พระธรรมนูญศาลยุตติธรรม พ.ศ. 2478

จาก วิกิซอร์ซ
สำหรับงานที่มีชื่อทำนองเดียวกัน ดู พระธรรมนูญศาลยุติธรรม




มาตรา  ศาลยุตติธรรมทั้งหลายตามพระธรรมนูญนี้ ให้สังกัดอยู่ในกระทรวงยุตติธรรม

ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุตติธรรมเป็นผู้รับผิดชอบในงานธุรการของศาลทั้งหลายที่อยู่ในสังกัดให้ดำเนินไปโดยเรียบร้อย แต่การดำเนินการพิจารณาคดี รวมตลอดถึงการที่จะมีคำสั่งหรือคำพิพากษาบังคับคดีให้เสร็จเด็ดขาดไปนั้น ให้อยู่ในดุลพินิจของศาลโดยฉะเพาะ

มาตรา  ศาลยุตติธรรมตามพระธรรมนูญนี้ แบ่งออกเป็นสามชั้น คือ

(๑) ศาลชั้นต้น

(๒) ศาลอุทธรณ์

(๓) ศาลฎีกา (ศาลสูงสุด)

มาตรา  ศาลชั้นต้น

(๑) สำหรับจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรี ได้แก่

 (ก) ศาลแขวง

 (ข) ศาลแพ่งและศาลอาญา

(๒) สำหรับหัวเมือง ได้แก่

 (ก) ศาลแขวง

 (ข) ศาลจังหวัด

มาตรา  ศาลฎีกา ศาลอุทธรณ์ และศาลชั้นต้น ศาลใดศาลหนึ่งนั้น อาจแบ่งออกเป็นแผนก และแผนกหนึ่งจะให้มีอำนาจฉะเพาะในคดีประเภทใดก็ได้ โดยออกเป็นกฎกระทรวง

มาตรา  เมื่อเห็นเป็นการสมควร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุตติธรรมมีอำนาจสั่งให้ผู้พิพากษานายหนึ่งไปนั่งร่วมกับผู้พิพากษาในศาลแขวงมีกำหนดระยะเวลาตามที่ระบุไว้ในคำสั่ง ในกรณีเช่นนี้ ให้ศาลแขวงมีอำนาจเสมือนศาลจังหวัดชั่วคราวเกียวแก่คดีซึ่งอยู่ในเขตต์ศาลนั้น

ถ้าท้องที่ใดยังไม่มีศาลแขวง เมื่อเห็นเป็นการสมควร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุตติธรรมมีอำนาจสั่งให้ผู้พิพากษานายหนึ่งหรือหลายนายของศาลจังหวัดไปนั่งเป็นศาลณที่ว่าการอำเภอแห่งท้องที่นั้น เพื่อพิจารณาพิพากษาคดีที่เกิดขึ้นในท้องที่นั้นชั่วคราว ซึ่งมิฉะนั้น คดีย่อมตกอยู่ในอำนาจของศาลแขวงหรือศาลจังหวัด

มาตรา  การจัดตั้งหรือยุบเลิกศาลยุตติธรรมนั้น ให้เป็นหน้าที่ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุตติธรรมที่จะรายงานต่อรัฐบาลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวถึงจำนวน สภาพ สถานที่ตั้ง และเขตต์อำนาจศาล ตามที่จำเป็น เพื่อให้ความยุตติธรรมเป็นไปโดยเรียบร้อยตลอดราชอาณาจักร

มาตรา  ให้มีผู้พิพากษาประจำศาลทุกศาลตามจำนวนซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุตติธรรมจะกำหนดไว้ตามความจำเป็นแห่งราชการ

มาตรา  ให้มีอธิบดีผู้พิพากษาประจำศาลต่อไปนี้ศาลละหนึ่งนาย คือ ศาลฎีกา ศาลอุทธรณ์ ศาลแพ่ง และศาลอาญา

เมื่อตำแหน่งอธิบดีผู้พิพากษาศาลใดว่างลง หรือเมื่ออธิบดีผู้พิพากษาไม่อยู่ปฏิบัติหน้าที่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุตติธรรมจะกำหนดให้ผู้พิพากษาอาวุโสนายหนึ่งเป็นผู้ทำการแทนอธิบดีผู้พิพากษาชั่วคราวก็ได้

