาไว้ตามที่ต่าง ๆ ฉันหยากได้สิ่งไหนออกปากขอ ก็ยอมไห้โดยเต็มไจไม่ขัดขวาง ฉันเลือกแต่ของที่แปลกตาขนาดเล็ก ๆ พอจะเอามาด้วยได้สักสี่ห้าสิ่ง บางสิ่งก็มาเปนของสำคันดังจะเล่าที่อื่นต่อไป เหตุที่พวกพราหมน์มหันต์จะได้เปนเจ้าของวัดพุทธคยานั้น ปรากตว่า กว่า 200 ปีมาแล้ว ไนสมัยบริสัทอังกริดยังปกครองอินเดียขยายอานาเขตออกไปถึงมัชชิมประเทส จัดวิธีการปกครองด้วยแบ่งที่ดินไห้ชาวอินเดียที่ฝักฝ่ายหยู่ไนอังกริด และเปนคนมีกำลังพาหนะที่จะปกครองถือที่ดิน เรียกว่า ซามินดาร์ Zamindar มีอานาเขตเปนส่วน ๆ ไหย่บ้างเล็กบ้าง ต้องบังคับบัญชาการตามกดหมายอังกริด และส่งเงินส่วยแก่รัถบาลอินเดียตามกำหนดที่ตกลงกัน ถ้าซามินดาร์กะทำตามสัญญาหยู่ตราบได รัถบาลยอมไห้ผู้สืบสกุลมีสิทธิเช่นเดียวกันเสมอไป ก็ไนสมัยเมื่อตั้งวิธีปกครองเช่นว่านั้น ที่ตำบนพุทธคยาเปนป่าร้าง มีแต่พวกพราหมน์มหันต์ตั้งบ้านเรือนหยู่ มหาพราหมน์ผู้เปนหัวหน้าได้รับตำแหน่งเปนซามินดาร์ปกครองตำบนพุทธคยา และมหาพราหมน์ที่เปนทายาทได้รับสิทธิปกครองสืบกันมา วัดพุทธคยาหยู่ไนอานาเขตที่ดินของพวกพราหมน์มหันต์ ๆ จึงถือว่า เปนผู้ปกครองวัดพุทธคยา และดูแลรักสาเปนเทวสถานตามลัทธิวิสนุเวทไนสาสนาของตนด้วย
ไนครั้งนั้น ผเอินฉันต้องไปรับรู้เรื่องตั้งมหาโพธิสมาคมอันเนื่องกับเจดียสถานที่พุทธคยา จะเลยเล่าไว้ไนที่นี้ด้วย เมื่อฉันออกจากเมืองคยามาพักหยู่ที่เมืองกัลกัตตา มีชายหนุ่มเปนชาวลังกาชื่อ "ธัมมปาละ" มาหาฉันด้วยกันกับพ่อค้าพม่าคนหนึ่ง นายธัมมปาละบอกว่า พวกเขาคิดจะฟื้นพระพุทธสาสนาไห้กลับนับถือกันไนอินเดียดังแต่เดิม ความคิดที่พวกเขาจะทำการนั้น เขาจะเอาที่พระมหาเจดีย์พุทธคยาตั้งเปนแหล่ง แล้วชวนพุทธสาสนิกชนทั่วทุกชาติทุกภาสาไห้ร่วมมือช่วยกันจัดการสอนพระพุทธสาสนาไห้มีคนนับถือแพร่หลายไนอินเดีย ต่อนั้นไป ก็จะได้ทำนุบำรุงพระเจดียสถานต่าง ๆ ไห้พระพุทธสาสนากลับเปนส่วนไหย่อันหนึ่งไนสาสนาต่าง ๆ ที่ไนอินเดีย และเอาเปนที่ประชุมของพุทธสาสนิกชนทั่วทั้งโลก ไนเวลานั้น มีชาวลังกาและพม่าเข้าร่วมมือกับเขาหลายคนแล้ว จึงตั้งเปนสมาคมไห้ชื่อว่า "มหาโพธิ" ตามนามมหาเจดีย์นะพุทธคยาที่เขาจะเอาเปนแหล่งฟื้นพระพุทธสาสนา แต่มีความขัดข้องเกิดขึ้นหย่างหนึ่ง ด้วยพวกพราหมน์มหันต์อ้างว่า ที่ดินตำบนพุทธคยากับทั้งมหาเจดียสถานเปนสมบัติของตน ไม่ยอมไห้สมาคมมหาโพธิไปตั้งสถานีนะที่นั้น