ประชุมจดหมายเหตุ สมัยอยุธยา ภาค 1/หมวด 4/เรื่อง 1

จาก วิกิซอร์ซ
การแต่งหนังสือ
1. ทรงพระกรุณาให้แต่งพระราชพงศาวดารย่อเมื่อปีวอก พ.ศ. 2223 ในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์ (พระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐ)
ทรงพระกรุณาให้แต่งพระราชพงศาวดารย่อ
เมื่อปีวอก พ.ศ. ๒๒๒๓ ในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์

ศุภมัสดุ ๑๐๔๒ ศก วอกนักสัตว ณ วัน ๑๒ ฯ  ค่ำ ทรงพระกรุณาตรัสเหนือเกล้าเหนือกระหม่อมว่า ให้เอากฎหมายเหตุของพระโหรเขียรไว้แต่ก่อน แลกฎหมายเหตุซึ่งหาได้แต่หอหนังสือ แลเหตุซึ่งมีในพระราชพงศาวดานนั้น ให้คัดเข้าด้วยกันเปนแห่งเดิยว ให้รดับศักราชนั้นคุงเท่าบัดนี้[1]

จุลศักราช ๖๘๖ ชวดศก แรกสถาปนาพระพุทธเจ้าเจ้าพแนงเชิง

ศักราช ๗๑๒ ขารศก วัน ค่ำ เพลารุ่งแล้ว ๓ นาลิกา ๙ บาท แรกสถาปนากรุงพระนครศรีอยุธยา

ศักราช ๗๓๑ รกาศก แรกส้างวัดพระราม ครั้งนั้น สมเดจพระรามาธิบดีเจ้าเสด็จนิฤๅพาร จึ่งพระราชกุมารท่านสมเดจพระราเมศวรเจ้าเสวยราชสมบัดติ

ครั้นเถิงศักราช ๗๓๒ จอศก สมเดจพระบรมราชาธิราชเจ้าเสดจมาแต่เมีองสุพรรณบูรียขึ้นเสวยราชสมบัดติพระนครศรีอยุทธยา แลท่านจึงให้สมเดจพระราเมศวรเจ้าเสดจไปเสวยราชสมบัดติเมิองลพบุรีย

ศักราช ๗๓๓ กุญศก สมเดจพระบรมราชาธิราชเจ้าเสดจไปเอาเมีองเหนิอ แลได้เมีองเหนิอทังปวง

ศักราช ๗๓๔ ชวดศก เสดจไปเอาเมิองนครพังค่าแลเมิองแสงเชรา ได้เมิอง

ศักราช ๗๓๕ ฉลูศก เสดจไปเมิองซากังราว แลพญาไสแก้วแลพญาคำแหงเจ้าเมิองซากังราวออกต่อรบท่าน ๆ ได้ตัวพญาไสแก้วตาย แลพญาคำแหงแลพลท้งงปวงหนีเข้าเมิองได้ แลทับหลวงเสดจกลับคืนมา

ศักราช ๗๓๖ ขานศก สมเดจพระบรมราชาธิราชเจ้าแลพระมหาเถรธรรมากัลญานแรกสถาปนาพระศรีรัตนมหาธาตุฝ่ายบูรรพทิศหน้าพระบันชั้นสิงหสูงเส้น ๓ วา

ศักราช ๗๓๗ เถาะศก เสดจไปเอาเมิองพิศณุโลก แลได้ตัวขุนสามแก้วเจ้าเมิอง แลครัวอพยพมาครั้งนั้นมาก

ศักราช ๗๓๘ มโรงศก เสดจไปเอาเมิองซากังราวเล่า ครั้งนั้น พญาคำแหงแลท้าวผาคองคิดด้วยกันว่า จยอทับหลวง แลจทำหมีได้ แลท้าวผ่าคองเลิกทับหนี แลจึ่งเสดจยกทับหลวงตาม แลท้าวผ่าคองนั้นแตก แลจับได้ตัวท้าวพญาแลเสนาขุนหมื่นครั้งนั้นมาก แลทับหลวงเสดจกลับคืน

ศักราช ๗๔๐ มเมิยศก เสดจไปเอาเมิองซากังราวเล่า ครั้นมหาธรรมราชาออกรบทับหลวงเปนสามารถ แลเหนว่า จต่อด้วยทับหลวงมีได้ จึ่งมหาธรรมราชาออกถวายบังคม

ศักราช ๗๔๘ ขานศก เสดจไปเอาเมิองเชียงใหม่ แลให้เข้าปล้นเมิองนครลำภางมีได้ จึ่งแต่งหนังสือให้เข้าไปแก่หมื่นนครเจ้าเมิองนครลำภาง ๆ นั้นจึ่งออกมาถวายบังคม แลทับหลวงเสดจกลับคืน

ศักราช ๗๕๐ มโรงศก เสดจไปเอาเมิองซากังราวเล่า ครั้งนั้น สมเดจพระบรมราชาธิราชเจ้าทรงพระประชวนหนักแลเสดจกลับคืน ครั้นเถิงกลางทาง สมเดจพระบรมราชาธิราชเจ้านิฤๅพาน แลจึ่งเจ้าทองล้นพระราชกุมารท่านได้เสวยราชสมบัดติพระนครศรีอยุธยาได้ ๗ วัน จึ่งสมเดจพระราเมศวรยกพลมาแต่เมิองลพบุรีย ขึ้นเสวยราชสมบัดติพระนครศรีอยุทธยา แลท่านจึ่งให้พิฆาฎเจ้าทองล้นเสีย

ศักราช ๗๕๗ กุรศก สมเดจพระราเมศวรเจ้านิฤๅพาน จึ่งพระราชกุมารท่านเจ้าพญารามเสวยราชสมบัดติ

ศักราช ๗๗๑ ฉลูศก สมเดจพญารามเจ้ามีความพิโรทแก่เจ้าเสนาบดี แลท่านให้กุมเจ้าเสนาบดี ๆ หนีรอด แลข้ามไปอยู่ฟากปท่าคูจามนั้น แลเจ้าเสนาบดีจึ่งให้ไปเชิญสมเดจพระอินทราชาเจ้ามาแต่เมิองสุพรรณบุรียว่า จยกเข้าเอาพระนครศรีอยุทธยาถวาย ครั้นแลสมเดจพระอินทราชาเจ้าเสดจมาเถิงใส้ จึ่งเจ้าเสนาบดียกพลเข้าไปปล้นเอาพระนครศรีอยุทธยาได้ จึ่งเชิญสมเดจพระอินทราชาเจ้าขึ้นเสวยราชสมบัดติ แลท่านจึ่งให้สมเดจพญารามเจ้าไปกินเมิองปท่าคูจาม

ศักราช ๗๘๑ กุรศก มีข่าวมาว่า พระมหาธรรมราชาธิราชเจ้านฤพาน แลเมิองเหนอท้งงปวงเปนจุลาจล แลจึ่งเสดจขึ้นไปถึงเมิองพระบาง ครั้งนั้น พญาบาลเมิองแลพญารามออกถวายบังคม