มาตรา  ในศาลชั้นต้นทุกศาล นอกจากศาลแพ่งและศาลอาญา ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุตติธรรมกำหนดให้ผู้พิพากษาของศาลนั้นนายหนึ่งทำการเป็นผู้พิพากษาหัวหน้าศาล

ถ้าศาลฎีกา ศาลอุทธรณ์ หรือศาลชั้นต้น ศาลใดศาลหนึ่ง แบ่งออกเป็นสองแผนกหรือกว่านั้นขึ้นไป รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุตติธรรมจะกำหนดให้ผู้พิพากษาอาวุโสนายหนึ่งของแผนกใดทำการเป็นผู้พิพากษาหัวหน้าในแผนกนั้นก็ได้

เมื่อใดตำแหน่งผู้พิพากษาหัวหน้าศาลหรือหัวหน้าแผนกว่างลง หรือผู้พิพากษาหัวหน้าศาลหรือหัวหน้าแผนกไม่อยู่ปฏิบัติหน้าที่ ให้ผู้พิพากษาอาวุโสในศาลนั้นหรือในแผนกนั้นเป็นผู้ทำการแทนชั่วคราว

มาตรา ๑๐ อธิบดีผู้พิพากษา หรือผู้พิพากษาหัวหน้าศาล หรือผู้ทำการแทน ต้องรับผิดชอบในงานของศาลให้เป็นไปโดยเรียบร้อย และมีหน้าที่ ดั่งต่อไปนี้

(๑) ระมัดระวังการที่จะใช้ระเบียบวิธีการต่าง ๆ ที่ตั้งขึ้นโดยกฎหมายหรือโดยประการอื่นให้เป็นไปโดยถูกต้อง เพื่อให้การพิจารณาพิพากษาคดีเสร็จเด็ดขาดไปโดยรวดเร็ว

มาตรา  ให้คำแนะนำแก่ผู้พิพากษาในศาลของตนในข้อขัดข้องเนื่องในการปฏิบัติหน้าที่ของผู้พิพากษา

(๓) ร่วมมือกับเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองท้องที่ ในบรรดากิจการอันเกี่ยวกับการจัดวางระเบียบและดำเนินการงานส่วนธุรการของศาล

(๔) ทำรายงานการคดีและกิจการของศาลส่งไปตามระเบียบ

และให้มีอำนาจ ดั่งต่อไปนี้

(๑) นั่งพิจารณาและพิพากษาคดีใด ๆ ของศาลนั้น หรือเมื่อได้ตรวจสำนวนคดีใดแล้ว มีอำนาจลงชื่อในคำพิพากษาหรือทำความเห็นแย้งได้

(๒) สั่งคำร้องคำขอต่าง ๆ ที่ยื่นต่อตนตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความ

มาตรา ๑๑ ในการควบคุมบังคับบัญชาเสมียนพนักงานในศาล ให้อธิบดีผู้พิพากษามีอำนาจเสมือนหัวหน้ากองตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน

มาตรา ๑๒ ให้ผู้พิพากษาหัวหน้าแผนกเป็นผู้รับผิดชอบให้งานในแผนกดำเนินไปโดยเรียบร้อยตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงที่ได้จัดตั้งแผนกนั้นขึ้น หรือตามคำสั่งของอธิบดีผู้พิพากษาหรือผู้พิพากษาหัวหน้าศาลนั้น

มาตรา ๑๓ ให้ตั้งข้าหลวงยุตติธรรมขึ้น ส่วนจำนวน และตำแหน่งประจำจะอยู่ณที่ใด และมีเขตต์อำนาจเพียงไรนั้น ให้เป็นไปตามที่จะได้กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกาตั้งข้าหลวงยุตติธรรม ผู้ที่เป็นข้าหลวงยุตติธรรมให้เลือกตั้งจากผู้พิพากษา

ให้ข้าหลวงยุตติธรรมมีอำนาจและหน้าที่อย่างเดียวกับอธิบดีผู้พิพากษาดั่งที่ระบุไว้ในมาตรา ๑๐ และ ๑๑ และให้มีอำนาจ

(๑) สั่งให้ผู้พิพากษาและจ่าศาลรายงานเกี่ยวด้วยคดีใด ๆ หรือรายงานกิจการอื่น ๆ ของศาลซึ่งอยู่ในเขตต์อำนาจของตน

(๒) นั่งพิจารณาและพิพากษาคดีในศาลทุกศาลซึ่งอยู่ภายในเขตต์อำนาจของตน หรือเมื่อได้ตรวจสำนวนคดีใดแล้ว มีอำนาจลงชื่อในคำพิพากษาหรือทำความเห็นแย้งได้

