ผู้สร้างสรรค์:หมื่นพรหมสมพัตสร (มี)
ไปยังการนำทาง
ไปยังการค้นหา
←รายชื่อ: พ | พรหมสมพัตสร (มี), หมื่น (พ.ศ. ?–?) |
[1] บางทีเรียก "ตามีบ้านบุ"[2] และเรียกกันว่า "สมีมี"[3] เนื่องจากเคยเป็นภิกษุอยู่ที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม[4] นอกจากนี้ มีสมญาว่า "มีลงกาใหม่" เนื่องจากได้เขียนรูปกรุงลงกาขึ้นใหม่ที่ผนังวัดพระศรีรัตนศาสดาราม[5] เป็นขุนนางชาวไทยในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว[3] ได้เป็นนายอากรเมืองสุพรรณบุรีตั้งแต่ปีมะโรง จ.ศ. 1206 (พ.ศ. 2387) บรรดาศักดิ์ว่า "หมื่นพรหมสมพัตสร"[6] มีฝีมือด้านเขียนภาพและแต่งกลอน[7] ฝากผลงานเป็นกวีนิพนธ์ไว้หลายเรื่อง
ธนิต อยู่โพธิ์ สันนิษฐานว่า (ก) เกิดราว พ.ศ. 2338 หรือ 2339 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก,[3] (ข) เป็นบุตรของพระโหราธิบดี (โลกเนต; พ.ศ. 2300–2355) หรือพระโหราธิบดี (สมุ; พ.ศ. 2300–2371),[3] และ (ค) เป็นศิษย์ของสุนทรภู่[8] ฉันทิชย์ กระแสสินธุ์ สันนิษฐานว่า เป็นบุตรของพระโหราธิบดี (ชุม) และเป็นศิษย์ของสุนทรภู่[9] เสนีย์ วิลาวรรณ สันนิษฐานว่า (ก) เกิดราว พ.ศ. 2363–2368,[10] (ข) "เป็นชาวชัยนาท เกิดที่ตำบลท่าสูง",[10] และ (ค) ตายราว พ.ศ. 2413–2414[10] | นายมี (ไม่ทราบปีเกิดปีตาย)
งานที่สร้างสรรค์[แก้ไข]
- กลอนเพลงยาวสรรเสริญพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว, แต่งเสร็จในปีมะเส็ง จ.ศ. 1195 (พ.ศ. 2376)[2]
- นิราศเดือน, แต่งเมื่อเป็นภิกษุอยู่ที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม[11] สันนิษฐานว่า เป็น พ.ศ. 2369[12]
- นิราศพระแท่นดงรัง, แต่งเมื่อปีวอก จ.ศ. 1198 (พ.ศ. 2379)[13]
- นิราศสุพรรณ, แต่งเมื่อปีมะโรง จ.ศ. 1206 (พ.ศ. 2387)[6]
- พระสุบิน ก กา, สันนิษฐานว่า ถวายเจ้าฟ้ามงกุฎในปีฉลู นพศก จ.ศ. 1179 (พ.ศ. 2360)[4]
งานที่สันนิษฐานว่าสร้างสรรค์[แก้ไข]
- ทศมูลเสือโค, ชื่ออื่นว่า เสือโค ก กา, สันนิษฐานว่า แต่งเมื่อเป็นภิกษุอยู่ที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม[14]
- นิราศถลาง, สันนิษฐานว่า แต่งในช่วง พ.ศ. 2370–2373[8] หรือราว พ.ศ. 2382[15]
อ้างอิง[แก้ไข]
- ↑ พรหมสมพัตสร (มี), หมื่น (2521, น. 23, 25)
- ↑ 2.0 2.1 พรหมสมพัตสร (มี), หมื่น (2521, น. 16)
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 พรหมสมพัตสร (มี), หมื่น (2521, น. 13)
- ↑ 4.0 4.1 พรหมสมพัตสร (มี), หมื่น (2521, น. 14)
- ↑ พรหมสมพัตสร (มี), หมื่น (2521, น. 37)
- ↑ 6.0 6.1 พรหมสมพัตสร (มี), หมื่น (2521, น. 19)
- ↑ พรหมสมพัตสร (มี), หมื่น (2521, น. 26–27)
- ↑ 8.0 8.1 พรหมสมพัตสร (มี), หมื่น (2521, น. 15)
- ↑ พรหมสมพัตสร (มี), หมื่น (2521, น. 24)
- ↑ 10.0 10.1 10.2 พรหมสมพัตสร (มี), หมื่น (2521, น. 40)
- ↑ วรรณกรรมต่างเรื่อง (2505, น. 58)
- ↑ พรหมสมพัตสร (มี), หมื่น (2521, น. 25)
- ↑ พรหมสมพัตสร (มี), หมื่น (2521, น. 17–18)
- ↑ พรหมสมพัตสร (มี), หมื่น (2521, น. 14–15)
- ↑ พรหมสมพัตสร (มี), หมื่น (2521, น. 34)
บรรณานุกรม[แก้ไข]
- พรหมสมพัตสร (มี), หมื่น. (2521). ทศมูลเสือโค. กรุงเทพฯ: พงษ์เพชรเจริญการพิมพ์. [วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา วิทยาเขตบพิตรพิมุข พิมพ์แจกในงานพระราชทานเพลิงศพพระสิรินันทมุนี (สนั่น ถาวโร ป.ธ.6) เจ้าอาวาสวัดบพิตรพิมุข ณ เมรุวัดจักรวรรดิราชาวาส วันเสาร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ 2521].
- วรรณกรรมต่างเรื่อง. (2505). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ธรรมบรรณาคาร. [พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพนางเทียบ เพชรพลาย (เร็วพลัน) ณ เมรุวัดทองนพคุณ ธนบุรี 8 พฤษภาคม 2505].

งานที่บุคคลนี้สร้างสรรค์ขึ้น ปัจจุบันเป็นสาธารณสมบัติแล้ว เพราะลิขสิทธิ์ได้หมดอายุตามมาตรา 19 และมาตรา 20 ของพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ซึ่งระบุว่า
- ถ้ารู้ตัวผู้สร้างสรรค์ ในกรณีที่ผู้สร้างสรรค์เป็นบุคคลธรรมดา
- ลิขสิทธิ์หมดอายุเมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ผู้สร้างสรรค์ถึงแก่ความตาย
- ถ้ามีผู้สร้างสรรค์ร่วม ลิขสิทธิ์หมดอายุ
- เมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ผู้สร้างสรรค์ร่วมคนสุดท้ายถึงแก่ความตาย หรือ
- เมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ได้โฆษณางานนั้นเป็นครั้งแรก ในกรณีที่ไม่เคยโฆษณางานนั้นเลยก่อนที่ผู้สร้างสรรค์ร่วมคนสุดท้ายจะถึงแก่ความตาย
- ถ้ารู้ตัวผู้สร้างสรรค์ ในกรณีที่ผู้สร้างสรรค์เป็นนิติบุคคล หรือถ้าไม่รู้ตัวผู้สร้างสรรค์
- ลิขสิทธิ์หมดอายุเมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ได้สร้างสรรค์งานนั้นขึ้น
- แต่ถ้าได้โฆษณางานนั้นในระหว่าง 50 ปีข้างต้น ลิขสิทธิ์หมดอายุเมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ได้โฆษณางานนั้นเป็นครั้งแรก