จะขอซื้อฉเพาะตรงที่วัดก็ไม่ขาย นายธัมมปาละมาหาฉัน ด้วยเห็นว่า เปนเจ้านายประเทสไทยอันเปนประเทสสำคันที่นับถือพระพุทธสาสนาประเทสหนึ่ง เพื่อจะขอไห้ฉันช่วยพูดจากับอุปราช Viceroy อินเดียไห้ไช้อำนาดรัถบาลบังคับพวกพราหมน์มหันต์ไห้มอบวัดพระมหาโพธิอันเปนวัดไนพระพุทธสาสนาคืนไห้เปนวัดของพวกพุทธสาสนิกชนตามเดิม ฉันตอบว่า ที่พวกเขาคิดจะฟื้นพระพุทธสาสนาไนอินเดียนั้น ฉันก็ยินดีอนุโมทนาด้วย แต่ที่จะไห้ไปพูดกับอุปราชไนเรื่องวัดพระมหาโพธินั้น ฉันเห็นจะรับธุระไม่ได้ ด้วยการนั้นเปนการภายไนบ้านเมืองของอินเดีย ตัวฉันเปนชาวต่างประเทส ทั้งเปนแขกของรัถบาล ที่จะเอื้อมเข้าไปพูดจาร้องขอถึงกิจการพายไนบ้านเมืองของเขา ไม่สมควนจะพึงทำ ฉันพูดต่อไปว่า ธัมมะเปนตัวพระสาสนา อิถปูนไม่สำคันอันได สอนพระธัมที่ไหนก็สอนได้ ทำไมจึงจะเริ่มฟื้นพระสาสนาด้วยตั้งวิวาทแย่งวัดกัน ดูไม่จำเปนเลย นายธัมมปาละคงไม่พอไจไนคำตอบ พูดกันเพียงเท่านั้น ต่อมา นายธัมมปาละเข้ามากรุงเทพฯ ได้สแดงปาถกถาชวนไทยไห้ร่วมมือหลายครั้ง แต่ดูเหมือนจะไม่ได้เงินไปจากเมืองไทยสักเท่าไดนัก เพราะมีคนฟังปาถกถาภาสาอังกริดเข้าไจไม่มากนัก แม้คนที่ฟังเข้าไจก็มิไคร่มีไครชอบปติภานของนายธัมมปาละ ด้วยแกชอบไช้โวหารชวนไห้แค้นพวกมิจฉาทิตถิที่ได้พยายามทำลายพระพุทธสาสนามากว่า 700 ปี ทำไห้เห็นความประสงค์ที่จะไปฟื้นพระพุทธสาสนาแปรไปคล้ายกับจะไปแก้แค้นพวกมิจฉาทิตถิยิ่งกว่าไปทำบุญ ก็มักมิไคร่มีไครเลื่อมไส เมื่อนายธัมมปาละพยายามไปเที่ยวขอความช่วยเหลือตามประเทสต่าง ๆ ที่ถือพุทธสาสนา ได้เงินพอเปนทุน ก็ไช้นามมหาโพธิสมาคมฟ้องขับไล่พวกพราหมน์มหันต์เปนความกันไนสาลที่เมืองกัลกัตตา สาลตัดสินไห้มหาโพธิสมาคมแพ้คดี ด้วยอ้างว่า พวกพราหมน์มหันต์ได้มีกัมสิทธิ์ปกครองที่ดินมาหลายร้อยปีแล้ว และวัดพุทธคยานั้นพวกพราหมน์มหันต์ก็ได้ดูแลรักสานับถือว่า เปนวัดไนสาสนาของเขาเหมือนกัน นายธัมมปาละไม่ได้วัดพุทธคยาสมประสงค์ จึงเปลี่ยนที่ไปตั้งสถานีที่มรึคทายวันนะเมืองพารานสี ทำนองที่วัดไนมรึคทายวันจะเปนที่หลวง จึงได้รับความอุดหนุนของรัถบาลอินเดีย มหาโพธิสมาคมก็สามาถตั้งสถานีนะที่นั้นส้างวัดขึ้นไหม่ ขนานนามว่าวัด "มูลคันธกุดีวิหาร" และต่อมา ไปทำทางไมตรีดีกับพวกพราหมน์มหันต์ ๆ ก็ยอมไห้มหาโพธิสมาคมส้างที่พักของพวกพุทธสาสนิกชนขึ้นไกล้กับบริเวนวัดพุทธคยานั้น