ข้ามไปเนื้อหา

พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายลักษณะอาญา พุทธศักราช 2478 (ฉะบับที่ 7)

จาก วิกิซอร์ซ
ตราราชโองการ
ตราราชโองการ
พระราชบัญญัติ
แก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายลักษณะอาญา
พุทธศักราช ๒๔๗๘
(ฉะบับที่ ๗)

ในพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล
คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
(ตามประกาศประธานสภาผู้แทนราษฎร
ลงวันที่ ๒๐ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๗๘)
ตราไว้ณวันที่ ๑๖ เมษายน พุทธศักราช ๒๔๗๙
เป็นปีที่ ๓ ในรัชชกาลปัจจุบัน

โดยที่สภาผู้แทนราษฎรลงมติว่า สมควรยกเลิกและแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติในกฎหมายลักษณะอาญาบางมาตรา เพื่อให้เหมาะสมกับการปกครองระบอบประชาธิปไตย

จึ่งมีพระบรมราชโองการให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้ โดยคำแนะนำและยินยอมของสภาผู้แทนราษฎร ดั่งต่อไปนี้

มาตราพระราชบัญญัตินี้ให้เรียกว่า “พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายลักษณะอาญา พุทธศักราช ๒๔๗๘ (ฉะบับที่ ๗)”

มาตราให้ใช้พระราชบัญญัตินี้ตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

มาตราให้ยกเลิกมาตรา ๙๙, ๑๐๐ และ ๓๓๕ (๒๐) ในกฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ. ๑๒๗ นั้นเสีย

มาตราให้ยกเลิกพระราชบัญญัติแก้ไขกฎหมายลักษณะอาญา พ.ศ. ๒๔๗๐ มาตรา ๔ ที่แก้ไขกฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ. ๑๒๗ มาตรา ๑๐๔ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

มาตรา๑๐๔๑)ผู้ใดกระทำการให้ปรากฏแก่คนทั้งหลายด้วยวาจา หรือลายลักษณ์อักษร หรือเอกสารตีพิมพ์ หรือด้วยอุบายอย่างใด ๆ ดั่งต่อไปนี้

ก)ให้เกิดความดูหมิ่นต่อพระมหากษัตริย์ หรือรัฐบาล หรือราชการแผ่นดินในหมู่ประชาชนก็ดี

ข)ที่จะให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในรัฐบาลหรือในกฎหมายแผ่นดินโดยใช้กำลังบังคับหรือกระทำร้ายก็ดี

ค)ที่จะให้เกิดความปั่นป่วนหรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชนถึงกับจะก่อความไม่สงบขึ้นในแผ่นดินก็ดี

ง)ยุยงประชาชนให้ล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดินก็ดี

ผู้นั้นมีความผิด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินกว่าเจ็ดปี และให้ปรับไม่เกินกว่าสองพันบาทด้วยอีกโสดหนึ่ง

แต่ถ้าวาจา หรือลายลักษณ์อักษร หรือเอกสารตีพิมพ์ หรืออุบายอย่างใด ๆ ที่ได้กระทำไปภายในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญ หรือเพื่อสาธารณประโยชน์ หรือเป็นเพียงการแสดงความคิดเห็นโดยสุจริต หรือเป็นเพียงการติชมตามปกติวิสัยในบรรดาการกระทำของรัฐบาลหรือของราชการแผ่นดิน การกระทำนั้นไม่ให้ถือว่า เป็นความผิด

๒)ผู้ใดยุยง เสี้ยมสอน หรือแนะนำให้เกิดการนัดหยุดงาน หรือการปิดงานงดจ้าง หรือการนัดหยุดการค้าขายใด ๆ เพื่อความประสงค์ที่จะให้มีการเปลี่ยนในรัฐบาล หรือในกฎหมายแผ่นดิน หรือประเพณีของบ้านเมือง หรือจะบังคับใจรัฐบาล หรือจะข่มขู่ประชาชน ผู้นั้นมีความผิด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินกว่าเจ็ดปี และให้ปรับไม่เกินกว่าสองพันบาทด้วยอีกโสดหนึ่ง

ผู้ใดทราบความประสงค์ดั่งกล่าวแล้วข้างต้นนี้ และบังอาจเข้ามีส่วนด้วยในการนัดหยุดงาน หรือการปิดงานงดจ้าง หรือการนัดหยุดการค้าขายดั่งกล่าวแล้วนั้น ผู้นั้นมีความผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินกว่าห้าปี และให้ปรับไม่เกินกว่าพันบานด้วยอีกโสดหนึ่ง

๓)ผู้ใดบังคับหรือพยายามบังคับด้วยทำให้กลัว หรือขู่ว่าจะทำร้าย หรือใช้กำลังกระทำร้ายด้วยประการใด ๆ ให้บุคคลผู้หนึ่งผู้ใดเข้ามีส่วนในการนัดหยุดงาน หรือการปิดงานงดจ้าง หรือการนัดหยุดการค้าขายดั่งที่ได้กล่าวไว้ในข้อ ๒ แห่งมาตรานี้ก็ดี หรือให้ช่วยเหลือในการนัดหยุดงาน หรือการปิดงานงดจ้าง หรือการนัดหยุดการค้าขายดั่งว่านั้นก็ดี ผู้นั้นมีความผิด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินกว่าเจ็ดปี และให้ปรับไม่เกินกว่าสองพันบาทด้วยอีกโสกหนึ่ง

๔)ผู้ใดกระทำความผิดอย่างหนึ่งอย่างใดดั่งที่ได้ระบุไว้ในมาตรานี้ และการกระทำผิดนั้นเป็นส่วนหนึ่งของแผนการที่จะล้างล้มรัฐบาล หรือจะให้เปลี่ยนแปลงประเพณีการเมืองหรือเศรษฐกิจ ด้วยใช้กำลังบังคับหรือกระทำร้าย ผู้นั้นมีความผิด ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ยี่สิบปีขึ้นไปจนถึงตลอดชีวิต”

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พ.อ. พหลพลพยุหเสนา
นายกรัฐมนตรี

บรรณานุกรม

[แก้ไข]

งานนี้ไม่มีลิขสิทธิ์ เพราะเป็นงานตามมาตรา 7 (2) แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ของประเทศไทย ซึ่งบัญญัติว่า

"มาตรา 7 สิ่งต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้
(1)ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสาร อันมิใช่งานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
(2)รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย
(3)ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น
(4)คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ
(5)คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่าง ๆ ตาม (1) ถึง (4) ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น จัดทำขึ้น"