ข้ามไปเนื้อหา

ประชุมพงศาวดาร/ภาคที่ 7/เรื่องที่ 3

จาก วิกิซอร์ซ
คำให้การขุนโขลน เรื่อง พระพุทธบาท

วัน ๑๕ ฯ  ค่ำ จุลศักราช ๑๑๔๖ ปีมโรง สัมฤทธิศก ขุนสัจพันธคีรี ขุนอินทรพิทักษ์ ขุนธรรมการ ประขาวเพ่ง นั่งพร้อมกันบนที่ทักษิณโรงประโคม จึงบอก (ฉบับลบ)[1] ได้ ทำราชการมาแต่ครั้งบรมโกษฐมาจนถึงพระที่นั่งสุริยามรินทร์ จึงเอาตำรารายจดหมายอย่างธรรมเนียมท้องที่อำเภอ[2] พระพุทธบาทแต่ก่อนนั้นมาส่งให้ข้าพเจ้า

เปนอย่างธรรมเนียมแต่ก่อน ขุนหมื่นกรมการข้าพระพุทธบาทนั้น ขุนยกรบัตรข้าหลวงกำกับท่านตั้งมาแต่กรุงเทพมหานคร ครั้นเมื่อเทศกาลถือน้ำ ขุนยกรบัตรนั้นได้ลงไปถือน้ำกรุงเทพมหานครทุกปี ถ้าแลราษฎรชาวบ้านจะร้องฟ้องหาความแก่กันด้วยความสิ่งใด ๆ ถ้าแลเปนความแพ่ง สลักหักฟ้องส่งให้ขุนเทพสุภาชลธี หมื่นศรีพุทธบาทราชรักษา เอาไปพิจารณา ถ้าเปนความอาญา ประทับฟ้องส่งให้ขุนเฉลิมราชปลัดเอาไปพิจารณา ถ้าเปนความหันตโทษนครบาล ประทับฟ้องส่งให้หมื่นชินบาลชาญราชรักษาเอาไปพิจารณา ถ้าเปนความด้วยไร่นา ขุนอินทรเสนา ขุนพรหมเสนา ได้เอาไปพิจารณา ถ้าจะให้เรียกเงินทองวิวาทแก่กัน ขุนอินทรพิทักษ์ ขุนพรหมรักษา หมื่นพิทักษ์สมบัติ หมื่นพิทักษ์รักษา เอาไปพิจารณา เปนสัตย์ด้วยความสิ่งใด ๆ ส่งสัตย์ไปปรับณเมืองลพบุรี เมืองสระบุรี ณเมืองนครขีดขินนี้[3] แต่ก่อนเปนเมืองคู่ปรับกัน ครั้นมาเมื่อครั้งบรมโกษฐได้เสวยราชสมบัติ เสด็จพระราชดำเนินขึ้นมานมัสการพระพุทธบาท จึงมีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ สั่งว่า ข้าหลวงขึ้นมาเปนที่ยกรบัตรนั้นไม่ยืนนาน ปี ๑ ตาย ๒ ปี ตาย แต่นี้สืบไปเมื่อน่า ให้จัดขุนหมื่นข้าพระพุทธบาทเปนที่ขุนยกรบัตรบ้างเถิด แล้วอย่าให้ขุนยกรบัตรขึ้นไปถือน้ำกรุงเทพมหานครเลย ให้ถวายบังคมเทียนพรรษาซึ่งจบพระหัตถ์ขึ้นมานั้นให้พร้อมกัน ถ้าผู้ใดขาดมิได้ถวายบังคม มีโทษถึงสิ้นชีวิตร ถ้าแลพิจารณาเนื้อความอันใดเปนแต่ความมโนสาเร่ ก็ให้ว่ากล่าวกันเสียให้สำเร็จแค่ในพระพุทธบาทนี้เถิด ถ้าแลเปนความมหันตโทษ พิจารณาเปนสัตย์ความข้อใหญ่นั้น ให้บอกส่งสัตย์ลงไปปรับยังลูกขุนศาลหลวง พิจารณามิตกลงกัน ให้บอกส่งลงไปยังลูกขุนศาลา อย่าให้ (ส่งไปปรับที่เมืองลพบุรี เมือง) สระบุรี เหมือนอย่างแต่ก่อนเลย เปนตำแหน่งเมืองนครขีดขินอยู่ก็จริง แต่ว่า ขุนหมื่นเหล่านี้ได้รักษาพระพุทธบาทอยู่ด้วย จะให้ขึ้นแก่ผู้รั้งกรมการเมืองใดนั้นหามิได้ จึงขาดแต่วันนั้นมาจนถึงที่นั่งสุริยามรินทร์ จึงมิได้ไปปรับณเมืองลพบุรี เมืองสระบุรี แต่ครั้งนั้นมา ๚