จึงมีสถานีอันเปนของพุทธสาสนิกชนเกิดขึ้นไนอินเดีย 2 แห่ง เปนที่พักอาสัยของพุทธสาสนิกชนทุกชาติ แม้พระภิกสุไทยไปก็ได้อาสัยมาจนบัดนี้ เปนอันสมประสงค์ของนายธัมมปาละที่จะฟื้นพระสาสนาเพียงเท่าที่สามารถจะเปนได้ แต่น่าชมความสัทธาและอุตสาหะของนายธัมทปาละว่า เปนหย่างยอดเยี่ยม ด้วยได้พยายามมากว่า 30 ปี ไนระหว่างนั้น สู้สละทรัพย์สมบัติบ้านเรือนออกเปนคนจรจัด เรียกตนเองว่า "อนาคาริกะ" ขวนขวายทำแต่การที่จะฟื้นพระพุทธสาสนาไนอินเดียหย่างเดียว เที่ยวชักชวนหาคนช่วยไปตามประเทสน้อยไหย่จนรอบโลก ครั้นการสำเหร็ด ตั้งสถานีของพุทธสาสนิกชนได้ไนอินเดียแล้ว นายธัมมปาละก็ออกอุปสมบทเปนพระภิกสุหยู่จนตราบเท่าถึงมรนะภาพ ควนนับว่า เปนวีรบุรุสได้ชนิดหนึ่ง
นอกจากไปบูชามหาเจดียสถานทั้ง 2 แห่งที่พรรนนามาแล้ว เมื่อไปอินเดีย ฉันได้เสาะหาของที่เนื่องกับพระพุทธสาสนามาถวายสมเด็ดพระพุทธเจ้าหลวงด้วยหลายสิ่ง จะเล่าถึงเรื่องที่หาสิ่งของเหล่านั้นต่อไป
แต่ก่อนฉันไปอินเดียหลายปี เห็นจะเปนไนราว พ.ส. 2428 เมื่อครั้งกรมพระนเรสรวรริทธิ์เปนตำแหน่งราชทูตไทยหยู่นะกรุงลอนดอน มีข่าวเข้ามาถึงกรุงเทพฯ ว่า รัถบาลอินเดียพบพระบรมธาตุพระพุทธเจ้าที่ไนพระเจดีย์โบราน แล้วส่งไปไว้พิพิธภันทสถาน British Museum นะกรุงลอนดอน เมื่อกรมพระนเรสรฯ สเด็ดกลับมากรุงเทพฯ กรมสมเด็ดพระปวเรสวริยาลงกรน์ตรัดถามว่า พระบรมธาตุที่อังกริดพบไนอินเดียนั้นลักสนะเปนหย่างไร กรมพระนเรสรฯ ทูนว่า ไม่ได้ไปทอดพระเนตร กรมสมเด็ดพระปวเรสฯ ตรัดบ่นว่า กรมพระนเรสรฯ ไม่เอาพระทัยไส่ไนพระพุทธสาสนา เมื่อฉันไปยุโรป ไปถึงลอนดอน ก่อนมาอินเดีย นึกขึ้นถึงเรื่องนั้น วันฉันไปดูพิพิธภันท์สถาน จึงขอไห้เจ้าพนักงานเขาพาไปดูพระบรมธาตุพระพุทธเจ้าที่ได้ไปจากอินเดีย ไปเห็นก็เกิดพิสวง ด้วยพระบรมธาตุที่ว่านั้นเปนกะดูกคน มิไช่ธาตุที่คล้ายกับปูนเช่นเรานับถือกันไนเมืองไทย ฉันเห็นพระธาตุที่เขาได้ไปมีมากประมานสักฟายมือหนึ่ง นึกว่า ถ้าฉันขอแบ่งเอามาเมืองไทยสักสองสามชิ้น รัถบาลอังกริดก็เห็นจะไห้ จึงถามเจ้าพนักงานพิพิธภันทสถานว่า ที่อ้างว่า เปนพระบรมธาตุพระพุทธเจ้านั้น มีหลักถานหย่างไร เขาบอกว่า ที่ผ้าห่อพระธาตุมีหนังสือเขียนบอกไว้เปนสำคันว่า เปนพระธาตุพระพุทธเจ้า ผู้บอกเขาเปนนักเรียนโบรานคดี บอกต่อไปว่า หนังสือที่เขียนไว้นั้นเปนแบบตัวอักสรซึ่งไช้ไนอินเดียเมื่อราวสตวัสที่ 6 แห่งคริสตสก หรือถ้าว่าอีกหย่างหนึ่ง คือ แบบตัวหนังสือซึ่งไช้กันไนอินเดียเมื่อราว พ.