ศักราช ๗๘๖ มโรงศก สมเดจพระอินทราชาเจ้าทรงชวนนฤพาน ครั้งนั้น เจ้าอ้ายพญาแลเจ้าญี่พญาพระราชกุมารท่านชนช้างด้วยกันณสะพานป่าถ่าน เถิงพิราไลยทังสองพระองคที่นั้น จึ่งพระราชกุมารเจ้าสามพญาได้เสวยราชสมบัดติพระนครศรีอยุทธยา ทรงพระนาม สมเดจพระบรมราชาธิราชเจ้า แลท่านจึ่งให้ก่อพระเจดีสองพระองคสรวมที่เจ้าพญาอ้ายแลเจ้าพญาญี่ชนช้างด้วยกันเถิงอะนิจภาพตำบลป่าถ่านนั้น ในศักราชนั้น ท่านสถาปนาวัดราชบุณ

ศักราช ๗๙๓ กุรศก สมเดจพระบรมราชาเจ้าเสดจไปเอาเมิองนครหลวงได้ แลท่านจึ่งให้พระราชกุมารท่านพระนครอินทเจ้าเสวยราชสมบัดติณเมิองนครหลวงนั้น ครั้งนั้น ท่านจึ่งให้พญาแก้วพญาไทเอาแลรูปภาพทั้งงปวงมายังพระนครศรีอยุทธยา

ศักราช ๘๐๐ มเมิยศก ครั้งสมเดจพระบรมราชาธิราชเจ้าสร้างวัดมเหยงเสวยราชสมบัดติ แลสมเดจพระราเมศวรเจ้าผู้เปนพระราชกุมารท่านเสดจไปเมิองพิษณุโลก ครั้งนั้น เห็นน้ำพระเนตรพระพุทธเจ้าพระชินราชตกออกมาเปนโลหิต

ศักราช ๘๐๒ วอกศก ครั้งนั้น เกิดเพลิงใหม้พระราชมนเฑียร

ศักราช ๘๐๓ รกาศก ครั้งนั้น เกิดเพลิงไหม้พระธินั่งตริมุกข

ศักราช ๘๐๔ จอศก สมเดจพระบรมราชาธิราชเจ้าเสดจไปเอาเมิองเชิยงใหม่ แลเข้าเอาปล้นเมิองมีได้ ภอทรงพระประชวน แลทับหลวงเสดจกลับคืน

ศักราช ๘๐๖ ชวดศก เสดจไปปราบพรรค แลตังทับหลวงตำบลปะทายเขษม ครั้งนั้น ได้เชลย ๑๒๐๐๐๐ ทับหลวงเสดจกลับคืน

ศักราช ๘๑๐ มโรงศก สมเดจพระบรมราชาธิราชเจ้านิฤๅพาน จึ่งพระราชกุมารท่านสมเดจพระราเมศวรเจ้าเสวยราชสมบัดติ ทรงพระนาม สมเดจพระบรมไตรโลกเจ้า

ศักราช ๘๑๓ มแมศก ครั้งนั้น มหาราชมาเอาเมิองซากังราวได้ แล้วจึ่งมาเอาเมิองศุกโขไทย เข้าปล้นเมิองมีได้ กเลิกทับกลับคืน

ศักราช ๘๑๖ จอศก ครั้งนั้น คนทังปวงเกิดทรพิศตายมากนัก

ศักราช ๘๑๗ กุรศก แต่งทับให้ไปเอาเมิองมลากา

ศักราช ๘๑๘ ชวดศก แต่งทับให้ไปเอาเมิองลิสบทิน ครั้งนั้น เสดจหนุนทับขึ้นไปตั้งทับหลวงตำบลโคน

ศักราช ๘๑๙ ฉลูศก ครั้งนั้น เข้าแพงเปนทนานละ ๘๐๐ เบี้ย เมี่อคิดเสมอเบี้ยเฟิองละ ๘๐๐ นั้น เกิยนหนึ่งเปนเงินสามชั่งสิบบาด

ศักราช ๘๒๐ ขารศก ครั้งนั้น ให้บุณะพระสาศนาบริบูรรณ แลหล่อรูปพระโพธิสัตวห้าร้อยชาติ

ศักราช ๘๒๒ มโรงศก เหลนการมหอรสพฉลองพระ แลพระราชทานแก่สงฆแลพราหมณแลพรรณิพกทังปวง ครั้งนั้น พญาซเลิยงคิดเปนขบด ภาเอาครัวทังปวงไปออกแต่มหาราช

ศักราช ๘๒๓ มเสงศก พญาซเลิยงนำมหาราชมาจเอาเมิองพิศณุโลก เข้าปล้นเมิองเปนสามารถ มีได้เมิอง แลจึ่งยกทับเปร่อไปเอาเมิองกำแพงเพช แลเข้าปล้นเมิองเถิงเจดวัน มีใด้เมิอง แลมหาราชเลิกทับคืนไปเชิยงใหม่

ศักราช ๘๒๔ มเมิยศก เมิองนครไทยภาเอาครัวอพยบหนีไปเมิองน่าน แลให้พระกลาโหมไปตามได้คืนมา แล้วพระกลาโหมยกพลไปเอาเมิองสุกโข ได้เมิองคืนดูจเก่า

ศักราช ๘๒๕ มแมศก สมเดจพระบรมไตรโลกเจ้าไปเสวยราชสมบัดดิเมิองพิศณุโลก แลตรัสให้พระเจ้าแผ่นดินเสวยราชสมบัดติพระนครศรีอยุทธยา ทรงพระนาม สมเดจบรมราชา ครั้งนั้น มหาราชท้าวลูกยกพลมาเอาเมิองสุกโขไทย จึ่งสมเดจพระบรมไตรโลกเจ้าแลสมเดจพระอินทราชาเสดจไปกันเมิอง แลสมเดจพระราชาเจ้าตีทับพญาเถิยนแตก แลทับท่านมาปรทับหมื่นนคร แลท่านได้ชนช้างด้วยหมื่นนคร แลครั้งนั้น เปนโกลาหนใหญ่ แลข้าศึกลาวทั้งสี่ช้างเข้ารุมเอาช้างพระธินั่งช้างเดิยวนั้น ครั้งนั้น สมเดจพระอินทราชาเจ้าต้องปืนณพระภักตร แลทับมหาราชนั้นเลิกกลับคืนไป

ศักราช ๘๒๖ วอกศก สมเดจพระบรมไตรโลกเจ้าส้างพระวิหารวัทจุลามุนี

ศักราช ๘๒๗ รกาศก สมเดจพระบรมไตรโลกเจ้าทรงพระผนวดณวัดจุลามุนีได้แปดเดือน ลาพระผนวด