อนึ่ง แต่โบราณมา เมื่อยัง (ไม่?) มีอำเภอพระพุทธบาท มีกรมการสำหรับเมืองขีดขินนั้น ๘ คน หลวงสารวัดราชธานีศรีบริบาล (เปนผู้รั้ง) คน ๑ ขุนเฉลิมราชปลัด คน ๑ ขุนเทพยกรบัตร คน ๑ ขุนเทพสุภา คน ๑ ขุนจ่าเมือง คน ๑ ขุนสัสดี คน ๑ ขุนอินทรเสนา คน ๑ ขุนพรหมเสนา คน ๑ มีพรานคน ๑ ๚

เมื่อจะพบฝ่าพระพุทธบาทครั้งนั้น ท้าวอภัยทศราชได้เสวยาชสมบัติในกรุงเทพมหานคร ๔ พระสงฆ์ไปไหว้พระบาทเมืองลังกา จึงมีลายเข้ามาว่า มีพระพุทธบาทอยู่ณกรุงเทพมหานครอยู่ในเขาสัจพันธบรรพต ในแว่นแคว้นปรันตปะนครราชธานีไปจากปรันตปะนครนั้นหนทางประมาณ ๓๐๐ เส้น ครั้นพระสงฆ์กลับเข้ามาแต่เมืองลังกาจึงถวายพระ ( พร ) แก่พระมหากระษัตราธิราชเจ้า จึงให้ไปหาบนยอดเขาสัจพันธ์ ( ได้ทราบ ) เรื่องราวแต่นายพราน ( บุญ ) ซึ่งพบฝ่าพระพุทธบาท ( ว่า ) มีศิลาเปนลิ้นถอดปิดอยู่ มีน้ำขังอยู่ในรอยแต่พอเนื้อนกกินได้ ครั้นนายพรานยิงเนื้อถูกเข้าลำบาก เนื้อนั้นก็วิ่งไปถึงฝ่าพระพุทธบาทได้กินน้ำในรอยก็หายดีไป นายพรานนั้นเห็นเหตุปลาดอยู่ เข้าไปดูเห็นศิลาลิ้นถอดมีน้ำขังอยู่ นายพรานจึงตักน้ำนั้นมากิน นายพรานเปนเกลื้อนกลากก็หายหมด นายพรานจึงวิดน้ำเสียให้แห้งแล้วจึงเห็นพระลักษณสำคัญว่ารอยคนโบราณ นายพรานก็นิ่งความไว้ ครั้นพระสงฆ์ถวายพระพร นายพรานนั้นนำไปพบฝ่าพระพุทธบาท ท่านจึงให้ก่อเปนผนังทำเปนหลังคามุงกระเบื้องไว้อย่างวัดเจ้าพนังเชิง ท่านจึงให้ตั้งขุนหมื่นไว้ให้รักษาพระพุทธบาท เอานามพระสัจพันธฤๅษีตั้ง จะตั้งเปนพระก็ไม่ได้ จะตั้งเปนหลวงก็

๔ ที่เรียกท้าวอภัยทศราชตรงนี้ ในพระราชพงษาวดารตรงกับสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมไม่ได้ ด้วยท่านได้อรหัตแล้ว จึงตั้งเปนขุนสัจพันธคิรี ( ศรีรัตนไพรวัน เจติยาสันคามวาสี) นพคูหาพนมโขลน จึงตั้งหมื่นสุวรรณปราสาท หมื่นแผ้วอากาศ หมื่นชินธาตุ หมื่นศรีสัปรุษ ๔ คนนั้นรักษาพระมณฑป ให้บังคับบัญชาว่ากล่าวปะขาวในมณฑป จึงตั้งนายประตู ๔ นาย หมื่นราชชำนาญทมุนิน ๕ หมื่นอินทรรักษา หมื่นบูชาเจดีย์ หมื่นศรีพุทธบาล จึงตั้งขุนหมื่นรักษาคลัง ๔ นาย ขุนอิน ทรพิทักษ์ ขุนพรหมรักษา หมื่นพิทักษ์สมบัติ หมื่นพิทักษ์รักษาในคลังนั้นแต่ก่อนมีผ้าทรงพระนารายณ์ผืน ๑ ม่านปักวันทองผืน ๑ สำเภาทองมียนต์ลำ ๑ ช้างทองคำตัว ๑ ม้าทองคำตัว ๑ กวางทองคำตัว ๑ ต้นไม้กัลปพฤกษ์ ๓ ต้น เงินต้น ๑ ทองต้น ๑ นากต้น ๑ มีปืนใหญ่ ๒ กระบอก หามแล่น ๒ กระบอก ขานกยาง ๒ กระบอก ๖ กระบอกสำหรับคลัง จึงตั้งหมื่นสนั่นไพเราะ หมื่นเสนาะเวหา พันเสนาะ รองเสนาะ ๔ คนนี้สำหรับประโคมยาม ทั้งกลางวันกลางคืนทุกวันมิได้ขาด ขุนธรรมการนั้นให้ตรวจตราว่ากล่าว พระสงฆ์สามเณรปะขาวรูปชีซึ่งวิวาทแก่กัน เปนกระทรวงธรรมการ มีเสมาธรรมจักรตั้ง พระเสด็จได้ตั้ง หมื่นจิตรจอมใจราชนั้น สำหรับได้ไปเบิกน้ำมันหลวงขึ้นมาตามถวาย