ส. 1000 ฉันได้ฟังก็ยั้งไจ ด้วยจำนวนสักราชส่อไห้เห็นว่า พระบรมธาตุนั้นน่าจะเปนของตกต่อกันมาหลายทอด แล้วเชื่อถือกันตามที่บอกเล่าต่อ ๆ มาว่า เปนพระบรมธาตุพระพุทธเจ้าถึง 1000 ปีแล้ว จึงได้เอาเข้าบรรจุพระเจดีย์องค์ที่อังกริดพบพระธาตุ อีกประการหนึ่ง ปริมานพระธาตุก็ดูมากเกินขนาดที่พระราชามหากสัตริย์ เช่น พระเจ้าอโสกมหาราชา เปนต้น จะแบ่งประทานผู้ไดผู้หนึ่ง หรือไห้ไปบันจุไว้ไนพระเจดีย์องค์ไดองค์หนึ่งถึงเท่านั้น ดูน่าจะเปนของที่สัปบุรุสไนชั้นหลังรวบรวมพระธาตุที่พบไนพระเจดีย์หักพังนะที่ต่าง ๆ บันดาอ้างเปนพระบรมธาตุพระพุทธเจ้าเอามาบันจุไว้ด้วยกัน ปริมานพระธาตุจึงได้มากถึงเพียงนั้น ฉันไม่แน่ไจว่า จะเปนพระบรมธาตุพระพุทธเจ้าทั้งหมด คิดดูเห็นว่า ที่ไทยเราบูชาพระธาตุหย่างคล้ายหินตามคติลังกา หากจะมิไช่พระบรมธาตุแท้จริง ก็ผิดเพียงบูชาก้อนหิน แต่พระธาตุอินเดียเปนกะดูกคน ถ้าองค์ที่ขอแบ่งเอามา มิไช่พระธาตุพระพุทธเจ้า จะกลายเปนมาชวนไห้ไทยไหว้กะดูกไครก็ไม่รู้ จึงเลิกความคิดที่จะขอพระธาตุมาจากลอนดอน เมื่อฉันมาถึงอินเดีย ไปดูพิพิธภันทสถานแห่งได ก็ตั้งไจจะพิจารนาดูพระธาตุที่พบไนอินเดียอันมีหยู่ไนพิพิธภันทสถานทุกแห่ง มาได้ความรู้เปนยุติว่า พระธาตุที่พบไนอินเดียเปนกะดูกคนทั้งนั้น มีหนังสือเขียนที่ห่อผ้าว่า พระบรมธาตุพระพุทธเจ้าก็มี ว่า พระธาตุพระสารีบุตรก็มี พระโมคคัลลาน์ก็มี แต่เหตุที่เปนข้อสงสัยก็ยังมีหยู่ ด้วยเครื่องประกอบเปนหลักถาน เช่น ตัวอักสรก็ดี สิ่งของที่บรรจุไว้ด้วยกันกับพระธาตุ เช่น เงินตรา เปนต้นก็ดี ล้วนเปนของเมื่อล่วงพุทธกาลตั้ง 1,000 ปีแล้วทั้งนั้น และยังมีเหตุเพิ่มความรังเกียจขึ้น ด้วยคิดดูปริมานพระธาตุที่มีหยู่ไนพิพิธภันท์สถานทุกแห่ง ถ้ารวมแต่ที่อ้างว่า เปนพระบรมธาตุพระพุทธเจ้า เข้าด้วยกันทั้งหมด พระพุทธองค์เห็นจะไหย่โตเกินขนาดมนุสมากทีเดียว ไม่พบพระบรมธาตุที่สิ้นสงสัย ฉันจึงไม่ได้พระบรมธาตุมาจากอินเดียไนครั้งนั้น
