บุณยะรัตเวช

จาก วิกิซอร์ซ


ตระกูล บุณยะรัตเวช[แก้ไข]

ที่มาของ “บุณยะรัตเวช”[แก้ไข]

ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ได้มีการออกพระราชบัญญัตินามสกุลขึ้นเมื่อปี 2456 ทำให้มีคนขอพระราชทานนามสกุลจากพระเจ้าอยู่หัวเป็นจำนวนมาก นอกเหนือจากที่อาจจะตั้งเองก็มี ลูกของทายาทของคุณทวดเดชซึ่งรับราชการอยู่ในขณะนั้น ต่างก็ได้ขอพระราชทานนามสกุลจ ล้นเกล้ารัชกาลที่หก บุตรชายคนโตของคุณปู่บุญรอดคือ นายทรง (ต่อมาเป็นขุนทรงสุขภาพ) ซึ่งเป็นนักเรียนแพทยเสือป่าทรง อยู่ในเวลานั้นจึงได้รับพระราชานนามสกุลว่า “บุณยะรัตเวช” เมื่อวันที่ 16 เมษายน 2462 เราจึงได้เริ่มใช้นามนี้ ส่วนลูกของทายาทคนอื่นของคุณทวดเดชก็ได้รับนามสกุลพระราชทานเช่นกัน

สำหรับความหมายของนามสกุล บุณยะรัตเวช นั้น ค้นว่ามาจากไหนแต่ก็ไม่มีคำอธิบายไว้ในที่ใดขัด แต่พบว่านามสกุลพระราชทานมักจะมีวิธีตั้งหลายแบบ เช่นใช้ชื่อตั้งตามชื่อของบรรพบุรุษ ตั้งตามอาชีพ - สถานที่หรือตำบลที่อยู่อาศัย ยกตัวอย่างเช่น

  • สกุลพ่อค้าจะมีคำว่า วณิช หรือ วาณิช และ เวส ประกอบในน เช่น กมุทวณิช, กัณหเวส, คุปตะวาณิช, กฤษณวณิช
  • สกุลแพทย์ จะมีคำว่า เวช ไวทยะ หรือ แพทย์ ประกอบในนามส กมลเวช, สุนทรเวช, วีระไวทยะ, ไวทยะชีวิน, เวชชาชีวะ, มิลินทแพทย์
  • สกุลนักดนตรีจะมีคำว่า วาทิน ประกอบในนามสกุล เช่น กมลวาน สุนทรวาทิน


สำหรับบรรพบุรุษของตระกูลบุณยะรัตเวช ได้เป็นหมอมาตั้งแต่ดั้งเดิม และนักเรียน แพทย์เสือป่าผู้ขอพระราชทานนามสกุลก็เป็นแพทย์ และมีบิดา (คุณปู่บุญรอด) เป็นแพทย์ จึงมีคำว่าเวชอยู่ท้ายนามสกุล

แต่ บุณยะรัต มาจากไหน บุณยะ น่าจะเป็นคำเดียวกับ บุญ โดยปุณย เป็นภาษาสันสกฤต และ ปุญญ เป็นภาษาบาลีแปลว่าการกระทำดีตามหลักคำสอนในพระพุทธศาสนา รัต แปลว่าผู้ยินดี บุณยะรัต จึงหมายถึงผู้ยินดีในการ ทำความดี เมื่อรวมกับ เวช ได้ บุณยะรัตเวช แปลว่าแพทย์ผู้ยินดีในการทำความดี ทั้งนี้คำว่า บุณยะรัต ยังใกล้เคียงกับชื่อคุณปู่ บุญรอด อีกด้วย ซึ่งตรงกับข้อสังเกตของผู้วิจัยว่า แท้จริงแล้ว คำว่า “รัต” มีที่มาจากชื่อปู่ คือ “รอด” เนื่องจากมี เสียงคล้ายกัน และพบว่าหากชื่อจริงเป็นคำว่า “รอด” เมื่อใดมักจะเปลี่ยนเป็นคำ ว่า “รัต” เสมอ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเป็นการตั้งนามสกุลโดยกลวิธีทางเสียง (หน้า 39 จากวิทยานิพนธ์ฉบับนี้)


