ประชุมจดหมายเหตุ สมัยอยุธยา ภาค 1/หมวด 1/เรื่อง 3

จาก วิกิซอร์ซ
เรื่อง 3 สัญญาไทย–ฝรั่งเศสครั้งสมเด็จพระนารายณ์ แลหนังสือออกพระวิสูตรสุนทร


พระยาประสิทธิ์ศัลการ[1] เมื่อยังเป็นนายร้อยโท สะอาด ผู้ช่วย
ราชการทาหรราชทูตสยามในกรุงปารีส ได้คัดสำเนาหนังสือนี้จาก
หอสมุดของทหารเรือกรุงปารีสในคฤศตศักราช ๑๘๘๔ ตรงกับ
รัตนโกสินทรศก ๑๐๓ (พ.ศ. ๒๔๒๗ จ.ศ. ๑๒๔๖)
 ๑) สำเนาหนังสือสัญญาสยามกับฝรั่งเศส ทำที่เมืองลพบุรี
ในวันพุธ เดือนอ้าย ขึ้นแปดค่ำ พุทธศักราช ๒๒๓๑ ปีเถาะ นพศก
 ๒) สำเนาหนังสือออกพระวิสูตร์สุนทร ราชทูต ถึงท่านมูสู-
สิงแฬร เสนาบดี ลงวันพุธ เดือนแปด แรมสองค่ำ เถาะ นพศก
ศักราช ๒๒๓๑
 ๓) สำเนาหนังสือออกพระวิสูตร์สุนทร ถึงมูสูลายิ แลหนัง
สือนี้เขียนที่เมืองดาบในวันพุธ เดือนแปด แรมสองค่ำ ปีเถาะ นพศก
ศักราช ๒๒๓๑

สำเนา ออกญาพระเสด็จสุเรนทราธิบดีศรีศุบราชพิริยพาหุ ผู้ว่าราชการ ณ ที่โกษาธิบดี แลออกพระศรีพิพัทรัตนราชโกษา ฝ่ายสมเด็จพระมหากระษัตราธิราชเจ้ากรุงศรีอยุธยาผู้ใหญ่ แลมูสูลาลูเบ แลมูสูสุปเรศ อิงวิยาโดรเอกโตรวิยาริ ฝ่ายสมเด็จพระมหากษัตราธิราชเจ้ากรุงฝรั่งษผู้ใหญ่ ทำหนังสือสัญญาแก่กันด้วยกิจของกุมบันหญีฝรั่งเษด ในนี้

๑. ข้อหนึ่ง สมเด็จพระมหากระษัตราธิราชเจ้ากรุงศรีอยุธยาผู้ใหญ่พระราชทานแก่กุมบันหญีฝรั่งเษดที่แห่งหนึ่งใกล้ตึกซึ่งอยู่ทุกวันนี้ ฝ่าย ๑ ก่อตึกอยู่สำหรับซื้อขาย

 ข้อหนึ่ง สมเด็จพระมหากระษัตราธิราชเจ้ากรุงศรีอยุธยาผู้ใหญ่พระราชทานให้กุมบันหญีซื้อขาย ณ จังหวักรุงศรีอยุธยา แลห้ามจำกอบขนอรแลริดชาทั้งปวงในนี้ ประการหนึ่ง ถ้าแลกุมบันหญีเอาสินค้าบรรทุกในกปั่นของกุมบันหญีเองก็ดี แลในกปั่นซึ่งเช่าระวางเข้ามาก็ดี ก็ให้ซื้อขายด้วยผู้ใด ๆ ตามภาษีของกุมบันหญี จะแนะนำให้ อย่าให้ผู้ใดห้ามปรามแลเอาข้อประการใดมาขัดขวาง ประการหนึ่ง ถ้าแลลูกค้าชาติใด ๆ เอาสินค้าเข้ามา แลกุมบันหญีจะต้องการ ก็ให้ซื้อขายตามใจเถิด แต่ว่าถ้าแลชาวคลังจะต้องการซื้อสินค้านั้นสำหรับราชการ ซึ่งลูกค้าทั้งปวงนอกกุมบันหญีเอาเข้ามานั้น แลกุมบันหญีต้องการสินค้านั้นอยู่ ก็ให้พนักงานข้างกุมบันหญีมาฟ้องเเก่เสนาบดีผู้เจ้าพนักงาน เมื่อแรกลูกค้านั้นเข้ามาถึง เสนาบดีก็จะสั่งแก่ชาวคลังให้แบ่งส่วนให้สมควรด้วยกิจของกุมบันหญี แลราคานั้นก็ให้เอาแต่เท่าทุนซึ่งซื้อแก่ลูกค้านั้น