ฉันได้เล่ามาแล้วว่า เมื่อไปถึงเมืองคยา มิสเตอร์เครียสัน เจ้าเมืองคยา ได้เตรียมต้นโพธิพรรนพระสรีมหาโพธิไว้ไห้ฉัน 3 ต้น เดิมฉันนึกว่า จะไม่รับเอามา เพราะเห็นว่า ต้นยังอ่อนนักคงมาตายกลางทาง แต่นึกขึ้นว่า แต่ก่อนมา เมืองไทยยังไม่เคยได้ต้นโพธิพรรนพระสรีมหาโพธิมาจากต้นเดิมที่พุทธคยา น่าจะลองเอามาดูสักที เผื่อจะรอดได้ ถ้าไปตายกลางทาง ก็แล้วไป ฉันจึงไห้ต่อหีบหลังกะจกไส่กะบอกต้นโพธิ 3 ต้นนั้นเอาติดตัวมาด้วย เมื่อมากลางทาง เห็นต้นโพธิแตกไบอ่อน ก็เกิดปีติ ด้วยจะได้เปนผู้นำต้นโพธิพระสรีมหาโพธิตรงมาจากพุทธคยาเข้ามายังเมืองไทยเปนครั้งแรก
ต้นโพธิพระสรีมหาโพธิที่มีไนเมืองไทยมาแต่โบรานล้วนได้พรรนมาจากต้นที่พระเจ้าอโสกมหาราชส่งไปปลูกไว้ที่เมืองอนุราธบุรีไนลังกาทวีปทั้งนั้น ครั้งที่สุดปรากตไนพงสาวดารกรุงรัตนโกสินท์ว่า เมื่อรัชกาลที่ 2 พระอาจารย์เทพ ผู้เปนนายกสมนะทูตไทยกลับจากลังกาเมื่อ พ.ส. 2361 ได้ต้นโพธิจากเมืองอนุราถบุรีมาถวายพระบาทสมเด็ดพระพุทธเลิสหล้านภาลัย 3 ต้น โปรดไห้ปลูกไว้ไนวัดมหาธาตุฯ ต้นหนึ่ง วัดสุทัสน์ฯ ต้นหนึ่ง และวัดสะเกสฯ ต้นหนึ่ง ยังปรากตหยู่จนบัดนี้ แต่พรรนพระสรีมหาโพธิที่เมืองไทยได้ตรงมาจากพุทธคยา เพิ่งปรากตว่า ได้มาเมื่อรัชกาลที่ 4 ด้วยพระบาทสมเด็ดพระจอมเกล้าเจ้าหยู่หัวซงสึกสาซาบเรื่องพุทธเจดีย์ไนอินเดียก่อนผู้อื่น ซงขวนขวายหาพรรนพระสรีมหาโพธิที่พุทธคยา ได้มเล็ดมายังเมืองไทยเปนครั้งแรก เจ้าพระยาทิพากรวงส์กล่าวไว้ไนหนังสือพงสาวดารรัชกาลที่ 4 ตอนว่าด้วยบุรนะปติสังขรน์พระปถมเจดีย์ (ฉบับพิมพ์ หน้า 441) ว่า ต้นโพธิที่โปรดไห้ปลูกไว้ 4 มุมบริเวนนั้น "ได้ผลมาแต่เมืองพุทธคยาบุรี ว่า เปนหน่อเดิมที่พระได้ตรัส พระมหาโพธินั้นมีพระระเบียงล้อมถึง 7 ชั้น พวกพราหมน์หวงแหนหยู่แน่นหนา เจ้าเมือง (คือ ไวสรอย) อังกริดจึงไปขอเอาผลและไบถวายเข้ามา" แล้วเล่าต่อไปว่า พระบาทสมเด็ดพระจอมเกล้าฯ ซงเพาะมเล็ดพระสรีมหาโพธินั้นขึ้นเปนต้นพระราชทานไปปลูกตามวัดหลวง จะเปนวัดไหนบ้างไม่กล่าวไว้ แต่ฉันจำได้ไนเวลานี้ ปรากตหยู่ที่วัดมหาธาตุฯ (ต้นหยู่ข้างหน้าพระวิหารโพธิลังกา) ต้นหนึ่ง ที่วัดบวรนิเวสฯ ต้นหนึ่ง ที่พระปถมเจดีย์ 4 ต้น และยังมีเรื่องต่อไปว่า พระบาทสมเด็ดพระจอมเกล้าฯ ซงแบ่งมเล็ดพระสรีมหาโพธิพุทธคยาที่ได้มาครั้งนั้นพระราชทานสมเด็ดพระจุลจอมเกล้าฯ รับไปซงเพาะด้วย ถึงรัชกาลที่ 5 โปรดไห้ปลูกพระสรีมหาโพธิพุทธคยาที่ซงเพาะนั้นที่วัดเทพสิรินทร์ต้นหนึ่ง วัดนิเวสธัมประวัติต้นหนึ่ง วัดอุภัยราชบำรุง คือ วัดยวนที่ตลาดน้อย ต้นหนึ่ง และพระราชทานไห้เจ้าพระยายมราช (เฉย ต้นสกุล ยมาภัย) ไปปลูกที่วัดมนีชลขันธ์เมืองลพบุรีต้นหนึ่ง
