พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายลักษณะอาญา พุทธศักราช 2477 (ฉะบับที่ 5)
คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
(ตามประกาศประธานสภาผู้แทนราษฎร
ลงวันที่ ๗ มีนาคม พุทธศักราช ๒๔๗๗)
โดยที่สภาผู้แทนราษฎรลงมติว่า สมควรแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติแห่งกฎหมายลักษณะอาญาบางมาตรา
จึ่งมีพระบรมราชโองการให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้ โดยคำแนะนำและยินยอมของสภาผู้แทนราษฎร ดั่งต่อไปนี้
มาตรา๑พระราชบัญญัตินี้ให้เรียกว่า "พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายลักษณะอาญา พุทธศักราช ๒๔๗๗ (ฉะบับที่ ๕)"
มาตรา๒ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้ตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา๓ให้ยกเลิกข้อความในตอนสุดท้ายของมาตรา ๒๒๕ แห่งกฎหมายลักษณะอาญานั้นเสีย และใช้ความต่อไปนี้แทน
"ผู้ปลอมหนังสือสำคัญอย่างใด ๆ เช่นว่ามานี้ มีความผิด ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ ๑ ปีขึ้นไปจนถึงสิบปี และให้ปรับตั้งแต่ร้อยบาทขึ้นไปจนถึงสองพันบาทด้วยอีกโสดหนึ่ง"
- (ตามมติคณะรัฐมนตรี)
- พระยานิติศาสตร์ไพศาลย์
- รัฐมนตรี
- พระยานิติศาสตร์ไพศาลย์
กฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ. ๑๒๗ มาตรา ๒๒๕ ตอนสุดท้าย ที่พระราชบัญญัติให้ยกเลิก มีความดั่งนี้ "ท่านว่า มันผู้ปลอมหนังสือสำคัญอย่างใด ๆ เช่นว่ามานี้ มีความผิด ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ ๓ ปีขึ้นไปจนถึงสิบปี และให้ปรับตั้งแต่ร้อยบาทขึ้นไปจนถึงสองพันบาทด้วยอีกโสดหนึ่ง"
บรรณานุกรม
[แก้ไข]- "พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายลักษณะอาญา พุทธศักราช 2477 (ฉะบับที่ 5)". (2478, 21 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 52, ตอน 0 ก. หน้า 68–70.
งานนี้ไม่มีลิขสิทธิ์ เพราะเป็นงานตามมาตรา 7 (2) แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ของประเทศไทย ซึ่งบัญญัติว่า
- "มาตรา 7 สิ่งต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้
- (1)ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสาร อันมิใช่งานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
- (2)รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย
- (3)ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น
- (4)คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ
- (5)คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่าง ๆ ตาม (1) ถึง (4) ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น จัดทำขึ้น"