ภาษาอังกฤษ[แก้ไข]

มีข้อสังเกตอย่างหนึ่งว่าการสะกดนามสกุลเป็นภาษาอังกฤษนั้น ใน เอกสารได้เขียนไว้ให้สะกด “Punyarataveja" แต่ในความเป็นจริงแล้วลูกหลาน ของคุณปู่บุญรอดจะใช้เป็นสองแบบ คือ “Bunyaratavej" และ “Boonyaratavej" ซึ่งคงยากที่จะให้ทายาทกลับมาใช้ Punyarataveja เพราะ เมื่อเรามีการติดต่อกับต่างประเทศ เราก็มักจะสะกดด้วยตัว B อย่างใดอย่างหนึ่ง ถ้าเปลี่ยนไปก็คงยุ่งยากในการติดต่อกัน ก็คงต้องปล่อยให้เลยตามเลย

การสะกดนามสกุลในภาษาอังกฤษแบบต่างๆ

  • Boonyaratavej
  • Boonyaratvej
  • Bunyaratavech
  • Bunyaratavej
  • Bunyarattawet
  • Bunyaratvej
  • Punyaratavej

บรรพบุรุษของสกุลบุณยะรัตเวช[แก้ไข]

ตามที่ได้กล่าวไว้แล้วว่า คุณปู่บุญรอด บุณยะรัตเวช กับคุณย่าเทศ ใจประสาท เป็นต้นตระกูลบุณยะรัตเวช แต่ทั้งสองท่านนี้ มีบรรพบุรุษเป็นใครและ มาจากไหน

เอกสารชิ้นเดียวที่บันทึกเรื่องราวต่างๆ เกี่ยวกับบรรพบุรุษของเรา คือ บันทึกของจินเดช จากบันทึกนี้เราจึงทราบว่าบิดาของคุณปู่บุญรอดชื่อจินเดช หรือ นายเดช และมารดาของคุณปู่บุญรอดคือ นางพลับ

จินเดชจึงเป็นทวดและนางพลับก็เป็นคุณย่าทวดของผู้เขียน คุณทวด แดชเป็นคนไทยเชื้อสายจีนได้บันทึกเรื่องราวไว้ตั้งแต่ช่วงก่อตั้งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อปีพ.ศ.2325 และท่านบันทึกเหตุการณ์ต่างๆ เกี่ยวกับครอบครัวของท่านตั้งแต่ ท่านเกิด จนท่านเสียชีวิตเมื่ออายุได้ 73 ปี ท่านยังได้เขียนเล่าเรื่องบรรพบุรุษของ ท่านย้อนขึ้นไปอีก 3 รุ่น

จากบันทึกนี้เราสรุปได้ดังนี้

  • (ญ) สี + (ช) กุน เป็นคุณยายทวดและคุณตาทวดของคุณทวดเดช มีลูกชื่อ (ญ) ปาน
  • (ญ) ปาน + (เด็ก) เป็นคุณยายและคุณตา ของคุณทวดเดช มีลูกชื่อ ขำ
  • (ญ) ขำ และ (ข) เพ็ก เป็นแม่และพ่อ ของคุณทวดเตซ มีลูกชื่อ (ช) เดช
  • (ช) เดช และ (ญ) พลับ คือจินเดช เป็นคุณพ่อและ คุณแม่ของคุณปู่

บุญรอด หรือเป็นทวดและย่าทวดของผู้เขียน

ในบันทึกนอกจากจะกล่าวถึงพ่อแม่ ตายาย ตาทวดยายทวด แล้วยังมี รายละเอียดเกี่ยวกับพี่ป้าน้าอาของแต่ละรุ่นด้วย พอสรุปได้ดังนี้

ยายทวดและ ตาทวดของคุณทวดเดช[แก้ไข]