เมื่อฉันกลับมาถึงกรุงเทพฯ นำต้นพระสรีมหาโพธิที่ได้มาจากพุทธคยาไปถวายสมเด็ดพระพุทธเจ้าหลวงที่เกาะสีชัง เวลานั้น กำลังซงส้างวัดอัสดางคนิมิต โปรดไห้ปลูกไว้ที่วัดอัสดางคนิมิตต้นหนึ่ง อีกสองต้นโปรดไห้ชำไว้ไนเขตพระราชถานที่เกาะสีชัง ครั้นซงส้างวัดเบญจมบพิตร โปรดไห้ย้ายมาปลูกไว้ที่วัดเบญจมบพิตรต้นหนึ่ง ที่เหลือหยู่อีกต้นหนึ่งจะยังหยู่ที่เกาะสีชังหรือเปนหย่างไรฉันหาซาบไม่
ฉันพบสิลาจำหลักเปนรอยพระพุทธบาทเบื้องขวา ขนาดยาวสักสอกเสส หยู่ที่วัดพุทธคยาแผ่นหนึ่ง สังเกตดูเห็นเปนของเก่ามาก น่าจะส้างแต่ไนสมัยพระเจ้าอโสกมหาราช หรือแม้พายหลังมาก็ไม่ช้านัก ด้วยมีหลักถานปรากตหยู่เปนสำคันว่า เมื่อก่อน พ.ส. 500 ที่ไนอินเดียห้ามมิไห้ทำพระพุทธรูปเจดียสถานต่าง ๆ ที่ทำลวดลายจำหลักสิลาเปนเรื่องพระพุทธประวัติ ตรงไหนที่จะต้องทำพระพุทธรูป ย่อมทำเปนรูปของสิ่งอื่นแทน พระพุทธรูปตอนก่อนตรัสรู้ มักทำเปนรอยพระบาท ตรงเมื่อตรัสรู้ มักทำเปนรูปพุทธบัลลังก์กับต้นโพธิ ตรงเมื่อซงประกาสพระสาสนา ทำเปนรูปจักรกับกวาง ตรงเมื่อสเด็ดเข้าพระนิพพาน ทำเปนรูปพระสถูป จนล่วงพุทธกาลกว่า 500 ปีแล้ว พวกโยนก (ฝรั่งชาติกรีกที่มาเข้ารีดถือพระพุทธสาสนา) ชาวคันธารราถทางปลายแดนอินเดียด้านตะวันตกเฉียงเหนือ คิดทำพระพุทธรูปขึ้น แล้วชาวอินเดียชนชาติอื่นเอาหย่างไปทำบ้าง จึงเปนเหตุไห้เกิดมีพระพุทธรูปสืบมา รอยพระพุทธบาทนั้นคงเปนของส้างขึ้นบูชาแทนพระพุทธเจ้าแต่ไนสมัยเมื่อยังไม่มีพระพุทธรูป ฉันออกปากขอ มหาพราหมน์มหันต์ก็ไห้โดยเต็มไจ จึงได้มาถวายสมเด็ดพระพุทธเจ้าหลวงอีกสิ่งหนึ่ง รอยพระพุทธบาทนั้นโปรดไห้ประดิสถานไว้ไนมนทปบนยอดเขาพระจุลจอมเกล้าฯ ที่เกาะสีชัง
เวลาฉันเสาะหาของโบรานที่เนื่องด้วยพระพุทธสาสนา เจ้าพนักงานกรมตรวดโบรานคดีของรัถบาลอินเดียเขาสงเคราะห์มาก ของโบราน เช่น พระพุทธรูป เปนต้น ที่ยังไม่ได้ส่งเข้าพิพิธภันท์สถาน ฉันไปพบสิ่งไดหยากได้ เขาก็ไห้ แต่เราก็ต้องเกรงไจเขา เลือกเอามาบ้างแต่พอสมควน ฉันได้พระพุทธรูปปางลีลาแบบสมัยคุปตะราว พ.