ประการหนึ่ง ถ้าแลกุมบันหญีต้องการซื้อดีบุก ณ เมืองถลาง บางคลี แลงาช้าง แลช้าง แลดินประสิวขาว ดีบุกดำ หมากกรอก ฝาง ก็ให้ชาวคลังขายให้แต่ตามราคาซื้อขายแก่ลูกค้าทั้งปวง แลอย่าให้กุมบันหญีซื้อขายสินค้ามีชื่อทั้งนี้แก่ลูกค้าซึ่งมิได้ซื้อต่อชาวคลังนั้นเลย ด้วยสินค้านั้นเปนส่วยสาอากรของหลวง แลห้ามมิให้ผู้ใดขายนอกชาวคลังนั้นเลย

ประการหนึ่ง สินค้าซึ่งต้องห้ามนั้นในนี้ ดินประสิวขาว ดินประสิวดำ สุพรรนถัน แลปืน แลเครื่องสาตราอาวุธ ถ้าแลสมเด็จพระมหากระษัตราธิราชเจ้ากรุงศรีอยุธยาผู้ใหญ่พระราชทานให้ซื้อไปมา จึงให้ซื้อไปมา ถ้าแลมิได้พระราชทานให้ซื้อไปมา ก็อย่าให้ซื้อไปมา ถ้าแลกุมบันหญีเอาเครื่องมีชื่อเข้ามา ก็ให้พนักงานข้างกุมบันหญียื่นสารบาญชีแก่เสนาบดี ถ้าแลจะต้องการสำหรับราชการ ก็ให้ข้าหลวงซื้อเอาไว้ก่อนคนทั้งปวง

ประการหนึ่ง หนัง ณ จังหวัดกรุงศรีอยุธยาฝ่ายเหนือฝ่ายใต้จนปากน้ำบางเจ้าพระยา สมเด็จพระมหากษัตราธิราชเจ้ากรุงศรีอยุทธาผู้ใหญ่พระราชทานให้กุมบันหญีวิลันดาซื้อ แลอย่าให้กุมบันหญีฝรั่งเษดซื้อขายในสินค้าอันนั้น ถ้าแลฝรั่งเษดไปอยู่ ณ เมืองใดนอกฝ่ายเหนือฝ่ายใต้จนปากน้ำบางเจ้าพระยา แลมีหนังจะซื้อขาย แลมิได้เอาเข้ามาในกรุงเทพฯ ก็ให้ซื้อขายเถิด

ประการหนึ่ง สมเด็จพระมหากระษัตราธิราชเจ้ากรุงศรีอยุธยาผู้ใหญ่พระราชทานจำกอบขนอรแลริดชาทั้งปวงแก่กุมบันหญีฝรั่งเษดให้เข้าออกจงสะดวก อย่าให้ผู้ใดลงตรวจ แลให้แต่ยื่นหางว่าวสินค้าซึ่งบรรทุกมานั้นแก่เจ้าพนักงานในเมืองธนบุรี เเลเมื่อบรรทุกสินค้าจะออกไปนั้น ก็ให้ยื่นหางว่าวสินค้าซึ่งบรรทุกแก่เจ้าพนักงาน ณ กรุงเทพพระมหานคร แลเอาตราเบิกด่านสำหรับเข้าออกวางทุกครั้ง