  • (ญ) สี เป็นยายทวดของคุณทวดเดช มีสามีชื่อ (ช) กุ๋น

รุ่นยายและตาของคุณทวดเดช (ทายาทของ นางสี และนายวุ่น)[แก้ไข]

  1. (ข) โก๋งสุ่ย ภรรยาชื่อ จ้าน
  2. (ญ) ทอง สามีชื่อ กั๋ง
  3. (ญ) ปาน สามีชื่อ เต๊ก แซ่ตัน (ย่าทวดและปู่ทวดของคุณปู่บุญรอด)
  4. (ญ) นาค สามีชื่อ จี้
  5. (ญ) สม สามีชื่อ ?

รุ่นแม่และพ่อของคุณทวดเดช (ทายาทของนางปาน และนายเด็ก)[แก้ไข]

  1. (ญ) กิม สามีชื่อ จ้อง
  2. (ญ) เกิด สามีชื่อ ของ
  3. (ญ) ดาน สามีชื่อ ชิ่ว
  4. (ญ) ขำ สามีชื่อ เพ็ก (ย่าและปู่ของคุณปู่บุญรอด)

รุ่นคุณทวดเดช (ทายาทของนางขำและนายเม็ก)[แก้ไข]

  1. (ข) กี่
  2. (ข) เดช ภรรยาชื่อ พลับ

คุณทวดเดชได้บันทึกวันเดือนปีเกิดของลูกแต่ละคน รวมถึงการมีครอบครัวในเวลาต่อมาของลูก เช่นแต่งงานเมื่อไร มีลูกเมื่อไร มีใครป่วยใครต บ้าง พอสรุปได้ว่า คุณทวดเดชและคุณย่าทวดพลับมีลูก 5 คน

วงศ์วานว่านเครือ สกุลบุณยะรัตเวช[แก้ไข]

  1. (ข) ขุนทอง (ฉุน) ซึ่งเป็นต้นตระกูลเธียรประสิทธิ์ + ภรรยาชื่อ (ญ) เอม
  2. (ข) ปลาบู่ (บุ๋น) ซึ่งเป็นต้นตระกูลหงสะเดช + ภรรยาชื่อ (ญ) ปริก
  3. (ญ) ส้มจีน (เต่า) มีทายาทสกุลโทณะวณิก + สามีชื่อ (ซ) เล็ก
  4. (ญ) เหรียญ มีทายาทสกุลเศรษฐบุตร + สามีชื่อ (ช) โชติ
  5. (ช) บุญรอด (หมาแดง) ซึ่งเป็นต้นตระกูลบุณยะรัตเวช + ภรรยาชื่อ (ญ) เทศ ใจประสาท


ในบันทึกของจินเดชได้กล่าวถึงลูกของนายบุญรอดไว้สรุปได้ว่า นาย บุญรอด และนางเทศ มีลูกดังนี้

  1. หญิง ถึงแก่กรรมเมื่อคลอด
  2. นางสาวผิว บุณยะรัตเวช (2439-2520)
  3. นายทรง บุณยะรัตเวช (ขุนทรงสุขภาพ) (2441-2521)
  4. นายเสริม บุณยะรัตเวช (2444-2523)
  5. นายกมล บุณยะรัตเวช (2447-2463 ถึงแก่กรรมเมื่ออายุ 16 ปี)
  6. นพ.พื้น บุณยะรัตเวช* (2449-2543)
  7. นายสกล บุณยะรัตเวช* (2451-2535)

