พระราชบัญญัติให้ใช้พระธรรมนูญศาลยุตติธรรม พุทธศักราช 2477
- อนุวัตน์จาตรนต์
- อาทิตย์ทิพอาภา
- เจ้าพระยายมราช
โดยที่สภาผู้แทนราษฎรลงมติว่า สมควรยกเลิกบรรดากฎหมายว่าด้วยพระธรรมนูญศาลยุตติธรรมที่ใช้อยู่ณบัดนี้ และใช้พระธรรมนูญศาลยุตติธรรมต่อท้ายพระราชบัญญัตินี้แทน
จึ่งมีพระบรมราชโองการให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้ โดยคำแนะนำและยินยอมของสภาผู้แทนราษฎร ดั่งต่อไปนี้
มาตรา๑พระราชบัญญัตินี้ ให้เรียกว่า "พระราชบัญญัติให้ใช้พระธรรมนูญศาลยุตติธรรม พุทธศักราช ๒๔๗๗"
มาตรา๒ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้ตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา๓ให้ใช้พระธรรมนูญศาลยุตติธรรมตามที่ตราไว้ต่อท้ายพระราชบัญญัตินี้ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๗๘ เป็นต้นไป
บทบัญญัติแห่งพระธรรมนูญศาลยุตติธรรมนี้ ให้ใช้บังคับแก่บรรดาคดีที่ได้ยื่นฟ้องภายหลังวันใช้พระธรรมนูญศาลยุตติธรรมนี้ ไม่ว่ามูลคดีได้เกิดขึ้นก่อนหรือภายหลังวันใช้พระธรรมนูญศาลยุตติธรรมนี้
บรรดาคดีที่ได้ยื่นฟ้องก่อนวันใช้พระธรรมนูญศาลยุตติธรรมนี้ ให้บังคับตามกฎหมายซึ่งใช้อยู่ก่อนวันใช้พระธรรมนูญศาลยุตติธรรมนี้ จนกว่าคดีนั้น ๆ จะถึงที่สุด
มาตรา๔ภายในบังคับแห่งบทบัญญัติมาตรา ๓ ตั้งแต่วันใช้พระธรรมนูญศาลยุตติธรรมนี้สืบไป ให้ยกเลิกบรรดากฎหมาย กฎ และข้อบังคับอื่น ๆ ในส่วนที่มีบัญญัติไว้แล้วในพระธรรนูญศาลยุตติธรรมนี้ หรือซึ่งแย้งกับบทแห่งพระธรรมนูญศาลยุตติธรรมนี้
มาตรา๕ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุตติธรรมมีหน้าที่รักษาการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ และเพื่อการนั้น ให้มีอำนาจออกกฎกระทรวงวางระเบียบการงานส่วนธุรการของศาลโดยฉะเพาะเพื่อให้เป็นระเบียบเดียวกันทั่วราชอาณาจักร
กฎกระทรวงนั้น เมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับได้
- นายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา
- นายกรัฐมนตรี
บรรณานุกรม
[แก้ไข]- "พระราชบัญญัติให้ใช้พระธรรมนูญศาลยุตติธรรม พุทธศักราช 2477". (2478, 21 มิถุนายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 50, ตอน 0 ก. หน้า 979–981.
งานนี้ไม่มีลิขสิทธิ์ เพราะเป็นงานตามมาตรา 7 (2) แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ของประเทศไทย ซึ่งบัญญัติว่า
- "มาตรา 7 สิ่งต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้
- (1)ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสาร อันมิใช่งานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
- (2)รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย
- (3)ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น
- (4)คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ
- (5)คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่าง ๆ ตาม (1) ถึง (4) ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น จัดทำขึ้น"