๓. ข้อหนึ่ง ถ้าแลกุมบันหญีขายสินค้าแก่ลูกค้าผู้ใด ๆ ให้ไปจำหน่ายต่างเมือง เสียหายเป็นของกุมบันหญีเอง แลจำกอบสินค้าทั้งปวงนั้น สมเด็จพระมหากระษัตราธิราชเจ้ากรุงศรีอยุธยาผู้ใหญ่พระราชทานให้ทั้งเข้าออก อย่าให้เจ้าเรียกเอาพนักงาน

๔. ข้อหนึ่ง ถ้ากุมบันหญีหากปั่นจะบรรทุกสินไปมาค้าขายต่างเมืองมิได้ แลเช่าระวางกปั่นของลูกค้าทั้งปวงไป สมเด็จพระมหากระษัตราธิราชเจ้ากรุงศรีอยุธยาผู้ใหญ่พระราชทานดุจในข้อ ๒ ข้อ ๓ นั้น

๕. ข้อหนึ่ง ถ้าแลผู้ใดชื่อเป็นฝรั่งเษดแลชาติใด ๆ ชื่ออยู่ในบังคับกุมบันหญีเป็นความแก่กัน ก็ให้ผู้เป็นนายกุมบันหญีในเมืองนั้นแลมีกฎสมเด็จพระมหากระษัตราธิราชเจ้ากรุงฝรั่งเษดสำหรับตัวนั้น ก็ให้ผู้นั้นบังคับความตามชอบธรรม ถ้าแลฝรั่งเษดผู้ใดซึ่งอยู่ในบังคับกุมบันหญีฟันแทงกันตาย แลข้อสิ่งใดซึ่งต้องอาญา ก็ให้ผู้เป็นนายกุมบันหญีจำตัวผู้ร้ายไว้ แลกฎหมายเอาเนื้อความแล้ว แลส่งกฎหมายแลตัวผู้ร้ายไปเมืองฝรั่งเษดให้ลงอาญาตามโทษนั้น

ประการหนึ่ง ถ้าแลฝรั่งเษดแลชาติใดซึ่งอยู่ในบังคับกุมบันหญีเป็นความต้องกระทรวงอาญาก็ดี แพ่งก็ดี ต่อฝรั่งเษดแลชาติใด ๆ ซึ่งมิได้อยู่ในบังคับกุมบันหญีก็ดี ถ้าแลฝรั่งเษดแลชาติใด ๆ ซึ่งมิได้อยู่ในบังคับกุมบันหญีเป็นความต้องการกระทรวงอาญาก็ดี แพ่งก็ดี ด้วยฝรั่งเษดแลชาติใด ๆ ซึ่งอยู่ในบังคับกุมบันหญีนั้น ตระลาการข้างกรุงเทพพระมหานครเป็นพนักงานจะพิจารณา แต่ว่ากิจนั้นต้องฝรั่งเษดอยู่ จึงสมเด็จพระมหากระษัตราธิราชเจ้ากรุงศรีอยุธยาผู้ใหญ่พระราชทานให้ผู้เป็นนายกุมบันหญี แลถือกฏหมายสมเด็จพระมหากระษัตราธิราชเจ้ากรุงฝรั่งษผู้ใหญ่สำหรับตัวในตำบลนั้น นั่งด้วยกระลาการพิจารณาความให้เป็นถ่องแท้ แต่ให้ผู้นั้นสบถต่อพระเจ้าว่า จะพิจารณาด้วยกระลาการให้จงชอบธรรม

