ประชุมโคลงโลกนิติ/๐๑๑
หน้าตา
หน้า ๗๘-๗๙
๑๑.
มุหุตฺตมปิ เจ วิญฺญู | ปณฺฑิตํ ปยิรุปาสติ | |
ขิปฺปํ ธมฺมํ วิชานาติ | ชิวฺหา สูปรสํ ยถา[ก] | |
โลกนีติ ร., ธรรมนีติ ร., สุตวัฑฒนนีติ ร. |
ก. คนใดใจฉลาดด้วย | ปัญญา | |
ฟังนักปราชญ์จรรจา | ทั่วผู้ |
แจ้งธรรมบัดเดี๋ยวมา | พลับซาบ ใจนา | |
ดุจดั่งลิ้นอันรู้ | ทราบด้วยรสแกง | |
สำนวนเก่า |
ข. กษณเดียวชนผู้ว่อง | ไวญาณ ยอดแฮ | |
เสพปราชญ์ผู้อาจารย์ | บอกสิ้น |
เรียนธรรมะสืบสาร | สรรพศาสตร์ | |
เร็วยิ่งเร็วดุจลิ้น | เร่งรู้รสแกง | |
สำนวนเก่า |
ค. ผู้เชื้อชาติว่องไว | ปรีชา | |
เสพปราชญ์ธรรมศึกษา | รวดรู้ |
ใดโดยประสงค์อา | รมณ์อื่น นะพ่อ | |
ชิวหะรับรสรู้ | ทราบสิ้นดุจกัน | |
สำนวนเก่า |
ง. ผู้ใดใจฉลาดล้ำ | ปัญญา | |
ได้สดับปราชญ์เจรจา | อาจรู้ |
ยินคำบัดเดี๋ยวมา | ซับซาบ[ข] ใจนา | |
คือมลิ้นคนผู้ | ทราบรู้รสแกง | |
สมเด็จฯ กรมพระยาเดชาดิศร |
เชิงอรรถ
[แก้ไข]ก คาถาหมายเลข ๑๑ เดิมไม่ปรากฏที่มา ได้อ้างตาม โลกนีติ ร., ธรรมนีติ ร., สุตวัฑฒนนีติ ร. ซึ่งมีคาถาตรงกัน แต่เขียนต่างไปบ้าง คือ
- ขิปฺปํ – สุตวัฑฒนนีติ ร., กรมศิลปากร (๒๕๓๙) ใช้ โส เว
ข ซับซาบ – สอนอ่าน (ร.ศ. ๑๒๖, ๒๔๖๕, ๒๔๗๕) ใช้ ซับทราบ; วัดพระเชตุพน (๒๕๑๗), นิยะดา (๒๕๓๘) ใช้ ทรับทราบ; อักขราภิธานศรับท์ (ค.ศ. ๑๘๗๓) ให้ความหมายของคำ "ทราบ" ไว้ว่า "ซึม, รู้, อาการที่ซึมอาบไปไม่ค้างอยู่ได้นั้น" ในที่นี้ ใช้ตามปัจจุบันซึ่งแยก "ทราบ" หมายความว่า "รู้"และ "ซาบ" ใช้กับคำว่า ซึมซาบ ซาบซึ้ง ซาบซ่าน
บทอธิบายศัพท์
[แก้ไข]- กษณ – ชั่วครู่ ครั้ง คราว
- มลิ้น – ลิ้น