ศักราช ๘๓๐ ชวดศก ครั้งนั้น มหารราชท้าวบุญชีงเอาเมืองเชียงใหม่แก่ท้าวลูก

ศักราช ๘๓๓ เถาะศก ได้ช้างเผือก

ศักราช ๘๓๔ มโรงศก พระราชสมภพพระราชโอรศท่าน

ศักราช ๘๓๕ มเสงศก หมื่นนครได้ลอกเอาทองพระเจ้าลงมาหุ้มดาบ

ศักราช ๘๓๖ มเมิยศก เสดจไปเอาเมิองชเลียง

ศักราช ๘๓๗ มแมศก มหาราชขอมาเปนไมตรี

ศักราช ๘๓๙ รกาศก แรกตั้งเมืองนครไทย

ศักราช ๘๔๑ กุรศก พระศรีราชเดโชถึงแก่กรรม

ศักราช ๘๔๒ ชวดศก พญาล้านช้างถึงแก่กรรม แลพระราชทานให้อภิเศกพญาซายขาวเปนพญาล้านช้างแทน

ศักราช ๘๔๔ ขานศก ท่านให้เหล้นการหรรสภ ๑๕ วันฉลองพระศรีรัตนมหาธาตุ แล้วจึ่งพระราชนิพนธมหาชาติคำหลวงจบบริยบูรรณ

ศักราช ๘๔๕ เถาะศก สมเดจพระบรมราชาเจ้าเสดจไปวังช้างตำบลไทรย้อย

ศักราช ๘๔๖ มโรงศก สมเดจพระเชษฐาธิราชเจ้าแลสมเดจพระราชโอรศสมเดจพระบรมราชาธิราชเจ้าทรงพระพหนวชทังสองพระองค

ศักราช ๘๔๗ มเสงศก พระราชโอรศท่ารลาพระพหนวด แลปรดิษถารพระองคนั้นไว้ในที่พระมหาอุปราช

ศักราช ๘๔๘ มเมิยศก สมเดจพระบรมราชาธิราชเจ้าไปวังช้างตำบลสำฤทธิบูรณ

ศักราช ๘๔๙ มแมศก ท้าวมหาราชลูกพิราไลย

ศักราช ๘๕๐ วอกศก สมเดจพระบรมราชาธิราชเจ้าเสดจไปเอาเมิองทวาย แลเมิ่อจเสิยเมิองทวายนั้นเกิดอุบาทวเปนหลายปรการ โคตกลูกตัวหนึ่งเปนแปดเท้า ไก่ฟักไข่ออกตัวนึ่งเปนสี่เท้า ไก่ฟักไข่สามดวงออกลูกเปนหกตัว อนึ่ง เข้าสารงอกเปนใบ อนึ่ง ในปีเดิยวนั้น สมเดจพระบรมไตรโลกเสดจนิฤๅพานณะเมิองพิศณุโลก

ศักราช ๘๕๒ จอศก แรกให้ก่อกำแพงเมืองพิไชย

ศักราช ๘๕๓ กุรศก สมเดจพระบรมราชาธิราชเจ้านิฤๅพาน จึ่งสมเดจพระเชษฐาธิราชเจ้าเสวยราชสมบัดติพระนครศรีอยุทธยา ทรงพระนาม สมเดจพระรามาธิบดี

ศักราช ๘๕๔ ชวดศก ปรดิษถารมหาสถูปพระบรมธาตุสมเดจพระบรมไตรโลกแลสมเดจพระบรมราชาธิราชเจ้า

ศักราช ๘๕๘ มโรงศก ท่านปรพฤทธิการเบญจาพิศพระองคท่าน แลให้เหล้นการดึกดำบรรพ

ศักราช ๘๕๙ มเสงศก ท่านให้ทำการปรถมกรรม

ศักราช ๘๖๑ มแมศก แรกสร้างพระวิหารวัดพระศรีสรรเพช

ศักราช ๘๖๒ วอกศก สมเดจพระรามาธิบดีเจ้าแรกให้หล่อพระพุทธิเจ้าพระศรีสรรเพช แลแรกหล่อในวัน ค่ำ ครั้นเถิงศักราช ๘๖๕ กุรศก วัน ๑๑ ฯ  ค่ำ ฉลองพระพุทธเจ้าพระศรีสรรเพช คัณนาพระพุทธิเจ้านั้นแต่พระบาทเถิงยอดพระรัศมีนั้นสูงได้แปดวา พระภักตรนั้นยาวใด้ ๔ ศอก กว้างพระภักตรนั้น ๓ ศอก แลพระอุระนั้นกว้าง ๑๑ ศอก แลทองหล่อพระพุทธเจ้านั้นหนักห้าหมื่นสามพันชั่ง ทองคำหุ้มนั้นหนักสองร้อยแปดสิบหกชั่ง ข้างหน้านั้นทองเนิ้อ ๗ น้ำสองขา ข้างหลังนั้นทองเนิ้อ ๖ น้ำสองขา

ศักราช ๘๕๒ จกศก แรกให้ก่อกำแพงเมืองพิไชย

ศักราช ๘๗๗ กุญศก วัน ๑๕ ฯ  ๑๑ ค่ำ เพลารุ่งแล้ว ๘ ชั้น ฤกษ์ สมเดจพระรามาธีบดีเสดจไปเมิองนครลำภาง ใด้เมิอง

ศักราช ๘๘๐ ขานศก ครั้นสมเดจพระรามาธิบดีส้างวัดพระศรีสรรเพชเสวยราชสมบัติ แรกตำราพิไชยสงคราม แลแรกทำสารบาณชียพระราชสำฤทธิทุกเมิอง

ศักราช ๘๘๖ วอกศก ครั้งนั้น เหนงาช้างต้นเจ้าพญาปราบแตกข้างขวายาวไป อนึ่ง ในเดิอน ๗ นั้น คนทอดบาดสนเท่ห ครั้งนั้น ให้ฆ่าขุนนางเสียมาก

ศักราช ๘๘๗ รกาศก น้ำน้อย เข้าเสิยสิ้นทังปวง อนึ่ง แผ่นดินไหวทุกเมืองแล้ว แลเกิดอุบาทวเปนหลายปรการ

ครั้นรุ่งขินศักราช ๘๘๘ จอศกนั้น เข้าแพงเปน ๓ ทนานต่อเฟื้องเบี้ยแปดร้อย เกิยนนึ่งเปนเงินชั่งหกตำลึง ครั้งนั้น ปรดิษถานสมเดจหน่อพุทธางกูรเจ้าในที่อุปราช แลให้เสด็จขึ้นไปครองเมิองพิศณุโลก

ศักราช ๘๙๑ ฉลูศก เหนอากาษนิมิตรเปนอินทนูแต่ทิศหรดีผ่านอากาษมาทิศพายัพ มีพรรณขาว วัน ๑๒ ค่ำ สมเดจพระรามาธิบดีเจ้าเสดจพระธินั่งหอพระ ครั้นค่ำลงวันนั้น สมเดจพระรามาธิบดีเจ้านิฤๅพาน จึ่งสมเดจพระอาทิตยเจ้าเสวยราชสมบัดดิพระนครศีรอยุทธยา ทรงพรนาม สมเดจบรมราชาหน่อพุทธางกูร

ศักราช ๘๙๕ มเสงศก สมเดจบรมราชาหน่อพุทธางกูรเจ้านิฤๅพาน จึ่งสมเดจพระราชกุมารได้เสวยราชสมบัดดิ

ครั้นเถิงศักราช ๘๙๖ มเมียศก พระราชกุมารท่านนั้นเปนเหตุ จึ่งได้ราชสมบัดดิแก่พระไชยราชาธิราชเจ้า