๖. ข้อหนึ่ง สมเด็จพระมหากระษัตราธิราชเจ้ากรุงศรีอยุธยาผู้ใหญ่พระราชทานให้กุมบันหญีฝรั่งเษดไปตั้งซื้อขายในเมืองถลาง บางคลี ก็ดี แลในจังหวัดที่นั้น แลห้ามจำกอบขนอรแลริดชาดุจในข้อ ๒ ข้อ ๓ แลพระราชทานให้ซื้อดีบุกในเมืองถลาง บางคลี ทั้งปวง แลห้ามมิให้ผู้อื่นผู้ใด ๆ ซื้อดีบุกนอกกุมบันหญีฝรั่งเษดนั้นได้ ถ้าแลผู้ใดลอบลักซื้อขายนอกกุมบันหญีฝรั่งเษดไซร้ ให้ริบเอาแลให้ทำเป็นสี่ส่วน ให้สองส่วนให้แก่ชาวคลังเป็นของหลวง ส่วนหนึ่งให้แก่ผู้โจทก์ ส่วนหนึ่งพระราชทานแก่กุมบันหญีฝรั่งเษด แลให้กุมบันหญีฝรั่งเษดเอาสินค้าตามต้องการ ณ เมืองนั้นไปขายจงอุดม อย่าให้ราษฎรชาวเมืองนั้นขาดสินค้าซึ่งต้องการนั้นได้ แลราคาสินค้าซึ่งกุมบันหญีจะซื้อก็ดี ราคาดีบุกซึ่งกุมบันหญีจะซื้อก็ดี ให้เจ้าเมือง แลกรมการ ผู้เฒ่าผู้แก่ แลกุมบันหญี นั่งด้วยกันว่าราคาสินค้าซึ่งกุมบันหญีจะขาย แลราคาดีบุกซึ่งกุมบันหญีจะซื้อนั้น ให้ว่าให้ขาดทีเดียว แลอย่าให้กุมบันหญีขึ้นลงราคาให้เป็นแค้นเคืองแก่ราษฎร ถ้าแลราคานั้นมิลงกัน ก็ให้บอกข้อซึ่งขัดสนนั้นเข้ามา แลสมเด็จพระมหากระษัตราธิราชเจ้ากรุงศรีอยุทธยาผู้ใหญ่โปรดประการใด ก็ให้ทำตาม

ประการหนึ่ง ดีบุกส่วยษาอากร ณ เมืองถลางแลจังหวัดนั้น ก็ให้ชาวคลังเรียกเอาตามทำเนียม แลแต่ในเดือนสิบ ปีมะโรง สำฤทธิศก[2] ไปเมื่อหน้า อย่าให้ชาวคลังปลงดีบุกแก่ราษฎร ด้วยดีบุกนั้นมีพอกุมบันหญีฝรั่งเษดจะซื้อขาย

ประการหนึ่ง ถ้าแลกุมบันหญีฝรั่งเษดมิได้เอาสินค้าไปซื้อขายตามสัญญา แลราษฎรขาดสินค้า แลเอาดีบุกซื้อขายแก่ลูกค้าอื่น ก็อย่าให้เจ้าพนักงานริบเอาแก่ลูกค้าซึ่งซื้อขายดีบุกแก่กันนั้นเลย

๗. ข้อหนึ่งว่า ถ้าแลกุมบันหญีฝรั่งเษดจะต้องการไปตั้งตึกอยู่ซื้อขาย ณ หัวเมือง จังหวัด แลเมืองขึ้นณกรุงศรีอยุธยาไซร้ ก็ให้ฟ้อง[3] แก่เสนาบดีออกไปตั้งอยู่ซื้อขายเถิดดุจหนึ่งในข้อสอง ข้อสาม ข้อสี่ ข้อห้า นั้น ถ้าแลไปตั้งซื้อขาย ณ เมืองนครไซร้ ก็อย่าให้ซื้อขายดีบุก ด้วยพระราชทานให้กุมบันหญีวิลันดาซื้อดีบุก ณ เมืองนครดุจหนึ่งพระราชทานให้กุมบันหญีฝรั่งเษดซื้อขายพริกนั้น