ส. 1000 มาจากมรึคทายวันองค์หนึ่ง และมาได้รอยพระพุทธบาทที่กล่าวมาแล้ว กับทั้งพระพุทธรูปและพระสถูปขนาดน้อยที่พุทธคยาอีกหลายสิ่ง ของเหล่านั้นฉันเอามาถวายพระเจ้าหยู่หัว เดิมโปรดไห้ไว้ไนวัดพระสรีรัตนสาสดาราม พายหลัง ย้ายเอาไปไว้ไนพิพิธภันท์สถาน ยังหยู่ที่นั่นทั้งนั้น มีพระพุทธรูปองค์หนึ่งซึ่งควนจะกล่าวถึงโดยฉเพาะ ด้วยเมื่อฉันจะกลับจากพุทธคยา ได้ปรารภแก่เจ้าพนักงานกรมตรวดโบรานคดีว่า ฉันสังเกตดูพระพุทธรูปโบรานไนอินเดียมีหลายแบบหย่าง ฉันหยากเห็นพระพุทธรูปที่นับว่า ฝีมือทำงามที่สุดที่ได้พบไนอินเดีย เขาจะช่วยหารูปฉายไห้ฉันได้หรือไม่ เขารับว่า จะหาดู เมื่อได้จะส่งตามมาไห้ ฉันกลับมาถึงกรุงเทพฯ ได้สักสองสามเดือน เขาก็ส่งพระพุทธรูปมาไห้องค์หนึ่งว่า เปนของรัถบาลอินเดียไห้ฉันเปนที่ระลึก แต่มิไช่รูปฉายเช่นฉันขอ เปนพระพุทธรูปขนาดหน้าตักสักสอกหนึ่ง ซึ่งเขาพิมพ์จำลองพระสิลาด้วยปูนปลาสเตอร์ แล้วปิดทองคำเปลวตั้งไนซุ้มไม้ทำเปนรูปเรือนแก้วสำหรับยึดองค์พระไว้ไห้แน่นไส่หีบส่งมา พระนั้นเปนรูปพระพุทธองค์เมื่อยังเปนพระโพธิสัตว์กำลังกะทำทุกรกิริยา ช่างโยนกคิดประดิถทำที่ไนคันธารราถเมื่อราว พ.ส. 900 ทำเปนพระนั่งสมาธิ แต่พระองค์กำลังซูบผอมถึงหย่างว่า "มีแต่หนังหุ้มกะดูก" แลเห็นโครงพระอัตถิและเส้นสายทำเหมือนจริงผิดกับพระพุทธรูปสามัญ แลเห็นก็รู้ทันทีว่า เปนรูปพระพุทธองค์เมื่อซงบำเพ็นเพียรหาโมขธัม ทำดีน่าพิสวง เขาบอกมาว่า พระพุทธรูปองค์นี้แหละเปนชั้นยอดเยี่ยมทั้งความคิดและฝีมือช่างโยนก พบแต่องค์เดียวเท่านั้น รัถบาลไห้รักสาไว้ไนพิพิธภันท์สถานที่เมืองละฮอ แต่ฉันไม่ได้ขึ้นไปถึง จึงไม่ได้เห็น เมื่อวันพระองค์นั้นมาถึงกรุงเทพฯ เวลานั้นฉันยังหยู่ที่วังเก่าไกล้สะพานดำรงสถิต เผอิญพระพุทธาจารย์ (มา) วัดจักรวัดิราชาวาส เมื่อยังเปนที่พระมงคลทิพมุนี ไปหา พอท่านเห็นก็เกิดเลื่อมไสว่า เปนพระหย่างแปลกประหลาดน่าชมนัก ไม่มีไครเคยเห็นมาแต่ก่อน ท่านขอไห้ฉันตั้งไว้ที่วังไห้คนบูชาสัก 3 วันก่อน แล้วจึงค่อยถวาย ฉันก็ยอมทำตาม จัดที่บูชาตั้งพระไว้ไนสาลาโรงเรียนที่ไนวัง พอรุ่งขึ้น มีคนทางสำเพ็งที่ซาบข่าวจากพระพุทธาจารย์พากันมาก่อน แล้วก็เกิดเล่าลือกันต่อไป เรียกกันว่า "พระผอม" ถึงวันที่สองที่สาม คนยิ่งมามากขึ้นแน่นวังวันยังค่ำ ถึงมีพวกขายธูปเทียนและทองคำเปลวมานั่งขายเหมือนหย่างงานไหว้พระตามวัด แต่ฉันขอเสียหย่าไห้ปิดทอง เพราะของเดิมปิดทองมาแต่อินเดียแล้ว ถึงวันที่ 4 ต้องไห้ปิดประตูวัง เพราะยังมีคนไปไม่ขาด