๕ สงไสยว่าจะเปน หมื่นบาทมุนินทร์ ๘พระพุทธบาท หลวงจังหวัดไพรี หมื่นศรีไพสณฑ์ เปนพรานสำหรับป่าได้นำเสด็จ หมื่นทิพชลธี หมื่นคิรีคงคา ได้รักษาอ่างแก้วเชิงเขา หมื่นศรีชลธาร ได้รักษาธารทองแดง หมื่นศรีวานร ๖ ได้รักษาตำหนักพระราชวังหลวง ครั้นเพลาเช้าเย็นไล่วานรมารับประทานเข้าสุกทุกเวลากว่าจะเสด็จพระราชดำเนินกลับเข้ากรุงเทพ มหานคร หมื่นศรีรักษาได้รักษาตำหนักกรมพระราชวังน่า พันบาลอุโบสถ ได้รักษาพระอุโบสถ หมื่นพรหม พันทต พันทอง พันคำ ๔ คน สำหรับได้ว่ากล่าวข้าพระโยมสงฆ์ให้สีซ้อมจันหันนิตยภัตรถวายพระสงฆ์ ซึ่งจำพรรษาอยู่ณเขาจังหวัดพระพุทธบาทองค์ละ ๓๐ ทนาน พระมหามงคลเทพมุนีได้เงินเดือน ๆ ละ ๔ ตำลึง ๑๐ สลึง พระสงฆ์อันดับได้เงินเดือน ๆ ละ ๖ สลึง ขุนหมื่นพันทนายตั้งไว้สำหรับพระพุทธบาท ๒๗ คน

จึงยกเอากรมการสำหรับปรันตปะนครราชธานีนั้นขึ้นมารัก ษาพระพุทธบาทด้วย หลวงสารวัดราชธานีศรีบริบาลเปนจางวางขุนเฉลิมราชปลัด พันสารวัด ๗ ขุนเทพยกรบัตร ตั้งเปนขุนศรีพุทธ ๖ ถ้าเปน หมื่นประธานวานร จะเหมาะกว่า ๗ ตรงนี้จะหมายความว่า ขุนเฉลิมเปนสารวัด ฤๅอย่างไรสงไสยอยู่ แต่ตำแหน่งขุนเฉลิมยังเปนปลัดเมืองพระพุทธบาทมาจนยุบลงเปนอำเภอบาลยกรบัตร ขุนเทพสุภานั้น เมื่อเสด็จพระราชดำเนินขึ้นมานมัสการพระพุทธบาทนั้น กับตำรวจใน ๒ คน กำกับกันไปรักษาน้ำศิลาดาษจึงตั้งว่าขุนเทพชลธี หมื่นรองสุภานั้นเปนหมื่นศรีพุทธบาลราชรักษา เปนปลัดขุนยกรบัตร ขุนจ่าเมืองนั้นตั้งเปนขุนชินบาลชาญราชรักษา เปนปลัดขุนสัจพันธคิรี ขุนสัสดีตั้งเปนหมื่นมาศคิรีสมุหบาญชี แต่ขุนอิทรเสนา ขุนพรหมเสนาคงที่เดิมแต่ก่อนมา