๘. ข้อหนึ่งว่า ถ้ากปั่นของกุมบันหญีใหญ่ก็ดี น้อยก็ดี เสียในแว่นแคว้นซึ่งขึ้นกรุงศรีอยุธยา ก็ให้กุมบันหญีรับเอาเครื่องกปั่นแลสินค้าทั้งปวงนั้นไว้ แลอย่าให้เจ้าเมืองแลกรมการแลผู้ใด ๆ เก็บเอาไว้ แลให้กุมบันหญีฝรั่งเษดรักษาไว้เอง

๙. ข้อหนึ่งว่า สมเด็จพระมหากระษัตราธิราชเจ้ากรุงศรีอยุธยาผู้ใหญ่พระราชทานให้เป็นอันขาดแล้วให้กุมบันหญีฝรั่งเษดไปตั้งอยู่ ณ เกาะแห่งใดซึ่งอยู่ใกล้เมืองมฤทิออกไปสิบโยชน์ แลให้ก่อตึก แลป้อม แลกำแพง พิทักษ์รักษาตกแต่งซึ่งชอบการของกุมบันหญีฝรั่งเษด แลกุมบันหญีฝรั่งเษดสัญญาต่อหน้าพระเป็นเจ้ามิถือตำบลนั้นให้เป็นเหตุแก่ราชการสมเด็จพระมหากระษัตราธิราชเจ้ากรุงศรีอยุธยาผู้ใหญ่ประการใดได้ แลมิรับผู้เป็นสัตรูแผ่นดินเข้าออกในตำบลนั้น แลมิช่วยผู้เป็นสัตรูด้วยสิ่งใด ๆ เลย แลสมเด็จพระมหากระษัตราธิราชเจ้ากรุงศรีอยุธยาผู้ใหญ่พระราชทานให้กุมบันหญีบังคับความแลเป็นเจ้าในเกาะนั้นเป็นอันขาดทีเดียว แลครั้นเขียนอย่าง[4] เกาะแลกว้างยาวเท่าใดเข้ามาแล้ว จะพระราชทานพระราชกำหนดสำหรับเกาะนั้นเป็นอันขาดทีเดียว

๑๐. ข้อหนึ่งว่า ถ้าฝรั่งเษดผู้ใด ๆ มีลูกเมียในจังหวัดกรุงศรีอยุธยาแลเมืองขึ้น แลฟ้องจะขอออกไปจากแผ่นดิน แลเงินทองของผู้ใด ๆ มิได้อยู่ แลมิได้เป็นถ้อยความด้วยผู้ใด ๆ ไซร้ สมเด็จพระมหากระษัตราธิราชเจ้ากรุงศรีอยุธยาผู้ใหญ่พระราชทานให้ออกไปทั้งลูก แลเมีย แลทาส แลทรัพย์สิ่งของ ตามใจนั้นเถิด

๑๑. ข้อหนึ่งว่า ถ้าแลฝรั่งเษดซึ่งมาด้วยกปั่นของสมเด็จพระมหากระษัตรากรุงฝรั่งเษดผู้ใหญ่ก็ดี มาด้วยกปั่นของกุมบันหญีก็ดี มา ณ กรุงศรีอยุธยาก็ดี ณ เมืองขึ้นก็ดี อย่าให้เจ้าพนักงานชักชวนว่ากล่าวให้ละกปั่นนั้นเสีย ถ้าแลฝรั่งเษดซึ่งอยู่ ณ กปั่นสมพระมหากระษัตรกรุงฝรั่งเษตผู้ใหญ่ก็ดี ณ กปั่นกุมบันหญีก็ดี หนี ให้เจ้าพนักงานเสาะสางหามาส่งให้แก่นายกปั่น