สำหรับสองคนหลังนี้เกิดหลังจากคุณทวดเดชถึงแก่กรรมแล้วจึงไม่อยู่ในบันทึกของจินเดช

จะเห็นว่าบรรพบุรุษของบุณยะรัตเวชมีเชื้อจีนปนไทย โดยที่สามีของนางสี (ยายทวดของคุณทวดเดช) ชื่อ นายกุ๋น, สามีของนางปาน (ยายของคุณทวดเดช) ชื่อ นายเด็ก แซ่ตัน (คือคุณตาของคุณทวดเดช) และสามีของนางขำชื่อนายเพ็ก (คือพ่อ ของคุณทวดเดช) ฝ่ายชายมีชื่อเป็นจีน และนายเด็ก ตาของคุณทวดเดชก็ใช้แซ่ตัน ฝ่ายหญิงชื่อออกเป็นไทย แม้คุณทวดเดชจะไม่ได้มีชื่อเป็นจีน แต่ภาพถ่ายของคุณ ทวดเดช จะมีการไว้เปียและแต่งตัวแบบจีน และคุณทวดเดชยังเรียกตัวเองว่า จินเดช และในเนื้อหาบางตอนยังเรียกตัวเองว่าเตี่ย ส่วนนางพลับชื่อเป็นไทย และการแต่งตัวจากรูปถ่ายก็เป็นแบบไทย

นายเด็ก แซ่ตัน (ตาของคุณทวดเดช) ซึ่งมาจับจองเอาที่บ้านปากคลอง สะพานหัน อาจจะมาจากเมืองจีนตั้งแต่ปลายแผ่นดินอยุธยา หรือธนบุรี ก็ได้ สำหรับนางสี และนายกุน ซึ่งเป็นพ่อแม่ของนางปาน น่าจะมีชีวิตอยู่สมัยอยุธยา แต่เรายิ่งไม่รู้ว่ามีเทือกเถาเหล่ากอมาอย่างไร อาจจะเป็นได้ว่านางสีเป็นคนไทย และนายกุ๋นมาจากเมืองจีน


พระราชบัญญัติ[แก้ไข]

เมื่อมีพระราชบัญญัติให้ใช้นามสกุลในปีพ.ศ. 2462 ลูกหรือหลานของคุณทวดเดชหลายคนได้ขอพระราชทานนามสกุลจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 จีงเกิดนามสกุลขึ้นห้าสายสกุลดังนี้

  1. สกุล เธียรประสิทธิ์ นายฉุน บุตรชายของคุณทวดเดช ใช้ตามนายสิงโต เธียรประสิทธิ์ บุตรเขย สามีของนางเลื่อน บุตรสาวของนายฉุน
  2. สกุุล หงสะเดช นายบุ๋น บุตรชายของคุณทวดเดช ใช้ตามนายเบี๋ยน หรือพระยาศิริชัยบุรินทร์ ซึ่งเป็นบุตรชายคนโต และคุณทวดเดชจึงใช้นามสกุลหงสะเดชตามนายบุ๋น ลูกชายอีกทีหนึ่ง
  3. สกุล โทณะวณิก นางส้มจีน บุตรสาวของคุณทวดเดชใช้ตามนายเล็ก สามี ซึ่งใช้ตามนายฮวด หรือหลวงอาทรคดีราษฎร์ ซึ่งต่่อมาเป็นพระราชนาถวินิจฉัย บุตรชายคนที่สองของนางส้มจีน
  4. สกุล เศรษฐบุตร นางเหรียญ บุตรสาวของคุณทวดเดช ใช้ตามนายโชติ เศรษฐบุตร สามี
  5. สกุล บุณยะรัตเวช นายบุญรอด ใช้ตามบุตรชายคนโตคือนักเรียนแพทย์เสือป่าทรง

แต่ละสายสกุลที่เป็นฝ่ายเขยของคุณทวดเดชคือ โทณะวณิก และเศรษฐบุตร มีบรรพบุรุษอยู่แล้ว เมื่อมาสมรสกับลูกสาวคุณทวดเดชนั้นจึงมา “ดอง” กับบุณยะรัตเวชขึ้น เหมือนกับการทาบกิ่งเพื่อขยายพันธ์ุจากอีกต้นหนึ่ง ดังนั้นบรรพบุรุษของคุณทวดเดชจึงไม่ได้เป็นต้นตระกูลของฝ่ายเขยมาตั้งแต่ต้น