ศักราช ๙๐๐ จอศก แรกให้พูนดินณวัดชีเชียง ในเดิอนหกนั้น แรกสถาปนาพระพุทธิเจ้าแลพระเจดี เถิงเดิอน ๑๑ เสดจไปเชิองไกรเชิยงกราน เถิงเดิอน ๔ ขึ้น ๙ ค่ำ เพลาค่ำประมาณยามนึ่ง เกิดลมพยุพัดหนักหนา แลคอเริออ้อมแก้วแสนเมิองมานั้นหัก แลเริอไกรแก้วนั้นทลาย อนึ่ง เมื่อเสดจมาแต่เมิองกำแพงเพชนั้นว่า พญานรายคิดเปนขบท แลให้กุมเอาพญานรายนั้นฆ่าเสียในเมิองกำแพงเพช

ศักราช ๙๐๗ มเสงศก วัน ค่ำ สมเดจพระไชยราชาธิราชเจ้าเสดจไปเมืองเชิยงใหม่ ให้พญาพิศณุโลกเปนทับหน้า แลยกพลออกต้งงทับไชยตำบลบางบานณวัน ๑๔ ฯ  ค่ำ จึ่งยกทับหลวงจากที่ทับไชยไปเมืองกำแพงเพช เถิงณวัน ค่ำ เสด็จออกตั้งทับไชยณเมืองกำแพงเพชณวัน ๑๒ ค่ำ ยกทับไปต้งงณเมืองเชียงทอง แล้วยกไปต้งงณเมิองเชิยงใหม่ เถิงณวัน ค่ำ ทับหลวงเสดจกลับคืนจากเชิยงใหม่ เถิงณวัน ๑๕ ฯ  คำ ทับหลวงเถิงเมืองกำแพงเพช แล้วจึ่งเสดจมายังพระนครศรีอยุทธยา ฝ่ายพระนครศรีอยุทธยานั้น ในวัน ค่ำ เกิดเพลิงใหม้ถึงสามวันจึ่งดับได้ แลงมีบาญชียเริอนเพลิงใหม้นั้น ๑๐๐๕๐ เริอนณวัน ๑๑ ฯ  ค่ำ สมเดจพระไชยราชาธิราชเจ้าเสดจไปเมิองเชิยงใหม่ แลให้พญาพิศณุโลกเปนทับหน้า แลยกทับหลวงเสดจไปเมืองกำแพงเพช แรมทับหลวงอยู่ณเมิองกำแพงเพชนั้นเดิอนหนึ่ง เถิงวัน  ค่ำ เสดจออกตั้งงทับไชย ถึงณวัน ค่ำ จึ่งยกทับหลวงเสดจไปเมิองเชิยงใหม่ แลณวัน ค่ำ ไดเมิองลำภูนไชย วัน ๑๓ ฯ  ค่ำ มีอุบาทว เหนเลือดติดอยู่ณปรตูบ้านแลเรือนแลวัดท้งงปวงในเมิองแลนอกเมิองทั่วทุกตำบล เถิงณวัน ๑๕ ค่ำ ยกทับหลวงเสดจจากเมิองเชิยงใหม่มายังพระนครศรีอยุทธยา

ศักราช ๙๐๘ มเมิยศก เดิอนหกนั้น สมเดจพระไชยราชาธิราชเจ้านิฤๅพาน จึ่งสมเดจพระเจ้ายอดฟ้าพระราชกุมารท่านเสวยราชสมบัดติพระนครศรีอยุทธยา ในปีนั้น แผ่นดินไหว

ศักราช ๙๑๐ วอกศก วัน ค่ำ เสดจออกสนาม ให้ชนช้าง แลงาช้างพญาไฟนั้นหักเปนสามท่อน อนึ่ง อยู่สองวัน ช้างต้นพระฉัดทันตไหลร้องเปนเสียงสังข อนึ่ง ปรตูไพพยนร้องเปนอุบาทว เถิงวัน ค่ำ สมเดจพระเจ้ายอดฟ้าเปนเหตุ จึ่งขุนชิณราชได้ราชสมบัดดิ ๔๒ วัน แลขุณชิณราชแลแม่หญัวศรีศุดาจันเปนเหตุ จึ่งเชิญสมเดจพระเฑิยรราชาธิราชเสวยราชสมบัดดิ ทรงพระนาม สมเดจพระมหาจักรพรรดิ แลครั้นเสวยราชสมบัดดิได้ ๗ เดิอน พญาหงษาปังเสวกิยกพลมายังพระนครศรีอยุทธยาในเดิอน ๔ นั้น เมื่อสมเดจพระมหาจักรพรรดิเจ้าเสดจออกไปรบศึกหงษานั้น สมเดจพระอรรคมเหษี สมเดจพระเจ้าลูกเธอพระราชบุตรี เสดจทรงช้างออกไปโดยเสดจด้วย แลเมิ่อได้รบศึกหงษานั้น ทับหน้าแตกมาปะทับหลวงเปนโกลาหลใหญ่ แลสมเดจพระอรรคมเหษีแลสมเดจพระเจ้าลูกเธอพระราชบุตรีนั้นได้รบด้วยข้าศึกถึงสิ้นพระชนมกับคอช้างนั้น แลศึกหงษาครั้งนั้นเสิยสมเดจพระมหาธรรมราชาธิราชเจ้าแลสมเดจพระเจ้าลูกเธอพระราเมศวรไปแก่พญาหงษา แลจึ่งเอาพญาปราบแลช้างต้นพญานุภาพตามไปส่งให้พญาหงษาถึงเมิองกำแพงเพช แลพญาหงษาจึ่งส่งพระมหาธรรมราชาธิราชเจ้า สมเดจพระราเมศวรเจ้า มายังพระนครศรีอยุทธยา

ศักราช ๙๑๑ รกาศกณวัน ๑๑ ฯ  ค่ำ ได้ช้างเผิอกพลายตำบลป่าตนาวศรี สูง ๔ ศอกมีเสท ชื่อ ปัดไจยนาเคนท ครั้งนั้น แรกให้ก่อกำแพงพระนครศรีอยุทธยา

ศักราช ๙๑๒ จอศก เดิอน ๘ ขึ้นสองค่ำ ทำการพระราชพิธีปถมกรรมสมเดจพระมหาจักรพรรดิเจ้าตำบลท่าแดง พระกรรมวาจาเปนพฤทธิบาศ พระพิเชฐเปนหัศดาจารย พระอินโทรเปนกรมการ

ศักราช ๙๑๔ ชวดศก ครั้งนั้น ให้แปลงเริอแซเปนเริอไชยแลหัวสัตร

ศักราช ๙๑๕ ฉลูศก เดิอน ๗ นั้น แรกทำการพระราชพิทธีมัทยมกรรมสมเดจพระมหาจักรพรรดิตำบลไชยนาทบุรีย

ศักราช ๙๑๖ ขานศก เสดจไปวังช้างตำบลบางลมุง ได้ช้างพลายพัง ๖๐ ช้าง อนึ่ง ในเดิอน ๑๒ นั้น ไดช้างพลายเผิอกตำบลการบุรีย สูง ๔ ศอกมีเสท ชื่อ พระคเชนโทรดม