(๓) ในกรณีฉุกเฉิน สั่งให้ผู้พิพากษาคนหนึ่งคนใดในศาลหนึ่งซึ่งอยู่ในเขตต์อำนาจของตนไปช่วยทำหน้าที่ชั่วคราวในอีกศาลหนึ่ง แล้วรายงานไปยังกระทรวงยุตติธรรมทันที



มาตรา ๑๔ ศาลชั้นต้นมีเขตต์ ดั่งนี้

(๑) ศาลแขวง มีเขตต์ตามที่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงได้กำหนดไว้

(๒) ศาลจังหวัด มีเขตต์ตามที่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลจังหวัดได้กำหนดไว้ แต่บรรดาคดีซึ่งเกิดขึ้นในเขตต์ศาลแขวงและอยู่ในอำนาจของศาลแขวงนั้น ถ้ายื่นฟ้องต่อศาลจังหวัด ให้อยู่ในดุลพินิจของศาลจังหวัดนั้น ๆ ที่จะไม่ยอมรับพิจารณาพิพากษาคดีใดคดีหนึ่งที่ยื่นฟ้องเช่นนั้นได้

(๓) ศาลแพ่ง และศาลอาญา มีเขตต์ตลอดจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรี แต่บรรดาคดีที่เกิดขึ้นนอกเขตต์จังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรีนั้นจะยื่นฟ้องต่อศาลแพ่งและศาลอาญาก็ได้ ทั้งนี้ ให้อยู่ในดุลพินิจของศาลนั้น ๆ ที่จะไม่ยอมรับพิจารณาพิพากษาคดีใดคดีหนึ่งที่ยื่นฟ้องเช่นนั้นได้ เว้นแต่คดีนั้นจะได้โอนมาตามบทบัญญัติในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ

มาตรา ๑๕ ศาลแขวงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีซึ่งผู้พิพากษานายเดียวมีอำนาจดั่งที่ระบุไว้ในมาตรา ๒๑ และ ๒๒

มาตรา ๑๖ ศาลจังหวัดมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งและคดีอาญาทั้งปวง

มาตรา ๑๗ ศาลแพ่งมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งทั้งปวง และศาลอาญามีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาทั้งปวง

มาตรา ๑๘ ห้ามมิให้ศาลใดศาลหนึ่งรับคดีซึ่งศาลอื่นได้สั่งรับประทับฟ้องโดยชอบแล้วไว้พิจารณาพิพากษา เว้นแต่คดีนั้นจะได้โอนมาตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ

มาตรา ๑๙ ศาลอุทธรณ์มีอำนาจพิจารณาพิพากษาบรรดาคดีที่อุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการอุทธรณ์

นอกจากนี้ ให้ศาลอุทธรณ์มีอำนาจ

(๑) พิพากษายืนตาม แก้ไข หรือกลับคำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่พิพากษาลงโทษประหารชีวิตหรือจำคุกตลอดชีวิต ในเมื่อคดีนั้นได้ส่งขึ้นมายังศาลอุทธรณ์ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

(๒) วินิจฉัยชี้ขาดคำร้องที่ยื่นตามกฎหมายคัดค้านคำสั่งของศาลชั้นต้น

(๓) วินิจฉัยชี้ขาดคดีที่ศาลอุทธรณ์มีอำนาจวินิจฉัยได้ตามกฎหมายอื่น

มาตรา ๒๐ ศาลฎีกามีอำนาจพิจารณาพิพากษาบรรดาคดีที่อุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการฎีกา

นอกจากนี้ ให้ศาลฎีกามีอำนาจ

(๑) วินิจฉัยชี้ขาดคดีที่ขอให้พิจารณาพิพากษาใหม่ตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น

(๒) วินิจฉัยชี้ขาดคดีที่ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยได้ตามกฎหมายอื่น

คดีใดซึ่งศาลฎีกาได้พิจารณาพิพากษาแล้ว คู่ความหามีสิทธิที่จะทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาคัดค้านคดีนั้นต่อไปอีกไม่



มาตรา ๒๑ ผู้พิพากษาคนใดคนหนึ่งมีอำนาจ

(๑) ออกหมายเรียก ออกหมายอาญา ออกหมายสั่งให้ส่งคนมาจากหรือไปยังจังหวัดอื่น

(๒) ออกคำสั่งใด ๆ ซึ่งมิใช่เป็นไปในทางวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทแห่งคดี