หลวงสารวัตถือตรารูปองคต ขุนสัจพันธคิรีถือตรารูปคน ถือดอกบัวถือเทียนข้าง ๑ ขุนเฉลิมถือตรารูปช้าง ขุนยกรบัตรถือตรารูปคนถือโคม ขุนเทพสุภาถือตรารูปหงษ์ ขุนชินบาลถือตรารูปคนถือดอกบัว ขุนอินทรเสนาถือตรารูปคนถือเชือก ขุนพรหมเสนาถือตรารูปคนถือสมุดเหมือนพระพุทธบาท ถือตรารูปคนถือธง หมื่นมาศคิรีถือตรารูปคนถือสมุด หมื่นสุวรรณปราสาทถือตรารูปมณฑป ขุนอินทรพิทักษ์ถือตรารูปคนถือพาน ขุนพรหมรักษาถือตราบัว หมื่นพิทักษ์สมบัติถือตรารูปสิงห์ หมื่นพิทักษ์รักษาถือตรารุปตะไกร ขุนสารวัต ขุนสัจพันธคิรี ขุนหมื่นทั้งนี้ท่านมหาด ไทยได้ตั้ง แต่ขุนยกรบัตรนั้นท่านกรมวังได้ตั้งแต่เดิมมา มีทั้งพระกัลปนาตราพระราชสีห์ พระธรรมนูญ พระธรรมสาตรหลักอินทภาษ ไว้สำหรับให้ว่าเนื้อความตามตำแหน่งเมืองปรันตะปะนครราชธานีแต่ก่อนมาทุก ๆ พระองค์ ซึ่งหลวงสารวัดราชธานีศรีบริบาลได้พินัยจ่ายราชการกึ่ง ๑ ขุนสัจพันธคิรีได้ค่าที่นั่งตำลึง ๑ ขุนยกรบัตรได้ค่าที่นั่ง ๘ สลึง ถ้าเปนความแพ่งได้ค่า ที่นั่งกึ่ง ๑ เปนอย่างธรรมเนียมสืบ ๆ กันมา จนถึงที่นั่งสุริยา มรินทร์ ถ้าแลผู้ใดมิใช่ภูมิชาติจะได้รู้จักตำแหน่งปรันตปะนครนั้นหามิได้ ด้วยตำแหน่งเมืองตกมาช้านาน แต่ครั้งพระยากาลราชนั้นแล้ว๘ เมืองนั้นมีคู ๒ ชั้น มีประตู ๔ ประตู ๆ ซอง ๑ ประตูไชย ๑ ประตูน้ำ ๑ ประตูผี ๑ มีเสามีประตู ๔ ประตู ตะลุงช้างเผือกโคกปราสาทเสา ๑ มีศีศะคนโบราณอยู่ศีศะ ๑ ใหญ่ประมาณ ๘ กำ มีตำแหน่งวัด ๑๕ วัด วัดธรรมเสนา ๑ วัดสาร ภี ๑ วัดสัก ๑ วัดมหาโลก ๑ วัดโกคบ้านหมอ ๑ วัดหัวตะพาน ๑ วัดแจงนางเพียร ๑ วัดนางผล ๑ วัดเกต ๑ วัดสุด ๑ วัดขวิด ๑ วัดหลวง ๑ วัดนาค ๑ วัดพระนอน ๑ วัดพี่น้อย ๑ วัดนนทรี ๑ มีตำแหน่งน่าบ้าน ๒๑ บ้าน บ้านตลาดน้อย ๑ บ้านวัดตะพาน ๑ บ้านขนอนสาซ่อง ๑ บ้านใหญ่ ๑ บ้านโขมด ๑ บ้านน้อย ๑ บ้านเกาะสารภี ๑ บ้านไร่ ๑ บ้านกระมัง ๑ บ้านปลาขวัญ ๑ บาง

๘ เมืองปรันตปะที่ว่านี้ ก็คือเมืองขีดขิน เปนเมืองโบราณ ว่า ยังมีเชิงเทินดินเปนเค้าอยู่ อยู่ไม่ห่างบางโขมดยานี ๑ บางขมิ้น ๑ บ้านมาบโพ ๑ บ้านขวาง ๑ บ้านมะกอก ๑ บ้านหมอ ๑ บ้านหนองจิก ๑ บ้านหนองสระแก ๑ บ้านเคร่าครับตัง ๑ แต่เมืองนครขีดขินออกไปถึงพุสงครีบหนทาง ๔๕ เส้น แต่พุสงครีบไปถึงพุนารายณ์หนทาง ๓๐ เส้น แต่พุนารายณ์ไปถึงธารถวายศรหนทาง ๒๐๐ เส้น

อนึ่งตำแหน่งได้ทำทำนบน้ำธารทองแดงนั้น คือ ฤทธานนท์พนพิจิตร หลวงศรียศ ได้คุมไพร่หลวงขึ้นมาทำทำนบธารเกษมสำหรับตำบลนั้น เมืองลพบุรีได้ทำทำนบศิลาดาดข้างใต้นั้น ข้าพระพุทธบาทได้ทำทำนบสวนมลิ ทำนบเจ้าพระน่าเมืองนั้น เมืองสระบุรีได้ทำอัน ๑ ตำแหน่งทำทางรับเสด็จพระราชดำเนินนั้น ข้าพระพุทธบาทได้ทำแต่ลานพระลงไปถึงตำหนักนารายน์เปนเจ้าท้ายสระยอ แต่สมเด็จนารายน์เปนเจ้าลงไปถึงโป่งนางงามนั้น เมืองลพบุรีได้ทำแต่โป่งนางงามลงไปถึงบางโขมดนั้น ข้าหลวงผู้กำกับกรมการหัวเมืองบรรดาซึ่งมาคอยรับเสด็จนั้น ได้ช่วยกันระดม ( ทำ ) แต่บางโขมดลงไปมาบกระทุ่มนั้น เมืองสระบุรีได้ทำ แต่มาบกระทุ่มลงไปถึงท่าเจ้าสนุกนั้นขุนนครได้ทำ ครั้นเสด็จพระราชดำเนิน ขุนเฉลิม ขุนหมื่นทั้งปวงได้รับเสด็จที่ตำหนักนารายน์ ครั้นเสด็จขึ้นมาถึงพระพุทธบาทแล้วเมืองลพบุรีได้ไปจุกช่องน่าวัด เมืองสระบุรีได้ไปจุกช่องทางเขาขาด เมืองไชยบาดาลได้ไปจุกช่องทางทุ่งแฝก ตำรวจ ๓ คน กับหมื่นสุวรรณปราสาท หมื่นชินธาตุ หมื่นศรีรักษา ลงไปตั้งด่านอยู่เขาตก เมืองลพบุรีตั้งด่านอยู่ห้วยมันหวาน ได้ตรวจดูลูกค้าวานิชเอาเต่าปลาไก่นกสัตว์อันมีชีวิตรขึ้นมาซื้อขาย ให้จับเอาตัวไว้ทำโทษตามข้อละเมิด ผู้ใดไปมาผิดเวลาให้คุมเอาตัวไปส่งให้กะหลวงพัน๙ เมื่อจะเสด็จพระราชดำเนินกลับลงไปนั้น แต่บรรดาข้าทูลลออง ฯ ซึ่งตามเสด็จพระราชดำเนินไปนั้น ให้ดูตราขุนพรหมจงทุกคน ถ้าผู้ใดมิได้เสียค่าพระกัลปนา มิได้มีโฉนดฎีกาขุนพรหมเสนาลงไปให้เอาตัวไว้ เรียกเอาค่าพระกัลปนาเฟื้อง ๑