ศักราช ๙๑๗ เถาะศก วัน ๒ ฯ ๗ ค่ำ ได้ชางเผือกพลายตำบลป่าเพชบูร สูง ๔ ศอกคืบมีเสด ชื่อ พระแก้วทรงบาท

ศักราช ๙๑๘ มโรงศก เดิอน ๑๒ แต่งทับไปลแวก พญาองคสวรรคโลกเปนนายกองถือพล ๓๐๐๐๐ พระมหามนตรีถืออาชาสทธิ พระมหามหาเทพถือวัวเกวิยน ฝ่ายทับเรือใส่ พญาเยาวเปนนายกอง ครั้งนั้น ลมพัดขัด ทับเรือมิทันทับบก แลพญารามหลักษณเกนเข้าทับบกนั้นเขาบุกทับในกลางคืน แลทับพญารามหลักษณนั้นแตกมาปะทับใหญ่ ครั้งนั้น เสิยพญาองคสวรคโลกนายกองแลช้างม้ารี้พลมาก

ศักราช ๙๑๙ มเสงศก วัน ค่ำ เกิดเพลิงใหม้ในพระราชวังมาก อนึ่ง ในเดิอน ๓ นั้น ทำการพระราชพิทธีอาจาริยาภิเศก แลทำการพระราชพิทธีอินทราภิเศกในวังใหม่ อนึ่ง ในเดิอน ๔ นั้น พระราชทารสัตสตกมหาทาน แลให้ช้างเผิอกพระราชทาน มีกองเชิงเงิน ๔ เทาช้างนั้น เปนเงิน ๑๖๐๐ บาท แลพระราชทานรถ ๗ รถเทิยมด้วยม้า แลมีนางสำรับรถนั้นเสมอรถ ๗ นาง อันนึง ในเดิอน ๗ นั้น เสดจไปวังช้างตำบลโตรกพระ ใด้ช้างพลายพัง ๖๐ ช้าง

ศักราช ๙๒๑ มแมศก เสดจไปวังช้างตำบลแสนตอ ได้ช้างพลายพัง ๔๐ช้าง

ศักราช ๙๒๒ วอกศก เสดจไปวังช้างตำบลวัดไก่ ได้ช้างพลายพัง ๕๐ ช้าง อันนึง อยู่ในวัน ๗ ฯ ๑๒ คำ ได้ช้างเผือก แลตาช้างนั้นมิได้เปนเผิอก แลลูกติดมาด้วยตัวนึง

ศักราช ๙๒๓ รกาศก พระศรีสินบวดอยู่วัดมหาธาตุ แล้วหนีออกไปอยู่ตำบลมวงมดแดง แลพระสังฆราชวัดป่าแก้วให้ฤกษแกพระษีสินไห้เข้ามาเข้าพระราชวังณวัน คำ ครั้งนั้น พญาศรีราชเดโชเปนโทษรับพระราชอาดญาอยา แลพญาศรีราชเดโชจึ่งให้ไปว่าแก่พระศรีสินว่า ครั้นพ้นวันพระแล้ว จไห้ลงพระราชอาดญาฆ่าพญาศรีราชเดโชเสีย แลขอให้เร่งยกเข้ามาให้ทันแต่ในวันพระนี้ แลพระศรีสินจิงยกเข้ามาแต่ในวัน ๑๔ คำ เพลาเอยนนั้น มายังกรุง ครั้นรุงขึ่นในวันพระนั้น พระศรีสินเข้าพระราชวังได้ ครั้งนั้น ได้พระศรีสินมรณภาพไนพระราชวังนั้น ครั้นแลรู้ว่า พระสงฆราชป่าแก้วไห้ฤกษแก่พระศรีสินเปนแม่นแล้วไซ้ ก็ไห้เอาพระสังฆราชป่าแก้วไปฆ่าเสีย

ศักราช ๙๒๔ จอศก เสดจไปวังช้างตำบลไทรย้อย ใด้ช้างพลายพัง ๗๐ ช้าง

ศักราช ๙๒๕ กุนศก พระเจ้าหงษานิพันตรยกพลลงมาในเดิอน ๑๒ นั้น ครั้นถึงวัน ค่ำ พระเจ้าหงษาได้เมืองพิศนุโลก ครั้งนั้น เมิองพิศนุโลกเข้าแพง ๓ สัจบาท อนึ่ง คนท้งงปวงเกิดทรพิศตายมาก แล้วพระเจ้าหงษาจึ่งได้เมิองฝ่ายเหนิอท้งงปวง แล้วจึ่งยกพลลงมายังกรุงพระมหานครศรีอยุทธยา ครั้งนั้น ฝ่ายกรุงพระนครศรีอยุทธยาออกเปนพระราชไม้ตรี แลสมเดจพระมหากระสัตรเจ้าทั้งสองฝ่ายเสดจมาทำสัตยาธิษถานหลั่งน้ำสิโนทกตำบลวัดพระเมรุ แล้วจึ่งพระเจ้าหงษาขอเอาสมเดจพระเจ้าลูกเธอพระราเมศวรเจ้าแลช้างเผิอก ๔ ช้างไปเมิองหงษา คร้งนั้น พญาศีรสุรตานพญาตานีมาช่วยการศึก พญาตานีนั้นเปนขะบถ แลคุมชาวตานีท้งงปวงเข้าในพระราชวัง ครั้นแลเข้าในพระราชวังได้ เอาช้างเผือกมาขี่ยืนอยู่ณท้องสนาม จึ่งลงจากช้างออกไปณทางตะแลงแกง แลชาวพระนครเอาพวนขึงไว้ต่อรบด้วยชาวตานี ๆ นั้นตายมาก แลพญาตานีนั้นลงสำเภาหนีไปรอด ในปีเดิยวนั้น พระเจ้าล้านช้างให้พระราชสารมาถวายว่า จะขอสมเดจพระเจ้าลูกเธอพระเทพกระสัตรเจ้า แลทรงพระกรุณาพระราชทานแก่พระเจ้าลานช้าง แลครั้งนั้น สมเดจพระเจ้าลูกเธอพระเทพกระสัตเจ้าทรงพระประชวน จึ่งพระราชทานสมเดจพระเจ้าลูกเธอพระแก้วฟ้าพระราชบุดตรีให้แก่พระเจ้าล้านช้าง

ศักราช ๙๒๖ ชวดศก พระเจ้าล้านช้างจึงให้เชิญสมเดจพระแก้วฟ้าพระราชบุดตรีลงมาสงยังพระนครษรีอยุทธยา แลว่า ขอสมเดจพระเจ้าลูกเธอพระเทพกรสัตรเจ้านั้น แลจึ่งพระราชทาน

(จบเล่ม ๑ สมุดไทย)


(หน้าปกสมุดไทยเล่ม ๒)

พระสมุดกฎหมายเหดรำดับกระษัตรแต่ก่อรครั้งแรกสถาปนา ... ... ... พะแนงเชิง ๒

(บานแผนก)