๑๒. ข้อหนึ่งว่า หนังสือขุนพิพัทโกษาราชปหลัด แลมุงสูอูรเดลัน กับปิตันฝรั่งเษด สัญญาต่อกันด้วยพริกนั้นในเดือนสิบสอง ขึ้นเก้าค่ำ ศักราชพันสี่สิบห้า[5] คือ พุทศักราชสองพันสองร้อยยี่สิบเจ็ด สมเด็จพระมหากระษัตราธิราชเจ้ากรุงศรีอยุธยาผู้ใหญ่สั่งว่า ชอบแล้ว แลทรงพระกรุณาโปรดแก่กุมบันหญี ก็มีพระราชโองการดำรัสเหนือเกล้าเหนือกระหม่อมสั่งว่า ซึ่งจะริบเอาพริกแลไหมเอาแก่ผู้ลักลอบซื้อขายพริกนั้น ก็ให้ทำเป็นสี่ส่วน ในนี้ สองส่วนให้แก่เจ้าพนักงานเอาเป็นของหลวง แลส่วนหนึ่งให้แก่ผู้ส่อ แลส่วนหนึ่งพระราชทานแก่กุมบันหญีฝรั่งเษด

ประการหนึ่ง เพื่อจะให้ห้ามที่ซึ่งจะเป็นวิวาททุ่มเถียงในระหว่างชาวคลังแลกุมบันหญี ก็ให้เอาพริกทั้งปวงนั้นไว้ในคลังอันหนึ่ง ใส่กุญแจของชาวคลังอันหนึ่ง ใส่กุญแจของกุมบันหญีฝรั่งเษดอันหนึ่ง แลจะเปิดประตูออกให้ทั้งสองฝ่ายนั่งพร้อมกัน ให้แบ่งปันออกเป็นส่วนตามอยู่ในความสัญญา แลข้อสัญญาทั้งนี้เขียนเป็นสามฉบันทุกภาษา ในนี้ ภาษาไทยสามฉบับ ภาษาฝรั่งเษดสามฉบับ ภาษาโปตุกกรรสามฉบับ แลผู้มีชื่อทั้งสองฝ่ายนั้นขีดแกงใดปิดตราเป็นสำคัญทุกฉบับ เขียนในเมืองลพบุรีย์ในวันพระหัด เดือนอ้าย ขึ้นแปดค่ำ พุทศักราชสองพันสองร้อยสามสิบเอ็ด ปีเถาะ นพศก

Laloubère (เซ็น) Cébéret
ประทับตรา ฝรั่ง ด้วยแหวน ดวง
" ไทย ตามตำแหน่ง ดวง
ตราบัวแก้ว ตราเทวดาถือจักร
ตรา..........

หนังสือสัญญาสยามกับฝรั่งเศส ทำที่เมืองลพบุรี ในวันพุธ ขึ้น 8 ค่ำ เดือนอ้าย ปีเถาะ พ.ศ. 2231
หนังสือสัญญาสยามกับฝรั่งเศส ทำที่เมืองลพบุรี ในวันพุธ ขึ้น 8 ค่ำ เดือนอ้าย ปีเถาะ พ.ศ. 2231


