ข้ามไปเนื้อหา

พระราชบัญญัติแก้ไขกฎหมายลักษณะอาชญา พุทธศักราช 2477

จาก วิกิซอร์ซ
ตราราชโองการ
ตราราชโองการ
พระราชบัญญัติ
แก้ไขกฎหมายลักษณะอาชญา
พุทธศักราช ๒๔๗๗ (ฉะบับที่ ๒)[1]

นริศรานุวัดติวงศ์
ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
(ตามพระราชกฤษฎีกา ลงวันที่ ๑๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๖)

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการดำรัสเหนือเกล้าฯ สั่งว่า

โดยที่สภาผู้แทนราษฎรถวายคำปรึกษาว่า สมควรจะแก้ไขบทบัญญัติบางมาตราแห่งกฎหมายลักษณะอาญา ซึ่งได้แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายลักษณะอาชญา พุทธศักราช ๒๔๗๖

จึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้ โดยคำแนะนำและยินยอมของสภาผู้แทนราษฎร ดั่งต่อไปนี้

มาตราพระราชบัญญัตินี้ให้เรียกว่า “พระราชบัญญัติแก้ไขกฎหมายลักษณะอาชญา พุทธศักราช ๒๔๗๗ (ฉะบับที่ ๒)[1]

มาตราให้ใช้พระราชบัญญัตินี้ตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

มาตราให้ยกเลิกพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายลักษณะอาชญา พุทธศักราช ๒๔๗๖

มาตราความในมาตรา ๓๖๘ แห่งกฎหมายลักษณะอาญา ให้เป็นดั่งนี้

“มาตรา ๓๖๘ ผู้ใดยังขืนเป็นสมาชิกของสมาคมอยู่ ทั้งที่ตนรู้ว่า สมาคมนั้นได้เลิกกันแล้วโดยคำสั่งศาล ท่านว่า ผู้นั้นมีความผิด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ผู้ใดยังขืนเป็นผู้จัดการของสมาคมเช่นนั้นอีกต่อไป ท่านว่า ผู้นั้นมีความผิด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินปีหนึ่ง หรือปรับไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”

ประกาศมาณวันที่ ๒๙ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๗๗ เป็นปีที่ ๑๐ ในรัชชกาลปัจจุบัน

ผู้รับพระบรมราชโองการ
นายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา
นายกรัฐมนตรี

พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายลักษณะอาชญา พุทธศักราช ๒๔๗๖ มาตรา ๓ มีความว่า ให้ยกเลิกความในมาตรา ๓๖๘ แห่งกฎหมายลักษณะอาชญา และให้ใช้ความดั่งต่อไปนี้แทน

“มาตรา ๓๖๘ ผู้ใดยังขืนเป็นสมาชิกของสมาคมอยู่ ทั้งที่ตนรู้ว่า สมาคมนั้นได้เลิกกันแล้วโดยคำสั่งศาล หรือโดยนายทะเบียนขีดชื่อสมาคมออกจากทะเบียน ท่านว่า ผู้นั้นมีความผิด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินพันบาท หรือทั้งจำและปรับทั้งสองสถาน

ผู้ใดยังขืนเป็นผู้จัดการของสมาคมเช่นนั้นอีกต่อไป ท่านว่า ผู้นั้นมีความผิด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินปีหนึ่ง หรือปรับไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจำและปรับทั้งสองสถาน”


  1. 1.0 1.1 มีคำบอกแก้ให้ตัด “ฉะบับที่ 2” ออก (เชิงอรรถของวิกิซอร์ซ)

บรรณานุกรม

[แก้ไข]

งานนี้ไม่มีลิขสิทธิ์ เพราะเป็นงานตามมาตรา 7 (2) แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ของประเทศไทย ซึ่งบัญญัติว่า

"มาตรา 7 สิ่งต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้
(1)ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสาร อันมิใช่งานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
(2)รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย
(3)ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น
(4)คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ
(5)คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่าง ๆ ตาม (1) ถึง (4) ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น จัดทำขึ้น"