มาตรา ๒๒ ในศาลชั้นต้น ผู้พิพากษาเพียงนายเดียวก็มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีซึ่งอยู่ในอำนาจของศาลนั้นได้ เมื่อ

(๑) เป็นคดีแพ่งซึ่งราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือจำนวนเงินที่ฟ้องไม่เกินสองร้อยบาท หรือเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ นอกจากคดีพิพาทที่เกี่ยวกับฐานะบุคคลและสิทธิในครอบครัว

(๒) เป็นคดีอาญาซึ่งอัตราโทษอย่างสูงตามที่กฎหมายกำหนดไว้ให้จำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่ทั้งนี้ จะลงโทษจำคุกเกินหกเดือนหรือปรับเกินสองร้อยบาทหาได้ไม่

ถ้าเป็นคดีในศาลแขวง เมื่อผู้พิพากษานายเดียวได้พิจารณาพะยานหลักฐานแห่งคดีไปแล้วปรากฏว่า โทษของจำเลยควรจำคุกเกินกว่าหกเดือนหรือปรับเกินสองร้อยบาท ก็ให้ศาลแขวงทำความเห็นส่งสำนวนไปให้ศาลอาญาหรือศาลจังหวัดพิพากษา แล้วแต่กรณี

และมีอำนาจ

(๑) ทำการไต่สวนและวินิจฉัยชี้ขาดคำร้องหรือคำขอที่ยื่นต่อศาลในคดีแพ่ง ยกเว้นในกรณีที่ผู้ร้องสอดร้องขอเป็นโจทก์หรือจำเลย

(๒) ทำการไต่สวนมูลฟ้องและมีคำสั่งในคดีอาญาทั้งปวง

ศาลชั้นต้น นอกจากศาลแขวง ต้องมีผู้พิพากษาอย่างน้อยสองนาย จึ่งเป็นองค์คณะพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งและคดีอาญาทั้งปวง

เมื่อผู้พิพากษาไม่สามารถจะนั่งพิจารณาความให้ครบองค์คณะได้ ให้ผู้พิพากษาที่จะนั่งพิจารณาคดีนั้นมีอำนาจเชิญบุคคลที่มีลักษณะดั่งจะกล่าวต่อไปนี้นั่งเป็นสำรองผู้พิพากษาเพื่อให้ครบองค์คณะ

(๑) มีคุณสมบัติอนุโลมตามมาตรา ๒๐ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พุทธศักราช ๒๔๗๖ แต่ต้องมีอายุตั้งแต่ ๒๕ ปีขึ้นไป

(๒) เป็นข้าราชการประจำการหรือนอกประจำการตั้งแต่ชั้นประจำแผนกขึ้นไป หรือผู้ที่เป็นเนติบัณฑิตสยาม หรือได้รับปริญญาตรี หรือประกาศนียบัตร หรือปริญญาในทางกฎหมายในต่างประเทศ

เมื่อได้เชิญผู้ใดมาเป็นสำรองผู้พิพากษาให้ช่วยพิจารณาคดีดั่งกล่าวมาข้างบนนั้นแล้ว ให้รายงานต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุตติธรรมทันที

ถ้าได้มีการร้องคัดค้านผู้ที่เชิญมาเป็นสำรองผู้พิพากษา ให้ผู้พิพากษาที่พิจารณาคดีเชิญบุคคลอื่นมาเป็นสำรองผู้พิพากษาแทนต่อไป การใดที่ศาลได้จัดทำไปก่อนมีการคัดค้านเป็นอันสมบูรณ์

มาตรา ๒๔ ศาลอุทธรณ์ต้องมีผู้พิพากษาอย่างน้อยสองนาย และศาลฎีกา อย่างน้อยสามนาย จึ่งเป็นองค์คณะพิจารณาพิพากษาคดีได้

บรรณานุกรม[แก้ไข]

งานนี้ไม่มีลิขสิทธิ์ เพราะเป็นงานตามมาตรา 7 (2) แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ของประเทศไทย ซึ่งบัญญัติว่า

"มาตรา 7 สิ่งต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้
(1) ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสาร อันมิใช่งานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
(2) รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย
(3) ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น
(4) คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ
(5) คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่าง ๆ ตาม (1) ถึง (4) ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น จัดทำขึ้น"