หนังสือออกพระวิสุทสุนทร ราชทูต ออกหลวงกัลยาราชไมตรี อุปทูต ออกขุนศรีวีสารวาจา ตรีทูต มาถึงท่านมูสูสิงแฬร์[6] ผู้เปนเสนาบดีผู้ใหญ่แห่งพระมหากระษัตราธิราชเจ้าลุยเลกรัง ด้วยอัตโนทั้งปวงมาเถีงฐานที่นี้ แลได้รับคำนับ แลนับถือ แลเอาใจใส่พิทักษ์รักษาแห่งชาวฝรั่งเษดทั้งปวงซึ่งเขาไปส่งอัตโนถึงกรุงศรีอยุธยานั้น จึงในท่าทางอันมาไกลนั้นมิได้มีความทุกข์ แลมีความสนุกสบายอยู่มิได้ขาด บัดนี้ อัตโนได้มีน้ำใจชื่นชมยินดี ด้วยได้พบท่าทางซึ่งจะสำแดงแก่ท่านขอบใจแห่งอัตโน ด้วยบุญคุณของท่านมีแก่อัตโนเมื่ออยู่ ณ กรุงฝรั่งเษด แลอัตโนยังรับคุณของท่านอยู่จนเท่าทุกวันนี้ ถึงว่าท่าทางนั้นมิสะดวกก็ดี อัตโนก็จะมิได้รู้เป็นทุกข์เลย แลความสุขนั้นก็มิรู้หายเลย ด้วยอัตโนมีอันจะคิดถึงสรรพอันวิเศษซึ่งได้พบได้เห็น ณ กรุงฝรั่งเษด แลเมื่อยังอยู่ณกรุงฝรั่งเษด แลสรรพอันวิเศษนั้นก็กลุ้มอยู่ แลละสิ่งละสิ่งนั้นก็ชักชวนน้ำใจให้ไปข้างโน้นบ้างข้างนี้บ้าง ให้รำคาญใจอยู่หน่อยหนึ่ง แลบัดนี้ มีวันมีคืนอันเปล่าอยู่ สรรพอันตระการทั้งปวงนั้น อัตโนก็เรียกมาในความคิดพิจารณาเห็นละสิ่งละสิ่งด้วยยินดีให้สบายใจย แลอัตโนจำเป็นจะว่าแก่ท่านตามจริง มิคิดเห็นความสนุกสบายในแผ่นดินนี้จะสนุกสบายเท่าหนึ่งคิดถึงยศศักดิ์แห่งพระมหากระษัตรเจ้าผู้ใหญ่อันหาผู้ใดจะแปลบุญสมภารให้สิ้นมิได้ ดุจหนึ่งพระมหากระษัตราธิราชผู้เป็นเจ้าแห่งอัตโนได้ตรัสแต่ได้สองปีสามปีแล้วว่า พระมหากระษัตรเจ้ากรุงฝรั่งเษดนี้เห็นสมควรจะเปนพระมหากระษัตรแก่พระมหากษัตรทั้งปวงทั้งแขวงเอรอบ แลความคิดทั้งปวงนี้มิได้ออกจากปัญญาอัตโนจนเท่าบัดนี้ เหตุฉนี้ ถึงว่าใกล้ไปทุกวันทุกวันจะถึงเมืองอัตโน แลเห็นมิช้ามินานจะถึงทั้งนั้นก็ดี อัตโนยังคิดถึงบ้านเมืองแต่หน่อยหนึ่ง ประการหนึ่ง แม้นมิคิดเกรงกลัวว่า จะขาดความนบนอบแลความนับถือแห่งพระมหากระษัตรเจ้าผู้ใหญ่ จะขอแก่ท่านให้เข้าทูลแก่พระมหากระษัตรเจ้าผู้ใหญ่ว่า อันความนับถือแลนบนอบต่อพระมหากระษัตรผู้ใหญ่กว่าอัตโนจะสิ้นชีวิต อัตโนจะรักษาไว้ในหัวใจให้มั่นคง มิให้แพ้แก่ความนับถือแลนบนอบยินดีแห่งชาวฝรั่งเษดทั้งปวง แลจะอดษาทำให้ชนะทุกคนในความนบนอบนั้น อนึ่ง อัตโนขอแก่ท่านอันท่านมีน้ำใจยยินดีปรารถนาบำรุงพระราชไมตรีพระมหากระษัตราธิราชเจ้าทั้งสองกรุงนี้ให้มั่นคงจำเริญสืบไปในอนาคตกาล อนึ่ง ท่านมีน้ำใจยินดีต่ออัตโนแต่เมื่อยังอยู่ในกรุงฝรั่งเษดนั้นประการใด ขอให้ท่านมีน้ำใจยินดีต่ออัตโนสืบไป แลอัตโนขอพรแก่พระเป็นเจ้าสร้างฟ้าสร้างแผ่นดินขอให้ช่วยบำรุงโปรดท่านให้ท่านได้สำเร็จตามความปรารถนาท่านจงทุกประการ

หนังสือมาวันพุฒ เดือนแปด แรมสองค่ำ เถาะ นพศก ศักราช ๒๒๓๑[7]