อนึ่งเมื่อจะขึ้นไปนมัสการนั้น ห้ามมิให้แปลกปลอมกัน ให้พระสงฆ์สามเณรไปเพลา ๑ ผู้ชายผู้หญิงไปเวลา ๑ อนึ่งบนทักษิณนั้นท่านห้ามมิให้ผู้ชายผู้หญิงขึ้นไปพูดจากันแต่สองต่อสอง ถ้าผู้ใดมิฟังมีผู้จับตัวได้เอาไปส่งให้ขุนกรมการ ๆ เอาตัวไปมัดไว้วิหารพระป่าเลไลย อนึ่งเมื่อจะเสด็จขึ้นนมัสการนั้น ขุนอินทรพิทักษ์ชาวคลัง ขุนพรหมพิทักษ์ชาวคลัง เชิญเอาผ้าทรงพระนารายณ์กับม่านปักวันทองกับสำเภาทองยนต์ขึ้นมาไว้รับเสด็จ ครั้นเมื่อเสด็จออก ๙ ส่งให้ใครตรงนี้ตีความไม่ออกจากมณฑปแล้วทรงนั่งอยู่ที่ทักษิณ ขุนอินทรพิทักษ์ ขุนพรหมรักษาจึงเอาพระกัลปนาออกมาส่งให้ราชบัณฑิตย์ถวาย

ในต้นพระกัลปนานั้นว่า พระตรีภูวนารถพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัว คือองค์สมเด็จพระนารายณ์ผู้ทรงทศพิธราชธรรมอันมหาประเสริฐ มีพระราชโองการสุรสิงหนาทดำรัสสั่ง ให้ชุมนุมนักปราชญ์ราชบัณฑิตย์ปโรหิตพราหมณ์ ให้ตั้งพระกัลปนาตราพระราชสีห์ไว้สำหรับพระพุทธบาท อย่าให้ผู้ใดกะเกณฑ์เอาไพร่ข้าพระโยมสงฆ์ไปใช้สอยนอกกว่าพนักงาน ห้ามมิให้ผู้ใดเอาไปทำตพานบางโขมด ถ้าแลผู้ใดมิฟังเบียดเบียนบังเอาไพร่ข้าพระโยมสงฆ์ไปเปนอาณาประโยชน์ของตัวนั้น ให้ตกนรกแสนกัลป์ อนันตชาติอย่าได้รู้ผุดรู้เกิดเลย ให้เกิดฉันวุฒิโรค ๙๖ ประการ ตามสังหารผลาญชีวิตรบุคคลผู้นั้นให้ฉิบหายไป ด้วยราชภัย โจรภัย อุทกภัย ปีศาจภัย ถ้าแลผู้ใดจะไปทำมาหากินในท้องอำเภอพระพุทธบาท ทำไร่นาตัดเสาตัดหวายตัดฟืนทำยางฉีกตอกลอกเชือกสารพัดการทั้งปวง แต่ไม้ท่อนฟืนดุ้น ๑ ก็ให้ขุนอินทรเสนา ขุนพรหมเสนา เรียกเอาหัวป่าค่าที่เปนค่าพระกัลปนามาแบ่งเปน ๓ ส่วน เปนของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ผู้ใดเรียกนั้นได้รับพระราชทาน ๑๐ ลด ๑ ถ้าแลผู้ใดมิได้เสียค่าพระกัลปนา ท่านแช่งไว้ให้ตกนรกแสนกัลป์อนันตชาติอย่าได้รู้ผุดรู้เกิดเลย ให้ฉิบหายไปด้วยภัยต่าง ๆ ถ้าแลผู้ใดรุกที่ดินรุกแดนของพระเจ้าไปชั่วองคุลี ๑ ก็ดี ชั่วเม็ดเข้าเปลือก ๑ ก็ดี ให้ผู้นั้นตกนรกหมกไหม้ในมหาอเวจีแสนกัลป์อนันตชาติอย่าให้รู้ผุดรู้เกิดเลย ให้เกิดฉันวุฒิโรค ๙๖ ประการ ตามสังหารผลาญชีวิตรบุคคลผู้นั้น ให้ฉิบหายไปด้วยภัยต่าง ๆ ดุจพรรณามาแต่หลัง ถ้าไพร่ข้าพระโยมสงฆ์เกิดวิวาทแก่กันขึ้นกับข้าหลวงและสังฆภัตรด้วยความสิ่งใด ๆ โจทย์จับช้างม้าโค กระบือแก่กันก็ดี ถ้าแลพิจารณาเปนสัตย์ ถ้าข้าพระแพ้ส่งสัตย์ไปปรับ ปรับมามีแต่สินไหม พินัยท่านให้ยกเสีย ท่านว่าข้าพระนั้นเปนข้าหลวงใหญ่ ถ้าแลข้าหลวงแพ้ปรับมามีทั้งสินไหมพินัย จะพรรณาไปให้สิ้นในพระกัลปนานั้นมากนักจำไม่ได้

