ข้ามไปเนื้อหา

ประชุมพงศาวดาร/ภาคที่ 34/อธิบายประกอบ

จาก วิกิซอร์ซ

บุคคล

[แก้ไข]

สถานที่

[แก้ไข]
  • กรุงเทพฯ — ได้แก่ บางกอก ที่ตั้งของกรุงเทพมหานครในประเทศไทยปัจจุบัน
  • กรุงเทพพระมหานคร — ได้แก่ กรุงศรีอยุธยา
  • กรุงฝรั่งษ — ได้แก่ ประเทศฝรั่งเศส, คำว่า "ฝรั่งษ" คงมาจาก "ฟร็องซ์" (France) ในภาษาฝรั่งเศส
  • กาบ, เมือง — ได้แก่ กัปเดอบ็อนแอสเปร็องส์ (cap de Bonne-Espérance) หมายถึง แหลมกู๊ดโฮป
  • เคป ออฟ กุดโฮบ, เคป ออฟ กูด โฮป, หรือ เคป เฉย ๆ — ได้แก่ แหลมกู๊ดโฮป (Cape of Good Hope)
  • จังหวัด — หมายถึง "เมืองที่ล้อมรอบเมืองหลวง ในสมัยอยุธยาเรียกว่า แขวงจังหวัดทั้ง 4"[2]
  • ถลาง, เมือง — ได้แก่ ถลาง อำเภอในประเทศไทยปัจจุบัน
  • ถลางบางคลี, เมือง — ได้แก่ ถลาง อำเภอในประเทศไทยปัจจุบัน[3]
  • นคร, เมือง – ได้แก่ นครศรีธรรมราช จังหวัดในประเทศไทยปัจจุบัน
  • นังต์, เมือง – ได้แก่ น็องต์ (Nantes) เมืองในประเทศฝรั่งเศส
  • เบรสต, เมือง — ได้แก่ แบร็สต์ (Brest) เมืองในประเทศฝรั่งเศส
  • ปอจุเกต, เมือง — ได้แก่ ประเทศโปรตุเกส, ดู ปตุกกรร ด้วย
  • ปารีส, เมือง — ได้แก่ ปารีส (Paris) เมืองในประเทศฝรั่งเศส
  • พระราชอาณาจักร์ — ได้แก่ กรุงศรีอยุธยา
  • ฟองแตนบโล, เมือง — ได้แก่ ฟงแตนโบล (Fontainebleau) เมืองในประเทศฝรั่งเศส
  • แฟลนเดอ, เมือง — ได้แก่ ฟล็องดร์ (Flanders) เมืองในประเทศฝรั่งเศส
  • มริด หรือ มฤทิ, เมือง — ได้แก่ มะริด (Myeik) เมืองในประเทศเมียนมา
  • มาดากาสการ์, เกาะ — ได้แก่ มาดากัสการ์ (Madagascar) เกาะซึ่งเป็นประเทศในมหาสมุทรอินเดีย
  • มาร์เกท, เมือง — ได้แก่ มาร์กิต (Margate) เมืองในประเทศอังกฤษ
  • โมกัล, เมือง — ได้แก่ จักรวรรดิโมกัล (Mogul Empire) เวลานั้นมีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองศาหฌานาบาด (Shahjahanabad)
  • ลพบุรี หรือ ลพบุรีย, เมือง — ได้แก่ ลพบุรี จังหวัดในประเทศไทยปัจจุบัน
  • ลอนดอน, เมือง — ได้แก่ ลอนดอน (London) เมืองในประเทศอังกฤษ
  • แวร์ไซย, พระราชวัง — ได้แก่ พระราชวังแวร์ซาย (Palace of Versailles) ในประเทศฝรั่งเศส
  • แวร์ไซย, เมือง — ได้แก่ แวร์ซาย (Versailles) เมืองในประเทศฝรั่งเศส
  • สันดอน — ได้แก่ สันดอนเจ้าพระยา (Bar of the Menam)[4]
  • หัวเมือง — หมายถึง เมืองของกรุงศรีอยุธยา ซึ่ง "กำหนดชั้นไว้เป็นเมืองเอก โท ตรี และจัตวา"[2]
  • ออเลอัง, เมือง — ได้แก่ ออร์เลอ็อง (Orléans) เมืองในประเทศฝรั่งเศส
  • เอรอบ, แขวง — ได้แก่ ทวีปยุโรป, คำว่า "เอรอบ" คงมาจาก "เออ-ร็อป" (Europe) ในภาษาฝรั่งเศส

อื่น ๆ

[แก้ไข]
  • กระทรวงการประเทศราช — ได้แก่ กระทรวงอาณานิคม (Ministry of the Colonies) ของประเทศฝรั่งเศส
  • กุมบันหญี หรือ กุมปันหญี — ฝรั่งเศสว่า "กงปาญี" (compagnie) แปลว่า "บริษัท"
  • เขียนอย่างเกาะ — หมายถึง เขียนแบบเกาะ กล่าวคือ เขียนแผนผังเกาะ หรือเขียนแผนที่เกาะ
  • บริษัทค้าขายฝรั่งเศสแพนกอินเดียตวันออก — ดู บริษัทอินเดียตวันออก
  • บริษัทค้าขายอินเดียตวัน — ดู บริษัทอินเดียตวันออก
  • บริษัทอินเดียตวันออก — ได้แก่ บริษัทอินเดียตะวันออกของฝรั่งเศส (French Company of the East Indies)
  • ปตุกกรร, ภาษา — ได้แก่ ภาษาโปรตุเกส, ดู ปอจุเกต ด้วย
  • โวยาช แด อัมบาสสาเดอร์ เดอ เซียม อัง ฟรางส์, ชื่อหนังสือ — ดู De Visé, J. D. (1686). Voyage des ambassadeurs de Siam en France [Travel of the ambassadors of Siam in France]. Lyon: Chez Thomas Amaulry. (In French).
  • สเตด เปเปอร์ ออฟ เดอะ คิงดอม ออฟ สยาม, ชื่อหนังสือ — ดู Siamese Legation in Paris. (1886). State papers of the Kingdom of Siam, 1664–1886. London: W. Ridgway. (In English).
  • สมาคมสาสนาทูตต่างประเทศที่กรุงปารีส — ได้แก่ คณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีส (Paris Foreign Missions Society)
  • อีสตัวร์ เดอลา มิสสิออง เดอเซียม, ชื่อหนังสือ — ดู Launay, A. (1920). Histoire de la mission de Siam 1662–1811 [History of the mission of Siam 1662–1811]. Paris: Téqui. (In French).
  • เอจู๊ด ฮิสตอริค ซูร์ แล เรอลาสิออง เดอ ลา ฟรางส์ เอ ดู โรโยม เดอ เซียม, ชื่อหนังสือ — ดู Lanier, L. (1883). Étude historique sur les relations de la France et du royaume de Siam de 1662 à 1703 [Historical study on the relations of France and the Kingdom of Siam from 1662 to 1703]. Versailles: Aubert. (In French).

เชิงอรรถ

[แก้ไข]

อ้างอิง

[แก้ไข]

บรรณานุกรม

[แก้ไข]
  • ราชบัณฑิตยสถาน. (2553). กฎหมายตราสามดวง: พระทำนูน ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน. ISBN 9786167073118.
  • สมบูรณ์ แก่นตะเคียน. (2561). ชื่อเมืองถลางและภูเก็ต. สืบค้นจาก http://phuketcity.info/default.asp?content=contentdetail&id=14103
  • Cœdès, G. (1921). "Siamese documents of the seventeenth century". Siam Society Journal, 14(2). pp. 7–39. (In English).