สมเด็ดพระพุทธเจ้าหลวงโปรดไห้ประดิสถานพระองค์นั้นไว้บนถานชุกชีบุสบกด้านหนึ่งไนพุทธปรางค์ปราสาทที่วัดพระสรีรัตนสาสดาราม มีผู้สัทธาไปขอจำลองหล่อ "พระผอม" ด้วยทองสัมริทธิมีขึ้นแพร่หลายและทำหลายขนาด องค์ไหย่กว่าเพื่อนขนาดหน้าตักสักสองสอก ผู้ส้างถวายสมเด็ดพระพุทธเจ้าหลวงเปนพระระเบียงวัดเบญจมบพิตรและยังมีหยู่ตามวัดอีกนับไม่ถ้วน แต่องค์เดิมที่จำลองส่งมาจากอินเดียนั้นเปนอันตรายเสียเมื่อไฟไหม้พุทธปรางค์ปราสาทแต่ไนรัชกาลที่ 5 หากมีผู้สัทธาหล่อจำลองไว้ แบบ "พระผอม" จึงยังมีหยู่ไนเมืองไทยจนทุกวันนี้
ฉันเขียนความรู้เห็นไนอินเดียเปนนิทาน 3 เรื่องด้วยกัน เรื่องที่หนึ่ง เล่าถึงเหตุที่ไปอินเดีย และพรรนนาว่าด้วยของแปลกประหลาดที่เมืองชัยปุระ เรื่องที่สอง พรรนนาว่าด้วยของแปลกประหลาดที่เมืองพารานสี เรื่องที่สามนี้ ว่าด้วยการสืบพระพุทธสาสนาไนอินเดีย ยังมีเรื่องตอนเมื่อก่อนกลับจากอินเดียอีกบ้าง ถ้าไม่กล่าวถึงความที่เล่าไนเรื่องแรก จะเขินหยู่ จึงเขียนเรื่องตอนท้ายพ่วงไว้ไนนิทานเรื่องนี้
ฉันออกจากเมืองคยามายังเมืองกัลกัตตา อันเปนเมืองหลวงของอินเดียไนสมัยนั้น ลอร์ด แลนสดาวน์ เปนอุปราช รับไห้ไปหยู่ด้วยกันที่เกาเวอนเมนต์เฮาส์ น่าแปลว่า "วังอุปราช" ยิ่งกว่าเรือนรัถบาลตามสัพท์ มีการเลี้ยงเวลาค่ำพร้อมด้วยพวกกรมการผู้ไหย่ไห้เปนเกียรติยสคืนหนึ่ง มีการราตรีสโมสรไห้ฉันพบกับพวกมีเกียรติทั้งฝรั่งและชาวอินเดียวันหนึ่ง ลอร์ดรอเบิต เวลานั้นยังเปนเซอร์เฟรเดอริก รอเบิต นายพลเอกผู้บันชาการทหารทั่วทั้งอินเดีย เชินไปเลี้ยงพร้อมกันกับพวกนายทหารที่ป้อมวิลเลียมคืนหนึ่ง หยู่เมืองกัลกัตตา 4 วันแล้ว ไปยังเมืองดาร์ชิลิงบนเขาหิมาลัย หรือถ้าไช้คำโบรานของไทยเรา ก็คือ ไปเที่ยวดูป่าหิมพานต์ 4 วัน แล้วย้อนกลับมาเมืองกัลกัตตา ลงเรือออกจากอินเดียมาเมืองพม่าซึ่งไนสมัยนั้นยังนับเปนส่วนหนึ่งไนอานาเขตของอินเดีย ขึ้นพักหยู่ที่จวนกับเซอร์อเล็กซานเดอร์ แมกเกนซี เจ้าเมืองพม่า แต่ฉันมาถึงเมืองพม่าเมื่อต้นเดือนมีนาคม เข้ารึดูร้อนเสียแล้ว ทั้งตัวฉันก็ได้เที่ยวมาไนยุโรปและอินเดียถึง 9 เดือน ได้ดูอะไรต่ออะไรมากจนแทบจำไม่ได้ มาถูกอากาสร้อน ก็ออกเบื่อการเดินทาง จึงพักหยู่เพียงเมืองร่างกุ้งเพียง 4 วัน ได้ไปบูชาพระเกสธาตุและเที่ยวดูสิ่งอื่น ๆ ไนเมืองนั้น แล้วลงเรือผ่านมาทางเมืองทวาย เห็นแต่ปากน้ำ ไม่ได้ขึ้นไปถึงเมือง เพราะเขาว่า หยู่ไกลเข้าไปมาก แต่ได้แวะขึ้นดูเมืองมริด แล้วมายังเมืองระนอง ขึ้นเดินทางบกข้ามกิ่วกระมาลงเรือหลวงที่ออกไปรับนะเมืองชุมพรกลับกรุงเทพฯ สิ้นเรื่องไปอินเดียเพียงเท่านั้น