๏ วัน ๓ ฯ ๖ ค่ำ จุลศักราช ๑๑๓๖ ปีมะเมิย ฉอศก

๏ ข้าพระพุทธิเจ้า พระอาลักษณ จำลอง นายบุนจัน อาลักษณ ทาน

สมเดจพระเทพกรษัตรเจ้าไปแก่พระเจ้าล้านช้าง ครั้งนั้น พระเจ้าหงษารู้เนิ้อความทั้งปวงนั้น จึ่งแต่งทับมาซุ่มอยู่กลางทาง แลออกชิงเอาสมเดจพระเทพกรษัตรเจ้าใด้ไปถวายแก่พระเจ้าหงษา อนึ่ง ในปีนั้น น้ำ ณ กรุงพระนครศรีอยุทธยานั้นน้อยนัก

ศักราช ๙๓๐ มโรงศก ในเดิอน ๑๒ นั้น พระเจ้าหงษายกพลมาแต่เมิองหงษา ครั้นถึงวัน ค่ำ พระเจ้าหงษามาถึงกรุงพระนครศรีอยุทธยา ต้งงทัพตำบลลมพลี แลเมื่อศึกหงษาเข้าล้อมพระนครศรีอยุทธยานั้น สมเดจมหาจักรพรรดิเจ้าทรงพระประชวนนิฤๅพาน แลครั้งนั้น สมเดจพระเจ้าลูกเธอพระมหินทราธิราชตรัสหมิได้นำภาการเศิก แต่พระเจ้าลูกเธอพระศรีเสาวะนั้นตรัสเอาพระไทยใส่ แลเสดจไปบันชาการที่จรักษาพระนครทุกวัน ครั้นแลสมเดจพระมหินทราธิราชเจ้าตรัศรู้ว่า พระเจ้าลูกเธอพระศรีเสาวเสดจไปบันชาการเศิกทุกวันดังนั้น ก็มิได้ไว้พระทัย ก็ให้เอาพระเจ้าลูกเธอพระศรีเสาวนั้นไปฆ่าเสีย ณ วัดพระราม ครั้งนั้น การเศิกซึ่งจรักษาพระนครนั้นกคลายลง

ครั้นเถิงศักราช ๙๓๑ มเสงศก ณ วัน ๑๑ ค่ำ เพลารุงแล้วปรมาน ๓ นาลิกา กเสียกรุงพระนครศรีอยุทธยาแก่พระเจ้าหงษา ครั้นเถิงวัน ๑๒ ค่ำ ทำการปราบดาภิเสกสมเดจพระมหาธรรมราชาธิราชเจ้าเสวยราชสมบัดดิกรุงพระนครศรีอยุธยา อนึ่ง เมี่อพระเจ้าหงษาเสดจกลับคืนไปเมิองหงษานั้น พระเจ้าหงษาเอาสมเดจพระมหินทราธิราชเจ้าขึ้นไปด้วย

ศักราช ๙๓๒ มเมิยศก พญาลแวกยกพลมายังพระนครศรีอยุธยา พญาลแวกยืนช้างตำบลสามพิหาร แลได้รบพุ่งกัน แลชาวในเมิองพระนครยิงปืนออกไปต้องพญาจามปาธิราชตายกับคอช้าง ครั้งนั้น ศึกพญาลแวกเลิกทัพกลับคืนไป ในปีนั้น น้ำ ณ กรุงพระนครศรีอยุธยามาก

ศักราช ๙๓๓ มแมศก น้ำน้อย อนึ่ง สมเดจ์พระณรายบพิดรเปนเจ้าเสดจขึ้นไปเสวยราชสมบัดดิ ณ เมิองพิศณุโลก

ศักราช ๙๓๔ วอกศก น้ำน้อยนัก

ศักราช ๙๓๕ รกาศก น้ำน้อยเปนมัทยม

ศักราช ๙๓๖ จอศก น้ำมากนัก ครั้งนั้น สมเดจ์พระเจ้าลูกเธอทรงพระปรชวรธรพิศ

ศักราช ๙๓๗ กุรศก พญาลแวกยกทัพเริอมายังพระนครศรีอยุทธยาในวัน ๑๐ ฯ  ค่ำนั้น ชาวเมิองลแวกตั้งทับเรีอตำบลพแนงเชิง แลได้รบพุ่งกัน ครั้งนั้น ศึกลแวกต้านมิได้ เลิกทับกลับไป แลจับเอาคน ณ เมิองปากไต้ครั้งนั้นไปเปนอันมาก ไนปีนั้น น้ำ ณ กรุงศรีอยุธยาน้อย

ศักราช ๙๔๐ ขาลศก พญาลแวกแต่งทับให้มาเอาเมิองเพชบุรีย มิได้เมิอง แลชาวลแวกนั้นกลับไป ครั้งนั้น พญาจีนจันตุหนีมาแต่เมิองลแวกมาสู่พระราชสมภาร ครั้นอยู่มา พญาจินจันตุก็หนีกลับคืนไปเมีอง

ศักราช ๙๔๒ มโรงศก รื้อกำแพงกรุงพระนครออกไปตั่งเถิงริมแม่น้ำ

ศักราช ๙๔๓ มเสงศก ญาณประเชิยรเริยนสาตราคม แลคิดเปนขบด คนท้งงปวงสมักเข้าด้วยมาก แลยกมาจเอาเมิองลพบูรีย แลยืนช้างอยู่ตำบลหัวตรี แลบรเทศคนหนึ่งอยู่ในเมิองนั้นยิงปืนออกไปต้องญาณปรเชิยรตายกับคอช้าง แลในปีนั้น มีหนังสือมาแต่เมิองหงษาว่า ปีมเสง ตรีนิศกนี้ อธีฆมาศหมิได้ ฝ่ายกรุงพระนครศรีอยุธยานี้มีอธิฆมาศ อนึ่ง ในวัน คำ รู้ข่าวมาว่า พระเจ้าหงษานิฤๅพาน อนึ่ง ในเดือน ๓ นั้น พญาลแวกยกพลมาเมิองเพชรบุริย ครั้งนั้น เสียเมิองเพชรบุริยแก่พญาลแวก

ศักราช ๙๔๔ มเมิยศก พญาลแวกแต่งทับให้มาจับคนปลายด่านตวันออก

ศักราช ๙๔๕ มแมศก ครั้งนั้น เกิดเพลิงไหม้แต่จวนกลาโหม แลเพลิงนั้นลามไปเถิงในพระราชวัง แลลามไหม้ไปเมิองท้ายเมิอง ครั้งนั้น รู้ข่าวมาว่า ชาวหงษาทำทางมาพระนครศรีอยุธยา