หนังสือออกพระวิสูตรสุนทร ลงวันพุธ แรม 2 ค่ำ เดือน 8 ปีเถาะ พ.ศ. 2231 (ฉบับที่ 1)
หนังสือออกพระวิสูตรสุนทร ลงวันพุธ แรม 2 ค่ำ เดือน 8 ปีเถาะ พ.ศ. 2231 (ฉบับที่ 1)


หนังสือออกพระวิสุทสุทร ราชทูต ออกหลวงกัลยาราชไมตรี อุปทูต แลออกขุนศรีวิสารวาจา ตรีทูต มาถึงมูสูลายิ[8] ซึ่งได้บังคับกุมปันหญีทั้งปวง

ด้วยท่านสำแดงความยินดีแลนับถือได้ให้สำเร็จการทั้งปวงตามพระราชหฤทัยพระมหากระษัตราธิราชผู้เป็นเจ้าอัตโน แลบัดนี้ ได้พบท่าทางอันจะเขียนมาให้ท่าน แจ้งว่า มีน้ำใจอันยินดีต่อท่าน เห็นว่า ท่านจะมิโกรธ เมื่อแลท่านรู้ว่าอัตโนทั้งปวงมาถึงสถานที่นี้เปนสุขสนุกสบายอยู่ แลอันมานี้เสมอใจนึก แลเห็นว่า ยังสามเดือนจะได้ไปถึงพระมหากษัตราธิราชผู้เป็นเจ้า แลจะได้เข้าแจ้งให้ละเอียดว่า ท่านเอาใจใส่ช่วยในราชการแห่งพระมหากระษัตราธิราช แลเชื่ออยู่ว่า ท่านมีน้ำใจร้อนรนช่วยทำการทั้งปวง แลเห็นปีหน้าท่านจะส่งบรรณาการอันเหลืออยู่นั้นเข้าไปตามพระมหากระษัตราเจ้าต้องประสงค์นั้น แลอัตโนขอให้ท่านช่วยเร่งรัดครูอันสั่งสอนเด็กซึ่งอยู่เรียนนั้นให้รู้สันทัด จะได้กลับเข้าไปยังกรุงศรีอยุธยา อันพระมหากระษัตราธิราชเจ้าพระราชประสงค์นั้น แลอัตโนขอแก่พระเป็นเจ้าให้บำรุงช่วยท่านให้มีบุญให้จำเริญสืบไป

แลหนังสือนี้เขียนณเมืองกาบในวันพุธ เดือนแปด แรมสองค่ำ ปีเถาะ นพศก สักราช ๒๒๓๑

(ประทับตราเหมือนฉบับก่อน)

หนังสือออกพระวิสูตรสุนทร ลงวันพุธ แรม 2 ค่ำ เดือน 8 ปีเถาะ พ.ศ. 2231 (ฉบับที่ 2)
หนังสือออกพระวิสูตรสุนทร ลงวันพุธ แรม 2 ค่ำ เดือน 8 ปีเถาะ พ.ศ. 2231 (ฉบับที่ 2)

  1. ต่อมา ได้เลื่อนยศบรรดาศักดิ์เป็น พลตรี พระยาสิงหเสนี (สะอาด สิงหเสนี)
  2. ปีมะโรง จุลศักราช ๑๐๕๐ พ.ศ. ๒๒๓๑
  3. ฟ้อง; บอก
  4. เขียนอย่าง: เขียนแผนที่
  5. พุทธศักราชในที่แห่งนี้ใช้พุทธศักราชแบบลังกาสึหล
  6. เมอสิเออร เดอ เซนเนอเลย์ อัครมหาเสนาบดีของพระเจ้าหลุยส์
  7. (คัดมาจากที่สำหรับเก็บหนังสือทหารเรือฝรั่งเศส)
  8. เมอสิเออร เดอ ลันยี ผู้อำนวยการบริษัทอีสต์อินเดียฝรั่งเศส