แต่หัวป่าค่าที่นาคู่ละ ๑๐ สลึง ที่อ้อยไร่ละบาท ทำยางนั้น ๕ วันไปตักครั้ง ๑ ได้มา ๒ หาบ เรียกปี ๑ เอา ๒ สลึง ตัดไม้แต่พร้าแบกปี ๑ เอา เฟี้อง ๑ ถ้าตัดเสาเปนไม้ใหญ่ปี ๑ เอา ๒ สลึง ถ้าตัดสีฟันตัดหวายฉีกตอกลอกเชือกสารพัดการทั้งปวง ถ้าผู้ชายเอาสลึง ๑ ถ้าผู้หญิงเอา เฟื้อง ๑ ที่ตลาดนั้นร้านละ ๒ สลึง หาบของมาขายเอา เฟื้อง ๑ ยกพระราชทานให้หมื่นสนั่นพันเสนาะให้เปนพกหมากด้วยคน ๔ คนนี้ เมื่อเสด็จพระราชดำเนินขึ้นมานมัสการนั้นให้ตระเวนไฟตามถนนตลาด ได้ตรวจตราว่ากล่าว แล้วได้เก็บดอกไม้ทูลเกล้า ฯ ถวายทุกวันมิได้ขาด

ขุนหมื่น ทั้งนั้นโปรดให้พระราชทานสัตโทรปี ๑ เอาเงินมาให้คน ๑ ตำลึง ๒ บาท ไม่ได้ทำราชการเลยขาดตัวทีเดียว หลวงสารวัด ๘ คน ขุนสัจพันธคิรี ๘ คน ขุนยกรบัตร ๖ คน ขุนเฉลิม ๖ คน ขุนเทพสุภา ๒ คน ขุนชินบาล ๒ คน หมื่นศรีพุทธบาท ๒ คน หมื่นมาศคิรี ๒ คน หมื่นศรีสุวรรณปราสาท ๒ คน รวม ๑๐ คน ขุนหมื่นทั้งนั้นได้คนละคน ขุนอินทรพิทักษ์ ๑ ขุนพรหมรักษา ๑ ขุนพิทักษ์สมบัติ ๑ หมื่นทิพรักษา ๑ สี่คนนี้ได้คนยกในเดือน ๆ ละคน เข้าเดือนเปน ๑๐ ลด แต่ก่อนมาท่านตั้งง่าวข้าพระไว้ ๓ คน ปะขาวน้อย ๑ ปะขาว มะ ๑ ปะขาวหมัง ๑ ถ้าแลวิวาทกันด้วยข้าพระโยมสงฆ์ สมสังกัดพรรค์จะแบ่งปันฝ่ายพ่อแม่ว่ากล่าวมิตกลงกัน ให้ถามท่านผู้เฒ่า ๓ คนนั้น ว่าพ่อเปนข้าพระ แม่เปนข้าหลวงฤๅ ถ้าแลท่านทั้ง ๓ คนนั้นว่าพ่อเปนข้าพระ แม่เปนข้าหลวง จึงให้แบ่งปันกันฝ่ายพ่อแม่ ด้วยท่าน ๓ คนนั้นรู้จักพงษาวดาร ว่าลูกคนนั้นหลานคนนั้น ๆ เปนปู่ย่าตายาย ได้รู้จักกำเนิดทั้งนั้นมาท่านตั้งไว้เปนง่าวข้าพระสืบต่อมา ถ้าแลไพร่ข้าพระโยมสงฆ์ไปต้องทุกขยากอยู่ที่ใดตำบลใด ให้เอาเงินของพระไปช่วยไถ่เอาไว้คงหมู่