ศักราช ๙๔๖ วอกศก ครั้งนั้น สมเดจพระนรายณเปนเจ้าเสวยราชสมบัดดิณเมิองพิศณุโลก รู้ข่าวมาว่า พระเจ้าหงษากับพระเจ้าอังวะผิดกัน ครั้งนั้น เสดจไปช่วยการเศิกพระเจ้าหงษา แลอยู่ในวัน คำ ช้างตนพลายสวัดดิมงคลแลช้างต้นพลายแก้วจักรรัศชนกัน แลงาช้างต้นพลายสวัดดิมงคลลุ่ยข้างซ้าย แลโหรทำนายว่า ห้ามยาดตรา แลมีพระราชโองการตรัสว่า ใด้ตกแต่งการนั้นสรับแล้ว จึงเสดจพยุหบาดตราไป ครั้นเถิงณวัน คำ เสดจออกตั้งทับไชยตำบลวัดยมทายเมิองกำแพงเพช ในวันนั้น แผ่นดินไหว แล้วจึ่งยกทับหลวงเสดจไป ครั้นทับหลวงเสดจไปถึงเมืองแครงแล้ว จึงทับหลวงเสดจกลับคืนมาพระนครศรีอยุธยา ฝ่ายเมิองพิศณุโลกนั้น อย่ในวัน ๑๐ คำ เกิดอัศจัรรย แมนำซายหัวเมิองพิศนุโลกนั้นป่วนขึ้นสูงกว่าพื้นน้ำนั้น ๓ ศอก อนึ่ง เหนษัตรีภาพผู้นึ่ง หน้าประดูจหน้าช้าง แลสงสถานประดูจงวงช้าง แลหูนั้นใหญ่ นั่งอยู่ณวัดประสาทหัวเมิองพิศณุโลก อนึ่ง ช้างใหญ่ตัวหนึ่งยืนอยู่ณทองสนามนั้น อยู่กล้มลงตายกับที่บัดเดิยวนั้น อนึ่ง เหนตักกแตนบินมาณอากาษเปนอันมาก แลบังแสงพระอาทิตยบดมา แล้วก็บินกระจัดกระจายสญไป ในปีเดิยวนั้น ให้เทครัวเมิองเหนิอทังงปวงลงมายังกรุงพระนครศรีอยุธยา ในปีเดิยวนั้น พระเจ้าหงษาให้พระเจ้าสาวถีแลพญาพสิมยกพลลงมายังกรุงพระนคร แลณวัน ค่ำ เพลาเทิยงคืนแล้ว ๒ นาลิกาเก้าบาท เสดจพยุหบาดตราไปตั้งทับตำบลสามขนอน ครั้งนั้น เศิกหงษาแตกพ่ายหนีไป อนึง ม้าตัวนึงตกลูก แลศีรษะม้านั้นเปนสีสะเดิยว แลตัวม้านั้นเปนสองตัว แลเท้าม้านั้นตัวละสี่เท้า ประดูจชิงศีรษะกัน

ศักราช ๙๔๗ รกาศก พระเจ้าสาวถียกพลลงมาครั้งนึงเล่า ตั้งทับตำบลสะเกษ แลต้งงอยู่แต่เดิอนญี่เถิงเดิอนสี่ ครั้นถึงวัน คำ เพลารุ่งแล้ว ๒ นาลิกาบาท เสดจพยุหบาตราตั้งทับไชยตำบลลมพะลี แลณวัน ๑๐ ฯ  คำ เสดจจากทับไชโดยทางชลมาคไปทางปาโมก มีนกกทุงบินมาทั้งซ้ายขวาเปนอันมากนำหน้าเริอพระที่นั่งไป ครั้นถึงวัน ๑๔ ค่ำ เสดจทรงช้างพระที่นั่งพลายมงคลทวิปออกดาช้างม้าทั้งปวงอยู่ณริมน้ำ แลพระอาทิตยทรงกลด แลรัศหมีกลดนั้นส่องลงมาต้องช้างพระที่นั่ง มีสงสถานประดูจเงากลดนั้นกั่นช้างพระที่นั่ง ครั้งนั้น ตีทับพระเจ้าสาวถีซึ่งตังอยู่ตำบลสระเกษนั้นแตกภ่ายไป ในปีเดิยวนั้น มหาอุปราชายกพลลงมาโดยทางกำแพงเพช ตั้งทำนาอยู่ทีนั้น

ศักราช ๙๔๘ จอศกณวัน ๑๒ คำ พระเจ้าหงษางาจีสยางยกพลลงมา ถึงกรุงพระนครศรีอยุธยาณวัน คำ แลพระเจ้าหงษาเข้าล้อมพระนคร แลตั้งทับตำบลขนอนปากคู แลทับมหาอุปะราชาตั้งขนอนบางตรนาว แลทับทั้งปวงก็ตั้งรายกันไปล้อมพระนครอยู่ แลครั้งนั้น ได้รบพุ่งกันเปนสามารถ แลพระเจ้าหงษาเลิกทับคืนไป ในศักราช ๙๔๙ นั้น วัน ๑๔ คำ เสดจโดยทางชลมารคไปตีทับมหาอุปะราชาอันตั้งอยู่ขนอนบางตนาวนั้นแตกพ่ายลงไปตั้งอยู่ณบางกรดาน วัน ๑๐ คำ เสดจพระราชตำเนิรออกไปตีทับมหาอุปราชาอันลงไปตั้งอยู่ณบางกรดานนั้นแตกภ่ายไป วัน คำ เสดจพระพระราชตำเนิรพยุหบาดตราออกตั้งทับไชยณวัดเตชะ แลตั้งค่ายขุดคูเปนสามารถ วัน คำ เอาปืนใหญ่ลงสำเภาขึ่นไปยิงเอาคายพระเจ้าหงษา ๆ ต้านมิได้ ก็เลิกทับไปตั้งณปาโมกใหญ่ วัน ๑๐ ฯ  คำ เสดจพระราชตำเนิรออกไปตีทับข้าเศิก ๆ นั้นแตกภาย แลไล่ฟันแทงข้าเศิกเข้าไปจนค่ายพระเจ้าหงษานั้น วัน ๑๐ คำ เสดจพระราชตำเนิรออกตังเปนทับซุ่มณลมพลี แลออกตีทับข้าเศิก ครังนั้น ได้รบพุ่งตลุมบอนกับม้าพระที่นั่ง แลทรงพระแสงทวนแทงลาวทหารตาย ครั้งนั้น ข้าเศิกแตกภายเข้าคาย แลไล่ฟันแทงข้าเศิกเข้าไปจนเถิงหน้าค่าย วัน ๑๐ คำ เพลานาลิกานึงจะรุ่ง เสดจยกทับเริ่อออกไปตีทับพญานครซึ่งตั้งอยู่ปากน้ำมุทุเลานั้น ครั้งนั้น เข้าตีทับใด้เถิงในคาย แลข้าเศิกภ่ายหนีจากค่าย แลเผาค่ายข้าเศิกเสิยสิ้น แลพระเจ้าหงษาก็เลิกทับคืนไป แลพญาลแวกมาตั้งณบางซาย ครั้งนั้น เสดจออกไปซุ่มพลทั้งปวงณบางกรดาน เถึงวัน คำ เพลาอุสาโยค เสดจพยุหบาดตราจากบางกรดานไปตั้งทับไชยณสายเคิอง แล้วเสดจไปลแวก ครั้งนั้น ใด้ช้างม้าผู้คนมาก

ศักราช ๙๕๐ ชวดศกณวัน ๑๒ คำ แผ่นดินไหว

ศักราช ๙๕๑ ฉหลูศก เข้าแพงเปนเกวิยนแลสิบตำลึง ปิดตราพญานรายกำชับณวัน คำ แผ่นดินไหว