ในราชกิจจานุเบกษา มีตีพิมพ์การพระราชทานนามสกุลไว้ดังนี้

นามสกุลหงสะเดช หลวงเทพคิรีศรีสุรสงคราม (เบี๋ยน) ปลัดมณฑลราชบุรี ได้รับพระราชทานจากรัชกาลที่ 6 เป็นลำดับที่ 3566 (ประกาศพระราชทานนามสกุลครั้งที่ 66 ในราชกิจจานุเบกษาเล่ม 33 หน้า 3670 วันที่ 18 มีนาคม 2459) http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2459/D/3667.PDF

นามสกุลโทณะวณิก หลวงอาทรคดีราษฎร์ (ฮวด) กระทรวงยุติธรรม ได้รับพระราชทานจากรัชกาลที่ 6 เป็นลำดับที่ 193 (ประกาศพระราชทานนามสกุลครั้งที่ 3 ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 30 หน้า 833 วันที่ 27 กรกฎาคม 2456) http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2456/D/833.PDF

นามสกุลเศรษฐบุตร พระยานรเนติบัญชากิจ (ลัด) กรรมการศาลฎีกา กับนายภักดีนารถ (เลิศ) กรมมหาดเล็ก ได้รับพระราชทานจากรัชกาลที่ 6 เป็นลำดับที่ 58 (ประกาศพระราชทานนามสกุลครั้งที่ 1 ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 30 หน้า 648 วันที่ 26 มิถุนายน 2456) http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2456/D/648.PDF

นามสกุลบุณยะรัตเวช นักเรียนแพทย์เสือป่า ทรง (ขุนทรงสุขภาพ) ได้รับพระราชทานจากรัชกาลที่ 6 เป็นลำดับที่ 4921 (ประกาศพระราชทานนามสกุลครั้งที่ 79 ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 36 หน้า 544 วันที่ 1 มิถุนายน 2462 http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2462/D/544.PDF)

สำหรับนามสกุลเธียรประสิทธิ์นั้นไม่แน่ใจว่าได้รับพระราชทานมาจากรัชกาลที่ 6 หรือไม่เพราะค้นในราชกิจจานุเบกษาไม่พบ

ข้อสังเกตอีกอย่างหนึ่งคือคุณทวดเดชเลือกใช้นามสกุลหงสะเดช ซึ่งได้รับพระราชทานในปี พ.ศ. 2459 ทีหลังนามสกุลเศรษฐบุตร หรือ โทณะวณิก ซึ่งได้รับในปีพ.ศ. 2456 น่าจะเป็นเพราะนามสกุลทั้งสองเป็นนามสกุลทางเขยของท่าน ส่วนหงสะเดช เป็นนามสกุลที่หลานของท่าน คือพระยาศิริชัยบุรินทร์ (เบี๋ยน หงสะเดช) (เป็นบุตรของปลาบู๋ หรือบุ๋น ลูกชายคนที่สองของคุณทวดเดช) ได้รับพระราชทานมา ท่านจึงเลือกใช้

คุณทวดเดชไม่เลือกนามสกุลบุณยะรัตเวช ซึ่งได้รับพระราชทานทีหลัง แต่คุณปู่บุญรอดเลือกใช้นามสกุลนี้ตามลูกของท่านคือนักเรียนแพทย์เสือป่าทรง นามสกุลจึงต่างจากคุณทวดเดชซึ่งเป็นบิดา

----

เอกสารลงพระปรมาภิไทยของรัชกาลที่ 6 เมื่อ 16 เมษายน 2462

อ้างอิง[แก้ไข]

  1. นามสกุลพระราชทาน http://www.phyathaipalace.org/index.php?lay=show&ac=article&Id=539655180&Ntype=7
  2. สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ นามสกุลพระราชทานในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว : การวิเคราะห์ทางอรรถศาสตร์ชาติพันธุ์ https://doi.nrct.go.th//ListDoi/listDetail?Resolve DOI=10.14457/CU.the.2002.374