เมื่อครั้งเกิดศึกกลางเมืองนั้น ๑๐ ขุนโขลนพาคุมเอาไพร่ข้าพระไปช่วยรบร้อยหนึ่ง ครั้นสำเร็จราชการแล้ว จึงพระราชทานถาดหมากคนโทให้ แล้วพระราชทานให้มีคนสำหรับตามหลังไปกิจราชการ ๓๐ คน จึงพระราชทานเงินหลวงขึ้นมา ๑๐ ชั่ง ให้ไปช่วยไถ่แต่บรรดาผู้ได้ไปต้องทุกขยากอยู่ จะเปนไพร่หลวงสมสังกัดพรรค์ก็ดี ซึ่งเจ้าขุนมูลนายมิได้ช่วยไถ่แล้วนั้น ให้ไปช่วยไถ่เอามาไว้เปนข้าพระไถนาหลวง เอาขึ้นถวายพระสงฆ์ปีละ เกวียนตวงด้วยทนานพัน แต่นั้นมาข้าพระจึงมากขึ้น แต่คนฉกรรจ์ถึง ๖๐๐ ครัว ขุนธรรมการ ๑ หมื่นศรีเกิด ๑ ปะขาวอยู่ ๑ อำแดงมอน ๑ ปะขาวด้วง ๑ นายดิศ ๑ พันทอง ๑ พันคำ ๑ พันจัน ๑ อำแดงเพียน ๑ นั้นก็เอาเงินพระเงินหลวงช่วยไถ่ เมื่อครั้งเจ้าเสียนั้น ๑๑ เงินหลวงช่วยไถ่ ๑๐ ครัว แต่บรรดาเงินพระเงินหลวงช่วยไถ่มานั้นหลายครัวจำไม่ได้ แต่เปนที่ขุนโขลนมานั้นมากมายหลายคนแล้ว ขุนโขลนป่าชมภู่นั้นเดิมเปนราชาบาลอยู่ก่อน ครั้นมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ขึ้นเปนผู้รั้งอยู่ณเมืองนครราชสิมาได้ปีหนึ่ง หลวง ๑๐ เข้าใจว่าคราวสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกษฐ รบกับเจ้าฟ้าอภัย เจ้าฟ้าปรเมศรวร์ ๑๑ น่าจะเปนเจ้าเสือ หมายความว่าสมเด็จพระเจ้าเสือมหาดไทยนอกราชการมีตราให้หาลงมา จึงเปนที่ขุนโขลน ๆ เก่านั้นขัดรายผู้ร้ายไว้ ท่านว่าขัดพระราชโองการ จึงให้พิพากษาโทษไว้ครั้งหนึ่ง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ไปเปนผู้รั้งณเมืองเพ็ชรบูรณ์ แต่เปนขุนโขลนมาในครั้งบรมโกษฐ ๖ คน เมื่อครั้งสุริยามรินทร์ ๔ คน ขุนยกรบัตร ๒ คน ขุนยกรบัตรปู่ปะขาวเท้งนั้น ขุนยกรบัตรปู่ขุนธรรมการนั้น นานมาจึงถึงขุนยกรบัตรบุญรอดนั้น เปนข้าหลวงกำกับเมื่อครั้งพระลายจักรหายนั้น ท่านให้พระยายมราชกำกับพิจารณา เอาข้าพระมามัดผูกตีโบยที่ตึกสวนมะพร้าว เพลากลางคืนนั้นพระธาตุเสด็จออกจากยอดพระมณฑปใหญ่ประมาณเท่าลูกมะขวิด ครั้นถึงสวนมะ พร้าวนิ่งลอยอยู่บนอากาศจึงหายไป พระยายมราชนั้นก็เกิดวิปริตต่าง ๆ

แต่ก่อนมีทั้งบ่อนเบี้ยนายอากรเหล้า เมื่อครั้งขุนไชยบาลนายอากรเหล้าฟ้องหากล่าวโทษนายลิ้มกับผู้มีชื่อ ๔ คนว่าต้มเหล้าจึงมีตราพระราชสีห์โปรดเกล้า ฯ ขึ้นมาให้พิจารณาตามกระทรวง ครั้นขุนหมื่นกรมการข้าพระพุทธบาทพิจารณาตามท้องตรา โจทย์จำเลยมีคำต่อกันไปมา พิจารณาไม่ตกลงกัน จึงบอกส่งลงไปยังท่านลูกขุนณศาลา ท่านจึงส่งคู่ความไปยังศาลพระพัศดี ครั้นถึงศาลโจทย์จำเลยสมัคพรรคพวกกับจำเลย ๔ คน เสียเงินคนละ ๙ ตำลึง ๔ คนเปนเงิน ๑ ชั่ง ๑๖ ตำลึง