ศักราช ๙๕๒ ขารศก วัน ๑๓ คำ สมเดจพระพุทธเจ้าหลวงพระพฤทธาราชนิฤๅพาน วัน ๑๒ คำ มหาอุปราชายกทับมาโดยทางกาญบุรีย ครั้งนั้น ใด้ตัวพญาพสิมตำบลจรเข้สามพัน

ศักราช ๙๕๔ มโรงศก วัน ๑๒ คำ อุปราชายกมาแต่เมิองหงษา ณวัน คำ เพดานช้างต้นพญาไชยานุภาพตกออกมาไหญ่ประมาณ ๕ องคุลี ครั้นถึ่งเดิอนญี่ มหาอุประราชายกมาเถึงแดนเมิองสุพรรณบุรีย แลตั้งทับตำบลพังตรุ วัน คำ เพลารุ่งแล้ว ๔ นาลิกา ๒ บาท เสดจพยุหบาดตราโดยทางชลมารค ฟันใม่ข่มนามตำบลลมพลี ตั้งทับไชยตำบลมวงวาน แลณวัน๑๒ ฯ  คำ เพลารุ่งแล้ว ๒ นาลิกา ๙ บาท เสดจพยุหบาดตราโดยทางสถลมารค อนึง เมี่อจไกล้รุ่งขิ่นวัน ๑๒ คำนั้น เหนพระสาริกาธาตุปราฏิหารไปโดยทางซึ่งจเสดจนั้น ถึ่งวัน คำ เพลารุ่งแล้ว ๕ นาลิกา ๓ บาท เสดจทรงช้างต้นพญาไชยานุภาพเสดจออกรบมหาอุปราชาตำบลหนองสราย ครั้งนั้น มิได้ตามฤกษ แลฝ่ายฤกษน้อยหนึง แลเมี่อได้ชนช้างด้วยมหาอุปราชานั้น สมเดจพระรายบพิตรเปนเจ้าต้องปืน ณ พระหัตฐขางขวาน้อยหนึ่ง อนึง เมี่อมหาอุปราชาขี่ช้างออกมายืนอยู่นั้น หมวกอุปราชาไส่นั้นตกลงเถึ่งดินแลเอาคืนขึ่นไส่เล่า ครั้งนั้น มหาอุปราชาขาดหัวช้างตายในทีนั้น แลช้างต้นพญาไชยานุภาพซึ่งทรงแลได้ชนด้วยมหาอุปราชาแลมีไชยชำนะนั้นพระราชทานไห้ชื่อ เจ้าพญาปราบหงษา

ศักราช ๙๕๕ มเสงศก วัน ๑๐ คำ เสดจเถลิงพระมหาปราสาท ครั้งนั้น ทรงพระโกรธแก่มอญ ให้เอามอรเผาเสียปรมาร ๑๐๐ ณ วัน ๑๐ ฯ  คำ เพลารงแล้ว ๓ นาลิกา ๖ บาท เสดจพยุหบาดตราไปเอาเมิองลแวก แลตั้งทับไชยตำบลบางขวด เสดจไปครั้งนั้น ใด้ตัวพญาศรีสุพัรรในวัน คำนั้น

ศักราชได้ ๙๕๖ มะเมียศก ยกทับไปเมิองสะโตง

ศักราช ๙๕๗ มแมศก วัน คำ เพลารุ่งแล้ว ๓ นาลิกา ๙ บาท เสดจพยุหบาดตราไปเมิองหงษา ครั้งก่อน ฟันไม่ข่มนามตำบลลมพลี ตั้งทับไชยตำบลมวงหวาน เถิงวัน ๑๓ คำ เพลาเที่ยงคืนแล้ว เข้าปล้นเมิองหงษามิได้ ทับหลวงเสดจกลับคืนมา

ศักราช ๙๕๘ วอกศก วัน คำ ลาวหนี ขุนจาเมิองรบลาวตำบลตเชียรด้วน แล ณ วัน ค่ำ ฝนตกหนักหนาสามวันดูจรดูฝน

ศักราช ๙๖๑ กุรศก วัน ๑๑ ฯ  ๑๑ คำ เพลารุ่งแล้ว ๒ นาลิกา ๘ บาท เสดจพยุหบาดตราไปเมืองตองอู ฟันไม้ข่มนามตำบลลมพลี ตั้งทับไชยตำบลวัดตาล แลไนเดือน ๑๑ นั้น สงกรานตะ พระเสารแต่ราษีกัณไปราษรีดุล ครั้นเถิงวัน ๑๐ ฯ  คำ เสดจพระราชตำเนิรถึงเมิองตองอู แลทับหลวงเข้าตั้งไกล้เมิองตองอูปรมาน ๓๐ เส้น แลตั้งอยู่ที่นั้นสองเดิอน ขาดอาหารพ้นกำลัง ไพรพลทั้งปวงตายด้วยอดอาหารเปนอันมาก ครั้นวัน ค่ำ ทับหลวงเสดจกลับคืนมายังพระนครศรีอยุธยา

ศักราช ๙๖๓ ฉหลูศก เดิอน ๗ เดิอนเดิยวนั้น มีสูริยอุปราคา ไนปีนั้น รับพระอิษวรแลพระนรายเปนเจ้าไปถวายพระภอรพร้อมกันวันเดิยวท้ง ๔ คานหาม

ศักราช ๙๖๔ ขารศก เสดจไปปรพาศลพบุรีย

ศักราช ๙๖๕ เถาะศก ทับพระเจ้าฝ่ายหน้าเสดจไปเอาเมิองขอมได้

ศักราช ๙๖๖ มโรงศก วัน คำ เสดจพยุหบาดตราจากปาโมกโดยทางชลมารค แลฟันไม้ข่มนามตำบลเอกราช ตั้งทับไชยตำบลพระหล่อ วันนั้น เปนวันอูน แลเปนสงกรานต พระเสารไปราศีธนูเปนองษาหนึ่ง ครั้งนั้น เสดจพระราชตำเนิรถึงเมิองหลวง ตำบลทุ่งดอนแก้ว ฯ

เอกสารตัวเขียนสมัยธนบุรี พ.ศ. 2317 ของพระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐ
เอกสารตัวเขียนสมัยธนบุรี พ.ศ. 2317 ของพระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐ

เอกสารตัวเขียนสมัยธนบุรี พ.ศ. 2317 ของพระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐ
เอกสารตัวเขียนสมัยธนบุรี พ.ศ. 2317 ของพระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐ

เอกสารตัวเขียนสมัยธนบุรี พ.ศ. 2317 ของพระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐ
เอกสารตัวเขียนสมัยธนบุรี พ.ศ. 2317 ของพระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐ

เอกสารตัวเขียนสมัยธนบุรี พ.ศ. 2317 ของพระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐ
เอกสารตัวเขียนสมัยธนบุรี พ.ศ. 2317 ของพระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐ

  1. (บานแพนก) นี่คือพระราชพงศาวดารที่เรียกกันว่า ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ หมายเหตุ: อักษรวิธีตามต้นฉบับ