แต่โบราณมามีต้นไม้ต้น ๑ ใหญ่ประมาณ ๓ อ้อม มีดอกเท่าฝาบาตร ครั้นเพลาเช้าเพลาเย็นบาน กลางวันตูม เมื่อจะบานนั้นหันน่าดอกเข้าไปข้างพระมณฑปทุกเพลา มีสัณฐานดอกนั้นเหมือนดอกทานตวัน ครั้นเมื่อสมเด็จพระเจ้าแตงโม ทำมณฑปขึ้นไปว่าต้นไม้นั้นกีดทรงพระมณฑปอยู่ จึงฟันต้นไม้นั้นเสีย แต่วันนั้นไปท่านสมเด็จพระเจ้าแตงโมก็ตั้งแต่ลงโลหิตไปจนเท่าวันตาย ๑๒ พระมณฑปนั้นสูง ๑๘ วา ๒ ศอกคืบ เงินดาดพื้น ๖๐๐ ชั่ง กระจกปูผนังข้างในใหญ่ ๓ ศอกคืบ ๔ เหลี่ยมจัตุรัส กระจกประดับผนังข้างนอก ๑๘๐ แผ่น กระจกประดับเสาใน ๓๒๐ ทองคำปูหลังคาลงมา ๖๒ ชั่ง ทองคำเปลว ๒๙๔๖๐๐ แผ่น ๑๒ สมเด็จเจ้าแตงโมนี้ มีเรื่องตำนานทางเมืองเพ็ชรบุรี ว่าเปนชาวบ้านหนองหว้า มาบวชเปนเณรอยู่วัดใหญ่ แล้วเข้ามาอุปสมบทอยู่กรุงเก่า มีคุณวิเศษจนถึงได้เปนสมเด็จพระสังฆราช จึงกลับ ไปบุรณวัดใหญ่แลวัดหนองหว้าที่เมืองเพ็ชรบุรี ยังมีตำหนักแลรูปหล่อของสมเด็จเจ้าแตงโมอยู่ที่วัดใหญ่จนทุกวันนี้ ในหนังสือพระราชพงษาวดารตอนแผ่นดินสมเด็จพระพุทธเจ้าเสือ มีปรากฎว่า สมเด็จพระสังฆราชรับออกไปเปนแม่การปฏิสังขรณ์ที่พระพุทธบาท เข้าใจว่าคือสมเด็จพระสังฆราชแตงโมองค์นี้ขุนหมื่นรักษาพระตำหนักพระนครหลวง ขุนพรหมมนตรีคน ๑ ขุนทิพมนตรี ๑ ขุนเทพมนตรี ๑ รวม ๓ ขุนทิพราช ๑ ขุนเทพราช ๑ รวม ๒ หมื่นอินทร์ ๑ หมื่นพรหม ๑ รวม ๒ เปนธรรมเนียมมาแต่ครั้งบรมโกษฐมาจนถึงที่นั่งสุริยามรินทร์ เมืองนครขีดขิน ในพระบาฬีเรียกว่าปรันตปะนครราชธานี จึงตั้งสมเด็จเจ้า ตั้งว่า พระมหามงคลเทพมุนีศรีรัตนไพรวันปรันตประเทศ เขตรอรัญวาสี ( บพิตร ) เมืองลพบุรีในพระบาฬีเรียกว่าเมืองสังฆปัต จึงตั้งสมเด็จเจ้าตั้งว่า พระสังฆราชา พระมณฑปแต่ในลานกว้าง ๓ ศอก คืบ ๔ เหลี่ยมจัตุรัส แต่พชนออกไปถึงผนัง ๕ ศอก ข้างพระบาทออกไปถึงผนังขวา ๖ ศอกคืบ ซ้าย ๖ ศอกคืบ พระบาทยาว ๓ ศอก ๑ ( ฉบับลบ ) ครั้งนั้นขุนเทพสุภาคน ๑ นายบุนนาคคน ๑ กับผู้มีชื่อ ๓ คนคบคิดกันเปนสมัคพรรคพวกพากันลงไปตีเกวียนชาวสัปรุษ ที่ทุ่งงิ้ว จับตัวได้ส่งไปชำระเปนสัตย์ ทรงเห็นว่าขุนเทพสุภากับผู้มีชื่อ ๓ คน ทำละเมิดพระราชกำหนดกฎหมายให้เปนเสี้ยนหนามกับพระสาสนา จึงสั่งให้ลงพระราชอาญาตามโทษานุโทษ แต่ขุนเทพสุภานั้น ทรงพระกรุณาโปรดให้ตัดตีนสินมือเสียจนสิ้นชีวิตร แต่นายบุนนาคกับผู้มีชื่อ ๓ คนนั้น ให้ตัดศีศะเสียบไว้ที่ตะพานบางโขมด


  1. ความตรงที่ฉบับลบตอนนี้ สันนิฐานว่า คงเปนชื่อกรมการเก่าซึ่งเคยเปนผู้รั้งตำแหน่งขุนโขลนให้เอาตำราเรื่องพระพุทธบาทมาให้แก่ขุนสัจพันธคิรีที่เปนตำแหน่งขึ้นใหม่
  2. ที่เรียกว่า อำเภอ ตรงนี้ ทำให้เข้าใจว่า ครั้งกรุงเก่า การปกครองเปนอำเภอ ตำแหน่งนายอำเภอเรียกว่า "ขุนโขลน" ต่อมาในชั้นกรุงรัตนโกสินทร ยกขึ้นเปนเมืองจัตวา กลับลดลงเปนอำเภอเมื่อจัดตั้งมณฑลในรัชกาลที่ ๕ เดี๋ยวนี้ที่พระพุทธบาทเปนแต่กิ่งอำเภอ เพราะตัดที่ตอนเมืองเก่าตั้งเปนอำเภอหนองโดน
  3. ในหนังสือนี้ ที่เรียกว่า เมืองขีดขิน ฤๅ เมืองปรันตปะ เปนเมืองเดียวกัน เพราะเรียกว่า เมืองขีดขิน อยู่ก่อน เมื่อพบรอยพระพุทธบาทแล้ว จึงเรียก เมืองปรันตปะ ให้ต้องตามตำนานพระพุทธบาท